คนชายขอบ คนชายแดน คนภูเขาหรือเมาเท่นแมน mountain man เค้าอยู่อย่างอ้างว้าง ยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเอง พึ่งพาสิ่งที่จัดหามา สิ่งที่เค้าเอาไปด้วยก่อนการเดินทาง หลายคนอาจจะมีปืน แต่ใช่ว่าทุกคนจะใช้ปืนในการดำรงชีพในป่า ที่แน่นอนที่สุดคือมีด สิ่งของสำคัญที่ขีดคั่นระหว่างความเป็นและความตาย
เค้าอยู่ไกล ไกลจากแสงสีศิวิไล ไกลจากตัวเมือง อยู่ห่างไกลสิ่งอำนวยความสะดวกนานา อยู่ห่างไกลจากการรับรู้ของผู้คน เค้าอยู่ตามชายทุ่งชายป่า อยู่ตามชายแดน ถึงอยู่ไกลสุดขอบฟ้าแต่เค้ายังพาเพื่อนคู่ใจไปด้วย เค้ามีมีด มีดฟรอนเทียร์
จริงๆแล้วความเป็นคนผู้ห่างไกลมีได้ทุกสังคมทุกเชื้อชาติ ทุกถิ่น ที่ไหนมีความเจริญ มีเมือง รอบๆนั้นย่อมมีชายแดนมีจุดห่างไกล ที่ซึ่งความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง แต่ที่นั่นก็มีชีวิต มีผู้คน และต้องมีการทำมาหากิน ไอ้ที่ว่าฟรอนเทียร์หรือเขตห่างไกลนี่ เราจะนับเฉพาะในอเมริกานะครับ คืออเมริกันฟรอนเทียร์ ที่ซึ่งมีมีดแบบนี้เกิดขึ้น มีคนใช้ชีวิตแบบนี้และมีคนใช้มีดแบบนี้จริงๆ
กาลครั้งหนึ่งยังไม่ค่อยนานเท่าไหร่ หรือนานมั้ง เอิ้ก เอิ้ก บนแผ่นดินอเมริกา ในยุคที่มีชาวยุโรปหรือชาวนิคมไปจับจองพื้นที่และแสวงหาความร่ำรวย ช่วงประมาณปี 1800 หรือ 18th century ต่อกับ ศตวรรษที่ 19 ราวๆนั้น จะก่อนหน้ายุคของเจมส์ บูอี้ นิดหน่อย ช่วงนั้นบนแผ่นดินอเมริกาเริ่มมีมีดใช้กันแล้ว คือทั้งนำเข้าจากยุโรปและผลิตเองในอเมริกา มีดฟรอนเทียร์ในยุคเริ่มแรกจริงๆคงหนีไม่พ้นมีดที่เรียกว่ามีดการค้าฝรั่งเศส french trade knife
หลังจากนั้นก็เริ่มมีมีดเป็นของตัวเองมีแบล็กสมิธหรือช่างตีเหล็กท้องถิ่น ถึงจะมีช่วงเวลาตื่นมีด หรืออยากได้มีดเป็นปริมาณมหาศาล จากกระแสของมีดบูอี้ ในช่วงปี 1830 - 1836 และหลังจากนั้นอีกหลายปีจากที่บูอี้เสียชีวิตไปแล้ว ช่างทำมีดที่ทำเป็นการค้าเลยก็มี และช่างตีเหล็กที่รับทำงานทั่วๆไป ตามเขตห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งช่างเหล่านั้นแหละเป็นคนสร้างมีดดิบๆเถื่อนๆที่เรียกว่ามีดฟรอนเทียร์
มีดที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน ไม่มีวัสดุ ไม่มีเครื่องประดับประดาอะไรนัก ที่เห็นจริงๆก็มีเหล็กชิ้นนึง เสียบเข้าไปในด้ามเขากวางหรือด้ามไม้ชิ้นเดียว มีเป็นจำนวนมากที่ไม่มีแผ่นรองคอด้ามหรือปลอกเหล็กรัดคอด้าม คือเสียบเข้าไปอย่างนั้นดื้อๆ เน้นความเรียบง่ายและรวดเร็วในการทำ ดิบๆหยาบๆ มีของแบบไหนก็ใส่แบบนั้น บางเล่มเป็นแบบฟูลแต็งหรือด้ามประกับแต่หมุดตัวหน้ากับตัวหลังเป็นคนละชนิดคนละขนาดกันก็มี เข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องของดีไซน์ แต่เป็นเรื่องของการประยุกต์เอาของที่มีหรือยังเหลือในเวลานั้น
