จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้
- บทความนี้มีไว้สำหรับผู้เข้ารับการตรวจเลือกเกณฑ์ทหารที่มี “โรคประจำตัว” หรือมี “ความเจ็บป่วย” ที่เข้าได้กับบุคคลจำพวกที่ 2 3 และ 4 เพื่อจะได้เตรียมเอกสารหลักฐานทางการแพทย์ให้มีความครอบคลุม และเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการตรวจเลือกมากที่สุด
- ในปีนี้ผมได้เป็นกรรมการแพทย์อีกครั้ง ซึ่งมีผู้เข้ารับการตรวจเลือกจำนวนมาก ที่ผมเชื่อว่ามีความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องเป็นทหารจริง แต่ เอกสารหลักฐานที่นำมายื่นนั้น ไม่เรียบร้อย/ไม่ถูกต้อง ทำให้ต้องเป็นบุคคลจำพวกที่ 3 หรือในบางกรณี ต้องกลายเป็นคนจำพวกที่ 1 ไปจับใบดำใบแดงเลยในปีนี้ (มีจำนวนเยอะมาก น่าจะไม่ต่ำกว่า 100 คน นี่แค่เฉพาะผมคนเดียวนะ)
- ผู้เข้ารับการตรวจเลือกหลายคน เพิ่งเรียนจบมา กำลังจะไปสมัครงาน การได้เป็นคนจำพวกที่ 3 (ภาระทางทหารยังไม่แล้วเสร็จ) อาจทำให้มีผลต่อการสมัครงาน หรือเสียโอกาสในชีวิตได้ ดังนั้น การเตรียมข้อมูลไปให้ชัดเจนที่สุด จึงมีความสำคัญ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาซ้ำมาใหม่ปีหน้าอีก
-
การมีหลักฐานมา ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องเป็นทหารเสมอไป การจำแนกบุคคลเป็นจำพวก 1 2 3 4 ขึ้นกับดุลยพินิจของกรรมการแพทย์หน้างาน ประกอบกับการตรวจร่างกาย และพิจารณาหลักฐานที่นำมาประกอบกัน
กระทู้นี้ มีไว้เพื่อให้คำแนะนำว่า ควรเตรียมอะไรไปบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสในการ “รอด” ให้สูงที่สุดเท่านั้น
-
ในทางกลับกัน บางโรค/ภาวะ แม้ไม่มีหลักฐานมา ก็อาจจะไม่ต้องเป็นทหาร คำสำคัญคือ “ดุลยพินิจ” ครับ
TL;DR สำหรับคนขี้เกียจอ่าน
1) เตรียมหลักฐานทางการแพทย์: เวชระเบียน/ประวัติการรักษา ยาประจำตัว ใบรับรองแพทย์ ผลตรวจ ให้เสร็จก่อนเดือนตุลาคม
2) เอา 1) ไปยื่นที่รพ.ทหารบก เดือนตุลาคม
3) ถ้าหลักฐานถูกต้อง เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย จะได้ใบรับรองแพทย์ของทหารมา (เซ็นสามคน สำหรับจำพวกที่ 4 เซ็นคนเดียว สำหรับจำพวกอื่นๆ)
4) มาเข้ารับการตรวจเลือก ยื่นหลักฐาน ตรวจร่างกาย กำหนดเป็นจำพวกตามดุลยพินิจของกรรมการแพทย์
ความสำคัญของเอกสารหลักฐานทางการแพทย์
- หลักฐานเหล่านี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคที่ไม่สามารถตรวจร่างกายหน้างานเพื่อให้การวินิจฉัย เพราะต้องนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้ส่งให้กับกองทัพบกเพื่อเก็บเป็นหลักฐานไว้ประกอบกัน
- การที่กรรมการแพทย์ปลดคนออกจากระบบ (จำพวกที่ 2, 4 หรือจำพวกที่ 3 ครั้งที่สาม) โดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่ตรงตามกติกาที่วางไว้ ถือเป็นข้อครหา -> กรรมการแพทย์จะถูกสงสัย ว่า “เล่นใต้โต๊ะ/โกง“ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง มีผลต่อชีวิตรับราชการ และอาจมีผลต่อใบประกอบวิชาชีพ (พักใช้ หรือเพิกถอน หากติดคุก)
- ดังนั้น ทุกคนที่ได้ปลดออกจากระบบ กรรมการแพทย์ต้องมี “คำตอบ” เมื่อถูกซักถาม ว่าจำแนกเป็นบุคคลจำพวกนี้ ด้วย “หลักฐานอะไร”
