JJNY : ส.ส.ปชน.เสนอตัดงบตึกคมนาคม│กมธ.วุฒิแนะยกระดับรับมืออุทกภัย│กัมพูชาปัดข่าวร่วมประท้วง│ไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส.ส.ปชน.เสนอตัดงบ ตึกคมนาคมแห่งใหม่ 3.8 พันล. ทั้งตึก เปิด5คำถามที่ผู้ชี้แจงให้คำตอบไม่ได้ https://www.matichon.co.th/politics/news_5253251
.
.
ส.ส.ปชน. เสนอตัดงบ ตึกคมนาคมแห่งใหม่ 3.8 พันล้าน ทั้งตึก เปิด 5 คำถาม ที่ผู้ชี้แจงยังให้คำตอบไม่ได้
.
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเพจ https://www.facebook.com/TawiwongOfficialทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ – Tawiwong Totawiwong” ระบุว่า
.
เสนอตัดงบตึกคมนาคมใหม่ทั้งตึก: ช่องเปิดกลางตึกทะลุ 18 ชั้น- เทคโนโลยีตึกประหยัดพลังงานไม่ชัดเจน – ห้องประชุมยั่งกับ ศูนย์กลางนิทรรศการและการประชุม!
..
งบประมาณวันละตอน หากย้อนไปที่การอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2569 วาระที่ 1 โดย สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ – Surachet Pravinvongvuthส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้เปิดประเด็นใหญ่ถึงการก่อสร้างอาคารสำนักปลัดกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ ที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าภาษีประชาชน!
.
หลังจากนั้น ทาง อ.สุรเชษฐ์ ในฐานะประธานกรรมธิการติดตามงบประมาณ ได้ขอข้อมูลเพิ่มจากหน่วยงานรับผิดชอบ จนได้มาซึ่งแบบสถาปัตยกรรม ของตึกกระทรวงคมนาคมใหม่ ว่ามีการออกแบบที่หรูหรา ใหญ่โต เกินความจำเป็นหรือไม่ ?
.
วันนี้ ผมขอเรียกวิญญาณสถาปนิกเก่า อยากชวนทุกคนมาตรวจแบบไปด้วยกัน ! ว่าอาคารราชการ ตึกคมนาคมใหม่แห่งนี้ ที่กำลังมีการก่อสร้างด้วยภาษีประชาชน มากกว่านั้น หากมีการเปิดใช้งานแล้ว ค่าน้ำ ค่าไฟ ก็หนีไม่พ้นภาษีประชาชน เช่นกัน นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญ ว่าวันนี้ เราต้องมาตรวจแบบ ว่า แพงจริง? แต่คุ้มมั้ย?
.
สรุปข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้:
.
• มูลค่าโครงการสูงถึง 3,832 ล้านบาท! บนพื้นที่ 131,523 ตร.ม. ตึกสูงทั้งหมด 22 ชั้น บนที่ดินของ รฟท. ใกล้สถานีกรุงอภิวัฒน์ บางซื่อ
.
• -ใช้คนแค่ 1,093 คน แต่ตกใช้งบประมาณ มากกว่า 3.5 ล้านบาทต่อคน! สูงกว่าตึก สตง. (หลังใหม่) ที่ใช้งบเพียง 1.1 ล้านบาทต่อคนอย่างมหาศาล!
.
ความอลังการที่มาพร้อมคำถาม 5 ข้อ ที่ผู้มาชี้แจง ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้!
.
1. ห้องประชุมมากมาย สุดอลังการงานสร้าง เพื่อใคร?
.
• “Meeting Room 719” พร้อมเวที จอ LED และระบบแสงสีเสียงครบครัน โคมไฟห้องเดียวราคา ล้านกว่าบาท! จนต้องถามว่าเอาไว้จัดคอนเสิร์ตหรือเปล่า?
.
• Auditorium ขนาด 300 ที่นั่ง ดีไซน์คล้ายโรงหนัง IMAX พร้อมจอ LED ขนาดยักษ์ 7.2×2.7 เมตร! แต่ตึกคมนาคมใหม่ใช้พื้นที่ 631 ตร.ม. รองรับคนได้ 300 คน ในขณะที่ IMAX ใช้พื้นที่แค่ 340 ตร.ม. แต่รองรับได้ 364 คน! พื้นที่ใหญ่กว่า แต่จุคนได้น้อยกว่า!
.
• Conventional Hall ขนาด 1,000 ตร.ม. รองรับ 500 ที่นั่ง พร้อมจอ LED WALL ขนาดใหญ่
.
• “สวนสีเขียวกลางตึก” ชั้น 5 ที่เป็นพื้นที่รับรองของห้องประชุมกว่า 52 ห้อง รวมพื้นที่กว่า 8,228 ตร.ม. นี่มันศูนย์กลางนิทรรศการและการประชุมชัดๆ!
