[[***ข้อความที่จะกล่าวถึง เป็นข้อความที่ดิฉันได้ตอบกลับกระทู้ของคุณคนหนึ่ง ซึ่งตั้งหัวข้อถามว่า "ทำไมถึงไม่มีนักเขียนชาวไทยคนไหนกล้าสร้างผลงานมหากาพย์ hight fantasy แบบ lord of the rings หรือแม้แต่ game of thrones" ซึ่งดิฉันก็พิมพ์ไปยาวมาก จนนึกเสียดายว่าถ้าไม่ตั้งกระทู้ให้ทุกๆคนได้เห็นหรือมาอ่านกัน ก็น่าเสียใจ(ซึ่งดิฉันก็ไม่รู้ว่าจะมีใครสนใจที่จะเข้ามาตอบกลับหรือแสดงความคิดเห็นกันหรือไม่😭)หากมีคําถาม หรือคําตอบความคิดเห็นและข้อเสนอ พิมพ์กันมาได้นะคะ***]]
ผมส่งสัยอย่างหนึ่งว่าทำไมนักเขียนนิยายชาวไทยถึงไม่ค่อยจะสร้างผลงานมหากาพย์ที่ออกแนว lord of the rings และ game of thrones ในเมื่อนิยาย 2 เรื่องนี้ก็โดงดังมากก็หน้าจะทำให้หลายคนสามารถนำไปเป็นแรงบันดาลใจและพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองได้ : คําตอบมีหลายปัจจัยค่ะ เรียกได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาพรวมที่กว้างขว้างมาก ไม่ใช่ว่าไม่มีนักเขียนชาวไทยที่ไม่เคยเขียนผลงานมหากาพย์เช่นนั้น แน่นอนว่ากระทู้ก่อนหน้านี้ที่ตอบผลงานตัวอย่างไปแล้ว เช่น เพชรพระอุมา ที่เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย(ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี มีความยาวทั้งสิ้น 48 เล่ม 12 ตอน) แต่งโดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เรียกได้ว่าคุณอาจจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้างกับผลงานของเขา แต่เรื่องที่ถูกยกตัวอย่างมานอกจากนี้ ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นมหากาพย์เท่าเรื่องของเพชรพระอุมาอีกแล้ว และถึงแม้ว่าเพชรพระอุมาจะถูกยกย่องเป็นอย่างมาก แต่กลับรู้จักกันในเพียงแวดวงชาวไทยเท่านั้น ไม่ได้ถึงขึ้นโด่งดังจนชาวต่างชาติรู้จัก และต้องยอมรับว่าเป็นนวนิยายที่เก่ามากแล้ว แถมพนมเทียนก็ได้นำเค้าโครงเรื่องมาจากคิงโซโลมอนส์ไมนส์ (King Solomon's Mines) หรือชื่อไทยคือ สมบัติพระศุลี ซึ่งเป็นนวนิยายของ Sir Henry Rider Haggard (H. Rider Haggard) ผู้มีชื่อเสียงจากนวนิยายเชิงมหากาพย์ของไวกิ้ง เรื่อง "Eric Brighteys" เรียกได้ว่าพนมเทียนได้รับแรงบันดาลใจและไอเดียจากผลงานของเขามาพอสมควร
ถ้าคุณจับประเด็นได้มากพอ คุณก็อาจจะเข้าใจแล้วหากคุณนํา lord of the rings หรือ game of thrones มาเปรียบเทียบกัน ข้อแตกต่างคือ “เพชรพระอุมา” แม้จะมีขนาดความยาวระดับมหากาพย์ มีเนื้อเรื่องผจญภัยต่อเนื่องอย่างเข้มข้น แต่หากเปรียบกับ Lord of the Rings หรือ Game of Thrones แล้ว จะเห็นได้ว่ามี “จุดแกนกลางทางแนวคิด” ที่ต่างกันอยู่พอสมควร