ตัวอย่างโรคที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์
- โรคที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ คือโรคที่มองด้วยตาเนื้อก็เห็นชัดเจน แม้คนปกติที่ไม่ใช่หมอก็สามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น ใบหูแหว่ง นิ้วด้วน ข้อติด(ขยับไม่ได้) กล้ามเนื้อฝ่อลีบ น้ำหนักเกิน กระจกตาขุ่น
- ในภาษาแพทย์ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ที่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ว่า “อาการแสดง (sign)”
- ความเจ็บปวด ความรู้สึกเหนื่อย หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่สามารถจับต้องได้ ที่ถูกเล่ามาจากผู้เข้ารับการตรวจเลือก ในภาษาแพทย์ เราเรียกว่า “อาการ (symptom)”
- ในการเกณฑ์ทหาร กรรมการแพทย์จะให้ความสำคัญกับ ”อาการแสดง“ และให้ความสำคัญน้อยถึงน้อยมาก กับ ”อาการ“
- การบอกกรรมการแพทย์ว่า ปวดนั่นปวดนี่ โดยไม่มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ตรวจร่างกายแล้วไม่เจอความผิดปกติที่จับต้องได้ และไม่มีหลักฐานทางการแพทย์อื่นมาแสดง -> ถือเป็นคนจำพวกที่ 1
ตัวอย่างโรคที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ (และผลตรวจเลือด หรือผลตรวจพิเศษ)
- เป็นโรคที่ตรวจร่างกายหน้างานแล้วให้การวินิจฉัยไม่ได้ เช่น ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD, โรคหืด, ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ, เบาหวาน, มะเร็ง, สายตาสั้น, โรคทางจิตเวช เป็นต้น
- คำถามที่น้องๆสามารถถามตัวเองได้ง่ายๆคือ “ถ้าหมอมองด้วยตาเปล่า โดยที่เราไม่ได้บอกว่าป่วย หมอจะรู้ไหม ว่าเราป่วยเป็นโรคนี้?“ -> ถ้าคำตอบคือ ”ไม่“ -> คุณมีโรคที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และ/หรือ ผลตรวจพิเศษ (เฉพาะบางโรค) มายืนยัน
- ตัวอย่างที่ 1: ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลเลือดประกอบ
- ตัวอย่างที่ 2: โรคหืด -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลเป่าปอด (spirometry) ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประกอบ
- ตัวอย่างที่ 3: ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจ polysomnography ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 4: โรคลมชัก -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 5: หัวใจเต้นผิดจังหวะ -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ที่ระบุชนิดของความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช่น atrial fibrillation, bigeminy PVC, sick sinus syndrome เป็นต้น) และผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead EKG) ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 6: หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจ MRI
***ข้อเน้นย้ำ 1: ใบรับรองแพทย์ ต้องออกโดยผู้ที่มี “ความเชี่ยวชาญในโรคนั้นๆ” เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
- โรคหืด ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ
- โรคลมชัก ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
- สายตาสั้น ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจักษุแพทย์
- โรคทางจิตเวช ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจิตแพทย์
-
ถ้าใบรับรองแพทย์ ออกโดยแพทย์ที่ไม่ตรงกับสาขาความเชี่ยวชาญ เช่น โรคลมชัก แต่ออกใบรับรองแพทย์โดยหมอที่ไม่ใช่อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง โรคหืด ที่ออกใบรับรองแพทย์โดยหมอทั่วไป(ไม่จบอายุรแพทย์) จะถือว่า
ใบรับรองแพทย์นั้นไม่ถูกต้อง ต้องไปขอใหม่
***ข้อเน้นย้ำ 2: อย่าปลอมแปลงใบรับรองแพทย์
- เนื่องจากใบรับรองแพทย์ปลอมระบาด ทั้งจากรพ.รัฐ และรพ.ทหาร จึงต้องโทรตรวจสอบใบรับรองแพทย์กับทางรพ.แทบทุกใบเลย ณ ตอนนี้
ถ้าเป็นโรคที่เป็นทหารไม่ได้ แล้วต้องใช้ใบรับรองแพทย์และหลักฐานอื่นยืนยัน แล้วไม่มีใบรับรองแพทย์และหลักฐานนั้นๆมา หรือหลักฐานที่นำมานั้น ไม่ถูกต้อง จะเป็นอย่างไร
- ถ้ามาตรวจคัดเลือกเป็นปีแรก หรือปีที่สอง กรรมการแพทย์อาจพิจารณาให้เป็นคนจำพวกที่ 3 เพื่อให้ไปรวบรวมหลักฐานมาปีหน้า
- ถ้ามาตรวจคัดเลือกเป็นปีที่สาม (เคยเป็นบุคคลจำพวกที่ 3 มาแล้วสองครั้ง) การที่ไม่มีหลักฐานมายื่นในปีสุดท้าย ถือเป็นคนจำพวกที่ 1 (เพราะกองทัพบกจะมองว่า มีเวลาให้สามปีไปหาหลักฐานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องมายื่นประกอบ “จึงไม่มีเหตุให้เชื่อ ว่าป่วยจริง”)
นอกจากใบรับรองแพทย์ และผลตรวจพิเศษแล้ว ควรนำอะไรไปอีกบ้าง
- เวชระเบียน (ประวัติการรักษา) เป็นเล่มๆ จะสำคัญมาก สำหรับโรคที่ต้องรักษากันยาวนาน เช่น โรคลมชัก โรคหืด มะเร็ง
- ยาประจำตัว (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวผู้พิการ (ถ้ามี)
ถ้าอยากเจ็บแล้วจบ มาปีเดียวแล้วหลักฐานถูกต้อง (เฉพาะโรคที่เป็นบุคคลจำพวกที่ 4) ควรทำอย่างไร
- ขั้นตอนที่ 1: เตรียมหลักฐานตามที่อ่านไว้ข้างต้นให้ได้มากที่สุด (ใบรับรองแพทย์ ผลตรวจต่างๆ เวชระเบียน ยาประจำตัว บัตรผู้พิการ) ->
ควรเตรียมเสร็จก่อนเดือนตุลาคมของปีนั้นๆ
- ขั้นตอนที่ 2: เมื่อถึงเดือนตุลาคม ให้ติดต่อรพ.ทหาร เพื่อจองคิวสำหรับการขอใบรับรองแพทย์สำหรับการงดเว้นการเกณฑ์ทหาร
รีบจองแต่เนิ่นๆ เพราะรพ.จะมีคิวยาวถึงยาวมาก ใครไปช้า ไปช่วงหลังปีใหม่ อาจจะไม่ทัน
- ขั้นตอนที่ 3: เมื่อหมอรพ.ทหารตรวจสอบหลักฐานที่มี แล้ว
คณะกรรมการไม่มีข้อคัดค้าน มีโรคที่เข้าเกณฑ์ตามกฎกระทรวง ก็จะได้ใบรับรองแพทย์ที่มีหมอเซ็นสามคนมา
- ขั้นตอนที่ 4: นำใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมาเข้ารับการตรวจเลือก ยื่นให้กรรมการแพทย์หน้างานดู (เตรียมหลักฐานในขั้นตอนที่ 1 เผื่อไว้ด้วย เผื่อกรรมการแพทย์อยากดู) แล้วก็จบ เป็นคนจำพวกที่ 4
***สำหรับโรคที่เป็นคนจำพวกที่ 2 ก็สามารถไปตรวจที่รพ.ทหารได้ แต่ใบรับรองแพทย์จะมีหมอเซ็นคนเดียว ซึ่งความน่าเชื่อถือของใบรับรองแพทย์ จะมีมากกว่าใบรับรองแพทย์ของรพ.รัฐ (เตรียมหลักฐานในขั้นตอนที่ 1 เผื่อไว้ด้วย เผื่อกรรมการแพทย์อยากดู)
***รพ.ทหารบกที่สามารถไปตรวจเพื่อขอใบรับรองแพทย์ได้ ตามกระทู้นี้
https://pantip.com/topic/42989260
เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ถ้าทำการผ่าตัดเสริมเต้านมแล้ว หรือทำช่วงล่าง(ตัดทิ้ง)ไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
- ถ้ายังไม่ได้ทำ หรือกินแต่ฮอร์โมน ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบ
- สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.ค่าย (เฉพาะบางแห่งที่มีจิตแพทย์ หรือถ้าไม่มี มักจะร่างหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้จิตแพทย์รพ.รัฐตรวจแทนให้) หรือ รพ.รัฐ (ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจิตแพทย์เท่านั้น)
- ใบรับรองแพทย์ ต้องระบุชัดเจนว่าเป็น “เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด” (gender dysphoria/gender identity disorder)
- ถ้าอยากให้กระบวนการลื่นไหลที่สุด มาปีเดียวแล้วจบ แนะนำให้ขอใบรับรองแพทย์จากรพ.พระมงกุฎเกล้า หรือรพ.ค่าย เนื่องจากมีหลายๆกรณีที่มีใบรับรองแพทย์จากรพ.รัฐ แล้วน้องๆต้องไปเอาใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมายื่นใหม่ปีหน้า เช่น เขียนแทงกั๊ก (ไม่ฟันธงว่าเป็นหรือไม่เป็นกันแน่) อ่านไม่ออก ตรวจสอบชื่อแพทย์และเลขใบประกอบวิชาชีพไม่ได้ กรรมการแพทย์ไม่มั่นใจในใบรับรองแพทย์ ฯลฯ
- ตัวอย่างข้อความในใบรับรองแพทย์ที่ไม่สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างดังภาพ

(ยกตัวอย่างใบรับรองแพทย์ที่ใช้ไม่ได้ เพราะเขียนแทงกั๊ก ไม่ยอมเขียนว่า “เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด” ให้ชัดเจน)
ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ต้องเป็นทหาร ถูกต้องหรือไม่
- ถูกครึ่งหนึ่ง จะไม่ต้องเป็นทหาร (เป็นคนจำพวกที่ 3) ก็ต่อเมื่อ
มีใบรับรองแพทย์มายืนยัน เท่านั้น
- ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยัน และไม่พบความผิดปกติอื่น ถือว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี (คนจำพวกที่ 1) ถ้าได้ใบแดง ก็ไปรักษากินยาในค่ายเอา

(ขั้นตอนการพิจารณา สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV)
การมีเหล็กดาม แล้วมีใบรับรองแพทย์ ไม่ต้องเป็นทหาร ใช่หรือไม่?
- จากประสบการณ์การตรวจคัดเลือกในปีนี้ (2568) มีคนที่มีเหล็กดาม “น้อยกว่า 1%” ที่เข้าเกณฑ์เป็นคนจำพวกที่ 2 (ข้อติด หรือกระดูกติดผิดรูป)
- การมีเหล็กดาม
ใบรับรองแพทย์ แทบไม่มีผลต่อการพิจารณาเลย เพราะเน้นการตรวจร่างกาย และการดูฟิล์ม X-ray เป็นหลัก
- สรุป: สิ่งที่สำคัญกว่าใบรับรองแพทย์ คือ CD X-ray (ที่ทำล่าสุด เป็นปัจจุบัน)
- อาการเจ็บปวด ไม่มีผลต่อการพิจารณา ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เน้น “อาการแสดง” มากกว่า “อาการ”

(ขั้นตอนการพิจารณา สำหรับผู้ที่มีเหล็กดามกระดูก)
สารบัญกระทู้เก่า
คำถามที่พบได้บ่อย ณ โต๊ะหมอ:
https://pantip.com/topic/43356635
รพ.ทหารบกที่สามารถไปขอใบรับรองแพทย์ของทหาร:
https://pantip.com/topic/42989260
(นึกอะไรออกเดี๋ยวจะลงเพิ่มครับ)
