เราเจอกระทู้ถามเรื่องภาษี มีคนบอกให้ถาม AI สิ บางเรื่องตอบในที่สาธารณะไม่ได้ เราเลยอยากรู้ว่าปรึกษาภาษีกับ AI จะแม่นหรือมั่ว มาลองดูกัน
ในกระทู้นี้ทดลองกับ AI เวอร์ชันฟรี 3 ตัว ได้แก่ ChatGPT Gemini และ Copilot ตัดมาเฉพาะส่วนสำคัญที่ AI ตอบเพื่อไม่ให้กระทู้ยาวเกินไป
เครื่องหมายที่ในบทสนทนา
✅ หมายถึง ตอบถูก
❌ หมายถึง ตอบผิด
❓ หมายถึง ตอบคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ผู้อ่านอาจเข้าใจผิด ควรขยายความมากกว่านี้
❔
คำถามที่ 1
บริษัทจ่ายเงินเดือนให้กรรมการ กรรมการสามารถขอให้บริษัทจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนได้หรือไม่?
เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บริษัทจ่ายภาษีแทนกรรมการได้ แต่มาตรา 39 ระบุว่าเงินค่าภาษีอากรที่ผู้อื่นจ่ายแทนให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินด้วย ดังนั้นต้องคำนวณย้อนกลับ หาเงินได้ของกรรมการก่อน แล้วค่อยหายอดที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินเดือนกรรมการเป็นเงินได้ประเภทใดขึ้นอยู่กับลักษณะของเงินได้ เช่น ถ้าจ่ายเงินได้เพราะเป็นกรรมการ ไม่เข้าทำงานก็ยังได้เงิน เป็นเงินได้จากการดำรงตำแหน่ง ถือเป็นเงินได้ 40 (2) ถ้าจ่ายเงินได้เพราะการทำงานอื่น ๆ ให้พิจารณาเป็นรายกรณี ถ้ากรรมการเป็นผู้ทำบัญชีอิสระ รับทำบัญชีให้บริษัท เฉพาะเงินที่เป็นค่าทำบัญชีถือเป็นเงินได้ 40 (6) ถ้ากรรมการทำงานทั่วไปเสมือนเป็นลูกจ้างของบริษัท ไม่ใช่ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฎีกามองเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้ 40 (1)
เงินได้ 40 (1) - (2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) โดยคำนวณเสมือนจ่ายเงินได้นั้นตลอดปี คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นบันไดตลอดปีของผู้รับเงินได้ แล้วนำมาหารจำนวนครั้งที่จ่ายเงินได้ เป็นยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในครั้งนั้น ผู้จ่ายเงินได้ต้องยื่น ภ.ง.ด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ChatGPT
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: บริษัทจ่ายเงินเดือนให้กรรมการ กรรมการสามารถขอให้บริษัทจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนได้หรือไม่?
🤖 ChatGPT: ได้ ✅ ถือว่าบริษัทให้ผลประโยชน์เพิ่มแก่กรรมการ ต้องนำไปรวมเป็นรายได้ของกรรมการ ✅
🙂 User: หักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนกรรมการที่อัตราภาษีเท่าใด?
🤖 ChatGPT: ค่าตอบแทนกรรมการ หากเป็นเงินเดือนประจำให้หักภาษีขั้นบันได ✅ ตามแบบ ภ.ง.ด.1 ✅ หากเป็นค่าประชุมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ❌ ตามแบบ ภ.ง.ด.3 ❌
🙂 User: อ้างอิงกฎหมายใด มาตราใด?
🤖 ChatGPT: เงินได้ 40 (2) ค่าตอบแทนกรรมการให้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) ❌
🙂 User: มาตรา 50 (2) กล่าวถึงอะไร?
🤖 ChatGPT: ขอโทษที่ทำให้เข้าใจผิด เงินได้ 40 (2) ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) ✅
ผิดหลายจุด ต้องจี้ถามข้อกฎหมายถึงจะแก้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้กฎหมายจะไม่ทราบและไม่ได้ถามจี้
Gemini
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: บริษัทจ่ายเงินเดือนให้กรรมการ กรรมการสามารถขอให้บริษัทจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนได้หรือไม่?