1. เพชรพระอุมา โลกที่พบเจอส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับโลกจริงของมนุษย์ คือป่าที่ลึกมากจนลึกลับถึงขั้นเหนือจริง มีสัตว์ประหลาด มีเผ่าพันธุ์ลึกลับ มีเรื่องราวของอารยธรรมที่สาบสูญ แต่ถึงที่สุดแล้วดิฉันก็ยังรู้สึกว่า “ตัวละครเหล่านั้นคือคนธรรมดาที่เข้าไปในป่าลึก”
ขณะที่ Lord of the Rings หรือ Game of Thrones สร้างโลกขึ้นใหม่ทั้งหมดแบบเต็มสเกลเป็น Secondary World ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชื่อประเทศหรือภาษาเท่านั้น แต่มีประวัติศาสตร์ ศาสนา เผ่าพันธุ์ มายาคติ ระบบการเมือง ระบบอำนาจ และแม้แต่ “ระบบกฎของเวทมนตร์” ที่ชัดเจนและมีตรรกะในตัวเองมันเอง เพชรพระอุมา มีความขัดแย้งหลักๆ อยู่ในรูปแบบของ “มนุษย์กับธรรมชาติ” และ “คนกลุ่มหนึ่งกับอำนาจลี้ลับที่ไม่อาจเข้าใจได้” ซึ่งแฝงด้วยปรัชญาชีวิต ความอดทน ศรัทธา ความไม่ยอมแพ้ และจิตวิญญาณแบบลูกผู้ชายในความคิดของดิฉัน ในขณะที่ Game of Thrones ขัดแย้งหลักๆ อยู่ที่ “อำนาจ” “ศีลธรรม” และ “ความจริงของมนุษย์ที่ป่าเถื่อนกว่าที่ทุกสิ่งเคยบอก” ส่วน Lord of the Rings ขัดแย้งอย่างลึกซึ้งในแบบ “พลังที่ยั่วยวนมนุษย์” “การเลือกเดินทางของจิตใจ” และ “หน้าที่ของชนชั้นต่างๆ ต่อโลก” เป็นสงครามระหว่างความดี ความชั่ว และความเลือกที่จะยืนอยู่ตรงกลางอย่างทรงเกียรติ แถมเพชรพระอุมา จะโฟกัสกับ “รพินทร์ ไพรวัลย์” เป็นหลักมากๆ และตัวละครอื่นส่วนใหญ่ก็มีบทบาทเป็นผู้แค่ผู้สนับสนุนในภารกิจ Lord of the Rings แม้จะมีโฟรโดเป็นศูนย์กลางแต่ก็จะเห็นว่านี่คือกลุ่มตัวละครที่มีมิติเท่าเทียมกันมาก มีการแยกเนื้อเรื่องออกเป็นเส้นๆ (เช่น เส้นเรื่องของอารากอร์น ฯลฯ) ทำให้โลกดูกว้างและลึกมีมิติมากยิ่งขึ้น (จึงถึงเรียกว่าเป็นจักรวาลหรือโลกมหากาพย์ยังไงล่ะคะ) ใน
Game of Thrones ยิ่งชัดไปใหญ่ เพราะโครงสร้างของเรื่องตั้งอยู่บนการเปลี่ยนมุมมองตัวละครในแต่ละบท (เขาเรียกว่า POV) และจะไม่มีวันปักใจได้เลยว่าใคร “พระเอก” ใคร “ผู้ร้าย” อย่างถาวร เพราะทุกคนต่างมีด้านที่ดี หรือด้านที่น่ารังเกียจอย่างเท่าเทียมกัน เพราะเราไม่สามารถเชื่อเลนส์สายตาของตัวละครที่เราอ่านอยู่ได้เลย เพราะมันมีความเชื่อและอคติของตัวละครเข้ามามีส่วนด้วย
**นี่คือสิ่งที่สําคัญค่ะ** แก่นความเป็น "มหากาพย์” ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย อีกจุดที่อยากสะท้อนเพิ่มเติม คือ วัฒนธรรมการเสพเรื่องเล่าแบบมหากาพย์อาจจะยังไม่ได้ฝังรากในคนไทยเท่าตะวันตก
นักอ่านชาวไทยอาจจะเคยชินกับเรื่องเล่าที่จบภายในภาคเดียว หรือไม่เกิน 3 ภาคและต้องมีอารมณ์รัก โรแมนติก หักมุม ซึ่งแม้แต่เพรชพระอุมาก็ตีพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ให้แฟนๆรออ่านไปทีละตอน แต่ “มหากาพย์” ในแบบ Tolkien หรือ Martin คือการเล่าเรื่องที่ “ไม่สนใจว่าคุณจะเบื่อไหม ขอแค่ได้เล่า”