วิธีการเตรียมหลักฐานทางการแพทย์ ขอใบรับรองแพทย์ เพื่อนำไปยื่นประกอบการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร
- บทความนี้มีไว้สำหรับผู้เข้ารับการตรวจเลือกเกณฑ์ทหารที่มี “โรคประจำตัว” หรือมี “ความเจ็บป่วย” ที่เข้าได้กับบุคคลจำพวกที่ 2 3 และ 4 เพื่อจะได้เตรียมเอกสารหลักฐานทางการแพทย์ให้มีความครอบคลุม และเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการตรวจเลือกมากที่สุด
- ในปีนี้ผมได้เป็นกรรมการแพทย์อีกครั้ง ซึ่งมีผู้เข้ารับการตรวจเลือกจำนวนมาก ที่ผมเชื่อว่ามีความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องเป็นทหารจริง แต่ เอกสารหลักฐานที่นำมายื่นนั้น ไม่เรียบร้อย/ไม่ถูกต้อง ทำให้ต้องเป็นบุคคลจำพวกที่ 3 หรือในบางกรณี ต้องกลายเป็นคนจำพวกที่ 1 ไปจับใบดำใบแดงเลยในปีนี้ (มีจำนวนเยอะมาก น่าจะไม่ต่ำกว่า 100 คน นี่แค่เฉพาะผมคนเดียวนะ)
- ผู้เข้ารับการตรวจเลือกหลายคน เพิ่งเรียนจบมา กำลังจะไปสมัครงาน การได้เป็นคนจำพวกที่ 3 (ภาระทางทหารยังไม่แล้วเสร็จ) อาจทำให้มีผลต่อการสมัครงาน หรือเสียโอกาสในชีวิตได้ ดังนั้น การเตรียมข้อมูลไปให้ชัดเจนที่สุด จึงมีความสำคัญ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาซ้ำมาใหม่ปีหน้าอีก
- การมีหลักฐานมา ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องเป็นทหารเสมอไป การจำแนกบุคคลเป็นจำพวก 1 2 3 4 ขึ้นกับดุลยพินิจของกรรมการแพทย์หน้างาน ประกอบกับการตรวจร่างกาย และพิจารณาหลักฐานที่นำมาประกอบกัน กระทู้นี้ มีไว้เพื่อให้คำแนะนำว่า ควรเตรียมอะไรไปบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสในการ “รอด” ให้สูงที่สุดเท่านั้น
- ในทางกลับกัน บางโรค/ภาวะ แม้ไม่มีหลักฐานมา ก็อาจจะไม่ต้องเป็นทหาร คำสำคัญคือ “ดุลยพินิจ” ครับ
TL;DR สำหรับคนขี้เกียจอ่าน
1) เตรียมหลักฐานทางการแพทย์: เวชระเบียน/ประวัติการรักษา ยาประจำตัว ใบรับรองแพทย์ ผลตรวจ ให้เสร็จก่อนเดือนตุลาคม
2) เอา 1) ไปยื่นที่รพ.ทหารบก เดือนตุลาคม
3) ถ้าหลักฐานถูกต้อง เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย จะได้ใบรับรองแพทย์ของทหารมา (เซ็นสามคน สำหรับจำพวกที่ 4 เซ็นคนเดียว สำหรับจำพวกอื่นๆ)
4) มาเข้ารับการตรวจเลือก ยื่นหลักฐาน ตรวจร่างกาย กำหนดเป็นจำพวกตามดุลยพินิจของกรรมการแพทย์
ความสำคัญของเอกสารหลักฐานทางการแพทย์
- หลักฐานเหล่านี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคที่ไม่สามารถตรวจร่างกายหน้างานเพื่อให้การวินิจฉัย เพราะต้องนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้ส่งให้กับกองทัพบกเพื่อเก็บเป็นหลักฐานไว้ประกอบกัน
- การที่กรรมการแพทย์ปลดคนออกจากระบบ (จำพวกที่ 2, 4 หรือจำพวกที่ 3 ครั้งที่สาม) โดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่ตรงตามกติกาที่วางไว้ ถือเป็นข้อครหา -> กรรมการแพทย์จะถูกสงสัย ว่า “เล่นใต้โต๊ะ/โกง“ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง มีผลต่อชีวิตรับราชการ และอาจมีผลต่อใบประกอบวิชาชีพ (พักใช้ หรือเพิกถอน หากติดคุก)