.
2. “ช่องเปิดขนาดใหญ่ (VOID) เจาะกลางอาคารทะลุ 18 ชั้น” คำถามคือเพื่ออะไร? เพราะอาคารไม่มีช่องระบายอากาศด้านบน จะใช้แอร์เปลืองกว่าปกติไหม?
.
3. ห้องหอเกียรติคุณ และ WAR ROOM ที่ชั้นสูงสุด: เอาไว้อวดใคร? ใช้รางวัลที่เกี่ยวกับความโปร่งใสหรือไม่?
.
4. แน่นอนว่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ของตึกนี้ในอนาคต คนจ่ายคือ ประชาชนผู้เสียภาษี ตึกนี้ได้มีการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีอาคาร เพื่อให้เป็น “อาคารประหยัดพลังงาน หรือ  มีมาตรฐานอาคารเขียวทั้งระดับโลก-ระดับประเทศ” หรือไม่? ย่านบางซื่อถูกตั้งเป้าเป็น Smart City แต่อาคารราชการแห่งนี้จะเป็นแบบอย่างของการประหยัดพลังงานและการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืนได้จริงหรือ?
.
• มีการออกแบบ ช่องเปิดกลางตึกขนาดใหญ่(VOID) ก็คิดว่าจะเปิดรับ “แสงธรรมชาติ” เข้าสู่อาคารจากด้านบนตึก แต่จากแบบกลับพบว่า ดาดฟ้าของตึก ถูกปิดทึบด้วยหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งปิดทึบ แสงธรรมชาติไม่เข้าแน่
.
• มีระบบ “หมุนเวียนน้ำ” เช่น greywater หรือ rainwater harvesting หรือไม่?
.
• ใช้กระจกสะท้อนความร้อน หรือแผงบังแดด (Fin shading) ที่ถูกออกแบบตามทิศทางแสงแดดหรือไม่?
ใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และขอรับรอง “อาคารเขียว”เพื่อเป็นอาคารที่ประหยัดพลังงาน (LEED มาตรฐานระดับโลก หรือ TREES มาตรฐานระดับประเทศไทย) หรือไม่?
.
• แต่ช่อง VOID ขนาดใหญ่ กลับดูเหมือน “เพิ่มภาระแอร์” ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน! เพราะไม่ได้เป็นอาคารที่ระบายอากาศ
.
5. คำถามสำคัญที่อยากชวนคิดกัน สำหรับนักออกแบบแล้ว เราสามารถสร้างสรรค์เพื่อ “เปลี่ยนความรู้สึก“ ของผู้คนได้ แต่การออกแบบนี้ อาจทำให้ระบบราชการอยู่ห่างจากประชาชนมากขึ้นหรือไม่?
เทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว (ญี่ปุ่น):
.
ประเทศพัฒนาแล้วเน้นการกระจายอำนาจและบูรณาการการทำงาน เช่น กระทรวง MLIT หรือ Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism หรือ กระทรวง ที่ดิน,โครงสร้างพื้นฐาน,การคมนาคมและการท่องเที่ยว จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของหน่วยงานรัฐที่ญี่ปุ่น คือ “การบูรณาการ” เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างคาบทุกมิติ และแน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องมีตึกทำงานขนาดใหญ่ แต่ขึ้นอยํ่กับประสิทธิภาพการทำงานรับใช้ประชาชน
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือของญี่ปุ่นที่มีเพียง 11 กระทรวง ในขณะที่ประเทศไทย มีทั้งหมดกว่า 20 กระทรวง และข้าราชการส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่กับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อทำงานใกล้ชิดประชาชน ต่างจากไทยที่รัฐราชการรวมศูนย์ ส่วนกลางมีแต่โตขึ้น!
.
แน่นอนว่า พรรคประชาชน เรามาพร้อมข้อเสนออยู่เสมอ ทางออกอย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างตึกคมนาคมใหม่นี้คือ :
.
1. เนื่องจากคำตอบจากปลัดกระทรวงฯ ยังไม่มีความชัดเจน กรรมาธิการ จึงเสนอให้ เรียกเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเข้ามาตอบชี้แจงด้วยตัวเอง! เพราะปัจจุบัน ผู้ที่มาชี้แจงคือ ข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่รับสนองนโยบายจากฝ่ายการเมือง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องรับผิดและรับชอบกับการใช้ภาษีของประชาชนในครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
.
