Inside Out 2: มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2
กำกับโดย Kelsey Mann
จบไปหนึ่งเรื่องในฐานะแอนิเมชั่นแห่งปี คาดว่ายังไงก็คงได้ชิงออสการ์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมแน่นอน (คู่แข่งน้อย 😄) ดังนั้นเราก็ต้องมามารีวิวสักนิดหนึ่ง
- Inside Out ภาคนี้ เหมือนเป็นภาคขยายที่ต่อเนื่องมาจากภาคแรก
"ไรลีย์" เด็กสาวเริ่มเติบโตเป็นวัยรุ่น ทำให้มีอารมณ์ใหม่ ๆ เข้ามา ขณะที่เธอได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแคมป์นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานที่ใหม่ที่จะทำให้เธอได้เรียนรู้และเติบโต
Disney & Pixar's Inside Out 2 | มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 - Official Trailer
- สิ่งที่ชอบในภาคนี้ อย่างแรกก็ต้อง
"ไอเดีย" แม้จะไม่ต่างจากภาคแรกมาก แต่ไอเดียเรื่องอารมณ์ที่สะท้อนจิตวิทยาตัวตนเรา เป็นไอเดียที่สร้างสรรค์จริง (ชอบซีนต้นไม้แห่งตัวตนมาก)
- ส่วนถัดมา ชอบในแก่นเรื่องที่นำเอา
"ปัญหาชีวิต (วัยรุ่น)" มาอธิบายกลั่นเป็นเรื่องราวที่เรียบง่าย แต่มี impact กับผู้ชมทุกคน
ในชีวิตเรา
"วัยรุ่น" คือ ด่านแรกของการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่ วัยนี้เป็นช่วงที่ฮอร์โมนมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ง่ายที่เราจะได้รู้จักและรับมือกับอารมณ์ใหม่ ๆ ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเราหลายครั้ง
เช่นใน Inside Out โฟกัสหลักไปที่
"ความสุขเริ่มเลือนหาย ขณะที่ความว้าวุ่นใจเพิ่มขึ้นมา" สะท้อนถึง มีมิติทางอารมณ์ของ "คน" ที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม ความสำคัญของครอบครัวอาจลดลง ความสำคัญและมิตรภาพของเพื่อนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้
"วัยรุ่น" ยังเป็นวัยที่เราต้องการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อแสดง
"ตัวตน" ของเราให้สังคมได้เห็น
อย่างไรก็ตาม
"ตัวตน" ที่แท้จริง ไม่ได้หาง่ายขนาดนั้น กว่า
"เรา" จะเป็นเราในวันนี้ ล้วนผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ขัดเกลาให้เราเยือกเย็นขึ้น นิ่งขึ้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การที่เหล่า "วัยรุ่น" ได้เผชิญกับปัญหา (และอารมณ์) ภายใต้การซัพพอร์ตที่ดีของผู้ใหญ่ เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างกลมกลืน ในไม่ช้าเด็ก ๆ เหล่านั้นก็จะเป็นผู้ใหญ่เข้มแข็งเอง
- มาถึงส่วนที่ไม่ถูกใจบ้าง
อย่างแรก สไตล์การทำแอนิเมชั่นของ Pixar คือ
การทำแอนิเมชั่นที่มีคอนเซปต์แบบ "ผู้ใหญ่" แต่เผื่อให้เด็กดูได้ด้วย
หนังของ Pixar หลาย ๆ เรื่อง จึงลดทอนความเข้มลง และใส่ความฉูดฉาดเข้ามา ต้องมีมุกตลก ต้องมีบทสนทนาอธิบายทุกอย่างให้คนเข้าใจ
ตรงนี้เป็นส่วนที่อาจจะไม่ได้ชอบ ในหลายจุด ถ้าปล่อยให้ผู้ชมดูและคิดเอง น่าจะช่วยให้หนังคมขึ้นกว่านี้
- อีกส่วนหนึ่ง รู้สึกว่าพักหลัง เริ่มอินกับแพทเทินแบบนี้น้อยลง
นั่นคือ
แพทเทินการทำตัวละครแบบ "บุคลาธิษฐาน" (Personification) เพื่อสำรวจปัญหาอันนำไปสู่บทสรุปที่ดี ไล่ตั้งแต่ Inside Out (2015), Soul (2020), Elemental (2023) มาจนถึง Inside Out 2 (2024)
โดยรวมแล้ว หนังเรื่องต่าง ๆ ทำได้ค่อนข้างดี แต่ก็เริ่มมีแพทเทินหรือสูตรสำเร็จที่ "จำเจ" เข้ามาบ้าง (อาจจะยกเว้น Soul ที่เกือบจะหลุดหนังปรัชญาไปแล้ว)
นอกจากนี้ การทำหนังสำรวจจิตใจผ่านตัวละครที่เป็นตัวแทน อาจไม่มีอิสระในการเล่ามาก เช่น ใน Inside Out อารมณ์ต้องผูกเข้ากับร่างกายตลอด ครั้นพอใส่อะไรเข้าไปเยอะ ความสมจริงก็ลดลง เพราะอารมณ์เราเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาขนาดนั้นไม่ได้
สรุป - เป็นแอนิเมชั่นของ Pixar ที่ทำได้ดีในปีนี้ และคงทำรายได้ถล่มทลาย
เชื่อว่า ระหว่างดูทุกคนคงจะย้อนนึกไปถึงช่วงวัยว้าวุ่น พาให้นึกไปถึงว่า "เราผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร"
ใครสนใจแนะนำเลย ของดีจาก Pixar !