- ดังนั้น ทุกคนที่ได้ปลดออกจากระบบ กรรมการแพทย์ต้องมี “คำตอบ” เมื่อถูกซักถาม ว่าจำแนกเป็นบุคคลจำพวกนี้ ด้วย “หลักฐานอะไร”
ตัวอย่างโรคที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์
- โรคที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ คือโรคที่มองด้วยตาเนื้อก็เห็นชัดเจน แม้คนปกติที่ไม่ใช่หมอก็สามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น ใบหูแหว่ง นิ้วด้วน ข้อติด(ขยับไม่ได้) กล้ามเนื้อฝ่อลีบ น้ำหนักเกิน กระจกตาขุ่น
- ในภาษาแพทย์ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ที่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ว่า “อาการแสดง (sign)”
- ความเจ็บปวด ความรู้สึกเหนื่อย หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่สามารถจับต้องได้ ที่ถูกเล่ามาจากผู้เข้ารับการตรวจเลือก ในภาษาแพทย์ เราเรียกว่า “อาการ (symptom)”
- ในการเกณฑ์ทหาร กรรมการแพทย์จะให้ความสำคัญกับ ”อาการแสดง“ และให้ความสำคัญน้อยถึงน้อยมาก กับ ”อาการ“
- การบอกกรรมการแพทย์ว่า ปวดนั่นปวดนี่ โดยไม่มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ตรวจร่างกายแล้วไม่เจอความผิดปกติที่จับต้องได้ และไม่มีหลักฐานทางการแพทย์อื่นมาแสดง -> ถือเป็นคนจำพวกที่ 1
ตัวอย่างโรคที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ (และผลตรวจเลือด หรือผลตรวจพิเศษ)
- เป็นโรคที่ตรวจร่างกายหน้างานแล้วให้การวินิจฉัยไม่ได้ เช่น ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD, โรคหืด, ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ, เบาหวาน, มะเร็ง, สายตาสั้น, โรคทางจิตเวช เป็นต้น
- คำถามที่น้องๆสามารถถามตัวเองได้ง่ายๆคือ “ถ้าหมอมองด้วยตาเปล่า โดยที่เราไม่ได้บอกว่าป่วย หมอจะรู้ไหม ว่าเราป่วยเป็นโรคนี้?“ -> ถ้าคำตอบคือ ”ไม่“ -> คุณมีโรคที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และ/หรือ ผลตรวจพิเศษ (เฉพาะบางโรค) มายืนยัน
- ตัวอย่างที่ 1: ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลเลือดประกอบ
- ตัวอย่างที่ 2: โรคหืด -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลเป่าปอด (spirometry) ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประกอบ
- ตัวอย่างที่ 3: ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจ polysomnography ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 4: โรคลมชัก -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 5: หัวใจเต้นผิดจังหวะ -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ที่ระบุชนิดของความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช่น atrial fibrillation, bigeminy PVC, sick sinus syndrome เป็นต้น) และผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead EKG) ประกอบ
- ตัวอย่างที่ 6: หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท -> ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น -> ต้องมีใบรับรองแพทย์ และผลตรวจ MRI