🤖 Gemini: ได้ ✅ เงินค่าภาษีที่บริษัทออกแทนถือเป็นเงินได้ของกรรมการด้วย ✅
🙂 User: หักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนกรรมการที่อัตราภาษีเท่าใด?
🤖 Gemini: ให้คำนวณตามอัตราก้าวหน้าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ✅
🙂 User: อ้างอิงกฎหมายใด มาตราใด?
🤖 Gemini: เงินได้ของกรรมการเป็นเงินได้ 40 (1) ❓ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ❓
🙂 User: เงินเดือนกรรมการเป็นเงินได้ประเภทใด?
🤖 Gemini: เงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นที่กรรมการได้รับถือเป็นเงินได้ 40 (1) ❓ หากเป็นเบี้ยประชุมหรือการให้คำปรึกษาเป็นเงินได้ 40 (2) ✅
โดยรวมถือว่าถูกต้อง แต่มีจุดกำกวมอยู่บ้าง อาจทำให้ผู้อ่านสับสนและนำไปใช้ผิดได้ คำตอบแบบเต็มมีน้ำเยอะออกทะเลไปหน่อย
Copilot
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: บริษัทจ่ายเงินเดือนให้กรรมการ กรรมการสามารถขอให้บริษัทจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนได้หรือไม่?
🤖 Copilot: ได้ ✅ ไม่ว่าได้รับเงินได้ 40 (1) หรือ 40 (2) บริษัทสามารถจ่ายภาษีแทนได้ และถือว่าภาษีที่บริษัทจ่ายแทนเป็นประโยชน์ที่กรรมการได้รับ ✅
🙂 User: หักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนกรรมการที่อัตราภาษีเท่าใด?
🤖 Copilot: อัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 0% - 35% ✅ ยกเว้นเป็นเงินได้ 40 (2) ที่ผู้รับเงินไม่ได้อยู่ในประเทศไทยให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
🙂 User: อ้างอิงกฎหมายใด มาตราใด?
🤖 Copilot: เงินได้ 40 (1) และ 40 (2) ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) ✅ โดยมาตรา 52 กำหนดให้นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
คำตอบแบบเต็มลงลึกมาก มีแยกกรณีย่อย กรณีพิเศษก็ตอบดักไว้ แม้ตอบเยอะแต่ไม่ออกทะเล เป็นเนื้อหาที่ตอบเผื่อไว้สำหรับผู้ใช้งานบางคน
❔
คำถามที่ 2
ทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอย่างไร?
เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ทำธุรกิจร่วมกันในกรณีที่ไม่ได้เป็นคู่สมรส และไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ถือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญบุคคลธรรมดา ต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วน และเสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วน โดยใช้วิธีคำนวณและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อห้างหุ้นส่วนจ่ายส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนต้องเสียภาษีในนามตนเอง สรุปคือไม่จัดตั้งนิติบุคคลเสียภาษีสองเด้ง
การแบ่งส่วนแบ่งของกำไรหรือขาดทุนให้แบ่งตามสัดส่วนที่ตกลงไว้ มักตกลงตั้งแต่ตอนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สัดส่วนการแบ่งกำไรอาจแตกต่างจากสัดส่วนการแบ่งขาดทุนก็ได้ ส่วนมากนิยมกำหนดสัดส่วนตามทุนของแต่ละคน แต่จะกำหนดเป็นสัดส่วนอื่นก็ได้
ธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นเงินได้ 40 (8)
ChatGPT
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: ทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอย่างไร?
🤖 ChatGPT: เสียภาษีตามอัตราเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละบุคคล ❓ โดยยื่น ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
🙂 User: ขยายความวิธีคำนวณภาษี
🤖 ChatGPT: นำรายได้ทั้งหมดหักค่าใช้จ่าย ได้กำไรสุทธิเท่าไรนำมาคำนวณอัตราภาษีขั้นบันได ❓
🙂 User: ยื่นภาษีในนามของใคร? ให้เพื่อนยื่นภาษีคนเดียวได้หรือไม่?
