กมธ.กฎหมาย-มั่นคง ซักเดือด 2 จำเลย คดีตากใบ อยู่ตปท. รุมบี้ตร. ประสานอินเตอร์โพล ส่งตัวกลับ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4836616
“กมธ.กฎหมาย-มั่นคง” เชิญหน่วยงานแจงความคืบหน้าคดีตากใบ รุมจี้เดือด ปม 2 จำเลย ออกนอกประเทศจริงหรือไม่ ด้าน “พรรณิกา” ชี้ ใช้การทูตประสานอินเตอร์โพลจับกุมได้ แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่มี นาย
กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน โดยมีวาระพิจารณาศึกษาการติดตาม จับกุมจำเลยและผู้ต้องหา ตามหมายจับของศาล กรณีคดีการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ และแนวทางการเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อคดีหมดอายุความ ร่วมกับ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ส่งตัวแทน 3 คนเข้าร่วม พร้อมทั้งเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อ กมธ.
ช่วงหนึ่งในการประชุม พ.ต.ท.
เสกสันต์ คงคืน รองผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ชี้แจงไทม์ไลน์ในการดำเนินการของคดีตากใบว่า ที่ศาลจังหวัดนราธิวาสออกหมายจับจำเลย 6 รายในวันที่ 12 กันยายน และในวันที่ 20 กันยายน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ได้มีคำสั่งในการติดตามจับกุมจำเลยทั้ง 6 ราย ซึ่งในวันที่ 30 กันยายน ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีการออกหมายจับอีก 5 ราย
อย่างไรก็ตาม ศาลของทั้ง 2 จังหวัด มีการสอบสวนมาโดยตลอด รวมถึงกำหนดเป้าในการขอหมายศาลเพื่อค้นบ้านผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยในวันที่ 4 ตุลาคม ได้มีการค้นบ้านผู้ต้องหา 3 ราย ได้แก่ พล.ต.ต.
ศักดิ์สมหมาย พุทธกูล, พ.จ.ต.
รัชเดช ศรีสุวรรณ, ร.ต.
ณัฐวุฒิ เลื่อมใส ซึ่งในวันเดียวกันนี้ รักษาการผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ไปประชุม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และได้มีการสั่งการกำชับ การปฏิบัติ และมีหนังสือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งรัดการจับกุมส่งไปยังทุกหน่วยงานทั่วประเทศเพื่อดำเนินการตามหมายจับ
จากนั้น นาย
วิทยา แก้วภราดัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ถามถึงบุคคลที่อยู่ในหมายจับได้ส่งรายชื่อไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) แล้วหรือไม่ ด้าน พ.ต.อ.
รังษี มั่นจิตร ผู้กำกับการซักถาม 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า มีหนังสือแจ้งไปแล้ว หากบุคคลที่มีหมายจับจากศาลนราธิวาส และศาลปัตตานีมีการออกนอกประเทศ ตม.ก็จะมีการแจ้งเตือนเข้ามา ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานไปยังอินเตอร์โพล ทั้งนี้ ขออนุญาตไม่เปิดเผยรายละเอียด
จากนั้น นาย
กมลศักดิ์จึงถามว่า สามารถแจ้งต่อที่ประชุมได้หรือไม่ว่า ขณะนี้มีผู้ต้องหาเดินทางออกนอกประเทศไปกี่ราย เพราะตนมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่ลับ โดย พ.ต.อ.
รังษีกล่าวว่า สามารถตอบได้ว่า มี 2 ราย แต่ไม่สามารถระบุชื่อบุคคลได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหนึ่งของการประชุม นาย
รอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กมธ.ความมั่นคงฯ ได้ตั้งคำถามว่า คำถามที่ประชาชนสงสัยคือ ผู้ต้องหาทั้ง 14 คน อยู่ที่ไหน อีกทั้งจากการที่ตนทราบข้อมูล มีบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ คนแรกอยู่ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ อีกคนอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จึงอยากให้ช่วยยืนยันว่า เป็นไปตามข้อเท็จจริงนี้ใช่หรือไม่
โดยนาย
รอมฎอนกล่าวต่อว่า ถ้าใช่ตามข้อเท็จจริง ท่านได้มีความพยายามสื่อสารไปถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบการจับกุมในต่างประเทศหรือไม่อย่างไร พร้อมตั้งคำถามอีกว่า ในกรณีคดีอาญาที่ร้ายแรงแบบนี้ ถ้าไม่สามารถทำได้จริงๆ ช่วยชี้แจงว่า ประชาชนจะสามารถช่วยจับกุมผู้ต้องหาอย่างไรได้บ้าง
จากนั้น พ.ต.อ.