***ข้อเน้นย้ำ 1: ใบรับรองแพทย์ ต้องออกโดยผู้ที่มี “ความเชี่ยวชาญในโรคนั้นๆ” เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
- โรคหืด ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ
- โรคลมชัก ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
- สายตาสั้น ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจักษุแพทย์
- โรคทางจิตเวช ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจิตแพทย์
- ถ้าใบรับรองแพทย์ ออกโดยแพทย์ที่ไม่ตรงกับสาขาความเชี่ยวชาญ เช่น โรคลมชัก แต่ออกใบรับรองแพทย์โดยหมอที่ไม่ใช่อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง โรคหืด ที่ออกใบรับรองแพทย์โดยหมอทั่วไป(ไม่จบอายุรแพทย์) จะถือว่า ใบรับรองแพทย์นั้นไม่ถูกต้อง ต้องไปขอใหม่
***ข้อเน้นย้ำ 2: อย่าปลอมแปลงใบรับรองแพทย์
- เนื่องจากใบรับรองแพทย์ปลอมระบาด ทั้งจากรพ.รัฐ และรพ.ทหาร จึงต้องโทรตรวจสอบใบรับรองแพทย์กับทางรพ.แทบทุกใบเลย ณ ตอนนี้
ถ้าเป็นโรคที่เป็นทหารไม่ได้ แล้วต้องใช้ใบรับรองแพทย์และหลักฐานอื่นยืนยัน แล้วไม่มีใบรับรองแพทย์และหลักฐานนั้นๆมา หรือหลักฐานที่นำมานั้น ไม่ถูกต้อง จะเป็นอย่างไร
- ถ้ามาตรวจคัดเลือกเป็นปีแรก หรือปีที่สอง กรรมการแพทย์อาจพิจารณาให้เป็นคนจำพวกที่ 3 เพื่อให้ไปรวบรวมหลักฐานมาปีหน้า
- ถ้ามาตรวจคัดเลือกเป็นปีที่สาม (เคยเป็นบุคคลจำพวกที่ 3 มาแล้วสองครั้ง) การที่ไม่มีหลักฐานมายื่นในปีสุดท้าย ถือเป็นคนจำพวกที่ 1 (เพราะกองทัพบกจะมองว่า มีเวลาให้สามปีไปหาหลักฐานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องมายื่นประกอบ “จึงไม่มีเหตุให้เชื่อ ว่าป่วยจริง”)
นอกจากใบรับรองแพทย์ และผลตรวจพิเศษแล้ว ควรนำอะไรไปอีกบ้าง
- เวชระเบียน (ประวัติการรักษา) เป็นเล่มๆ จะสำคัญมาก สำหรับโรคที่ต้องรักษากันยาวนาน เช่น โรคลมชัก โรคหืด มะเร็ง
- ยาประจำตัว (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวผู้พิการ (ถ้ามี)
ถ้าอยากเจ็บแล้วจบ มาปีเดียวแล้วหลักฐานถูกต้อง (เฉพาะโรคที่เป็นบุคคลจำพวกที่ 4) ควรทำอย่างไร
- ขั้นตอนที่ 1: เตรียมหลักฐานตามที่อ่านไว้ข้างต้นให้ได้มากที่สุด (ใบรับรองแพทย์ ผลตรวจต่างๆ เวชระเบียน ยาประจำตัว บัตรผู้พิการ) -> ควรเตรียมเสร็จก่อนเดือนตุลาคมของปีนั้นๆ
- ขั้นตอนที่ 2: เมื่อถึงเดือนตุลาคม ให้ติดต่อรพ.ทหาร เพื่อจองคิวสำหรับการขอใบรับรองแพทย์สำหรับการงดเว้นการเกณฑ์ทหาร รีบจองแต่เนิ่นๆ เพราะรพ.จะมีคิวยาวถึงยาวมาก ใครไปช้า ไปช่วงหลังปีใหม่ อาจจะไม่ทัน
- ขั้นตอนที่ 3: เมื่อหมอรพ.ทหารตรวจสอบหลักฐานที่มี แล้วคณะกรรมการไม่มีข้อคัดค้าน มีโรคที่เข้าเกณฑ์ตามกฎกระทรวง ก็จะได้ใบรับรองแพทย์ที่มีหมอเซ็นสามคนมา
- ขั้นตอนที่ 4: นำใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมาเข้ารับการตรวจเลือก ยื่นให้กรรมการแพทย์หน้างานดู (เตรียมหลักฐานในขั้นตอนที่ 1 เผื่อไว้ด้วย เผื่อกรรมการแพทย์อยากดู) แล้วก็จบ เป็นคนจำพวกที่ 4