สมัยนั้นไม่มีเหล็กกล้าเป็นเบอร์แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้นะครับ ช่างตีเหล็กส่วนมากก็ดัดแปลงเอาเหล็กกล้าจากวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นใบมีด ราคาค่างวดก็คงไม่กี่บาท หรือแลกเปลี่ยนเอาสินค้า เอาของป่า เอาแร่ที่หากันมาได้ ในยุคนั้นมีดที่เรียกว่ามีดการค้าฝรั่งเศส นอกจากเป็นของเอาไว้ขายแล้วยังเป็นของที่มีค่าราคากลางเอาไว้แลกเปลี่ยนกับอย่างอื่นได้อีก พวกอเมริกันเนทีฟหรืออินเดียนแดงจะนิยมมากไอ้มีดการค้าฝรั่งเศสที่ว่า
วันนี้มีมาให้ชมหลายเล่มครับ มีดใช้งานในแบบฟรอนเทียร์ ใบมีดไม่ใหญ่นัก หน้าตาท่าทางเหมือนมีดบูอี้ขนาดย่อส่วน ด้ามเรียบๆทรงขยายออกด้านท้ายและท้ายด้ามเป็นทรงกลมแบบมีดที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น ด้ามไม้ ตอกหมุดสามตัว ผิวไฟเดิมๆ ดิบๆเถื่อนๆ ดูแล้วคร่ำๆคร่าเหมือนทำตามริมไร่ชายทุ่งแบบนี้ แต่กระบวนการให้ความร้อนตามขนบนิยมของABS ชุบแข็งแบบเอจก์เคว้นช์จะเห็นแนวจุ่มหรือเส้นฮาร์ดเด้นไลน์อยู่บนใบมีด ตามรูปจะเห็นเป็นเส้นเดียว แต่จริงๆแล้วผมขยับสามจังหวะนะครับ แต่ช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก ถ้าขัดผิวให้ละเอียดและกัดกรดจะเห็นเป็นเส้นเรนโบว์ไลน์ แต่ตอนนี้เห็นเฉพาะเส้นสุดท้ายอยู่เส้นเดียว
มีดแบล็กสมิธหรือมีดด้ามเหล็กของโปรดของช่างตีเหล็กเกือบทุกเตา ทุกชุม ทุกชนชาติ ทุกดินแดนที่มีมีดกำเนิดขึ้นมา มีดที่ไม่ต้องใส่ด้ามนับเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมสิ่งมีคม
การใช้ชีวิตแบบคนชายขอบค่อนข้างเป็นเรื่องยาก เป็นความลำบากและอันตราย มีคนส่วนน้อยในสังคมที่รับรู้ถึงการมีอยู่ของคนชายขอบ และคนไม่กี่คนที่พยายามช่วยเหลือหรือหยิบยื่นโอกาส มีไม่กี่คนที่ยอมรับว่าเค้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่บางทีความปรารถนาดีก็ส่งไปไม่ถึงคนที่คู่ควรกับมันจริงๆ คนที่ต้องการความช่วยเหลือ ใครบางคนที่ยังต้องการความห่วงใยแต่เค้าไม่มีโอกาสได้เรียกร้องมัน
เค้ามีชีวิต เค้ามีครอบครัว เค้าดูแลตนเองและดูแลกันและกัน ในวันที่ฟ้าเหงาๆ รอบกายไร้สรรพสำเนียง ชีวิตโทรมๆยังดำเนินต่อไปด้วยความหวัง เค้าต่อสู้ดิ้นรนเต็มที่อย่างเงียบๆ แบ่งปันความสุขเล็กน้อยระหว่างเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน รักย่อมเข้าใจในรัก คนชายขอบย่อมเข้าใจชีวิตชายขอบเหมือนๆกัน
บ็อบ เลิฟเลสส์ คุณปู่ไร้รักเคยบอกว่าคนที่ไม่เคยล่าสัตว์จะออกแบบหรือสร้างมีดล่าสัตว์ที่ดีไม่ได้ ก็น่าจะจริงเหมือนกัน คนที่ไม่เคยตัดไผ่จะรู้ได้ยังไงว่ามีดตัดไผ่มันต้องลงจังหวะไหน หรือไม่เคยเดินท่องตามริมไร่ชายทุ่งหรือในป่ากว้าง นั่งทำอาหารใต้ต้นไม้ จะออกแบบมีดบูชคราฟที่ดีได้ยังไง ฉันใดก็ฉันนั้น ฮ่อมหนูหนูไต่ ฮ่อมไหน่ไหน่เตียว ทุกชีวิตมีทางไปของตัวเอง
พิจารณาดูแล้ว มีดเล่มนี้เต็มไปด้วยความดิบเถื่อนและปนไปด้วยความอ้างว้าง มีความเรียบเนียนผสมผสานกับความขรุขระคร่ำคร่า เรียงร้อยกันขึ้นมา บ่งบอกชัดเจนถึงที่มาของมีดและคนที่สร้างมันขึ้นมา ดูแล้วมันฟรอนเทียร์มากๆ มีดของชาวชายแดน มีดของคนชายขอบ