***ซึ่งนักเขียนไทยที่อยากสร้างมหากาพย์แบบนั้นก็อาจถูกสำนักพิมพ์เบรกไปแล้ว ด้วยข้อจำกัดเชิงตลาด หรือถ้าอยากเขียนแบบลงแพลตฟอร์ม ก็อาจถูกคนอ่านรีวิวว่า “เนือยไป” “ช้าไป” “อ่านไม่รู้เรื่อง” แถมยังไม่มีระบบสนับสนุนแบบทีม worldbuilding หรือ editor ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบค่ายฝรั่งต่างชาติ😭 ซึ่งเพียงแค่คิด ก็นึกเสียดายความคิดสร้างสรรค์ของเหล่านักเขียนชาวไทยซึ่งไม่รู้ว่าหายไปไหนหมดแล้ว***
2. การเมือง + ศีลธรรม + ความกลัวการแตะ “ของสูง" หนึ่งในเหตุผลใหญ่คือ “คนไทยถูกปลูกฝังให้ไม่แตะเรื่องใหญ่ ไม่แตะของสูง ไม่พูดการเมืองแบบตรงๆ” โดยเฉพาะราชวงศ์ ศาสนา เทพเจ้าที่อิงประวัติศาสตร์จริง ซึ่งต่างจากฝรั่งที่เอากษัตริย์โหดๆ มาเขียนฆ่ากันเล่นได้เลย (Cersei Joffrey หรือแม้แต่ Daenerys ในเวอร์ชั่นซี่รีย์ที่ขี่มังกรเผาเมือง) ในไทยถ้าคุณเขียนอะไรที่เหมือนจะพาดพิงสถาบัน เทพเจ้าจริง ผู้นำ คงโดนเซนเซอร์และถูกจับเข้าซังเตมาก่อนยอดวิวแน่นอนค่ะ ดังนั้นนักเขียนเลยต้อง เซฟตัวเอง ไม่กล้าหยิบเอาราชวงศ์จริง หรือเทพในตำนานจริงมาดัดแปลงเป็นดราม่าแบบ GoT ได้เท่าไหร่
3.ตลาดยังแคบและระบบสนับสนุนยังไม่พร้อม ในไทย นิยายแฟนตาซีมหากาพย์ ยังถูกมองว่า ขายยาก ใช้เวลานาน ยืดเยื้อ ไม่แมส นักเขียนอิสระที่อยากเขียนแนวนี้จริงๆ มักต้องเข็นเอง ทุกอย่าง โดยไม่มีสำนักพิมพ์หรือโปรดักชันใหญ่มาลงทุนแบบที่ Tolkien มี Oxford หรือ George R. R. Martin มี HBO หนุนหลัง แถมคนอ่านในบ้านเรา ยังนิยมแนวสั้นๆ เร็วๆ จบในเล่ม มีดราม่าเข้มข้นทันทีมากกว่าการนั่งปูจักรวาลเป็นพันหน้า (ประมาณว่าบางคนอ่านบทที่ 1 แล้วถ้าไม่มีใครตายทันทีจะกดปิด)
4.วรรณกรรมไทยหลายยุคถูกตีกรอบแบบ กึ่งศาสนากึ่งศีลธรรม นิทานพื้นบ้าน หรือ ชาดกที่เรารู้จัก บ่อยครั้งเป็นแนวสอนใจมากกว่า ปะทะกันด้วยความคลุมเครือศีลธรรมแบบ GoT ดิฉันคิดว่าเราถูกสอนว่า “ถ้าดีต้องดีจริงๆ” ไม่มีพื้นที่ให้ตัวละครเทาๆแบบ Tyrion หรือ Melisandre ซักเท่าไหร่ ที่ฆ่าคนเพื่อทำตามศรัทธา ซึ่งความลึกในด้านจิตวิทยาศีลธรรมและอำนาจการเมืองแบบแฟนตาซีตะวันตก ยังไม่ถูกขุดในวรรณกรรมไทยเท่าไหร่(ทั้งที่จริงๆวัฒนธรรมอุษาคเนย์น่าจะมีแบบนี้เยอะแยะ)
