แถลงจับกรรมการไชน่า เรลเวย์ No.10 ข้อหานอมินี เร่งล่าตัวอีก 3 คนไทย DSI สาวไส้ 4 นอมินี China Railway

รมว.ยุติธรรม พร้อมด้วยอธิบดี DSI แถลงจับกุมกรรมการไชน่า เรลเวย์ No.10 ในข้อหานอมินี พร้อมเร่งติดตามตัวอีก 3 คนไทย ปมตึก สตง.ถล่ม หลังพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าคนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว

วันที่ 19 เมษายน 2568 จากกรณีแฟนเพจ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ โพสต์ข้อความว่า "ด่วน!!! DSI จับกรรมการไชน่า เรลเวย์ No.10 ข้อหานอมินีแล้ว กำลังนำตัวมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ" ตามที่ได้รายงานไปแล้วนั้น (อ่านข่าว : ด่วน DSI เผยจับกรรมการไชน่า เรลเวย์ No.10 ข้อหานอมินีแล้ว)
ล่าสุด เมื่อเวลา 19.20 น. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ ได้ร่วมกันแถลงข่าวจับกรรมการไชน่า เรลเวย์ No.10 ข้อหานอมินี

สืบเนื่องจาก พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ ได้มอบหมายให้นายวิทวัส สุคันธรส ผอ.ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว และนายวุฒิไกร ศรีธวัช ณ อยุธยา ผอ.ส่วนสืบสวนสะกดรอยและการข่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว นำหมายจับศาลอาญา ความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 37 และมาตรา 41 เข้าจับกุมนายชวนหลิง จาง ที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยจากการจับกุมพบว่า นายชวนหลิง จาง สวมเสื้อโปโลคอปกสีเทา กางเกงสแล็คขายาวสีดำ สวมแว่นสายตา แมสก์และหมวกสีขาว ขณะรับฟังรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดีจากเจ้าหน้าที่
...
ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสะกดรอยฯ ได้ควบคุมตัวนายชวนหลิง จาง ไปยังอาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อดำเนินการส่งตัวต่อให้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี ทำการรับตัว แจ้งข้อกล่าวหา พิมพ์ลายนิ้วมือ สอบสวนต่อหน้าทนายความ โดยพนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัว 48 ชม. ส่วนถ้ามีการยื่นประกันตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยหลักประกันใช้ 3 ใน 4 ของข้อบังคับประธานศาลฎีกา ซึ่งหากพนักงานสอบสวนอนุญาตประกันชั่วคราว จากนี้ผู้ต้องหาก็สามารถนำพยานหลักฐานมาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อไป

ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า การออกหมายจับของดีเอสไอวันนี้ ที่ได้ขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ในข้อหาเกี่ยวกับเป็นบุคคลต่างด้าวประกอบธุรกิจต้องห้าม เพราะพบหลักฐานน่าเชื่อได้ว่าบริษัทไชน่าเรลเวย์ฯ ให้กรรมการคนไทย 3 คน ซึ่งตรวจสอบแล้วก็ไม่ได้มีฐานะทางการเงิน มาถือหุ้นแทนคนต่างด้าว จากการพบหลักฐานทางการเงินกว่า 2,000 ล้านบาทที่กู้ยืมจากกรรมการคนจีน

ส่วนอีกคดีเกี่ยวกับการฮั้วประมูลนั้น ดีเอสไอกำลังเร่งดำเนินการอย่างรอบคอบ เพราะหากเป็นนอมินีของบุคคลต่างด้าวอำพรางมาร่วมทำสัญญากับ สตง. ก็จะเข้าข่ายความผิดมาตรา 7 เรื่องการใช้อุบายหรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดเพื่อให้ได้งาน เป็นความผิดเกี่ยวกับการฮั้วประมูล ซึ่งดีเอสไอกำลังสอบสวนอยู่ว่าเข้าข่ายการใช้อุบายหรือไม่ ส่วนการสอบปากคำวิศวกรผู้ควบคุมงาน ส่วนใหญ่ก็จะปฏิเสธอ้างว่ามีการปลอมลายเซ็น

ส่วนคดีที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตำรวจตั้งเรื่องไว้เป็นเรื่องกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ส่วนจะมีเจตนาทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือไม่ ก็ถือเป็นอีกส่วนที่พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งนี้บริษัทไชน่าเรลเวย์ฯ ถือเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง จึงอยากให้ทางบริษัทฯ เอาหลักฐานมาดู เพื่อหาคำตอบว่าทำไมตึก สตง.จึงถล่มทำให้มีคนตายจำนวนมาก ซึ่งเราพร้อมจะรับฟังข้อมูลทั้งหมด

ด้าน พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เบื้องต้นเจ้าตัวก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และหลังจากนี้เจ้าหน้าที่จะเริ่มสอบปากคำ หลังจากที่ล่ามและทนายความของเจ้าตัวมาถึง ส่วนกรรมการคนไทยอีก 3 คนที่ถูกออกหมายจับ เจ้าหน้าที่เชื่อว่ายังหลบหนีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งติดตามจับกุมตัว สำหรับจำนวนหุ้นที่กรรมการทั้ง 3 คนถืออยู่รวมกัน 51 เปอร์เซ็นต์นั้น ดีเอสไอมีพยานหลักฐานน่าเชื่อได้ว่าไม่ได้ถือหุ้นจริง แต่เป็นการถือหุ้นอำพรางแทนคนต่างด้าว จึงได้ออกหมายจับมาดำเนินคดี

ขณะที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้ข้อมูลว่าจากการตรวจสอบวีซ่าของเจ้าตัวยังไม่หมดอายุ มีการเข้าออกประเทศไทยอยู่เป็นระยะๆ.