อืม นะ
คิดๆดูแล้วไม่น่าแปลกใจเลย









ผมมาจากชายแดน Frontier knife มีดฟรอนเทียร์
เค้าอยู่ไกล ไกลจากแสงสีศิวิไล ไกลจากตัวเมือง อยู่ห่างไกลสิ่งอำนวยความสะดวกนานา อยู่ห่างไกลจากการรับรู้ของผู้คน เค้าอยู่ตามชายทุ่งชายป่า อยู่ตามชายแดน ถึงอยู่ไกลสุดขอบฟ้าแต่เค้ายังพาเพื่อนคู่ใจไปด้วย เค้ามีมีด มีดฟรอนเทียร์
จริงๆแล้วความเป็นคนผู้ห่างไกลมีได้ทุกสังคมทุกเชื้อชาติ ทุกถิ่น ที่ไหนมีความเจริญ มีเมือง รอบๆนั้นย่อมมีชายแดนมีจุดห่างไกล ที่ซึ่งความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง แต่ที่นั่นก็มีชีวิต มีผู้คน และต้องมีการทำมาหากิน ไอ้ที่ว่าฟรอนเทียร์หรือเขตห่างไกลนี่ เราจะนับเฉพาะในอเมริกานะครับ คืออเมริกันฟรอนเทียร์ ที่ซึ่งมีมีดแบบนี้เกิดขึ้น มีคนใช้ชีวิตแบบนี้และมีคนใช้มีดแบบนี้จริงๆ
กาลครั้งหนึ่งยังไม่ค่อยนานเท่าไหร่ หรือนานมั้ง เอิ้ก เอิ้ก บนแผ่นดินอเมริกา ในยุคที่มีชาวยุโรปหรือชาวนิคมไปจับจองพื้นที่และแสวงหาความร่ำรวย ช่วงประมาณปี 1800 หรือ 18th century ต่อกับ ศตวรรษที่ 19 ราวๆนั้น จะก่อนหน้ายุคของเจมส์ บูอี้ นิดหน่อย ช่วงนั้นบนแผ่นดินอเมริกาเริ่มมีมีดใช้กันแล้ว คือทั้งนำเข้าจากยุโรปและผลิตเองในอเมริกา มีดฟรอนเทียร์ในยุคเริ่มแรกจริงๆคงหนีไม่พ้นมีดที่เรียกว่ามีดการค้าฝรั่งเศส french trade knife
หลังจากนั้นก็เริ่มมีมีดเป็นของตัวเองมีแบล็กสมิธหรือช่างตีเหล็กท้องถิ่น ถึงจะมีช่วงเวลาตื่นมีด หรืออยากได้มีดเป็นปริมาณมหาศาล จากกระแสของมีดบูอี้ ในช่วงปี 1830 - 1836 และหลังจากนั้นอีกหลายปีจากที่บูอี้เสียชีวิตไปแล้ว ช่างทำมีดที่ทำเป็นการค้าเลยก็มี และช่างตีเหล็กที่รับทำงานทั่วๆไป ตามเขตห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งช่างเหล่านั้นแหละเป็นคนสร้างมีดดิบๆเถื่อนๆที่เรียกว่ามีดฟรอนเทียร์
มีดที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน ไม่มีวัสดุ ไม่มีเครื่องประดับประดาอะไรนัก ที่เห็นจริงๆก็มีเหล็กชิ้นนึง เสียบเข้าไปในด้ามเขากวางหรือด้ามไม้ชิ้นเดียว มีเป็นจำนวนมากที่ไม่มีแผ่นรองคอด้ามหรือปลอกเหล็กรัดคอด้าม คือเสียบเข้าไปอย่างนั้นดื้อๆ เน้นความเรียบง่ายและรวดเร็วในการทำ ดิบๆหยาบๆ มีของแบบไหนก็ใส่แบบนั้น บางเล่มเป็นแบบฟูลแต็งหรือด้ามประกับแต่หมุดตัวหน้ากับตัวหลังเป็นคนละชนิดคนละขนาดกันก็มี เข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องของดีไซน์ แต่เป็นเรื่องของการประยุกต์เอาของที่มีหรือยังเหลือในเวลานั้น
