เมื่อไม่นานมานี้ องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศให้ "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" จังหวัดอุดรธานี เป็น "มรดกโลกทางวัฒนธรรม" แห่งใหม่ของประเทศไทย ในชื่อทางการ "ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี" จากนั้นได้มี YouTuber ตลอดจนสำนักข่าวต่างๆ ได้นำเสนอข่าวแต่การนำเสนอข่าวได้คลาดเคลื่อนไปทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ภูพระบาทเป็นศาสนสถานของอาณาจักรทวารวดี
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจของคำว่า "ทวารวดี" ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน ทวารวดี ชื่อนี้นำมาใช้เป็นชื่อเรียกทั้งชื่อของยุคสมัย ชื่อของอาณาจักรและชื่อของวัฒนธรรม คล้ายกับ ขอม แตกต่างกันตรงที่ขอมจะใช้เรียกชื่อทางวัฒนธรรมอย่างเดียวไม่มีอาณาจักรขอม นักประวัติศาสตร์รู้จักชื่อ ทวารวดี ครั้งแรกเมื่อเมื่อปี พ.ศ.2427 นักวิชาการฝรั่งชื่อว่า ซามูเอล บีล ได้อ่านบันทึกการเดินทางไปชมพูทวีปของ "พระถังซัมจั๋ง" ซึ่งท่านบันทึกชื่ออาณาจักรเก่าแก่ในเขตประเทศไทยปัจจุบันว่า “โถโลโปตี” ฝรั่งคนนี้ได้ถอดสำเนียงจีนป็นสันสกฤตได้ว่า "ทวารวดี" พร้อมกับฟันธงว่าอาณาจักรนี้มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองละโว้ ต่อมาพบเหรียญที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ว่า "ศฺรี ทฺวารวตีศฺวรปุณฺย" ที่นครปฐมนักวิชาการไทยก็เลยตื่นตัวว่ามีอาณาจักรทวารวดีในเขตประเทศไทยจริงๆ และเชื่อว่านครปฐมเป็นเมืองหลวง ต่อมาก็พบเหรียญแบบเดียวกันกระจายกันไปหลายจุดจึงมีการถกเถียงกันว่าเมืองใดกันแน่ที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี ล่าสุดก็มีผู้เสนอว่าเมืองศรีเทพ ต่างหากที่เป็นเมืองหลวง ส่วนอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ท่านเชื่อว่าทวารวดีเป็นอาณาจักรแบบการรวมหลายๆ นครรัฐไว้ด้วยกันเจ้าเมืองแต่ละเมืองเป็นญาติกันจึงเป็นอาณาจักรแบบไม่มีเมืองศูนย์กลางของอำนาจ
ภาพประกอบจากศิลปวัฒนธรรม เป็นภาพเพิงหินมีพัทธสีมาปักรอบ 8 ทิศ คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ 14
ในบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง ทำให้เรารู้ว่ามีอาณาจักรใดบ้างอยู่ร่วมสมัยกัน เช่นที่พม่ามีอาณาจักรศรีเกษตร ที่ชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตประเทศพม่ารวมถึงด้านตะวันตกของประเทศไทยแถวๆ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี มีอาณาจักรชื่อว่า เกียโมลังเกีย ปัจจุบันไม่รู้ว่ามีศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ใดมีหลักฐานน้อยมากจึงกลายเป็นอาณาจักรที่ประวัติศาสตร์ไทยลืม ต่อมาก็เป็นดินแดนอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรอีศานปุระ อาณาจักรจามปา โดยในบันทึกได้บอกตำแหน่งที่ตั้งของอาณาจักรต่างๆ เอาไว้
มาถึงเหตุที่นักวิชาการหลายๆ คนไม่เรียก ภูพระบาท ว่าเป็นดินแดนของอาณาจักรทวารวดีก็เพราะว่าที่เมืองแอม จังหวัดขอนแก่น เมืองโบราณเก่าแก่ขนาดใหญ่ยุคเดียวกันที่อยู่ห่างลงมาทางทิศใต้ของภูพระบาทประมาณ 100 กิโลเมตร พบจารึกของพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรอีศานปุระ หรือที่ราชวงศ์สุยของจีนเรียกว่า เจินละ อาณาจักรนี้มีต้นตระกูลของกษัตริย์จากลุ่มน้ำมูลตอนปลายแถวๆ จังหวัดอุบลราชธานี โดยอาณาจักรอีศานปุระได้ครองครองพื้นที่ของภาคอีสาน ภาคตะวันออกของไทย ลาวตอนใต้ ต่อมาก็แผ่อำนาจไปปกครองในลุ่มน้ำโตนเลสาปของเขมรในยุคพระเจ้าอีศานวรมันซึ่งเป็นลูกหรือไม่ก็หลานของพระเจ้าจิตรเสน แต่เดิมนั้นทั้งทวารวดีและเจินละนับถือศาสนาพราห์มต่อมาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นเมื่อมีการพบศิลปะหรือวัฒนธรรมแบบทวารวดีในภาคอีสานจึงไม่ได้หมายความว่าภาคอีสานอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรทวารวดี เมื่อพบคำว่า "ทวารวดี" จึงต้องแยกแยะว่าเป็นชื่อของอาณาจักรหรือชื่อทางวัฒนธรรมหรือชื่อของยุคสมัย
