สรุปทางเลือก มีหุ้น EA อยู่ ทำอะไรได้บ้าง?
เมื่อวานที่ผ่านมา EA หรือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเพิ่มทุน โดยรายละเอียดสำคัญ คือ
-เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 1:1 ที่ราคา 2 บาท
หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีหุ้น 1 หุ้น มีสิทธิจองซื้อ หุ้นใหม่ได้ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 2 บาท
-แถมวอแรนต์ EA-W1 ฟรี ในอัตราส่วน 3:1
หมายความว่า ผู้ที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน 3 หุ้น จะได้รับวอแรนต์ฟรี 1 ใบ
โดยวอแรนต์ 1 ใบ สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ 1 หุ้น ในราคา 4 บาท มีอายุ 3 ปี
-จุดประสงค์หลักของการเพิ่มทุนครั้งนี้ คือ จะนำเงินไปชำระหนี้สถาบันการเงิน และไถ่ถอนหุ้นกู้
ส่งผลให้เช้าวันนี้ ราคาหุ้น EA เปิดมาร่วง -22%
คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้น EA คือ แล้วเราควรทำอย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุนให้เข้าใจง่าย ๆ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจการเพิ่มทุนกันก่อน
การเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทระดมเงินทุนจากผู้ถือหุ้น ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อนำไปขยายกิจการ ชำระหนี้ หรือแม้แต่ล้างขาดทุนสะสม
ซึ่งกรณีของ EA คือ เพิ่มทุนเพื่อนำเงินไปชำระหนี้
แล้วการเพิ่มทุนจะเกิดผลกระทบอะไร ลองมาดูตัวอย่างง่าย ๆ ให้เห็นภาพมากขึ้น
-ก่อนเพิ่มทุน
บริษัทมีกำไร 100 บาท และมีหุ้น 100 หุ้น
เท่ากับว่า กำไรต่อหุ้น จะเท่ากับ 1 บาท
-เมื่อบริษัทเพิ่มทุน 1:1
สมมติบริษัทมีกำไรเท่าเดิมที่ 100 บาท จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 100 หุ้น เป็น 200 หุ้น
เท่ากับว่า กำไรต่อหุ้น จะลดลงเหลือ 0.5 บาท
เมื่อกำไรต่อหุ้นลดลง ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวลงตาม
เพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น แต่กำไรเท่าเดิม ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง นักลงทุนจึงประเมินมูลค่าหุ้น
ลดลงตามไปด้วย
เหมือนกับการแบ่งเค้กก้อนเดิม ออกเป็นชิ้นที่เล็กลง ขนาดของเค้กแต่ละชิ้นก็จะลดลงตามไปด้วย
โดยกระบวนการเพิ่มทุนของ EA เริ่มต้นจาก
1. ขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 13 ธันวาคม 2568
เครื่องหมาย XR ย่อมาจาก Excluding Rights
หมายถึง ถ้าเราซื้อหุ้น EA ในวันที่มีเครื่องหมาย XR เราจะไม่ได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ซึ่งกรณีของ EA คือ ถ้าอยากได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เราต้องซื้อหุ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม
และถ้าเราซื้อหุ้นวันที่ 13 ธันวาคมเป็นต้นไป เราก็จะไม่ได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคา 2 บาท
2. จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนและชำระเงิน วันที่ 17 - 23 ม.ค. 2568
โดยหากเราจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะได้วอแรนต์ในอัตราส่วน 3:1 ซึ่งก็คือ 3 หุ้นเพิ่มทุน ได้ EA-W1 แถมมา 1 ใบ
ซึ่ง EA-W1 ที่แถมมา มีอายุ 3 ปี ราคาใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญอยู่ที่ 4 บาท
กลับมาที่คำถามสำคัญ
ถ้าตอนนี้เรามีหุ้น EA อยู่ จะทำอะไรได้บ้าง ?
