การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงของท้องทะเล SCIENCE, TECHNOLOGY AND INNOVATION FOR A CHANGING SEA
The 8th Marine Science Conference ระหว่าง วันที่ 25 – 27 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมือง จ.ตรัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 8 ภายใต้หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับทะเลที่เปลี่ยนแปลง”
สำหรับภายในงาน มีกิจกรรมทางวิชาการมากมาย อาทิ เวทีเสวนา การนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการออกบูธจากภาคีเครือข่ายในหลายองค์กร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมศึกษาดูงานภาคสนามในสองเส้นทาง ได้แก่ 1. “หญ้าทะเลหาย พะยูนตาย ทางออกและโอกาส” ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) มุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ณ พื้นที่ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง 2. “ทะเลตรังโมเดล: เพาะ–ปลูก–ปล่อย ฟื้นชีวิตชายฝั่งด้วยวิถีชุมชน”
การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งที่ 8 ณ จังหวัดตรังครั้งนี้ ถือว่าเป็นงานใหญ่ที่รวบรวมนักวิชาการทางทะเล คณะผู้บริหาร ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมทั้งหมด 67 หน่วยงาน รวม 953 คน แบ่งเป็นผู้เข้าร่วม 616 คน และผู้นำเสนอผลงาน 337 คน
เราในฐานะคนในพื้นที่ที่สนใจเรื่องแนวนี้อยู่แล้ว เมื่อทราบข่าวกิจกรรมจากวิทยากรที่จะมาร่วมเสวนาคนนึง จึงประสานไปยังอาจารย์จากมทร.ศรีวิชัยว่าคนภายนอกเข้ารับฟังได้ไหม อาจารย์บอกว่าได้เลยเข้าไปดูกำหนดการแล้วเลือกหัวข้อที่สนใจเพื่อเข้าร่วมฟังการเสวนา
สำหรับหัวข้อที่สนใจเป็นพิเศษคือ งานเสวนาเรื่อง “หญ้าทะเลหาย พะยูนตาย ทางออกและโอกาสความสำเร็จ” ในช่วงเช้าของวันที่ 26 มิถุนายน 2568 โดยในการเสวนาจะเป็นออกเป็น 3 session โดย session แรกเป็นทีมนักวิชาการ session 2 เป็นทีมชุมชนและคนทำงานอนุรักษ์ ส่วน session 3 เป็นช่วงสรุป
ในสองปีที่ผ่านมา ภาวะการตายของพะยูนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องจับตามมองอย่างมาก หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในพื้นที่จังหวัดตรังตลอดถึงชายฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย มีข่าวเรื่องค้นพบซากพะยูนกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีอย่างน่าใจหาย ดังนั้นการเข้าฟังการเสวนาในครั้งนี้ทำให้ได้ทราบข้อมูลมากขึ้นถึงทิศทาง และแนวทางในการฟื้นฟูหญ้าทะเลเพื่อให้พะยูนอยู่รอดจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก
ตรัง เมืองหลวงของพะยูน... เป็นคำพูดที่ได้ยินคนพูดกัน เพราะตรังเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนเยอะที่สุด เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2562 เราโชคดีที่ได้มีโอกาสดูแลน้องมาเรียม ลูกพะยูนเพศเมีย อายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้น ที่ จ.กระบี่ และน้องยามีล ที่เกาะลิบง ความน่ารักสดใสทำให้คนหันมาสนใจพะยูนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ต่อมาน้องจะขึ้นไปเป็นนางฟ้าและเทวดาบนสวรรค์แล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ทิ้งไว้นั่นคือ แนวคิดด้านการอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งเราที่ยังคงคิดถึงน้องอยู่เสมอ
session 2
session 3
