เมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วย ควรวางตัวอย่างไร?
เราเคยมีข้อสงสัยในเรื่องพวกนี้มาอยู่บ้าง
เพราะเรารู้สึกว่า ค่านิยม หรือ ธรรมเนียมอะไรบางอย่างที่คนทั่วไปเค้าทำๆ กัน
มันไม่ได้เป็นประโยชน์ หรือ ถุกต้องเหมาะสมเสมอไป
พอเรามีพ่อแม่ที่ป่วย มันมีเรื่องละเอียดอ่อนหลายเรื่องเลย
ที่จะพิจารณาว่า จะให้คนมาเยี่ยมดีหรือไม่? จะพร้อมตอนไหน?
ใครที่จะให้มาเยี่ยมได้บ้าง?....... และอีกจิปาถะ
เช่น แน่นอนว่า การมาเยี่ยมจะทำให้คนไข้ได้พักผ่อนน้อยลง
บางครั้ง คนไข้เกรงใจต้องรับแขก ทั้งๆ ที่อยากพัก
หรือรวมทั้ง คนดูแลคนไข้ ที่จะเหนื่อยกว่าปกติ ต้องคอยรับแขก
และอื่นๆ
--------------------------
สรุปสั้นๆ ประเด็นปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ
คนเยี่ยมไข้ มักคำนึงถึงตัวเอง มากกว่า ตัวผู้ป่วย
เช่น ก็ฉันเป็นห่วง ก็ฉันไม่สบายใจ ฉันอยากไปเยี่ยม ฉันอยาก...โน่นนี่
มันกลายเป็นการเอาความต้องการของตัวเองเป็นที่ตั้ง
แทนที่จะเอาความต้องการของคนป่วยเป็นที่ตั้ง
ว่าคนป่วยเค้าพร้อมให้เยี่ยมหรือไม่?
- ไม่ใช่คนป่วยทุกคนที่เค้าจะรู้สึกดี๊ด๊าที่มีคนไปเยี่ยม
คนป่วยจำนวนมาก ไม่อยากเจอใครในยามที่ตัวเองป่วย
อยากจะอยู่กับคนใกล้ชิดที่คุ้นเคยเท่านั้น
- หรือเวลาคนไปเยี่ยมเยอะๆ เสียงดัง วุ่นวาย แย่งกันคุย
ก็ทำให้คนป่วยรู้สึกเครียดได้ง่ายๆ
- บางทีคนไปเยี่ยมไม่ได้เตรียมใจเตรียมความพร้อม
พอเห็นคนป่วยในสภาพที่ตัวเองคาดไม่ถึง ก็แสดงออกทางสีหน้า แววตา
แสดงความกังวล ความทุกข์ใจออกมาให้คนป่วยได้รู้สึกกระทบใจไปด้วย
- คนป่วยไม่อยากคอยตอบคำถามโน่นนี่..ที่คนมาเยี่ยมจะมาถามซ้ำๆ กัน
- ไม่อยากฝืนทำตัวร่าเริงยิ้มแย้ม เพื่อให้คนมาเยี่ยมสบายใจ
...และอื่นๆ อีกมากมาย
เอาเป็นว่า ถ้าคุณจะไปเยี่ยมใคร ลองรอบคอบมากขึ้นในการพิจารณาว่า
เราควรไปเยี่ยมหรือไม่? เมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม? แล้วจะวางตัวยังไงในตอนไปเยี่ยม?
ทั้งหมดนี้ ให้คำนึงถึง "ใจของผู้ป่วย" มากกว่า "ใจของตนเอง" ค่ะ
รายละเอียดลองฟังในคลิปนะคะ เป็นแนวคิดจากพระภิกษุในพุทธศาสนา
แต่ไม่ได้จำกัดแค่ชาวพุทธเท่านั้น มันมีแง่คิดที่นำไปใช้ได้กับทุกคนค่ะ
เมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วย ควรวางตัวอย่างไร?