สิ่งที่ดิฉันสรุปได้ก็คือ ไม่ใช่เพราะไม่มีนักเขียนไทยอยากเขียน แต่เพราะระบบและเส้นขอบเขตที่รายล้อมนักเขียน มันยังไม่เปิดพอให้สร้างจักรวาลแบบไม่ต้องกลัวใครเพ่งเล็ง บางทีถ้าเมื่อไหร่เรามีคนเขียนที่กล้าฝ่าออกมาได้ ดิฉันคิดว่าซักวันเราคงจะได้เห็น Game of Thrones แห่งสุวรรณภูมิแน่ค่ะ
มีใครเคยสงสัยบ้างไหมคะ? ว่าทําไมนักเขียนไทยไม่ชอบเขียนผลงาน "มหากาพย์"
ผมส่งสัยอย่างหนึ่งว่าทำไมนักเขียนนิยายชาวไทยถึงไม่ค่อยจะสร้างผลงานมหากาพย์ที่ออกแนว lord of the rings และ game of thrones ในเมื่อนิยาย 2 เรื่องนี้ก็โดงดังมากก็หน้าจะทำให้หลายคนสามารถนำไปเป็นแรงบันดาลใจและพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองได้ : คําตอบมีหลายปัจจัยค่ะ เรียกได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาพรวมที่กว้างขว้างมาก ไม่ใช่ว่าไม่มีนักเขียนชาวไทยที่ไม่เคยเขียนผลงานมหากาพย์เช่นนั้น แน่นอนว่ากระทู้ก่อนหน้านี้ที่ตอบผลงานตัวอย่างไปแล้ว เช่น เพชรพระอุมา ที่เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย(ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี มีความยาวทั้งสิ้น 48 เล่ม 12 ตอน) แต่งโดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เรียกได้ว่าคุณอาจจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้างกับผลงานของเขา แต่เรื่องที่ถูกยกตัวอย่างมานอกจากนี้ ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นมหากาพย์เท่าเรื่องของเพชรพระอุมาอีกแล้ว และถึงแม้ว่าเพชรพระอุมาจะถูกยกย่องเป็นอย่างมาก แต่กลับรู้จักกันในเพียงแวดวงชาวไทยเท่านั้น ไม่ได้ถึงขึ้นโด่งดังจนชาวต่างชาติรู้จัก และต้องยอมรับว่าเป็นนวนิยายที่เก่ามากแล้ว แถมพนมเทียนก็ได้นำเค้าโครงเรื่องมาจากคิงโซโลมอนส์ไมนส์ (King Solomon's Mines) หรือชื่อไทยคือ สมบัติพระศุลี ซึ่งเป็นนวนิยายของ Sir Henry Rider Haggard (H. Rider Haggard) ผู้มีชื่อเสียงจากนวนิยายเชิงมหากาพย์ของไวกิ้ง เรื่อง "Eric Brighteys" เรียกได้ว่าพนมเทียนได้รับแรงบันดาลใจและไอเดียจากผลงานของเขามาพอสมควร
ถ้าคุณจับประเด็นได้มากพอ คุณก็อาจจะเข้าใจแล้วหากคุณนํา lord of the rings หรือ game of thrones มาเปรียบเทียบกัน ข้อแตกต่างคือ “เพชรพระอุมา” แม้จะมีขนาดความยาวระดับมหากาพย์ มีเนื้อเรื่องผจญภัยต่อเนื่องอย่างเข้มข้น แต่หากเปรียบกับ Lord of the Rings หรือ Game of Thrones แล้ว จะเห็นได้ว่ามี “จุดแกนกลางทางแนวคิด” ที่ต่างกันอยู่พอสมควร
1. เพชรพระอุมา โลกที่พบเจอส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับโลกจริงของมนุษย์ คือป่าที่ลึกมากจนลึกลับถึงขั้นเหนือจริง มีสัตว์ประหลาด มีเผ่าพันธุ์ลึกลับ มีเรื่องราวของอารยธรรมที่สาบสูญ แต่ถึงที่สุดแล้วดิฉันก็ยังรู้สึกว่า “ตัวละครเหล่านั้นคือคนธรรมดาที่เข้าไปในป่าลึก”