การร่วมรับฟังเสวนาในครั้งนี้สิ่งที่ได้เห็นคือ ทิศทางในการวางแผนฟื้นฟูหญ้าทะเล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นักวิจัย และชาวบ้าน ได้ร่วมกันดำเนินการทดลองปลูกหญ้าทะเลในหลายรูปแบบ รวมทั้งทำคอกกั้นในพื้นที่เกาะลิบง นอกจากนี้ในพื้นที่อื่น ๆ รวมทั้งนักวิจัยจากหลายหน่วยก็ยังดำเนินการและวางแผนด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเลกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจให้เราได้ติดตามกันต่อไป
ส่วนข่าวที่เห็นน้องพะยูนในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งภูเก็ต พังงา กระบี่นั้น ทราบมาว่าน้องเริ่มเดินทางกลับบ้านทั้งตรังกันบ้างแล้ว ดังนั้นอยากให้ช่วยกันดูแลน้องกันด้วย สำหรับพื้นที่อื่นที่น่าสนใจ เช่น เกาะพระทอง พังงา กระบี่ รวมทั้งระนองที่มีการค้นพบซากพะยูนที่เกาะพยามนั้น ทุกพื้นที่มีการรวมกลุ่มของชุมชนอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อชาวบ้านรวมกันดูแลใส่ใจถือเป็นเรืองที่ดีมาก ๆ
นอกจากเรื่องหญ้าทะเลแล้ว เรายังสนใจเรื่อง “การท่องเที่ยวทางทะเลอย่างยั่งยืน มุ่งสู่ Net Zero Tourism และ Nature Positive Tourism” ก็น่าสนใจ ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องศึกษาและค่อยติดตามกัน
เราไปงานมาสองวันค่ะ วันที่สองไปฟังเรื่อง “New Sea-Nario : ฟื้นฟู ฟื้นคืน ฟื้นสร้าง เพื่ออนาคตทะเลไทย” งานเสวนาหัวข้อนี้เป็นเรื่องการประการังค่ะ น่าสนใจดี ทีมวิทยากรเป็นนักวิจัยรวมทั้งทีมจากทช. มีตัวอย่างของงานวิจัยทางภาคตะวันออกมาเล่า แม้จะไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่การได้ฟังถือเป็นแนวทางที่ดีอีกหนึ่งเรื่อง
เรื่องสุดท้ายที่ได้เข้าฟังคือ “การร่วมงานกับชุมชนในการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล” เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราได้ฟังคำบอกเล่าถึงความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยและภาคชุมชน
เรามาดูบรรยากาศในงานแบบกว้าง ๆ กันค่ะ กิจกรรมหลัก ๆ อยู่ชั้นสาม
ป้ายในที่คนต้องถ่ายรูปกัน
มีบูธมาออกหลายแห่ง
ถ้ามีเวลาน่าสนใจมากค่ะ
โซนนิทรรศการอยู่ชั้น 1
มาถึงบรรยากาศผู้ร่วมประชุม ประทับใจ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มานั่งฟังในวันที่ 27
แถมแสดงความคิดเห็นในที่ประสชุมท่านน่ารักมาก
ดร.ธรณ์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวด้านนิเวศทางทะเล ไอดอลเราเองชอบมาก ดร.ธรณ์ อยู่วันที่ 25 -26
คนเก่งทั้งสอง นั่งฟังการเสวนาพร้อมทั้งเสนอแนวคิดอย่างเป็นกันเองอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งกับตัววิทยากรและผู้ร่วมเสวนาอย่างมาก
บรรยากาศคนมาฟังนิดนึง
ดร.แทนไท ประเสริฐกุล มาเยี่ยมยาย เลยมาร่วมด้วย น้องน่ารักมาก
ด้านหลัง
ขอถ่ายรูปคนเก่งทั้งสาม คนซ้ายมือ คือ น้องป็อบ คนบินโดรนถ่ายรูปพะยูนที่ภูเก็ตค่ะ
วันนี้ขอออกสื่อหน่อย ได้เจอ Shin ช่างภาพคนเก่งที่ถ่ายรูปน้องมาเรียม พะยูนน้อยที่เราติดตามผลงานมานานในงาน พร้อมดร.ธรณ์ ขอถ่ายรูปทีเดียว
ส่งถ่ายด้วยโปสเตอร์งานเสวนาที่เราไปฟังมาค่ะ
แถมอีกนิดด้วยของที่ระลึกในงาน น่ารักมาก
ทั้งหมดเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเรา คิดว่าครั้งหน้าถ้าได้ฟังคงเข้าใจมากขึ้น และมาอธิบายให้ฟังได้ดีขึ้นแน่ ๆ ครั้งนี้ถือเป็นไกด์ไลน์สำหรับตัวเอง
ขอบคุณสำหรับกิจกรรมดีดีที่มาจัดที่จังหวัดตรังค่ะ
การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งที่ 8 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จ.ตรัง