🤖 ChatGPT: ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนไม่สามารถยื่นรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ❌ ไม่สามารถให้เพื่อนยื่นภาษีแทนได้ ✅ ต้องแยกยื่นภาษีในนามตัวเองตามสัดส่วนรายได้ที่ตกลงกัน ❓
🙂 User: ขยายความคำว่า "สัดส่วนรายได้ที่ตกลงกัน"
🤖 ChatGPT: หมายถึงข้อตกลงว่าใครจะถือหุ้นหรือรับส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจเท่าไร ❓
🙂 User: แต่ละคนต้องเสียภาษีจากสัดส่วนรายได้ที่ตกลงกันหรือส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วน?
🤖 ChatGPT: แต่ละคนต้องเสียภาษีจากส่วนแบ่งของกำไรสุทธิของกิจการตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ✅
เหมือนจะถูกแต่ก็เหมือนจะแถ ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยตอบแบบนี้เราให้ตก ต้องจี้ถามทีละจุดเพื่อให้ทบทวนคำตอบ คนที่ไม่มีความรู้จะถามจี้แบบนี้ได้ไหม
Gemini
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: ทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอย่างไร?
🤖 Gemini: ซื้อมาขายไปเป็นเงินได้ 40 (8) ✅ คุณและเพื่อนต้องเสียภาษีจากส่วนแบ่งรายได้ของแต่ละคน ❓
🙂 User: ขยายความคำว่า "ส่วนแบ่งรายได้ของแต่ละคน"
🤖 Gemini: ให้คำนวณกำไรสุทธิของกิจการก่อน มีกำไรสุทธิเท่าไรนำมาแบ่งกันระหว่างคุณกับเพื่อน ถือเป็นรายได้ส่วนตัวของแต่ละคน ✅
🙂 User: ยื่นภาษีในนามของใคร? ให้เพื่อนยื่นภาษีคนเดียวได้หรือไม่?
🤖 Gemini: คุณและเพื่อนต้องยื่นภาษีในนามของตัวเอง ✅ ไม่สามารถให้เพื่อนยื่นภาษีคนเดียวได้ ✅
🙂 User: ห้างหุ้นส่วนสามัญต้องเสียภาษีแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือไม่?
🤖 Gemini: ถูกต้อง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นหน่วยภาษีของตนเองแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้เกิดการเสียภาษีซ้ำซ้อน ✅
โดยรวมราบรื่นดี ไม่ผิด แต่กั๊กความรู้บอกไม่สุด ต้องถามจี้ตอนท้ายว่าห้างหุ้นส่วนเสียภาษีแยกต่างหากหรือไม่
Copilot
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้🙂 User: ทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอย่างไร?
🤖 Copilot: ซื้อมาขายไปเป็นเงินได้ 40 (8) ✅ โดยยื่นภาษีปีละสองครั้ง ได้แก่ กลางปี ภ.ง.ด.94 และสิ้นปี ภ.ง.ด.90
🙂 User: ยื่นภาษีในนามของใคร? ให้เพื่อนยื่นภาษีคนเดียวได้หรือไม่?