สมัยนั้นไม่มีเหล็กกล้าเป็นเบอร์แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้นะครับ ช่างตีเหล็กส่วนมากก็ดัดแปลงเอาเหล็กกล้าจากวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นใบมีด ราคาค่างวดก็คงไม่กี่บาท หรือแลกเปลี่ยนเอาสินค้า เอาของป่า เอาแร่ที่หากันมาได้ ในยุคนั้นมีดที่เรียกว่ามีดการค้าฝรั่งเศส นอกจากเป็นของเอาไว้ขายแล้วยังเป็นของที่มีค่าราคากลางเอาไว้แลกเปลี่ยนกับอย่างอื่นได้อีก พวกอเมริกันเนทีฟหรืออินเดียนแดงจะนิยมมากไอ้มีดการค้าฝรั่งเศสที่ว่า
วันนี้มีมาให้ชมหลายเล่มครับ มีดใช้งานในแบบฟรอนเทียร์ ใบมีดไม่ใหญ่นัก หน้าตาท่าทางเหมือนมีดบูอี้ขนาดย่อส่วน ด้ามเรียบๆทรงขยายออกด้านท้ายและท้ายด้ามเป็นทรงกลมแบบมีดที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น ด้ามไม้ ตอกหมุดสามตัว ผิวไฟเดิมๆ ดิบๆเถื่อนๆ ดูแล้วคร่ำๆคร่าเหมือนทำตามริมไร่ชายทุ่งแบบนี้ แต่กระบวนการให้ความร้อนตามขนบนิยมของABS ชุบแข็งแบบเอจก์เคว้นช์จะเห็นแนวจุ่มหรือเส้นฮาร์ดเด้นไลน์อยู่บนใบมีด ตามรูปจะเห็นเป็นเส้นเดียว แต่จริงๆแล้วผมขยับสามจังหวะนะครับ แต่ช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก ถ้าขัดผิวให้ละเอียดและกัดกรดจะเห็นเป็นเส้นเรนโบว์ไลน์ แต่ตอนนี้เห็นเฉพาะเส้นสุดท้ายอยู่เส้นเดียว
มีดแบล็กสมิธหรือมีดด้ามเหล็กของโปรดของช่างตีเหล็กเกือบทุกเตา ทุกชุม ทุกชนชาติ ทุกดินแดนที่มีมีดกำเนิดขึ้นมา มีดที่ไม่ต้องใส่ด้ามนับเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมสิ่งมีคม
การใช้ชีวิตแบบคนชายขอบค่อนข้างเป็นเรื่องยาก เป็นความลำบากและอันตราย มีคนส่วนน้อยในสังคมที่รับรู้ถึงการมีอยู่ของคนชายขอบ และคนไม่กี่คนที่พยายามช่วยเหลือหรือหยิบยื่นโอกาส มีไม่กี่คนที่ยอมรับว่าเค้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่บางทีความปรารถนาดีก็ส่งไปไม่ถึงคนที่คู่ควรกับมันจริงๆ คนที่ต้องการความช่วยเหลือ ใครบางคนที่ยังต้องการความห่วงใยแต่เค้าไม่มีโอกาสได้เรียกร้องมัน
เค้ามีชีวิต เค้ามีครอบครัว เค้าดูแลตนเองและดูแลกันและกัน ในวันที่ฟ้าเหงาๆ รอบกายไร้สรรพสำเนียง ชีวิตโทรมๆยังดำเนินต่อไปด้วยความหวัง เค้าต่อสู้ดิ้นรนเต็มที่อย่างเงียบๆ แบ่งปันความสุขเล็กน้อยระหว่างเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน รักย่อมเข้าใจในรัก คนชายขอบย่อมเข้าใจชีวิตชายขอบเหมือนๆกัน
บ็อบ เลิฟเลสส์ คุณปู่ไร้รักเคยบอกว่าคนที่ไม่เคยล่าสัตว์จะออกแบบหรือสร้างมีดล่าสัตว์ที่ดีไม่ได้ ก็น่าจะจริงเหมือนกัน คนที่ไม่เคยตัดไผ่จะรู้ได้ยังไงว่ามีดตัดไผ่มันต้องลงจังหวะไหน หรือไม่เคยเดินท่องตามริมไร่ชายทุ่งหรือในป่ากว้าง นั่งทำอาหารใต้ต้นไม้ จะออกแบบมีดบูชคราฟที่ดีได้ยังไง ฉันใดก็ฉันนั้น ฮ่อมหนูหนูไต่ ฮ่อมไหน่ไหน่เตียว ทุกชีวิตมีทางไปของตัวเอง
พิจารณาดูแล้ว มีดเล่มนี้เต็มไปด้วยความดิบเถื่อนและปนไปด้วยความอ้างว้าง มีความเรียบเนียนผสมผสานกับความขรุขระคร่ำคร่า เรียงร้อยกันขึ้นมา บ่งบอกชัดเจนถึงที่มาของมีดและคนที่สร้างมันขึ้นมา ดูแล้วมันฟรอนเทียร์มากๆ มีดของชาวชายแดน มีดของคนชายขอบ
อืม นะ
คิดๆดูแล้วไม่น่าแปลกใจเลย