รังษีได้ตอบคำถามนาย
รอมฎอนว่า ผู้ต้องหาทั้ง 14 รายอยู่ที่ไหนนั้น ถ้าวันนี้ทราบ เราคงจับได้ไปแล้ว ซึ่งเรากำลังตามอยู่ และไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ส่วนคำถามที่ให้ยืนยันว่า มีบุคคลหลบหนีไปประเทศอังกฤษ และญี่ปุ่นนั้น ถือว่าเป็นการให้เบาะแส
ขณะที่ น.ส.
พรรณิการ์ วานิช ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.มั่นคงฯ กล่าวว่า ในบรรดาผู้ที่ถูกออกหมายจับทั้งหมด โดยเฉพาะบุคคลที่หนีออกนอกประเทศ หากเป็นไปตามข้อมูลที่ปรากฏว่า อยู่ที่สหราชอาณาจักร 1 คน และประเทศญี่ปุ่น 1 คน ซึ่งเราสามารถขอความร่วมมือผ่านกลไกอินเตอร์โพล กับ 2 ประเทศดังกล่าวได้ ด้วยการออกหมายแดง ซึ่งทางตำรวจจะต้องเป็นผู้ประสานกับอินเตอร์โพล เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ข้อมูลทั้ง 2 ประเทศสามารถช่วยติดตามจับกุมได้ นอกจากนี้กรณีนี้ยังเข้าข่ายสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพราะเป็นฐานความผิดถึงชีวิต ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศสามารถทำสำเนาหมายจับและดำเนินการได้ หรือหากไม่มีกฎหมายรองรับเราก็สามารถใช้กลไกการทูตเจรจาส่งตัวกลับได้
ด้าน พ.ต.อ.
รังษีกล่าวว่า เราได้ส่งหมายจับไปยังกองการต่างประเทศ เพื่อประสานไปยังอินเตอร์โพลเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม
ต่อมา น.ส.
ชลธิชา แจ้งเร็ว ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชน ในฐานะ กมธ.กฎหมายฯ ได้ซักถามว่า หากจำเลยทั้ง 2 คนเดินทางออกนอกประเทศแล้วจริง ได้มีการประสานไปทางกระทรวงการต่างประเทศจนมีหนังสือออกมาเป็นทางการแล้วหรือไม่ ด้าน พ.ต.อ.
รังษีกล่าวยืนยันว่า พนักงานสอบสวนดำเนินการทุกกระบวนการแล้ว
น.ส.
ชลธิชาได้ถามต่อว่า ยื่นบัญชีดำให้กับกระทรวงการต่างประเทศวันที่เท่าไหร่ ด้าน พ.ต.อ.
รังษีกล่าวว่า เราเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2566 ทั้งการตรวจสอบหาสำเนา ตั้งคณะทำงาน และได้แจ้งไปทุกหน่วยงาน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเราแจ้งไปแล้ว ก็มีระเบียบปฏิบัติ หากหน่วยงานมีระเบียบแต่บุคคลผิดพลาดก็ต้องว่าไปตามระบบ ดังนั้น ตนตอบได้แค่ว่า หากระบบมีการแจ้งก็ต้องมีการทำระเบียบ
จากนั้น นาย
คุณากร มั่นนทีรัย ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาชน ในฐานะ กมธ. ได้ถามย้ำถึงขั้นตอนการดำเนินการจับกุมว่า ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว ด้าน พ.ต.ท.