ขณะที่ Lord of the Rings หรือ Game of Thrones สร้างโลกขึ้นใหม่ทั้งหมดแบบเต็มสเกลเป็น Secondary World ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชื่อประเทศหรือภาษาเท่านั้น แต่มีประวัติศาสตร์ ศาสนา เผ่าพันธุ์ มายาคติ ระบบการเมือง ระบบอำนาจ และแม้แต่ “ระบบกฎของเวทมนตร์” ที่ชัดเจนและมีตรรกะในตัวเองมันเอง เพชรพระอุมา มีความขัดแย้งหลักๆ อยู่ในรูปแบบของ “มนุษย์กับธรรมชาติ” และ “คนกลุ่มหนึ่งกับอำนาจลี้ลับที่ไม่อาจเข้าใจได้” ซึ่งแฝงด้วยปรัชญาชีวิต ความอดทน ศรัทธา ความไม่ยอมแพ้ และจิตวิญญาณแบบลูกผู้ชายในความคิดของดิฉัน ในขณะที่ Game of Thrones ขัดแย้งหลักๆ อยู่ที่ “อำนาจ” “ศีลธรรม” และ “ความจริงของมนุษย์ที่ป่าเถื่อนกว่าที่ทุกสิ่งเคยบอก” ส่วน Lord of the Rings ขัดแย้งอย่างลึกซึ้งในแบบ “พลังที่ยั่วยวนมนุษย์” “การเลือกเดินทางของจิตใจ” และ “หน้าที่ของชนชั้นต่างๆ ต่อโลก” เป็นสงครามระหว่างความดี ความชั่ว และความเลือกที่จะยืนอยู่ตรงกลางอย่างทรงเกียรติ แถมเพชรพระอุมา จะโฟกัสกับ “รพินทร์ ไพรวัลย์” เป็นหลักมากๆ และตัวละครอื่นส่วนใหญ่ก็มีบทบาทเป็นผู้แค่ผู้สนับสนุนในภารกิจ Lord of the Rings แม้จะมีโฟรโดเป็นศูนย์กลางแต่ก็จะเห็นว่านี่คือกลุ่มตัวละครที่มีมิติเท่าเทียมกันมาก มีการแยกเนื้อเรื่องออกเป็นเส้นๆ (เช่น เส้นเรื่องของอารากอร์น ฯลฯ) ทำให้โลกดูกว้างและลึกมีมิติมากยิ่งขึ้น (จึงถึงเรียกว่าเป็นจักรวาลหรือโลกมหากาพย์ยังไงล่ะคะ) ใน
Game of Thrones ยิ่งชัดไปใหญ่ เพราะโครงสร้างของเรื่องตั้งอยู่บนการเปลี่ยนมุมมองตัวละครในแต่ละบท (เขาเรียกว่า POV) และจะไม่มีวันปักใจได้เลยว่าใคร “พระเอก” ใคร “ผู้ร้าย” อย่างถาวร เพราะทุกคนต่างมีด้านที่ดี หรือด้านที่น่ารังเกียจอย่างเท่าเทียมกัน เพราะเราไม่สามารถเชื่อเลนส์สายตาของตัวละครที่เราอ่านอยู่ได้เลย เพราะมันมีความเชื่อและอคติของตัวละครเข้ามามีส่วนด้วย
**นี่คือสิ่งที่สําคัญค่ะ** แก่นความเป็น "มหากาพย์” ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย อีกจุดที่อยากสะท้อนเพิ่มเติม คือ วัฒนธรรมการเสพเรื่องเล่าแบบมหากาพย์อาจจะยังไม่ได้ฝังรากในคนไทยเท่าตะวันตก
นักอ่านชาวไทยอาจจะเคยชินกับเรื่องเล่าที่จบภายในภาคเดียว หรือไม่เกิน 3 ภาคและต้องมีอารมณ์รัก โรแมนติก หักมุม ซึ่งแม้แต่เพรชพระอุมาก็ตีพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ให้แฟนๆรออ่านไปทีละตอน แต่ “มหากาพย์” ในแบบ Tolkien หรือ Martin คือการเล่าเรื่องที่ “ไม่สนใจว่าคุณจะเบื่อไหม ขอแค่ได้เล่า”