ทางเลือกที่ 1 : เตรียมเงินใช้สิทธิเพิ่มทุนเต็มจำนวน
ทางเลือกนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินสดพร้อม และยังเชื่อมั่นในตัวธุรกิจของ EA
ข้อดีของทางเลือกนี้คือ เมื่อถึงวันที่ 13 ธันวาคม จะได้สิทธิซื้อหุ้นในราคาที่ 2 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาตลาด ช่วยเฉลี่ยต้นทุนลงมาได้มาก
โดยเฉพาะคนที่มีต้นทุนเดิมสูง พร้อมได้วอแรนต์ฟรี และยังคงรักษาสัดส่วน การถือหุ้นไว้เท่าเดิม
จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้
คือ จำนวนหุ้น EA ที่ถืออยู่ คูณด้วย 2 บาท
เช่น ถ้ามีหุ้น 1,000 หุ้น ต้องเตรียมเงิน 2,000 บาท
ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็จะเตรียมไว้จ่ายในวันที่ 17 ถึง 23 มกราคม 2568
ทางเลือกที่ 2 : ขายหุ้น EA บางส่วน เพื่อเตรียมเงินมาเพิ่มทุน
ทางเลือกนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินสดไม่พอ หรือไม่ต้องการ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น EA มากเกินไป
ข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือเราสามารถขายหุ้นราคาตลาด ที่ประมาณ 5 บาท เพื่อนำเงินมาซื้อหุ้นใหม่ในราคา ถูกกว่าที่ราคา 2 บาท พร้อมได้วอร์แรนต์เพิ่มเติม
การคำนวณจำนวนเงินที่ต้องขาย
สมมติเรามีหุ้น EA อยู่ 1,000 หุ้น
ขาย 300 หุ้นที่ราคา 5 บาท จะได้เงิน 1,500 บาท
และเราจะเหลือหุ้น 700 หุ้น ซึ่งก็เท่ากับว่าพอถึงวันที่ 13 ธันวาคม เราจะมีสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่ได้อีก 700 หุ้น ที่ราคา 2 บาท เท่ากับว่าต้องใช้เงิน 1,400 บาท
ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่เราขายหุ้นไป 300 หุ้น เพื่อเตรียมไว้ก่อน
แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลง และอาจจะต้องหาจังหวะขายที่เหมาะสม
ทางเลือกที่ 3 : อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย
เป็นทางเลือกที่ไม่ควรทำ เพราะแม้จะไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม แต่สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงมาก
สิ่งที่ต้องยอมรับคือ เสียโอกาสในการได้ซื้อหุ้นราคาถูก และวอแรนต์ฟรี
และได้รับผลกระทบจาก Dilution Effect ซึ่งก็คือ การมีสัดส่วนหุ้นในบริษัทลดลง เพราะไม่ได้ถือหุ้นเพิ่ม ในขณะที่จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ทางเลือกที่ 4 : ขายหุ้นทั้งหมด ก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR
เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่เชื่อมั่นในธุรกิจ หรือไม่อยากแบกรับความเสี่ยงจากการเพิ่มทุน
ข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือ ได้เงินสดกลับมา ไม่ต้องกังวลเรื่องการเพิ่มทุน และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงหากราคาปรับตัวลงหลังการเพิ่มทุน
แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ อาจต้องขายขาดทุน และอาจจะเสียโอกาสถ้าหากหุ้น EA ปรับตัวขึ้นในอนาคต
การเพิ่มทุนครั้งนี้ของ EA แม้จะทำให้ราคาหุ้น ปรับตัวลงแรงในระยะสั้น แต่ถ้ามองในระยะยาว การนำเงินไปชำระหนี้จะช่วยลดภาระดอกเบี้ย
ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ทำให้มีเงินเหลือไปต่อยอดธุรกิจ ซึ่งก็อาจทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
สำหรับผู้ถือหุ้น การตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิ เพิ่มทุนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุน และความเชื่อมั่นต่อธุรกิจของ EA
แต่ไม่ว่าจะเลือกทางเลือกไหน เราก็ควรหลีกเลี่ยง การอยู่เฉย ๆ