เสกสันต์กล่าวว่า คดีความมั่นคงที่เกิดขึ้น ในจังหวัดชายแดนใต้ ณ วันนี้มีทั้งหมด 10,593 คดี และมีหมายจับผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงอีกพันกว่าหมาย ซึ่งเราสืบสวนและจับกุมมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้จะผ่านมา 20 ปี เราก็ยังจับไม่ได้ เพราะผู้ต้องหามีการเคลื่อนไหวแต่ละวันคนละที่ ดังนั้น เราไม่สามารถประเมินเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ว่า ใครจะหลบหนีไปที่ใด แต่ยืนยันว่าแนวทางการสอบสวนต้องเป็นเรื่องลับ จากนั้นนาย
คุณากรจึงตอบกลับว่า จากที่ตนได้ฟังหากเปรียบเทียบการดำเนินการเป็น 5 ระดับ ตนประเมินว่า อยู่ในระดับแค่ 0-1 เท่านั้น
ปธ.กมธ.กฎหมาย เผยมีจำเลยคดีตากใบ หนีไปตปท.แล้ว 2 กระตุกจิตสำนึก ปล่อยหมดอายุความ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4836905
“กมธ.กฎหมาย” เผย จำเลยคดีตากใบ 14 คน ยังอยู่ในไทย 12 ยังรับราชการ 2 หนีต่างประเทศ 2 ด้าน “รอง ผบ.ภาค 9” แจง ประสานผู้บังคับบัญชา- กองการต่างประเทศติดตามตัว ขณะที่”กมลศักดิ์”ยันอัยการฯ บอกประทับรับฟ้องเรียบร้อยแล้ว โผล่มาแม้วันสุดท้ายจับได้เลย ซัดอยู่ที่จิตสำนึกคนผิดจะรับผิดชอบ หากจนท.จับตัวไม่ได้ ก่อนหมดอายุความ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา นาย
กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภา แถลงผลการประชุม กมธ.ว่า ที่ประชุมพิจารณาติดตามผู้ต้องหาคดีตากใบ หลังจากที่ศาลจังหวัดนราธิวาส มีการประทับฟ้อง และออกหมายจับจำเลย 7 คน และอัยการสูงสุดเห็นแย้งกับพนักงานสอบสวน ที่มีคำสั่งสั่งฟ้องผู้ต้องหา 8 คน รวมทั้งหมด 14 คน ซ้ำกับจำเลยเดิม 1 คนนั้น คดีดังกล่าวมีผู้ต้องหาจำนวน 14 คน โดยมีผู้ต้องหาที่อยู่ในประเทศไทย 12 คน เป็นข้าราชการ และยังรับราชการอยู่ 2 คน ซึ่งทางตำรวจได้ประสานกับผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหาทั้ง 2 คนแล้ว และคาดว่า มีผู้ต้องหาอีก 2 คน อยู่ต่างประเทศ โดยได้ประสานไปยังกองการต่างประเทศเพื่อออกหมายติดตามตัวแล้ว
“
ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ก่อนวันที่ 25 ตุลาคม หรือภายในวันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันหมดอายุความในคดีดังกล่าว ทางอัยการยืนยันว่า พร้อมเตรียมประทับรับฟ้อง และยื่นฟ้องเรียบร้อย หากจับคนไหนมาได้แม้ในวันสุดท้ายก็ตาม” นาย
กมลศักดิ์กล่าว
นาย
กมลศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ยังกังวลว่า หากปล่อยให้ขาดอายุความโดยไม่จับกุมใครเลยเกรงว่า จะเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีในพื้นที่ความขัดแย้ง เพราะเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา มีเหตุวางระเบิดที่บ้านพักนายอำเภอตากใบ หากปล่อยให้คดีตากใบขาดอายุความ ความรุนแรงจะมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งรองผู้บัญชาการภาค 9 ชี้แจงว่า เท่าที่มีการสอบสวนเหตุการณ์วางระเบิด ที่บ้านพักนายอำเภอนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีตากใบ
ส่วน กอ.รมน. และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ย้ำว่า มีการประเมินสถานการณ์ ในพื้นที่มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กมธ.เห็นว่า ควรให้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านนโยบาย และการปฏิบัติในพื้นที่ ในการเตรียมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคดีหมดอายุความ เนื่องจากคดีดังกล่าว เป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อถามว่าหากคดีหมดอายุความ และไม่สามารถจับกุมจำเลยได้เลย จะมีความรับผิดชอบจากใครหรือไม่ เช่นกรณี พล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ลาประชุมสภาฯไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ ควรจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรหรือไม่ นาย
กมลศักดิ์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของจำเลยแต่ละคน เพราะไม่มีข้อกฎหมายใดที่จะตอบแทนเรื่องนี้ได้ ต้องอยู่ที่สำนึกของบุคคลคนนั้นว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากทราบอยู่แล้วว่ามีหมายจับแทนที่จะมามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรมปล่อยให้ขาดอายุความ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลคนนั้น
พี่สาว 'วันเฉลิม' เตรียมพบ กมธ. ความมั่นคงฯ หลังถูก จนท. รัฐคุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพ
https://prachatai.com/journal/2024/10/110997
พี่สาว “วันเฉลิม” เตรียมเข้าให้ข้อเท็จจริงกับ กมธ. ความมั่นคงฯ หลังถูกเจ้าหน้าที่รัฐตามคุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพ ในการออกมาเรียกร้องความยุติธรรมให้น้องชาย โดยเฉพาะกรณีที่ถูกตำรวจเกือบ 40 นาย กักขังหน่วงเหนี่ยวที่บริเวณแถวทางเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ในวันที่อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนเดินทางมาเยี่ยมทักษิณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
9 ต.ค. 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมระบุ พรุ่งนี้ (10 ตุลาคม 2567) เวลา 9.30 น.
สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ “
วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์”นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศกัมพูชา ขณะลี้ภัยเมื่อปี 2563 จะเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อเข้าให้ข้อเท็จจริงประธานและคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในวันดังกล่าวจะมีประกายดาว พฤกษาเกษมสุข ร่วมชี้แจ้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกรณีการถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตาม คุกคาม และปิดกั้นเสรีภาพ ในการออกมาต่อสู้เรียกร้องตัว
วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ อีกด้วย
JJNY : 5in1 กมธ.กม.-มั่นคงซักเดือด│ปธ.กมธ.กม.กระตุกจิตสำนึก│เตรียมพบกมธ.│รายย่อยระส่ำหนัก│มิลตันอาจเกิดทอร์นาโดหลายลูก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4836616
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่มี นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน โดยมีวาระพิจารณาศึกษาการติดตาม จับกุมจำเลยและผู้ต้องหา ตามหมายจับของศาล กรณีคดีการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ และแนวทางการเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อคดีหมดอายุความ ร่วมกับ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ส่งตัวแทน 3 คนเข้าร่วม พร้อมทั้งเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อ กมธ.
