เพื่อนๆรู้กันหรือเปล่าว่าทิชชู่เปียกในท้องตลาดส่วนใหญ่มีส่วนผสมของเส้นใยพลาสติกซึ่งต้องใช้เวลาถึง 100 ปีสำหรับการย่อยสลายหมด ผมจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆใช้ทิชชู่เปียกเท่าที่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมครับ
อ้างอิง
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000026373
ประวัติทิชชู่เปียก
https://marketeeronline.co/archives/304659
Edit ผมขออนุญาตเพิ่มเติมเนื้อหาที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนสมาชิกในกระทู้นี้นะครับ
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าพลาสติกยุ่ยเป็นผงแปลว่าย่อยสลายได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มันยุ่ยเป็นผงก็ไม่ได้หายไปไหนนะครับ มันเพียงแค่สลายตัวไปเป็นไมโครพลาสติก ทำให้แย่ยิ่งกว่าเดิมเสียอีก แทนที่จะเป็นเพียงขยะชิ้นใหญ่ คราวนี้มันแตกตัวเล็กเสียจนสามารถกระจายในชั้นบรรยากาศ ปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม พอสัตว์ต่างๆเช่นปลากินเข้าไป คนซึ่งกินสัตว์เหล่านั้นก็จะได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
อ้างอิง
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2734197
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/672//
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1143368
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าการใช้ทิชชู่เปียกที่ผู้ผลิตบอกว่าย่อยสลายได้หรือทิ้งลงชักโครกได้คือทางออก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันเลยจะขออ้างข้อมูลที่พอจะหาเจอมาประกอบ แต่เนื่องจากเว็บไซต์นึ้ไม่ใช่สำนักข่าวหรือหน่วยงานราชการ/การศึกษาโดยตรง จึงไม่อาจแน่ใจว่าข้อมูลถูกต้องมากน้อยแค่ไหนครับ
แม้บนซองทิชชู่เปียกจะมีคำว่า “flushable” หมายถึงสามารถกดลงชักโครกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นขยะตกค้าง
แม้จะเป็น ทิชชู่เปียก ย่อยสลาย ได้เองด้วยน้ำและแสงแดด แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า จะเป็นการสลายตัวได้สมบูรณ์ เพราะสุดท้ายก็ยังเหลือเป็นใยพลาสติกชนิดเล็ก ๆ ที่ดูดซับสารเคมีอันตราย เช่นดีดีทีและโลหะหนักเอาไว้ กลายเป็นสิ่งตกค้างในผืนดินและแหล่งน้ำต่างๆ
อ้างอิง
https://www.amarinbabyandkids.com/family/wet-baby-wipe-waste/
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าแค่ใช้แล้วทิ้งให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้โรงขยะจัดการ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับในกรุงเทพและเมืองใหญ่บางแห่งก็อาจจะใช่ครับ แต่โรงขยะส่วนใหญ่(ณ.ปี2566คิดเป็น[1965÷2079]×100 = 94.51%)มักไม่ได้มาตรฐาน ผมจึงคิดว่าการแก้ปัญหาแต่ต้นทางโดยการ "ใช้เท่าที่จำเป็น" เพื่อลดปริมาณขยะน่าจะเหมาะสมกว่า
"สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเอกชนทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2566 มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่เปิดดำเนินงาน ทั้งสิ้น 2,079 แห่ง และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย 36 แห่ง ซึ่งในส่วนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่เปิดดำเนินงาน 2,079 แห่ง แบ่งเป็นสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยซึ่งดำเนินการได้อย่างถูกต้อง จำนวน 114 แห่ง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยซึ่งดำเนินการไม่ถูกต้อง อีกจำนวน 1,965 แห่ง"
อ้างอิง
https://www.thaipbs.or.th/news/content/340722
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่แนะนำว่าแก้ที่ผู้ผลิตง่ายกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผูู้ผลิตบางทีก็เลี่ยงบาลีครับ โฆษณาว่าย่อยสลายได้แต่ความจริงอาจไม่ย่อยสลายตามที่กล่าวอ้าง หรือท้ายสุดเป็นเพียงการแตกตัวออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งนั่นเป็นการสร้างอีกปัญหาหนึ่งนั่นคือไมโครพลาสติกที่จัดการยาก