🤖 Copilot: ไม่สามารถให้เพื่อนยื่นภาษีคนเดียวได้ ✅ ต้องยื่นภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ ✅ ต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญ เมื่อแบ่งรายได้สุทธิให้แต่ละคนตามสัดส่วนที่ตกลงกัน แต่ละคนนำไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ของตนเองอีกครั้ง ✅
คำตอบถูก สั้น และตรงประเด็น ไม่ออกทะเล ไม่ต้องถามจี้เยอะ
สรุปผลการทดลอง
ChatGPT: ออกทะเลเยอะ มั่วเยอะ ต้องคอยจี้ทีละจุด ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้ด้านภาษีมีโอกาสได้ข้อมูลผิด ใช้ในฐานะที่ปรึกษาภาษีถือว่ายอมรับไม่ได้ ตอบมั่วขนาดนี้ผู้ใช้อาจนำไปยื่นภาษีผิด เดือดร้อนต้องมาตามแก้อีก ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยถือว่าสอบตก นักศึกษาคนนี้ไม่ได้เข้าใจเรื่องภาษีเลย นึกอะไรออกก็เขียนใส่กระดาษคำตอบไว้ก่อน
Gemini: สองคำถามนี้ไม่เจอจุดผิด แต่ออกทะเลพอควร ต้องตีกรอบให้เข้าประเด็น ถามจี้จุดเป็นครั้งคราว บางประเด็นถูกหลงลืมต้องคอยจี้ ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยให้ผ่าน ให้คะแนน 60 - 75% เป็นนักศึกษาทั่วไป เตรียมตัวอ่านสอบมา แต่ก็มีพลาดบ้างเหมือนนักศึกษาทั่วไป ไม่แย่ไม่ดีแค่พอผ่าน
Copilot: ถูก สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่ออกทะเล เจอคำตอบแล้วอึ้ง ไม่รู้จะถามอะไรต่อเพราะตอบครบหมดแล้ว ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยให้คะแนนเต็ม 100% เป็นนักศึกษาที่เก่งและตอบกระชับ ไม่เขียนยาวเต็มหน้ากระดาษเพื่อขอคะแนนความสงสารจากอาจารย์ แถมมีความรู้เกินเนื้อหาที่ออกสอบ มีเสริมกรณีเฉพาะที่อาจเกิดขึ้นจริง
ส่งท้าย
อยากเพิ่มคำถามมากกว่านี้ แต่สองคำถามจะครบ 10,000 ตัวอักษรที่พันทิปจำกัดแล้ว ไว้กระทู้หน้ามาตั้งคำถามเพิ่ม (ถ้ามีโอกาส) ใครคิดคำถามเกี่ยวกับภาษีออกช่วยส่งคำถามมาหน่อย อยากได้คำถามที่มีความยากพอตัว ตอบแบบอ้างอิงกฎหมาย จะได้ถามจี้ AI ได้ว่าถูกหรือผิด เอาข้อมูลมาจากไหน มีประเด็นให้ไล่จี้เรื่อย ๆ ยิ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดยิ่งดี จะได้ทดสอบการค้นคว้าข้อมูลของ AI ว่ารู้จริงหรือมั่ว
สุดท้ายนี้อยากบอกว่า มาปรึกษาผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษีที่เป็นมนุษย์เถอะ อย่าใช้ AI เลย เจอมาหลายกระทู้มั่วภาษีเพราะ AI เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย อย่าให้เป็นแบบนั้นเลย โดนปรับย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยคงไม่ใช่เรื่องสนุกหรอกนะ
AI ปรึกษาภาษี จะแม่นหรือมั่วมาลองกัน (ChatGPT, Gemini, Copilot)
ในกระทู้นี้ทดลองกับ AI เวอร์ชันฟรี 3 ตัว ได้แก่ ChatGPT Gemini และ Copilot ตัดมาเฉพาะส่วนสำคัญที่ AI ตอบเพื่อไม่ให้กระทู้ยาวเกินไป
เครื่องหมายที่ในบทสนทนา
✅ หมายถึง ตอบถูก
❌ หมายถึง ตอบผิด
❓ หมายถึง ตอบคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ผู้อ่านอาจเข้าใจผิด ควรขยายความมากกว่านี้
❔ คำถามที่ 1
บริษัทจ่ายเงินเดือนให้กรรมการ กรรมการสามารถขอให้บริษัทจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนได้หรือไม่?
เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ChatGPT
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผิดหลายจุด ต้องจี้ถามข้อกฎหมายถึงจะแก้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้กฎหมายจะไม่ทราบและไม่ได้ถามจี้
Gemini
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยรวมถือว่าถูกต้อง แต่มีจุดกำกวมอยู่บ้าง อาจทำให้ผู้อ่านสับสนและนำไปใช้ผิดได้ คำตอบแบบเต็มมีน้ำเยอะออกทะเลไปหน่อย
Copilot
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำตอบแบบเต็มลงลึกมาก มีแยกกรณีย่อย กรณีพิเศษก็ตอบดักไว้ แม้ตอบเยอะแต่ไม่ออกทะเล เป็นเนื้อหาที่ตอบเผื่อไว้สำหรับผู้ใช้งานบางคน
❔ คำถามที่ 2
ทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอย่างไร?
เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ChatGPT
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เหมือนจะถูกแต่ก็เหมือนจะแถ ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยตอบแบบนี้เราให้ตก ต้องจี้ถามทีละจุดเพื่อให้ทบทวนคำตอบ คนที่ไม่มีความรู้จะถามจี้แบบนี้ได้ไหม
Gemini
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยรวมราบรื่นดี ไม่ผิด แต่กั๊กความรู้บอกไม่สุด ต้องถามจี้ตอนท้ายว่าห้างหุ้นส่วนเสียภาษีแยกต่างหากหรือไม่
Copilot
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำตอบถูก สั้น และตรงประเด็น ไม่ออกทะเล ไม่ต้องถามจี้เยอะ
สรุปผลการทดลอง
ChatGPT: ออกทะเลเยอะ มั่วเยอะ ต้องคอยจี้ทีละจุด ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้ด้านภาษีมีโอกาสได้ข้อมูลผิด ใช้ในฐานะที่ปรึกษาภาษีถือว่ายอมรับไม่ได้ ตอบมั่วขนาดนี้ผู้ใช้อาจนำไปยื่นภาษีผิด เดือดร้อนต้องมาตามแก้อีก ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยถือว่าสอบตก นักศึกษาคนนี้ไม่ได้เข้าใจเรื่องภาษีเลย นึกอะไรออกก็เขียนใส่กระดาษคำตอบไว้ก่อน
Gemini: สองคำถามนี้ไม่เจอจุดผิด แต่ออกทะเลพอควร ต้องตีกรอบให้เข้าประเด็น ถามจี้จุดเป็นครั้งคราว บางประเด็นถูกหลงลืมต้องคอยจี้ ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยให้ผ่าน ให้คะแนน 60 - 75% เป็นนักศึกษาทั่วไป เตรียมตัวอ่านสอบมา แต่ก็มีพลาดบ้างเหมือนนักศึกษาทั่วไป ไม่แย่ไม่ดีแค่พอผ่าน
Copilot: ถูก สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่ออกทะเล เจอคำตอบแล้วอึ้ง ไม่รู้จะถามอะไรต่อเพราะตอบครบหมดแล้ว ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยให้คะแนนเต็ม 100% เป็นนักศึกษาที่เก่งและตอบกระชับ ไม่เขียนยาวเต็มหน้ากระดาษเพื่อขอคะแนนความสงสารจากอาจารย์ แถมมีความรู้เกินเนื้อหาที่ออกสอบ มีเสริมกรณีเฉพาะที่อาจเกิดขึ้นจริง
ส่งท้าย
อยากเพิ่มคำถามมากกว่านี้ แต่สองคำถามจะครบ 10,000 ตัวอักษรที่พันทิปจำกัดแล้ว ไว้กระทู้หน้ามาตั้งคำถามเพิ่ม (ถ้ามีโอกาส) ใครคิดคำถามเกี่ยวกับภาษีออกช่วยส่งคำถามมาหน่อย อยากได้คำถามที่มีความยากพอตัว ตอบแบบอ้างอิงกฎหมาย จะได้ถามจี้ AI ได้ว่าถูกหรือผิด เอาข้อมูลมาจากไหน มีประเด็นให้ไล่จี้เรื่อย ๆ ยิ่งเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดยิ่งดี จะได้ทดสอบการค้นคว้าข้อมูลของ AI ว่ารู้จริงหรือมั่ว
สุดท้ายนี้อยากบอกว่า มาปรึกษาผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษีที่เป็นมนุษย์เถอะ อย่าใช้ AI เลย เจอมาหลายกระทู้มั่วภาษีเพราะ AI เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย อย่าให้เป็นแบบนั้นเลย โดนปรับย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยคงไม่ใช่เรื่องสนุกหรอกนะ