2. ขอให้กรรมาธิการงบประมาณร่วมกันเพื่อพิจารณา ให้กระทรวงคมนาคมนำกลับไปออกแบบตึกใหม่ ให้ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ประหยัดพลังงาน ละประหยัดภาษีประชาชน ในปีนี้ควรต้อง “ตัดงบโครงการนี้ทั้งหมด” แล้วนำมาเสนอในปีงบประมาณถัดไป! 
.
.

.
"กมธ.ท้องถิ่น วุฒิฯ" แนะยกระดับรับมืออุทกภัยเชียงรายทุกด้าน
https://siamrath.co.th/n/632661
.
"กมธ.ปกครองท้องถิ่น วุฒิฯ" แนะยกระดับรับมืออุทกภัยเชียงรายทุกด้าน เร่งสื่อสาร เตือนภัยถึงชุมชน-จัดข้อตกลงระดับท้องถิ่น ย้ำต้องแก้ปัญหาสารพิษในแม่น้ำกกให้เป็นรูปธรรม
.
วันที่ 30 มิ.ย.2568 น.ส.ภิญญาพัชญ์ ศันสนียชีวิน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะรองโฆษกคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงรายว่า ตนในฐานะวุฒิสมาชิกได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอส่งกำลังใจให้ประชาชนชาวเชียงรายทุกคนที่ประสบภัยในครั้งนี้ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 4,400 หลังคาเรือน โดยสถานการณ์ขณะนี้ถือว่าวิกฤติจากฝนตกหนักต่อเนื่องและน้ำป่าไหลหลาก
.
อุทกภัยครั้งนี้หนักมากจริงๆ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุกคนที่กำลังปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ทั้งต่อชีวิตตนเองและประชาชน สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังหลังจากนี้ ต้องจับตาเรื่องดินโคลนถล่มเป็นพิเศษด้วย” น.ส.ภิญญาพัชญ์ กล่าว
.
น.ส.ภิญญาพัชญ์ กล่าวว่า ควรมีการยกระดับมาตรการรับมืออุทกภัยในทุกด้าน และขอให้เร่งจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยอย่างทันท่วงที และเปิดระบบตรวจสอบสถานะการได้รับความช่วยเหลือเพื่อป้องกันความล่าช้าหรือการตกหล่นของผู้ประสบภัย
ต้องไม่ให้มีใครตกหล่น และต้องไม่มีใครถูกมองข้ามในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ เราต้องเปลี่ยนจากระบบ ‘ตั้งรับ’ ไปเป็นระบบ ‘ป้องกันเชิงรุก’ โดยต้องประสานงานกับผู้นำท้องถิ่น อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครภัยพิบัติในพื้นที่ให้แน่นแฟ้นกว่าเดิม
.
น.ส.ภิญญาพัชญ์ ยังกล่าวถึงปัญหาในระดับข้ามพรมแดนว่า รัฐบาลควรเร่งเจรจาระหว่างประเทศเพื่อจำกัดกิจกรรมจากเหมืองทองคำที่อาจปล่อยสารพิษลงสู่แม่น้ำกกและแม่น้ำสาย รวมถึงเรียกร้องให้มีข้อตกลงด้านข้อมูลน้ำระหว่างกันในระดับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนน้ำหลากจากต้นน้ำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
.
แม่น้ำกกไม่ใช่เพียงแค่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เป็นเส้นเลือดของเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนเชียงราย หากเกิดการปนเปื้อนจากสารโลหะหนัก หรือไซยาไนด์จากกิจกรรมเหมือง อาจส่งผลสะสมต่อสุขภาพคนทั้งจังหวัดในระยะยาว” น.ส.ภิญญาพัชญ์ กล่าว
.
ทั้งนี้ น.ส.ภิญญาพัชญ์ ยังเรียกร้องให้มีการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ (real-time monitoring) ในแม่น้ำสายหลัก พร้อมเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ เพื่อให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีบทบาทร่วมในการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ และเราต้องทำให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยที่จะมาถึงก่อนที่มันจะกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต
.
น.ส.ภิญญาพัชญ์ กล่าวว่า นอกจากการรับมือเชิงโครงสร้างแล้ว ยังควรส่งเสริมการสร้าง “เครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัย” ตามหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตเสี่ยงน้ำหลาก เพื่อให้มีบุคลากรในพื้นที่คอยรายงานสถานการณ์และดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก ในช่วงเวลาวิกฤต คนที่เปราะบางที่สุดมักเป็นคนที่ถูกลืม ดังนั้นการออกแบบระบบภัยพิบัติในอนาคต ต้องมีมุมมองของความเท่าเทียมและความยืดหยุ่นในเชิงพื้นที่ (area-based resilience) ไม่ใช่แค่แผนงานที่อยู่บนกระดาษ” น.ส.ภิญญาพัชญ์ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่