อ้างอิง
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9680000000589
อีกอย่างคือทิชชู่เปียกถูกๆมักนำเข้ามาจากจีนเราคงไม่มีอำนาจพอจะไปบังคับผู้ผลิตที่โน่นหรอกครับ
คุณหมาขายาวได้แนะนำทางเลือกจากการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ที่ผ่านการทดสอบของกรีนพีซ (เป็นความคิดเห็นที่23)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฉบับย่อยแล้ว(ข่าว)
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9680000000589
ฉบับเต็ม(ไฟล์.pdfความจุ 9.75 MB)
https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2024/12/ab2a077f-gp_thai_bio-plastic_04-final_full-book_single.pdf
ความคิดเห็นของผม
ขอบคุณคุณหมาขายาวมากครับที่ช่วย update ข้อมูลที่น่าสนใจให้
เป็นการศึกษาที่น่าสนใจดีครับ แต่ติดอยู่อย่างเดียวคือ "ไมโครพลาสติกคือ ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาด 1 นาโนเมตร ถึง 5 มิลลิเมตร"
อ้างอิง
https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/6114
แต่ในเอกสารของ green peace ระบุว่าใส่ชุดการทดลองไว้ใน "ถุงผ้ากรองรูเปิดขนาด198ไมครอน" เพื่อให้สามารถเก็บเศษบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายออกมา
หมายความว่าอาจมีไมโครพลาสติกที่ขนาดเล็กกว่า 198 ไมครอนหลุดรอดออกไปได้ ทำให้ตรวจไม่พบ แต่ไม่ได้แสดงว่าไม่มีเลย
ซึ่ง 1 ไมครอน = 1000 นาโนเมตร ฉะนั้น 198 ไมครอน = 198×1000 = 198,000 นาโนเมตร ซึ่งใหญ่กว่าขนาดของไมโครพลาสติกที่เล็กที่สุดคือ 1นาโนเมตร อยู่มากโข
อันนี้เป็นข้อสังเกตของผมนะครับ แต่ผมก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ เลยไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเขาถึงไม่เลือกใช้ถุงผ้ากรองที่ขนาดเล็กกว่านี้
ทิชชู่เปียกสามารถนำมาซักเพื่อใช้ใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คุณนิพพานปรมวทนติ แนะนำให้ซื้อผืนใหญ่ๆ เอามาเช็ดพื้น แล้วซักง่ายใช้ใหม่ได้ เพราะผ้าขี้ริ้วเช็ดพื้น ส่วนมากซักยากมาก เอาทิชชู่เปียกมาเช็ดพื้นกับไม้ถูพื้นแบนไถๆ ดันฝุ่นได้ดีมาก ซักออกง่ายด้วยไม่เปลืองแรง ใช้กับถังซักผ้าแบบเล็กๆได้ครับ
ทางเกาหลีใต้ได้คิดค้นอุปกรณ์ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อทิชชู่เปียกโดยเฉพาะด้วยนะครับ ชื่อ Re:clean
อ้างอิง
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/849507
“ทิชชู่เปียก” ขยะตัวร้าย 100 ปี ถึงย่อยสลาย
อ้างอิง
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000026373
ประวัติทิชชู่เปียก
https://marketeeronline.co/archives/304659
Edit ผมขออนุญาตเพิ่มเติมเนื้อหาที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนสมาชิกในกระทู้นี้นะครับ
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าพลาสติกยุ่ยเป็นผงแปลว่าย่อยสลายได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าการใช้ทิชชู่เปียกที่ผู้ผลิตบอกว่าย่อยสลายได้หรือทิ้งลงชักโครกได้คือทางออก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่คิดว่าแค่ใช้แล้วทิ้งให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้โรงขยะจัดการ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับเพื่อนสมาชิกที่แนะนำว่าแก้ที่ผู้ผลิตง่ายกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คุณหมาขายาวได้แนะนำทางเลือกจากการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ที่ผ่านการทดสอบของกรีนพีซ (เป็นความคิดเห็นที่23)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทิชชู่เปียกสามารถนำมาซักเพื่อใช้ใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้