เราเคยมีข้อสงสัยในเรื่องพวกนี้มาอยู่บ้าง
เพราะเรารู้สึกว่า ค่านิยม หรือ ธรรมเนียมอะไรบางอย่างที่คนทั่วไปเค้าทำๆ กัน
มันไม่ได้เป็นประโยชน์ หรือ ถุกต้องเหมาะสมเสมอไป
พอเรามีพ่อแม่ที่ป่วย มันมีเรื่องละเอียดอ่อนหลายเรื่องเลย
ที่จะพิจารณาว่า จะให้คนมาเยี่ยมดีหรือไม่? จะพร้อมตอนไหน?
ใครที่จะให้มาเยี่ยมได้บ้าง?....... และอีกจิปาถะ
เช่น แน่นอนว่า การมาเยี่ยมจะทำให้คนไข้ได้พักผ่อนน้อยลง
บางครั้ง คนไข้เกรงใจต้องรับแขก ทั้งๆ ที่อยากพัก
หรือรวมทั้ง คนดูแลคนไข้ ที่จะเหนื่อยกว่าปกติ ต้องคอยรับแขก
และอื่นๆ
--------------------------
สรุปสั้นๆ ประเด็นปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ
คนเยี่ยมไข้ มักคำนึงถึงตัวเอง มากกว่า ตัวผู้ป่วย
เช่น ก็ฉันเป็นห่วง ก็ฉันไม่สบายใจ ฉันอยากไปเยี่ยม ฉันอยาก...โน่นนี่
มันกลายเป็นการเอาความต้องการของตัวเองเป็นที่ตั้ง
แทนที่จะเอาความต้องการของคนป่วยเป็นที่ตั้ง
ว่าคนป่วยเค้าพร้อมให้เยี่ยมหรือไม่?
- ไม่ใช่คนป่วยทุกคนที่เค้าจะรู้สึกดี๊ด๊าที่มีคนไปเยี่ยม
คนป่วยจำนวนมาก ไม่อยากเจอใครในยามที่ตัวเองป่วย
อยากจะอยู่กับคนใกล้ชิดที่คุ้นเคยเท่านั้น
- หรือเวลาคนไปเยี่ยมเยอะๆ เสียงดัง วุ่นวาย แย่งกันคุย
ก็ทำให้คนป่วยรู้สึกเครียดได้ง่ายๆ
- บางทีคนไปเยี่ยมไม่ได้เตรียมใจเตรียมความพร้อม
พอเห็นคนป่วยในสภาพที่ตัวเองคาดไม่ถึง ก็แสดงออกทางสีหน้า แววตา
แสดงความกังวล ความทุกข์ใจออกมาให้คนป่วยได้รู้สึกกระทบใจไปด้วย
- คนป่วยไม่อยากคอยตอบคำถามโน่นนี่..ที่คนมาเยี่ยมจะมาถามซ้ำๆ กัน
- ไม่อยากฝืนทำตัวร่าเริงยิ้มแย้ม เพื่อให้คนมาเยี่ยมสบายใจ
...และอื่นๆ อีกมากมาย
เอาเป็นว่า ถ้าคุณจะไปเยี่ยมใคร ลองรอบคอบมากขึ้นในการพิจารณาว่า
เราควรไปเยี่ยมหรือไม่? เมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม? แล้วจะวางตัวยังไงในตอนไปเยี่ยม?
ทั้งหมดนี้ ให้คำนึงถึง "ใจของผู้ป่วย" มากกว่า "ใจของตนเอง" ค่ะ
รายละเอียดลองฟังในคลิปนะคะ เป็นแนวคิดจากพระภิกษุในพุทธศาสนา
แต่ไม่ได้จำกัดแค่ชาวพุทธเท่านั้น มันมีแง่คิดที่นำไปใช้ได้กับทุกคนค่ะ