***ซึ่งนักเขียนไทยที่อยากสร้างมหากาพย์แบบนั้นก็อาจถูกสำนักพิมพ์เบรกไปแล้ว ด้วยข้อจำกัดเชิงตลาด หรือถ้าอยากเขียนแบบลงแพลตฟอร์ม ก็อาจถูกคนอ่านรีวิวว่า “เนือยไป” “ช้าไป” “อ่านไม่รู้เรื่อง” แถมยังไม่มีระบบสนับสนุนแบบทีม worldbuilding หรือ editor ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบค่ายฝรั่งต่างชาติ😭 ซึ่งเพียงแค่คิด ก็นึกเสียดายความคิดสร้างสรรค์ของเหล่านักเขียนชาวไทยซึ่งไม่รู้ว่าหายไปไหนหมดแล้ว***
2. การเมือง + ศีลธรรม + ความกลัวการแตะ “ของสูง" หนึ่งในเหตุผลใหญ่คือ “คนไทยถูกปลูกฝังให้ไม่แตะเรื่องใหญ่ ไม่แตะของสูง ไม่พูดการเมืองแบบตรงๆ” โดยเฉพาะราชวงศ์ ศาสนา เทพเจ้าที่อิงประวัติศาสตร์จริง ซึ่งต่างจากฝรั่งที่เอากษัตริย์โหดๆ มาเขียนฆ่ากันเล่นได้เลย (Cersei Joffrey หรือแม้แต่ Daenerys ในเวอร์ชั่นซี่รีย์ที่ขี่มังกรเผาเมือง) ในไทยถ้าคุณเขียนอะไรที่เหมือนจะพาดพิงสถาบัน เทพเจ้าจริง ผู้นำ คงโดนเซนเซอร์และถูกจับเข้าซังเตมาก่อนยอดวิวแน่นอนค่ะ ดังนั้นนักเขียนเลยต้อง เซฟตัวเอง ไม่กล้าหยิบเอาราชวงศ์จริง หรือเทพในตำนานจริงมาดัดแปลงเป็นดราม่าแบบ GoT ได้เท่าไหร่
3.ตลาดยังแคบและระบบสนับสนุนยังไม่พร้อม ในไทย นิยายแฟนตาซีมหากาพย์ ยังถูกมองว่า ขายยาก ใช้เวลานาน ยืดเยื้อ ไม่แมส นักเขียนอิสระที่อยากเขียนแนวนี้จริงๆ มักต้องเข็นเอง ทุกอย่าง โดยไม่มีสำนักพิมพ์หรือโปรดักชันใหญ่มาลงทุนแบบที่ Tolkien มี Oxford หรือ George R. R. Martin มี HBO หนุนหลัง แถมคนอ่านในบ้านเรา ยังนิยมแนวสั้นๆ เร็วๆ จบในเล่ม มีดราม่าเข้มข้นทันทีมากกว่าการนั่งปูจักรวาลเป็นพันหน้า (ประมาณว่าบางคนอ่านบทที่ 1 แล้วถ้าไม่มีใครตายทันทีจะกดปิด)
4.วรรณกรรมไทยหลายยุคถูกตีกรอบแบบ กึ่งศาสนากึ่งศีลธรรม นิทานพื้นบ้าน หรือ ชาดกที่เรารู้จัก บ่อยครั้งเป็นแนวสอนใจมากกว่า ปะทะกันด้วยความคลุมเครือศีลธรรมแบบ GoT ดิฉันคิดว่าเราถูกสอนว่า “ถ้าดีต้องดีจริงๆ” ไม่มีพื้นที่ให้ตัวละครเทาๆแบบ Tyrion หรือ Melisandre ซักเท่าไหร่ ที่ฆ่าคนเพื่อทำตามศรัทธา ซึ่งความลึกในด้านจิตวิทยาศีลธรรมและอำนาจการเมืองแบบแฟนตาซีตะวันตก ยังไม่ถูกขุดในวรรณกรรมไทยเท่าไหร่(ทั้งที่จริงๆวัฒนธรรมอุษาคเนย์น่าจะมีแบบนี้เยอะแยะ)
สิ่งที่ดิฉันสรุปได้ก็คือ ไม่ใช่เพราะไม่มีนักเขียนไทยอยากเขียน แต่เพราะระบบและเส้นขอบเขตที่รายล้อมนักเขียน มันยังไม่เปิดพอให้สร้างจักรวาลแบบไม่ต้องกลัวใครเพ่งเล็ง บางทีถ้าเมื่อไหร่เรามีคนเขียนที่กล้าฝ่าออกมาได้ ดิฉันคิดว่าซักวันเราคงจะได้เห็น Game of Thrones แห่งสุวรรณภูมิแน่ค่ะ