ก่อนที่ผมจะซื้อไฟฉายนี้มาผมดูซีรีย์จีนเรื่องคนขุดสุสานจำชื่อตอนไม่ได้ ผมเห็นเขาใช้ไฟฉายตราสือที่เป็นกระบอกไฟฉายทำจากโลหะ หลอดไฟใช้หลอดใส้ฮาโลเจนดั้งเดิม ทันทีที่เห็นไฟฉายผมก็จำได้ว่าตอนเด็กเคยเห็นพ่อแม่ใช้ไฟฉายแบบนี้ก็เลยอยากได้ค้นหาร้านค้าออนไลน์เจอยี่ห้ออื่นไม่ใช่ตราสือก็เลยไม่ซื้อ ต่อมาไปเจอไฟฉายตราสือรุ่นใหม่ที่โกบอลเฮาส์ กระบอกไฟฉายทำจากพลาสติกเหนียว สวิตช์ปิดเปิดยังคงใช้แบบเดิมแต่หลอดไฟเขาใช้หลอด LED ขนาด 5 มิลเป็นหลอดแสงขาว 6000K ใช้ถ่านไฟฉายขนาด D2 ก้อน ไฟฉายที่ใช้ถ่านปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้วเขาจึงขายราคา 31 บาท ซื้อ 1 แถม 1 ผมก็เลยซื้อมา 2 ได้ของมารวม 4 กระบอกให้พ่อแม่และน้องใช้กันคนละกระบอกไปเลยคุ้มสุดๆ

ซื้อไฟฉายมาแล้วซื้อถ่านใส่ก็ใช้งานได้เลย แต่ผมมีแบตเตอรี่ 18650 เก่า 10 กว่าเซลก็เลยจะใช้แบตเตอรี่ 18650 แทนถ่านไฟฉาย ภาพนี้ถ่ายตอนดัดแปลงเสร็จแล้ว ภายนอกเหมือนไฟฉายทั่วไปดูไม่ออกว่าถูกดัดแปลงเปลี่ยนแค่ห่วงร้อยที่ท้ายเป็นเชือกเพื่อการใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งที่ผมชอบที่สุดของไฟฉายตราสือคือสวิตช์ปิดเปิดที่ออกแบบได้ดีใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนไฟฉายยุคใหม่

หลอดเดิมเป็นแสงขาวและเป็นของคุณภาพต่ำโคมก็เป็นพลาสติกแสงส่องได้ไม่ไกลนัก ผมเปลี่ยนไปใช้โคมของไฟฉายคาดหัวซึ่งเขาแยกขายเป็นอะไหล่ ราคาชุดละ 19 บาทได้ทั้งโคมและหลอด LED ผมซื้อมา 4 ชุด เป็นแสงเหลืองทั้งหมดเมื่อของมาถึงก็พบว่า 3 ชุดเป็นแสงเหลืองค่าแสงประมาณ 3500K อีกชุดเป็น 4300K ผมชอบแสงโทนนี้มากที่สุด การดัดแปลงผมถอดชุดหลอดเดิมออกแล้วใช้โคมใหม่สวมเข้าไปในโคมเดิมซึ่งจะพอดีกันเพราะผมวัดขนาดโคมเดิมก่อนสั่งซื้อ สายไฟขั้วลบผมบัดกรีเข้าชุดสวิตช์ ขั้วบวกต่อมาจากแบตเตอรี่ลิเธียม 18650 ใช้เพียงเซลเดียวก็พอ

โคมใหม่ทำจากโลหะสะท้อนแสงได้ดีกว่าเดิม หลอด LED ก็คุณภาพดีกว่าเดิมส่องสว่างได้ไกลแต่เป็นแสงที่มุมมองแคบเหมือนไฟฉายคาดหัวทั่วไป ผมป้องกันฝุ่นเข้าตัวโคมด้วยการทากาวยางให้กระจกติดกับโคมเพราะไม่จำเป็นต้องถอดส่วนนี้ เมื่อฝุ่นไม่เข้าโคมจะได้ใสเคลียร์อยู่เสมอใช้งานได้ยาวนาน

ยุคนี้ไฟฉายเขาใช้แบตเตอรี่กันเกือบหมดแล้วถ่านไฟฉายก็เริ่มหาซื้อยากขึ้น ผมจึงสั่งเคสเพาเวอร์แบงค์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม 18650 เซลเดียว ราคาเฉพาะเคสอันละ 15 บาท ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียม 18650 ใช้ของเก่าที่แกะมาจากโน๊ตบุ๊ค สายไฟผมไม่ต่อจากพอร์ต USB ของเพาเวอร์แบงค์เพราะหลอดไฟเขาระบุว่ารองรับแรงดันไม่เกิน 3.4V ผมจึงต่อสายจากขั้วแบตโดยตรงผ่านได้โอด 1 ตัวลดแรงดันลงซึ่งแรงดันเหลือประมาณ 3.4V พอดี ถ้าต่อผ่านพอร์ต USB จะได้แรงดัน 5V ต้องใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสหรือไม่ก็ใช้ได้โอดหลายตัวต่ออนุกรมกันลดแรงดัน

ขั้วลบผมบัดกรีเข้าโครงส่วนที่เป็นโลหะของกระบอกไฟฉาย ขั้วบวกผ่านได้โอด 1 ตัว แล้วต่อไปยังชุดจ่ายไฟให้หลอด LED โดยตรง ช่องว่างระหว่างเพาเวอร์แบงค์กับโดมผมยัดฟองน้ำเข้าไปไม่ให้มีช่องว่าง เพาเวอร์แบงค์จะไม่ดิ้นไม่มีเสียงดังจากแรงสั่นสะเทือน

