📌 "คืนความยุติธรรมแก่ข้าฯเถิด" ! “นางพระยาแม่อยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์” นางพึงมีสิทธิ์ในความยุติธรรม



อ่านสกู๊ปพิเศษ "คืนความยุติธรรมแก่ข้าฯเถิด" ! “นางพระยาแม่อยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์”ผู้สำเร็จราชการ “พระยอดฟ้า” ยุวกษัตริย์ องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา นางพึงมีสิทธิ์ในความยุติธรรม และมีที่ยืนบนประวัติศาสตร์แผ่นดินไทยอย่างเต็มภาคภูมิ ! อ่านเรื่องราวของนางได้ที่นี่

>> https://mgronline.com/drama/detail/9670000110603

#ละครออนไลน์ #ยืนหนึ่งข่าวละคร

https://web.facebook.com/share/p/1BEn4VkRj3/





คืนความยุติธรรมแก่ข้าฯเถิด ! (ท้าวศรีสุดาจันทร์)


ผยแพร่: 17 พ.ย. 2567 16:01   ปรับปรุง: 17 พ.ย. 2567 16:01   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
 
สกู๊ปพิเศษ


คืนความยุติธรรมแก่ข้าฯเถิด ! (ท้าวศรีสุดาจันทร์)

ประวัติศาสตร์ พงศาวดารและบันทึกคำให้การของฝ่ายไทยอาจจะไม่นับ “ท้าวศรีสุดาจันทร์” เป็นกษัตริย์ แต่ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผอ.ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า

“ท้าวศรีสุดาจันทร์ ไม่ได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ เพราะจารีตของอยุธยาไม่เป็นอย่างนั้น แต่เป็นเรื่องน่าแปลกที่ในพงศาวดารของพม่า ซึ่งได้เรื่องราวจากพงศาวดารไทย เค้ามาลิสต์รายชื่อของกษัตริย์อยุธยา ซึ่งมีตำแหน่งของ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นตำแหน่งของท้าวศรีสุดาจันทร์ พม่านับเป็นกษัตริย์ให้ด้วย และผมเชื่อว่า เหตุการณ์ กรณีท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากจริงๆ สร้างแรงสั่นสะเทือน ให้กับราชสำนักอยุธยา เพราะหลังจากนั้น เราไม่เห็นว่า มีผู้หญิงคนใดที่จะได้มีอำนาจ ขึ้นมาเทียบเท่าศรีสุดาจันทร์อีกแล้ว”

ติดตามชม กรุงศรีอยุธยา การชิงราชบัลลังก์และอิสตรี Back To Basics EP 24
https://www.youtube.com/watch?v=kn5XNO8ZtTA

เรื่องราวของ “ท้าวศรีสุดาจันทร์” หลักฐานน้อย มิใยต้องพูดถึงข้อเท็จจริงที่ยิ่งน้อยไปใหญ่ นักวิชาการมีข้อจำกัดในการค้นคว้ามาก มีแต่เรื่องที่ถูกเล่าขาน ต่อเติม เสริมแต่ง จนเป็นนิยายรักอิงประวัติศาสตร์ ฉบับ “เนื้อ นม ไข่” ไปมาก เรื่องที่นางถูกให้ร้าย ในข้อหาต่างๆ ใช่ว่า ผู้หญิงในประวัติศาตร์ชาติอื่น จะไม่เคยเจอ ! (แทบจะเหมือนกัน)

เรื่องของ “นางพระยาแม่อยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์” ผู้สำเร็จราชการ “พระยอดฟ้า” ยุวกษัตริย์ องค์ที่ 14 แห่งอยุธยา เป็นเรื่องของการตั้งสมมติฐาน และตีความเป็นส่วนใหญ่ !

“แม่หยัวเมือง-แม่อยั่วเมือง” กร่อนมาจาก “แม่อยู่หัวเมือง”





“ท้าวศรีสุดาจันทร์” คือ ตำแหน่ง !

ในกฎหมายทำเนียบศักดินาบอกไว้ว่า ตำแหน่ง ท้าวอินทรสุเรนทร์ , ท้าวศรีสุดาจันทร์, ท้าวอินทรเทวี และ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ทุกคนล้วนเป็นสนม !