ภูพระบาท วัฒนธรรมทวารวดีที่อาจไม่ได้อยู่ในอาณาจักรทวารวดี!?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจของคำว่า "ทวารวดี" ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน ทวารวดี ชื่อนี้นำมาใช้เป็นชื่อเรียกทั้งชื่อของยุคสมัย ชื่อของอาณาจักรและชื่อของวัฒนธรรม คล้ายกับ ขอม แตกต่างกันตรงที่ขอมจะใช้เรียกชื่อทางวัฒนธรรมอย่างเดียวไม่มีอาณาจักรขอม นักประวัติศาสตร์รู้จักชื่อ ทวารวดี ครั้งแรกเมื่อเมื่อปี พ.ศ.2427 นักวิชาการฝรั่งชื่อว่า ซามูเอล บีล ได้อ่านบันทึกการเดินทางไปชมพูทวีปของ "พระถังซัมจั๋ง" ซึ่งท่านบันทึกชื่ออาณาจักรเก่าแก่ในเขตประเทศไทยปัจจุบันว่า “โถโลโปตี” ฝรั่งคนนี้ได้ถอดสำเนียงจีนป็นสันสกฤตได้ว่า "ทวารวดี" พร้อมกับฟันธงว่าอาณาจักรนี้มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองละโว้ ต่อมาพบเหรียญที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ว่า "ศฺรี ทฺวารวตีศฺวรปุณฺย" ที่นครปฐมนักวิชาการไทยก็เลยตื่นตัวว่ามีอาณาจักรทวารวดีในเขตประเทศไทยจริงๆ และเชื่อว่านครปฐมเป็นเมืองหลวง ต่อมาก็พบเหรียญแบบเดียวกันกระจายกันไปหลายจุดจึงมีการถกเถียงกันว่าเมืองใดกันแน่ที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี ล่าสุดก็มีผู้เสนอว่าเมืองศรีเทพ ต่างหากที่เป็นเมืองหลวง ส่วนอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ท่านเชื่อว่าทวารวดีเป็นอาณาจักรแบบการรวมหลายๆ นครรัฐไว้ด้วยกันเจ้าเมืองแต่ละเมืองเป็นญาติกันจึงเป็นอาณาจักรแบบไม่มีเมืองศูนย์กลางของอำนาจ
ภาพประกอบจากศิลปวัฒนธรรม เป็นภาพเพิงหินมีพัทธสีมาปักรอบ 8 ทิศ คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ 14
ในบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง ทำให้เรารู้ว่ามีอาณาจักรใดบ้างอยู่ร่วมสมัยกัน เช่นที่พม่ามีอาณาจักรศรีเกษตร ที่ชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตประเทศพม่ารวมถึงด้านตะวันตกของประเทศไทยแถวๆ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี มีอาณาจักรชื่อว่า เกียโมลังเกีย ปัจจุบันไม่รู้ว่ามีศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ใดมีหลักฐานน้อยมากจึงกลายเป็นอาณาจักรที่ประวัติศาสตร์ไทยลืม ต่อมาก็เป็นดินแดนอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรอีศานปุระ อาณาจักรจามปา โดยในบันทึกได้บอกตำแหน่งที่ตั้งของอาณาจักรต่างๆ เอาไว้
มาถึงเหตุที่นักวิชาการหลายๆ คนไม่เรียก ภูพระบาท ว่าเป็นดินแดนของอาณาจักรทวารวดีก็เพราะว่าที่เมืองแอม จังหวัดขอนแก่น เมืองโบราณเก่าแก่ขนาดใหญ่ยุคเดียวกันที่อยู่ห่างลงมาทางทิศใต้ของภูพระบาทประมาณ 100 กิโลเมตร พบจารึกของพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรอีศานปุระ หรือที่ราชวงศ์สุยของจีนเรียกว่า เจินละ อาณาจักรนี้มีต้นตระกูลของกษัตริย์จากลุ่มน้ำมูลตอนปลายแถวๆ จังหวัดอุบลราชธานี โดยอาณาจักรอีศานปุระได้ครองครองพื้นที่ของภาคอีสาน ภาคตะวันออกของไทย ลาวตอนใต้ ต่อมาก็แผ่อำนาจไปปกครองในลุ่มน้ำโตนเลสาปของเขมรในยุคพระเจ้าอีศานวรมันซึ่งเป็นลูกหรือไม่ก็หลานของพระเจ้าจิตรเสน แต่เดิมนั้นทั้งทวารวดีและเจินละนับถือศาสนาพราห์มต่อมาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นเมื่อมีการพบศิลปะหรือวัฒนธรรมแบบทวารวดีในภาคอีสานจึงไม่ได้หมายความว่าภาคอีสานอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรทวารวดี เมื่อพบคำว่า "ทวารวดี" จึงต้องแยกแยะว่าเป็นชื่อของอาณาจักรหรือชื่อทางวัฒนธรรมหรือชื่อของยุคสมัย