DSI สาวไส้ 4 นอมินี China Railway ปมตึกสตง. ถล่ม เร่งสอบฮั้วประมูล
19 เมษายน 2568
แชร์



DSI ออกหมายจับ 4 ผู้ต้องหาคดีนอมินี บริษัท China Railway No.10 พบเป็นคนไทย 3 ราย นิติบุคคลต่างชาติ 1 ราย เดินหน้าเร่งสอบสวนประเด็นฮั้วประมูล มาตรฐานการก่อสร้าง
พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและพ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้แถลงข่าวความคืบหน้าต่อกรณี จับกรรมการ บริษัท "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี"
 

หรือ China Railway No.10 Engineering Group ในข้อหานอมินีที่เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งพังถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568
 

[img]https://image.posttoday.com/uploads/images/contents/w1024/2025/04/PHmV5KdybCICG8iZ3TXO.webp?x-image-process=style/lg-webp[/img]
 

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้การดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าวมี 2 หน่วยงานหลักคือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ
 

ดีเอสไอ โดยการมอบหมายของอธิบดีดีเอสไอ ได้ให้รองอธิบดีขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้จำนวน 4 ราย ประกอบด้วยคนไทย 3 ราย และนิติบุคคลต่างชาติ คือ
 

บริษัท China Railway No.10 Engineering Group Company ในข้อหาเป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจต้องห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 
 

ซึ่งโดยหลักการแล้ว การที่คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้ นิติบุคคลนั้นจะต้องมีคนไทยถือหุ้น 51% และคนต่างด้าวถือหุ้น 49%
 

จากการสอบสวน ดีเอสไอพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีการนำคนไทยจำนวน 3 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัว มาถือหุ้นแทนคนต่างด้าว
 

โดยมีหลักฐานทางการเงินจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท ที่เป็นการกู้ยืมจากกรรมการซึ่งเป็นคนจีนให้กับกรรมการคนไทยที่ไม่มีฐานะทางการเงิน
 

ประกอบกับหลักฐานจากการสอบพยาน ทำให้เชื่อได้ว่าการถือหุ้นดังกล่าวเป็นการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ซึ่งเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวมีคุณสมบัติเข้าทำสัญญาร่วมกับ สตง. ในโครงการก่อสร้างอาคารนี้
 

ล่าสุด มีรายงานจากเจ้าหน้าที่ดีเอสไอว่า สามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว (สัญชาติจีน) ได้แล้ว 1 รายคือนาย ชวน หลิง จาง เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาในย่านรัชดาภิเษก
 

และได้นำตัวมาถึงที่ทำการพนักงานสอบสวนดีเอสไอแล้ว อยู่ระหว่างการรอทนายความและล่ามเพื่อดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยผู้ต้องหารายนี้มีประวัติการเข้าออกประเทศ และวีซ่ายังไม่หมดอายุ (หมดอายุวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568)

สำหรับผู้ต้องหาคนไทยอีก 3 รายนั้น ได้แก่
นายประจวบ ศิริเขตร
นายโสภณ มีชัย
นายมานัส ศรีอนันต์
 
ยังคงอยู่ระหว่างการติดตามตัว แม้จะเห็นญาติและยานพาหนะบางส่วน แต่ยังไม่พบตัวผู้ต้องหา ซึ่งทั้ง 3 คนนี้มีสัดส่วนการถือหุ้นรวมกัน 51% ตามที่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการถือหุ้นอำพรางแทนคนต่างด้าว
 

ขยายผลสอบสวนประเด็นฮั้วประมูลและมาตรฐานการก่อสร้าง
 

นอกจากประเด็นนอมินีแล้ว ดีเอสไอยังคงดำเนินการสอบสวนในอีก 2 ประเด็นสำคัญ คือ
 

การฮั้วประมูล: เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (พ.ร.บ. ฮั้วประมูล) มาตรา 7 หรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้อุบายหรือกระทำการอื่นใดเพื่อให้ได้งาน โดยกรณีการใช้นอมินีนั้น จะต้องพิจารณาว่าเข้าข่ายเป็นการใช้อุบายหรือไม่ เพราะหากไม่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง บริษัทไทยจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องสืบสวนอย่างรอบคอบ
มาตรฐานการก่อสร้างและวัสดุ: มีการตรวจสอบว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เหล็ก หรือปูน ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นสาเหตุโดยตรงที่อาจนำไปสู่อาคารถล่มได้ อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน
 

พร้อมกันนี้ ดีเอสไอยังได้ตรวจสอบสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างละเอียด ทั้งสัญญาออกแบบ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (วิศวกร, สถาปนิก),
 

สัญญาควบคุมงาน ซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิเสธว่ามีการปลอมลายเซ็น,
 

สัญญาแก้ไขแบบ ซึ่งมีการแก้ไขถึง 9 ครั้ง และสัญญาก่อสร้างหลัก อยู่ระหว่างการขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 

เป้าหมายสูงสุดของการสืบสวนสอบสวนคือการค้นหาความจริงว่าเหตุใดอาคาร สตง. จึงถล่มลงมาและทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
 

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงว่า บริษัท China Railway No.10 Engineering Group มีสัญญาโครงการอื่นในประเทศไทยอีก 11 สัญญา อมยิ้ม07
 

ซึ่งแม้ดีเอสไอจะเน้นที่อาคาร สตง. เป็นหลัก แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องพิจารณาดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย


 

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่