เพราะสิ่งที่ไม่ได้อยู่เฉยด้วยคือ ราคาและสัดส่วนการถือหุ้นของเราที่จะลดลง จากการที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
เครดิต บทความ Money LAB
เอายังไงดีกับหุ้น EA ครับ ขอเสียงหน่อย
เมื่อวานที่ผ่านมา EA หรือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเพิ่มทุน โดยรายละเอียดสำคัญ คือ
-เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 1:1 ที่ราคา 2 บาท
หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีหุ้น 1 หุ้น มีสิทธิจองซื้อ หุ้นใหม่ได้ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 2 บาท
-แถมวอแรนต์ EA-W1 ฟรี ในอัตราส่วน 3:1
หมายความว่า ผู้ที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน 3 หุ้น จะได้รับวอแรนต์ฟรี 1 ใบ
โดยวอแรนต์ 1 ใบ สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ 1 หุ้น ในราคา 4 บาท มีอายุ 3 ปี
-จุดประสงค์หลักของการเพิ่มทุนครั้งนี้ คือ จะนำเงินไปชำระหนี้สถาบันการเงิน และไถ่ถอนหุ้นกู้
ส่งผลให้เช้าวันนี้ ราคาหุ้น EA เปิดมาร่วง -22%
คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้น EA คือ แล้วเราควรทำอย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุนให้เข้าใจง่าย ๆ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจการเพิ่มทุนกันก่อน
การเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทระดมเงินทุนจากผู้ถือหุ้น ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อนำไปขยายกิจการ ชำระหนี้ หรือแม้แต่ล้างขาดทุนสะสม
ซึ่งกรณีของ EA คือ เพิ่มทุนเพื่อนำเงินไปชำระหนี้
แล้วการเพิ่มทุนจะเกิดผลกระทบอะไร ลองมาดูตัวอย่างง่าย ๆ ให้เห็นภาพมากขึ้น
-ก่อนเพิ่มทุน
บริษัทมีกำไร 100 บาท และมีหุ้น 100 หุ้น
เท่ากับว่า กำไรต่อหุ้น จะเท่ากับ 1 บาท
-เมื่อบริษัทเพิ่มทุน 1:1
สมมติบริษัทมีกำไรเท่าเดิมที่ 100 บาท จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 100 หุ้น เป็น 200 หุ้น
เท่ากับว่า กำไรต่อหุ้น จะลดลงเหลือ 0.5 บาท
เมื่อกำไรต่อหุ้นลดลง ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวลงตาม
เพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น แต่กำไรเท่าเดิม ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง นักลงทุนจึงประเมินมูลค่าหุ้น
ลดลงตามไปด้วย
เหมือนกับการแบ่งเค้กก้อนเดิม ออกเป็นชิ้นที่เล็กลง ขนาดของเค้กแต่ละชิ้นก็จะลดลงตามไปด้วย
โดยกระบวนการเพิ่มทุนของ EA เริ่มต้นจาก
1. ขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 13 ธันวาคม 2568
เครื่องหมาย XR ย่อมาจาก Excluding Rights
หมายถึง ถ้าเราซื้อหุ้น EA ในวันที่มีเครื่องหมาย XR เราจะไม่ได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ซึ่งกรณีของ EA คือ ถ้าอยากได้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เราต้องซื้อหุ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม
และถ้าเราซื้อหุ้นวันที่ 13 ธันวาคมเป็นต้นไป เราก็จะไม่ได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคา 2 บาท
2. จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนและชำระเงิน วันที่ 17 - 23 ม.ค. 2568
โดยหากเราจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะได้วอแรนต์ในอัตราส่วน 3:1 ซึ่งก็คือ 3 หุ้นเพิ่มทุน ได้ EA-W1 แถมมา 1 ใบ
ซึ่ง EA-W1 ที่แถมมา มีอายุ 3 ปี ราคาใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญอยู่ที่ 4 บาท
กลับมาที่คำถามสำคัญ
ถ้าตอนนี้เรามีหุ้น EA อยู่ จะทำอะไรได้บ้าง ?