ด้านท้ายฝาปิดผมถอดสปริงดันถ่านไฟฉายออกเพราะเมื่อใช้แบตเตอรี่แทนไม่จำเป็นต้องมีแล้ว จัดการยัดฟองน้ำชิ้นเล็กให้เพาเวอร์แบงค์อยู่ตรงกลางพอดีโดยหันพอร์ต USB ออกมาด้านนอกจะได้ชาร์จง่ายๆ
รวมค่าใช้จ่ายเมื่อดัดแปลงเสร็จแล้วตกกระบอกละ 50 บาทไม่รวมค่าแบตเตอรี่เพราะไม่ได้ซื้อ จากการใช้งานมาปีกว่าๆ ใช้งานดีคุ้มค่ามากครับ
DIY ใช้แบตเตอรี่ลิเธี่ยมใช้กับไฟฉายรุ่นเก่าครับ
ซื้อไฟฉายมาแล้วซื้อถ่านใส่ก็ใช้งานได้เลย แต่ผมมีแบตเตอรี่ 18650 เก่า 10 กว่าเซลก็เลยจะใช้แบตเตอรี่ 18650 แทนถ่านไฟฉาย ภาพนี้ถ่ายตอนดัดแปลงเสร็จแล้ว ภายนอกเหมือนไฟฉายทั่วไปดูไม่ออกว่าถูกดัดแปลงเปลี่ยนแค่ห่วงร้อยที่ท้ายเป็นเชือกเพื่อการใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งที่ผมชอบที่สุดของไฟฉายตราสือคือสวิตช์ปิดเปิดที่ออกแบบได้ดีใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนไฟฉายยุคใหม่
หลอดเดิมเป็นแสงขาวและเป็นของคุณภาพต่ำโคมก็เป็นพลาสติกแสงส่องได้ไม่ไกลนัก ผมเปลี่ยนไปใช้โคมของไฟฉายคาดหัวซึ่งเขาแยกขายเป็นอะไหล่ ราคาชุดละ 19 บาทได้ทั้งโคมและหลอด LED ผมซื้อมา 4 ชุด เป็นแสงเหลืองทั้งหมดเมื่อของมาถึงก็พบว่า 3 ชุดเป็นแสงเหลืองค่าแสงประมาณ 3500K อีกชุดเป็น 4300K ผมชอบแสงโทนนี้มากที่สุด การดัดแปลงผมถอดชุดหลอดเดิมออกแล้วใช้โคมใหม่สวมเข้าไปในโคมเดิมซึ่งจะพอดีกันเพราะผมวัดขนาดโคมเดิมก่อนสั่งซื้อ สายไฟขั้วลบผมบัดกรีเข้าชุดสวิตช์ ขั้วบวกต่อมาจากแบตเตอรี่ลิเธียม 18650 ใช้เพียงเซลเดียวก็พอ
โคมใหม่ทำจากโลหะสะท้อนแสงได้ดีกว่าเดิม หลอด LED ก็คุณภาพดีกว่าเดิมส่องสว่างได้ไกลแต่เป็นแสงที่มุมมองแคบเหมือนไฟฉายคาดหัวทั่วไป ผมป้องกันฝุ่นเข้าตัวโคมด้วยการทากาวยางให้กระจกติดกับโคมเพราะไม่จำเป็นต้องถอดส่วนนี้ เมื่อฝุ่นไม่เข้าโคมจะได้ใสเคลียร์อยู่เสมอใช้งานได้ยาวนาน
ยุคนี้ไฟฉายเขาใช้แบตเตอรี่กันเกือบหมดแล้วถ่านไฟฉายก็เริ่มหาซื้อยากขึ้น ผมจึงสั่งเคสเพาเวอร์แบงค์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม 18650 เซลเดียว ราคาเฉพาะเคสอันละ 15 บาท ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียม 18650 ใช้ของเก่าที่แกะมาจากโน๊ตบุ๊ค สายไฟผมไม่ต่อจากพอร์ต USB ของเพาเวอร์แบงค์เพราะหลอดไฟเขาระบุว่ารองรับแรงดันไม่เกิน 3.4V ผมจึงต่อสายจากขั้วแบตโดยตรงผ่านได้โอด 1 ตัวลดแรงดันลงซึ่งแรงดันเหลือประมาณ 3.4V พอดี ถ้าต่อผ่านพอร์ต USB จะได้แรงดัน 5V ต้องใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสหรือไม่ก็ใช้ได้โอดหลายตัวต่ออนุกรมกันลดแรงดัน
ขั้วลบผมบัดกรีเข้าโครงส่วนที่เป็นโลหะของกระบอกไฟฉาย ขั้วบวกผ่านได้โอด 1 ตัว แล้วต่อไปยังชุดจ่ายไฟให้หลอด LED โดยตรง ช่องว่างระหว่างเพาเวอร์แบงค์กับโดมผมยัดฟองน้ำเข้าไปไม่ให้มีช่องว่าง เพาเวอร์แบงค์จะไม่ดิ้นไม่มีเสียงดังจากแรงสั่นสะเทือน
ด้านท้ายฝาปิดผมถอดสปริงดันถ่านไฟฉายออกเพราะเมื่อใช้แบตเตอรี่แทนไม่จำเป็นต้องมีแล้ว จัดการยัดฟองน้ำชิ้นเล็กให้เพาเวอร์แบงค์อยู่ตรงกลางพอดีโดยหันพอร์ต USB ออกมาด้านนอกจะได้ชาร์จง่ายๆ
รวมค่าใช้จ่ายเมื่อดัดแปลงเสร็จแล้วตกกระบอกละ 50 บาทไม่รวมค่าแบตเตอรี่เพราะไม่ได้ซื้อ จากการใช้งานมาปีกว่าๆ ใช้งานดีคุ้มค่ามากครับ