พระไชยราชาธิราช ไม่มีโอรสที่เกิดจากมเหสี (อาจจะไม่มีมเหสี หรือมเหสีหาชีวิตไม่แล้ว) เมื่อท้าวศรีสุดาจันทร์มีโอรส 2 พระองค์คือ พระยอดฟ้า พระศรีศิลป์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็น “สนมเอก” และเป็นที่โปรดปรานของพระไชยราชามาก

ตามบันทึกคำให้การของชาวกรุงเก่า พระไชยราชา มีมเหสีเพียง 2 พระองค์ คือ พระนางจิตรวดี และท้าวศรีสุดาจันทร์ เท่านั้น

“ราชาเหนือราชา” ตามคติความเชื่อเรื่องจักรพรรดิราช มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพื่อกระชับอำนาจและสร้างสิทธิ์โดยชอบธรรม เรื่องพระสนมสี่ทิศ เป็นการแสดง “อำนาจและการพึ่งพา” เพราะ สนมเอกตามตำแหน่งทั้ง 4 คน ล้วนมาจากราชวงศ์ต่างๆ เช่น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (สุโขทัย ทิศเหนือ) , ท้าวอินทรสุเรนทร์ (สุพรรณภูมิ ทิศตะวันตก) , ท้าวอินทรเทวี (นครศรีธรรมราช ทิศใต้) และ ท้าวศรีสุดาจันทร์ จะเป็นอื่นไปไม่ได้ นักวิชาการเชื่อว่า มาจากราชวงศ์ละโว้ ทิศตะวันออก และพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยาก็มาจากราชวงศ์นี้ สนมสี่ทิศนี้ แสดงถึงการพึ่งพิงอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาโดยตรง

ตามความเชื่อเรื่องมาจากละโว้ ทำให้เรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นเรื่องการเมือง ! มาเพื่อชิงเมืองที่เคยเป็นสมบัติของบรรพบุรุษตน

ราชาเหนือราชายังสอดคล้องกับคติพุทธที่รับเอาเทวดาตกสวรรค์ในศาสนาฮินดู (อย่าง พระอินทร์, พระพรหม) เข้ามามีบทบาทสำคัญในศาสนาพุทธ ตำแหน่ง “พระอินทร์” ตามคติพุทธ คือ เทวราชที่ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวงในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีพระสนม 4 คน (สุธรรมมา, สุชาดา, สุนันทา และ สุจิตรา) จึงได้นำ “ราชา” ไปเปรียบเคียงหรือเทียบเท่าพระอินทร์นั่นเอง





เรื่องของ ท้าวศรีสุดาจันทร์ พูดอะไรกันบ้างใน ภาพยนตร์ - ซีรีส์ และ หนังสือ

หมวด หนัง , ซีรีส์ , ละครเวที

“แม่หยัว” (2024) ช่อง วัน 31

ซีรีส์ 10 ตอนจบ บวงสรวงที่ “ศาลนางพระยาเจ้าอยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์” วัดแร้ง (วัดร้าง) 

ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ รับบท “จินดา / ท้าวศรีสุดาจันทร์”

“ข้าเคยตั้งใจว่า ข้าฯจะชิงบัลลังก์อโยธยามาให้คนที่ข้าฯรัก แต่บัดนี้ ข้าฯเพิ่งเข้าใจ อำนาจ หากอยู่ในมือผู้ใด คนดีก็อาจเปลี่ยนเป็นคนชั่วได้”

ซีรีส์แม่หยัว ขึ้นหนังสือชี้แจงก่อนรับชมว่า

“ ซีรีส์แม่หยัว ประพันธ์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจ จาก ประวัติของท้าวศรีสุดาจันทร์ เหตุการณ์ ตัวละคร อุปนิสัย รายละเอียดต่างๆ ในเรื่อง เป็นการตีความ ต่อยอด หรือแต่งขึ้นใหม่ เพื่อความสนุกสนานในการรับชม ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ทั้งหมด ในเรื่องอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์