ทางเลือกที่ 1 : เตรียมเงินใช้สิทธิเพิ่มทุนเต็มจำนวน
ทางเลือกนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินสดพร้อม และยังเชื่อมั่นในตัวธุรกิจของ EA
ข้อดีของทางเลือกนี้คือ เมื่อถึงวันที่ 13 ธันวาคม จะได้สิทธิซื้อหุ้นในราคาที่ 2 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาตลาด ช่วยเฉลี่ยต้นทุนลงมาได้มาก
โดยเฉพาะคนที่มีต้นทุนเดิมสูง พร้อมได้วอแรนต์ฟรี และยังคงรักษาสัดส่วน การถือหุ้นไว้เท่าเดิม
จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้
คือ จำนวนหุ้น EA ที่ถืออยู่ คูณด้วย 2 บาท
เช่น ถ้ามีหุ้น 1,000 หุ้น ต้องเตรียมเงิน 2,000 บาท
ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็จะเตรียมไว้จ่ายในวันที่ 17 ถึง 23 มกราคม 2568
ทางเลือกที่ 2 : ขายหุ้น EA บางส่วน เพื่อเตรียมเงินมาเพิ่มทุน
ทางเลือกนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินสดไม่พอ หรือไม่ต้องการ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น EA มากเกินไป
ข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือเราสามารถขายหุ้นราคาตลาด ที่ประมาณ 5 บาท เพื่อนำเงินมาซื้อหุ้นใหม่ในราคา ถูกกว่าที่ราคา 2 บาท พร้อมได้วอร์แรนต์เพิ่มเติม
การคำนวณจำนวนเงินที่ต้องขาย
สมมติเรามีหุ้น EA อยู่ 1,000 หุ้น
ขาย 300 หุ้นที่ราคา 5 บาท จะได้เงิน 1,500 บาท
และเราจะเหลือหุ้น 700 หุ้น ซึ่งก็เท่ากับว่าพอถึงวันที่ 13 ธันวาคม เราจะมีสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่ได้อีก 700 หุ้น ที่ราคา 2 บาท เท่ากับว่าต้องใช้เงิน 1,400 บาท
ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่เราขายหุ้นไป 300 หุ้น เพื่อเตรียมไว้ก่อน
แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลง และอาจจะต้องหาจังหวะขายที่เหมาะสม
ทางเลือกที่ 3 : อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย
เป็นทางเลือกที่ไม่ควรทำ เพราะแม้จะไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม แต่สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงมาก
สิ่งที่ต้องยอมรับคือ เสียโอกาสในการได้ซื้อหุ้นราคาถูก และวอแรนต์ฟรี
และได้รับผลกระทบจาก Dilution Effect ซึ่งก็คือ การมีสัดส่วนหุ้นในบริษัทลดลง เพราะไม่ได้ถือหุ้นเพิ่ม ในขณะที่จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ทางเลือกที่ 4 : ขายหุ้นทั้งหมด ก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR
เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่เชื่อมั่นในธุรกิจ หรือไม่อยากแบกรับความเสี่ยงจากการเพิ่มทุน
ข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือ ได้เงินสดกลับมา ไม่ต้องกังวลเรื่องการเพิ่มทุน และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงหากราคาปรับตัวลงหลังการเพิ่มทุน
แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ อาจต้องขายขาดทุน และอาจจะเสียโอกาสถ้าหากหุ้น EA ปรับตัวขึ้นในอนาคต
การเพิ่มทุนครั้งนี้ของ EA แม้จะทำให้ราคาหุ้น ปรับตัวลงแรงในระยะสั้น แต่ถ้ามองในระยะยาว การนำเงินไปชำระหนี้จะช่วยลดภาระดอกเบี้ย
ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ทำให้มีเงินเหลือไปต่อยอดธุรกิจ ซึ่งก็อาจทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
สำหรับผู้ถือหุ้น การตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิ เพิ่มทุนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุน และความเชื่อมั่นต่อธุรกิจของ EA
แต่ไม่ว่าจะเลือกทางเลือกไหน เราก็ควรหลีกเลี่ยง การอยู่เฉย ๆ
เพราะสิ่งที่ไม่ได้อยู่เฉยด้วยคือ ราคาและสัดส่วนการถือหุ้นของเราที่จะลดลง จากการที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
เครดิต บทความ Money LAB