***สำหรับโรคที่เป็นคนจำพวกที่ 2 ก็สามารถไปตรวจที่รพ.ทหารได้ แต่ใบรับรองแพทย์จะมีหมอเซ็นคนเดียว ซึ่งความน่าเชื่อถือของใบรับรองแพทย์ จะมีมากกว่าใบรับรองแพทย์ของรพ.รัฐ (เตรียมหลักฐานในขั้นตอนที่ 1 เผื่อไว้ด้วย เผื่อกรรมการแพทย์อยากดู)
***รพ.ทหารบกที่สามารถไปตรวจเพื่อขอใบรับรองแพทย์ได้ ตามกระทู้นี้ https://pantip.com/topic/42989260
เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ถ้าทำการผ่าตัดเสริมเต้านมแล้ว หรือทำช่วงล่าง(ตัดทิ้ง)ไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
- ถ้ายังไม่ได้ทำ หรือกินแต่ฮอร์โมน ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบ
- สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.ค่าย (เฉพาะบางแห่งที่มีจิตแพทย์ หรือถ้าไม่มี มักจะร่างหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้จิตแพทย์รพ.รัฐตรวจแทนให้) หรือ รพ.รัฐ (ต้องออกใบรับรองแพทย์โดยจิตแพทย์เท่านั้น)
- ใบรับรองแพทย์ ต้องระบุชัดเจนว่าเป็น “เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด” (gender dysphoria/gender identity disorder)
- ถ้าอยากให้กระบวนการลื่นไหลที่สุด มาปีเดียวแล้วจบ แนะนำให้ขอใบรับรองแพทย์จากรพ.พระมงกุฎเกล้า หรือรพ.ค่าย เนื่องจากมีหลายๆกรณีที่มีใบรับรองแพทย์จากรพ.รัฐ แล้วน้องๆต้องไปเอาใบรับรองแพทย์รพ.ทหารมายื่นใหม่ปีหน้า เช่น เขียนแทงกั๊ก (ไม่ฟันธงว่าเป็นหรือไม่เป็นกันแน่) อ่านไม่ออก ตรวจสอบชื่อแพทย์และเลขใบประกอบวิชาชีพไม่ได้ กรรมการแพทย์ไม่มั่นใจในใบรับรองแพทย์ ฯลฯ
- ตัวอย่างข้อความในใบรับรองแพทย์ที่ไม่สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างดังภาพ
(ยกตัวอย่างใบรับรองแพทย์ที่ใช้ไม่ได้ เพราะเขียนแทงกั๊ก ไม่ยอมเขียนว่า “เพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด” ให้ชัดเจน)
ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ต้องเป็นทหาร ถูกต้องหรือไม่
- ถูกครึ่งหนึ่ง จะไม่ต้องเป็นทหาร (เป็นคนจำพวกที่ 3) ก็ต่อเมื่อ มีใบรับรองแพทย์มายืนยัน เท่านั้น
- ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยัน และไม่พบความผิดปกติอื่น ถือว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี (คนจำพวกที่ 1) ถ้าได้ใบแดง ก็ไปรักษากินยาในค่ายเอา
(ขั้นตอนการพิจารณา สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV)
การมีเหล็กดาม แล้วมีใบรับรองแพทย์ ไม่ต้องเป็นทหาร ใช่หรือไม่?
- จากประสบการณ์การตรวจคัดเลือกในปีนี้ (2568) มีคนที่มีเหล็กดาม “น้อยกว่า 1%” ที่เข้าเกณฑ์เป็นคนจำพวกที่ 2 (ข้อติด หรือกระดูกติดผิดรูป)
- การมีเหล็กดาม ใบรับรองแพทย์ แทบไม่มีผลต่อการพิจารณาเลย เพราะเน้นการตรวจร่างกาย และการดูฟิล์ม X-ray เป็นหลัก
- สรุป: สิ่งที่สำคัญกว่าใบรับรองแพทย์ คือ CD X-ray (ที่ทำล่าสุด เป็นปัจจุบัน)
- อาการเจ็บปวด ไม่มีผลต่อการพิจารณา ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เน้น “อาการแสดง” มากกว่า “อาการ”
(ขั้นตอนการพิจารณา สำหรับผู้ที่มีเหล็กดามกระดูก)
สารบัญกระทู้เก่า
คำถามที่พบได้บ่อย ณ โต๊ะหมอ: https://pantip.com/topic/43356635
รพ.ทหารบกที่สามารถไปขอใบรับรองแพทย์ของทหาร: https://pantip.com/topic/42989260
(นึกอะไรออกเดี๋ยวจะลงเพิ่มครับ)