แต่ผู้สร้างขอยืนยันว่า การสร้างซีรีส์เรื่อง แม่หยัว นี้มีเจตนาอันดี ที่นอกเหนือจากความบันเทิงแล้วยังต้องการให้ผู้ชมหันมาสนใจประวัติศาสตร์มากขึ้น หลังการรับชม หากผู้ชมมีความสนใจสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา”

ชมซีรีส์ที่มีตัวละครชื่อเหมือนคนในประวัติศาสตร์ อาจจะสนุก ครบรสถึงใจ มีโครงเรื่องจริงเจือเข้ามาไม่ถึง 10 % ด้วยซ้ำ เมื่อตั้งใจทำแค่ 10 ตอน จึงมุ่งไปที่ตัวละครหลักไม่กี่ตัว (ท้าวศรีสุดาจันทร์, พระไชยราชา, ขุนวรวงศาธิราช, ขุนพิเรนทรเทพ, พระแก้วฟ้า) นอกนั้นเป็นตัวละครที่สร้างขึ้นทั้งสิ้น ประวัติศาตร์เป็นเพียงไม้ประดับมีไว้สอดแซมในซีรีส์เรื่องนี้เท่านั้น ในทางธุรกิจ ตั้งเป้าหมายขายกับคนในโลกยุคนี้ นำเสนอ ปั่น และสร้างเรื่องราวให้เป็นที่พูดถึงในโชเชี่ยล

ปูพื้นด้วยเรื่องฮือฮา อย่าง “ท่าพับเป็ด” ! ในตำนาน ห้ามชี้เท้าไปทางเจ้าเหนือหัว เพราะเป็นดั่งสมมติเทพนั้น ละครในแนวพีเรียด เคยปรากฏท่านี้ในละคร “บุหลันมันตรา” (ยีน เกวลิน) มาก่อน และแม่หยัว (ใหม่ ดาวิกา) ในทางโยคะ ท่านี้คือ Supine Hero Pose ! ท่าพับเป็ด ถูกพูดถึงมาก ก่อนที่จะออนซีรีส์เรื่องนี้



พอเริ่มออนซีรีส์ เรื่องอื่นๆก็ตามมา

บุคลิกของกษัตริย์นักรบ “พระไชยราชา” (ธีรภัทร์ สัจจกุล) ถูกดีไซน์ให้เป็นคนที่มีบุคลิกไม่คงที่ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อารมณ์ขึ้น-ลง เป็นไบโพลาร์ หรือยังไง ? น้ำเสียงเหมือนจิ๊กโก๋ข้างวัด เสียงอ้อแอ้ จนไม่แน่ใจว่า เมาเหล้าหรือเทกยาตัวไหน ! พร้อมบวกด้วย อาการทางจิต สมัยก่อนใช้ดาบ สมัยนี้ก็ต้องโซ่ แส้ กุญแจมือ จากร้านเซ็กส์ชอป จอมซาดิสม์แน่ ! มีอย่างที่ไหน จะเสพสมยังแสดงอำนาจข่มขู่ว่าที่เมีย ที่ตะคริวจะกินขาอยู่แล้ว

“จินดา” (ใหม่ ดาวิกา) ชื่อสมมติ นามเดิมของตำแหน่ง “ท้าวศรีสุดาจันทร์” ที่ดูเหมือนฉลาด ! แต่ไม่เฉลียว เหลียวหลังมองคนรอบข้าง จริงๆ นางอ่อนไหวกับความรักมาก ถูกชักจูงจากความรัก นี่แหละ ความรักทำให้คนเธอตาบอด ถูกพ่อ (ออกพระลพบุรี – กบ ทรงสิทธิ์) วามน (ฟิล์ม ธนภัทร) หลอกใช้ เพราะทั้งคู่ประสงค์การขึ้นตำแหน่งกษัตริย์องค์ต่อไป หลังสิ้นพระไชยราชา แต่ยอมรับว่า ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ เล่นสายตากับอารมณ์ดีเหลือเกิน !