ช่วงหนึ่งในการประชุม พ.ต.ท.เสกสันต์ คงคืน รองผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ชี้แจงไทม์ไลน์ในการดำเนินการของคดีตากใบว่า ที่ศาลจังหวัดนราธิวาสออกหมายจับจำเลย 6 รายในวันที่ 12 กันยายน และในวันที่ 20 กันยายน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ได้มีคำสั่งในการติดตามจับกุมจำเลยทั้ง 6 ราย ซึ่งในวันที่ 30 กันยายน ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีการออกหมายจับอีก 5 ราย
อย่างไรก็ตาม ศาลของทั้ง 2 จังหวัด มีการสอบสวนมาโดยตลอด รวมถึงกำหนดเป้าในการขอหมายศาลเพื่อค้นบ้านผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยในวันที่ 4 ตุลาคม ได้มีการค้นบ้านผู้ต้องหา 3 ราย ได้แก่ พล.ต.ต.ศักดิ์สมหมาย พุทธกูล, พ.จ.ต.รัชเดช ศรีสุวรรณ, ร.ต.ณัฐวุฒิ เลื่อมใส ซึ่งในวันเดียวกันนี้ รักษาการผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ไปประชุม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และได้มีการสั่งการกำชับ การปฏิบัติ และมีหนังสือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งรัดการจับกุมส่งไปยังทุกหน่วยงานทั่วประเทศเพื่อดำเนินการตามหมายจับ
จากนั้น นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ถามถึงบุคคลที่อยู่ในหมายจับได้ส่งรายชื่อไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) แล้วหรือไม่ ด้าน พ.ต.อ.รังษี มั่นจิตร ผู้กำกับการซักถาม 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า มีหนังสือแจ้งไปแล้ว หากบุคคลที่มีหมายจับจากศาลนราธิวาส และศาลปัตตานีมีการออกนอกประเทศ ตม.ก็จะมีการแจ้งเตือนเข้ามา ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานไปยังอินเตอร์โพล ทั้งนี้ ขออนุญาตไม่เปิดเผยรายละเอียด
จากนั้น นายกมลศักดิ์จึงถามว่า สามารถแจ้งต่อที่ประชุมได้หรือไม่ว่า ขณะนี้มีผู้ต้องหาเดินทางออกนอกประเทศไปกี่ราย เพราะตนมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่ลับ โดย พ.ต.อ.รังษีกล่าวว่า สามารถตอบได้ว่า มี 2 ราย แต่ไม่สามารถระบุชื่อบุคคลได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหนึ่งของการประชุม นายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กมธ.ความมั่นคงฯ ได้ตั้งคำถามว่า คำถามที่ประชาชนสงสัยคือ ผู้ต้องหาทั้ง 14 คน อยู่ที่ไหน อีกทั้งจากการที่ตนทราบข้อมูล มีบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ คนแรกอยู่ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ อีกคนอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จึงอยากให้ช่วยยืนยันว่า เป็นไปตามข้อเท็จจริงนี้ใช่หรือไม่
โดยนายรอมฎอนกล่าวต่อว่า ถ้าใช่ตามข้อเท็จจริง ท่านได้มีความพยายามสื่อสารไปถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบการจับกุมในต่างประเทศหรือไม่อย่างไร พร้อมตั้งคำถามอีกว่า ในกรณีคดีอาญาที่ร้ายแรงแบบนี้ ถ้าไม่สามารถทำได้จริงๆ ช่วยชี้แจงว่า ประชาชนจะสามารถช่วยจับกุมผู้ต้องหาอย่างไรได้บ้าง
จากนั้น พ.ต.อ.รังษีได้ตอบคำถามนายรอมฎอนว่า ผู้ต้องหาทั้ง 14 รายอยู่ที่ไหนนั้น ถ้าวันนี้ทราบ เราคงจับได้ไปแล้ว ซึ่งเรากำลังตามอยู่ และไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ส่วนคำถามที่ให้ยืนยันว่า มีบุคคลหลบหนีไปประเทศอังกฤษ และญี่ปุ่นนั้น ถือว่าเป็นการให้เบาะแส