____________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อ
https://www.facebook.com/BENJIREVIEW/
Lemon8: BENJI Review
IG: benjireview
Inside Out 2 (2024) - ความเปลี่ยนแปลงใน "วัยว้าวุ่น" ที่มาพร้อมกับอารมณ์สุด "ว้าวุ่น"
จบไปหนึ่งเรื่องในฐานะแอนิเมชั่นแห่งปี คาดว่ายังไงก็คงได้ชิงออสการ์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมแน่นอน (คู่แข่งน้อย 😄) ดังนั้นเราก็ต้องมามารีวิวสักนิดหนึ่ง
- Inside Out ภาคนี้ เหมือนเป็นภาคขยายที่ต่อเนื่องมาจากภาคแรก
"ไรลีย์" เด็กสาวเริ่มเติบโตเป็นวัยรุ่น ทำให้มีอารมณ์ใหม่ ๆ เข้ามา ขณะที่เธอได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแคมป์นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานที่ใหม่ที่จะทำให้เธอได้เรียนรู้และเติบโต
- ส่วนถัดมา ชอบในแก่นเรื่องที่นำเอา "ปัญหาชีวิต (วัยรุ่น)" มาอธิบายกลั่นเป็นเรื่องราวที่เรียบง่าย แต่มี impact กับผู้ชมทุกคน
ในชีวิตเรา "วัยรุ่น" คือ ด่านแรกของการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่ วัยนี้เป็นช่วงที่ฮอร์โมนมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ง่ายที่เราจะได้รู้จักและรับมือกับอารมณ์ใหม่ ๆ ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเราหลายครั้ง
นอกจากนี้ "วัยรุ่น" ยังเป็นวัยที่เราต้องการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อแสดง "ตัวตน" ของเราให้สังคมได้เห็น
อย่างไรก็ตาม "ตัวตน" ที่แท้จริง ไม่ได้หาง่ายขนาดนั้น กว่า "เรา" จะเป็นเราในวันนี้ ล้วนผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ขัดเกลาให้เราเยือกเย็นขึ้น นิ่งขึ้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การที่เหล่า "วัยรุ่น" ได้เผชิญกับปัญหา (และอารมณ์) ภายใต้การซัพพอร์ตที่ดีของผู้ใหญ่ เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างกลมกลืน ในไม่ช้าเด็ก ๆ เหล่านั้นก็จะเป็นผู้ใหญ่เข้มแข็งเอง
อย่างแรก สไตล์การทำแอนิเมชั่นของ Pixar คือ การทำแอนิเมชั่นที่มีคอนเซปต์แบบ "ผู้ใหญ่" แต่เผื่อให้เด็กดูได้ด้วย
หนังของ Pixar หลาย ๆ เรื่อง จึงลดทอนความเข้มลง และใส่ความฉูดฉาดเข้ามา ต้องมีมุกตลก ต้องมีบทสนทนาอธิบายทุกอย่างให้คนเข้าใจ
ตรงนี้เป็นส่วนที่อาจจะไม่ได้ชอบ ในหลายจุด ถ้าปล่อยให้ผู้ชมดูและคิดเอง น่าจะช่วยให้หนังคมขึ้นกว่านี้
นั่นคือ แพทเทินการทำตัวละครแบบ "บุคลาธิษฐาน" (Personification) เพื่อสำรวจปัญหาอันนำไปสู่บทสรุปที่ดี ไล่ตั้งแต่ Inside Out (2015), Soul (2020), Elemental (2023) มาจนถึง Inside Out 2 (2024)
โดยรวมแล้ว หนังเรื่องต่าง ๆ ทำได้ค่อนข้างดี แต่ก็เริ่มมีแพทเทินหรือสูตรสำเร็จที่ "จำเจ" เข้ามาบ้าง (อาจจะยกเว้น Soul ที่เกือบจะหลุดหนังปรัชญาไปแล้ว)
นอกจากนี้ การทำหนังสำรวจจิตใจผ่านตัวละครที่เป็นตัวแทน อาจไม่มีอิสระในการเล่ามาก เช่น ใน Inside Out อารมณ์ต้องผูกเข้ากับร่างกายตลอด ครั้นพอใส่อะไรเข้าไปเยอะ ความสมจริงก็ลดลง เพราะอารมณ์เราเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาขนาดนั้นไม่ได้
เชื่อว่า ระหว่างดูทุกคนคงจะย้อนนึกไปถึงช่วงวัยว้าวุ่น พาให้นึกไปถึงว่า "เราผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร"
ใครสนใจแนะนำเลย ของดีจาก Pixar !