เรื่องเล่นเพื่อนในหมู่วังในเป็นเรื่องที่โจษจันกันมาก งานนี้จึงเติม หยอด เรื่อง “เล่นเพื่อน” ! เป็นจุดขายกับกลุ่ม “หญิงรักหญิง” จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ เล่นเพื่อน, เลสเบี้ยน , แซกฟิก เรื่อยไปจนถึงแหล่งที่ชายรักชายชอบไปกัน จนนึกว่าเป็นซาวน่าที่เกย์ ! ที่สำคัญ กลุ่มพราหมณ์หนุ่ม กินโปร์ตีนเวย์ จนชาวสีรุ้งอยากขึ้นสวรรค์บนดินซะงั้น เรียกว่า เทขายจนหมด ทุกเพศ !

วามนคือรักแรกของจินดา แต่ จินดาเป็นรักแรกของตันหยง (หรือ ท้าวอินทรเทวี) ต้องบอกว่า “นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล” สวยละมุนมาก ! งานนี้สมกับสโลแกนที่พูดบ่อยๆว่า อย่าไว้ใจ “ช่องวัน”

ทุกเรื่องถูกพูดถึงมากในโชเชี่ยล ! แต่มาตกที่นั่งลำบาก อยุธยาร้อนเป็นไฟ ! ยิ่งกว่าพม่าเผาเมือง เมื่อมีการใช้ยาสลบกับแมวดำ จนเป็นข่าวอยู่หลายวัน ข่าวต่อมาว่า คนที่วางยาสลบแมว ไม่ใช่สัตวแพทย์ แต่เป็นโมเดลลิ่งในกองถ่าย และเจ้าตัวเพิ่งวางยาสลบแมวครั้งแรก



เหลืออีก 3 ตอน จบแล้ว !

“แม่หยัว” สร้างแรงบันดาลของ เอกสารชื่อ The Voyages and Adventures of Ferdinand Mendez Pinto, the Portuguese - "การเดินทางและผจญภัยของเฟอร์ดินันด์ เมนเดซ ปินโต ชาวโปรตุเกส" เรียกสั้นๆว่า “เอกสารปินโตโปรตุเกส” ซึ่งเขาเคยเดินทางมาเมืองสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรก เข้ามาทางภาคใต้ และครั้งที่ 2 เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชยกทัพไปตีเชียงใหม่พอดี เอกสารชิ้นนี้ ถือเป็นเอกสารชั้นต้น ! (นางนันทา วรเนติวงศ์ ได้แปลจากภาษาอังกฤษ The Voyages and Adventures of Ferdinand Mendez Pinto พิมพ์อยู่ในเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ 3 กรมศิลปากร พ.ศ. 2538)

เนื่องจากปินโตเป็นนักผจญภัย การบันทึกอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด หากแต่ได้ผสมผสานลีลาระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง ! เหมือนนักเล่านิทานผจญภัย เรื่อง-ชาติอื่นๆ มีการถกเถียงกันว่า เหตุการณ์หลายอย่างไม่น่าเชื่อถือ หรือเกินจริง! ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเฟอร์เนา เมนเทส มินโต (เล่นคำกับกริยาภาษาโปรตุเกสว่าmentirซึ่งแปลว่า "โกหก" แปลว่า "เฟอร์เนา คุณกำลังโกหกอยู่หรือเปล่า ฉันกำลังโกหก") แม้เรื่องทั้งหลายอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด แต่ก็สอดคล้องไปกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

เรื่องบอกเล่าของปินโตมีสีสัน และเหมาะกับการนำมาแปรรูป ขยายความ และเล่าต่อเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องวางยาพระไชยราชาแล้ว ยังมีเรื่องความสัมพันธ์ของท้าวศรีสุดาจันทร์ กับคนส่งอาหารให้พระราชวัง ชื่อ ออกขุนชินราช , น้องเขย (นายจัน) ที่เป็นช่างตีเหล็ก และระบุวันสิ้นพระชนม์ 15 มกราคม พ.ศ. 2089 (ค.ศ. 1546) ซึ่งเป็นวันฉลองเทพเจ้าแห่งละอองของดวงอาทิตย์ (God of the Atoms of the Sun) ในวิกิพีเดีย บอก สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2091
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่