ขณะที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.มั่นคงฯ กล่าวว่า ในบรรดาผู้ที่ถูกออกหมายจับทั้งหมด โดยเฉพาะบุคคลที่หนีออกนอกประเทศ หากเป็นไปตามข้อมูลที่ปรากฏว่า อยู่ที่สหราชอาณาจักร 1 คน และประเทศญี่ปุ่น 1 คน ซึ่งเราสามารถขอความร่วมมือผ่านกลไกอินเตอร์โพล กับ 2 ประเทศดังกล่าวได้ ด้วยการออกหมายแดง ซึ่งทางตำรวจจะต้องเป็นผู้ประสานกับอินเตอร์โพล เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ข้อมูลทั้ง 2 ประเทศสามารถช่วยติดตามจับกุมได้ นอกจากนี้กรณีนี้ยังเข้าข่ายสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพราะเป็นฐานความผิดถึงชีวิต ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศสามารถทำสำเนาหมายจับและดำเนินการได้ หรือหากไม่มีกฎหมายรองรับเราก็สามารถใช้กลไกการทูตเจรจาส่งตัวกลับได้
ด้าน พ.ต.อ.รังษีกล่าวว่า เราได้ส่งหมายจับไปยังกองการต่างประเทศ เพื่อประสานไปยังอินเตอร์โพลเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม
ต่อมา น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาชน ในฐานะ กมธ.กฎหมายฯ ได้ซักถามว่า หากจำเลยทั้ง 2 คนเดินทางออกนอกประเทศแล้วจริง ได้มีการประสานไปทางกระทรวงการต่างประเทศจนมีหนังสือออกมาเป็นทางการแล้วหรือไม่ ด้าน พ.ต.อ.รังษีกล่าวยืนยันว่า พนักงานสอบสวนดำเนินการทุกกระบวนการแล้ว
น.ส.ชลธิชาได้ถามต่อว่า ยื่นบัญชีดำให้กับกระทรวงการต่างประเทศวันที่เท่าไหร่ ด้าน พ.ต.อ.รังษีกล่าวว่า เราเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2566 ทั้งการตรวจสอบหาสำเนา ตั้งคณะทำงาน และได้แจ้งไปทุกหน่วยงาน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเราแจ้งไปแล้ว ก็มีระเบียบปฏิบัติ หากหน่วยงานมีระเบียบแต่บุคคลผิดพลาดก็ต้องว่าไปตามระบบ ดังนั้น ตนตอบได้แค่ว่า หากระบบมีการแจ้งก็ต้องมีการทำระเบียบ
จากนั้น นายคุณากร มั่นนทีรัย ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาชน ในฐานะ กมธ. ได้ถามย้ำถึงขั้นตอนการดำเนินการจับกุมว่า ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว ด้าน พ.ต.ท.เสกสันต์กล่าวว่า คดีความมั่นคงที่เกิดขึ้น ในจังหวัดชายแดนใต้ ณ วันนี้มีทั้งหมด 10,593 คดี และมีหมายจับผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงอีกพันกว่าหมาย ซึ่งเราสืบสวนและจับกุมมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้จะผ่านมา 20 ปี เราก็ยังจับไม่ได้ เพราะผู้ต้องหามีการเคลื่อนไหวแต่ละวันคนละที่ ดังนั้น เราไม่สามารถประเมินเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ว่า ใครจะหลบหนีไปที่ใด แต่ยืนยันว่าแนวทางการสอบสวนต้องเป็นเรื่องลับ จากนั้นนายคุณากรจึงตอบกลับว่า จากที่ตนได้ฟังหากเปรียบเทียบการดำเนินการเป็น 5 ระดับ ตนประเมินว่า อยู่ในระดับแค่ 0-1 เท่านั้น
ปธ.กมธ.กฎหมาย เผยมีจำเลยคดีตากใบ หนีไปตปท.แล้ว 2 กระตุกจิตสำนึก ปล่อยหมดอายุความ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4836905
“กมธ.กฎหมาย” เผย จำเลยคดีตากใบ 14 คน ยังอยู่ในไทย 12 ยังรับราชการ 2 หนีต่างประเทศ 2 ด้าน “รอง ผบ.ภาค 9” แจง ประสานผู้บังคับบัญชา- กองการต่างประเทศติดตามตัว ขณะที่”กมลศักดิ์”ยันอัยการฯ บอกประทับรับฟ้องเรียบร้อยแล้ว โผล่มาแม้วันสุดท้ายจับได้เลย ซัดอยู่ที่จิตสำนึกคนผิดจะรับผิดชอบ หากจนท.จับตัวไม่ได้ ก่อนหมดอายุความ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่รัฐสภา นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภา แถลงผลการประชุม กมธ.ว่า ที่ประชุมพิจารณาติดตามผู้ต้องหาคดีตากใบ หลังจากที่ศาลจังหวัดนราธิวาส มีการประทับฟ้อง และออกหมายจับจำเลย 7 คน และอัยการสูงสุดเห็นแย้งกับพนักงานสอบสวน ที่มีคำสั่งสั่งฟ้องผู้ต้องหา 8 คน รวมทั้งหมด 14 คน ซ้ำกับจำเลยเดิม 1 คนนั้น คดีดังกล่าวมีผู้ต้องหาจำนวน 14 คน โดยมีผู้ต้องหาที่อยู่ในประเทศไทย 12 คน เป็นข้าราชการ และยังรับราชการอยู่ 2 คน ซึ่งทางตำรวจได้ประสานกับผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหาทั้ง 2 คนแล้ว และคาดว่า มีผู้ต้องหาอีก 2 คน อยู่ต่างประเทศ โดยได้ประสานไปยังกองการต่างประเทศเพื่อออกหมายติดตามตัวแล้ว
“ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ก่อนวันที่ 25 ตุลาคม หรือภายในวันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันหมดอายุความในคดีดังกล่าว ทางอัยการยืนยันว่า พร้อมเตรียมประทับรับฟ้อง และยื่นฟ้องเรียบร้อย หากจับคนไหนมาได้แม้ในวันสุดท้ายก็ตาม” นายกมลศักดิ์กล่าว
นายกมลศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ยังกังวลว่า หากปล่อยให้ขาดอายุความโดยไม่จับกุมใครเลยเกรงว่า จะเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีในพื้นที่ความขัดแย้ง เพราะเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา มีเหตุวางระเบิดที่บ้านพักนายอำเภอตากใบ หากปล่อยให้คดีตากใบขาดอายุความ ความรุนแรงจะมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งรองผู้บัญชาการภาค 9 ชี้แจงว่า เท่าที่มีการสอบสวนเหตุการณ์วางระเบิด ที่บ้านพักนายอำเภอนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีตากใบ
ส่วน กอ.รมน. และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ย้ำว่า มีการประเมินสถานการณ์ ในพื้นที่มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กมธ.เห็นว่า ควรให้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านนโยบาย และการปฏิบัติในพื้นที่ ในการเตรียมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคดีหมดอายุความ เนื่องจากคดีดังกล่าว เป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อถามว่าหากคดีหมดอายุความ และไม่สามารถจับกุมจำเลยได้เลย จะมีความรับผิดชอบจากใครหรือไม่ เช่นกรณี พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ลาประชุมสภาฯไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ ควรจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรหรือไม่ นายกมลศักดิ์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของจำเลยแต่ละคน เพราะไม่มีข้อกฎหมายใดที่จะตอบแทนเรื่องนี้ได้ ต้องอยู่ที่สำนึกของบุคคลคนนั้นว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากทราบอยู่แล้วว่ามีหมายจับแทนที่จะมามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรมปล่อยให้ขาดอายุความ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลคนนั้น
พี่สาว 'วันเฉลิม' เตรียมพบ กมธ. ความมั่นคงฯ หลังถูก จนท. รัฐคุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพ
https://prachatai.com/journal/2024/10/110997
พี่สาว “วันเฉลิม” เตรียมเข้าให้ข้อเท็จจริงกับ กมธ. ความมั่นคงฯ หลังถูกเจ้าหน้าที่รัฐตามคุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพ ในการออกมาเรียกร้องความยุติธรรมให้น้องชาย โดยเฉพาะกรณีที่ถูกตำรวจเกือบ 40 นาย กักขังหน่วงเหนี่ยวที่บริเวณแถวทางเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ในวันที่อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนเดินทางมาเยี่ยมทักษิณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
9 ต.ค. 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมระบุ พรุ่งนี้ (10 ตุลาคม 2567) เวลา 9.30 น. สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์”นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศกัมพูชา ขณะลี้ภัยเมื่อปี 2563 จะเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อเข้าให้ข้อเท็จจริงประธานและคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในวันดังกล่าวจะมีประกายดาว พฤกษาเกษมสุข ร่วมชี้แจ้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกรณีการถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตาม คุกคาม และปิดกั้นเสรีภาพ ในการออกมาต่อสู้เรียกร้องตัววันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ อีกด้วย