ร้านตามสั่งจ๊าก หันใช้ไข่เล็กลง หลังขึ้นแผงละ 6 บาท
https://www.matichon.co.th/region/news_4599399
ร้านตามสั่งจ๊าก หันใช้ไข่เล็กลง หลังขึ้นแผงละ 6 บาท
วันที่ 29 พฤษภาคม จากที่เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละไซส์หน้าฟาร์มมขึ้นอีกแผงละ 6 บาทนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองชัยนาท จ.ชัยนาทสำรวจราคาไข่ไก่หน้าแผง ซึ่งพบว่ามีการปรับขึ้นราคาแล้วแต่ปรับแบบขั้นบันได คือในวันนี้มีการปรับขึ้นแผงละ 3 บาท และในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการปรับขึ้นอีก 3 บาทเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค
นาย
ธนากร จากทัพเนตร พ่อค้าไข่ไก่ เปิดเผยว่า หลังจากมีการปรับราคาไข่ไก่ขึ้น ปัจจุบันไข่ไก่หน้าแผงเบอร์ 0 ขนาดใหญ่สุดราคาขยับขึ้นไปที่แผงละ150บาท , เบอร์ 1 ขายราคาแผงละ138 บาท , เบอร์ 2 ขายราคาแผงละ130บาท ,เบอร์ 3 แผงละ118 บาท , เบอร์ 4 แผงละ110บาท และเบอร์ 5 เล็กสุดขายแผงละ 100 บาท
ซึ่งจากที่ราคาไข่แพงขึ้นนี้เอง ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ากลุ่มของร้านอาหาร ที่พบว่ามีการเปลี่ยนการใช้ขนาดของไข่ในการปรุงอาหาร เพื่อให้ต้นทุนไม่เพิ่ม จากเดิมใช้ไข่ไก่เบอร์ 1 ก็จะหันไปใช้ไข่เบอร์ 2 กันมาขึ้น ส่วนกลุ่มของภาคครัวเรือนยังคงซื้อไข่ในขนาดเท่าเดิม แต่ลดปริมาณการซื้อลง เพื่อลดรายจ่ายต่อครั้งลง
ไข่ไก่ยะลา ราคาพุ่ง ขึ้นเป็นฟองละ 4 บาท ผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก วอนรัฐคุมราคา
https://www.matichon.co.th/region/news_4599553
ไข่ไก่ยะลา ราคาพุ่ง ขึ้นเป็นฟองละ 4 บาท ผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก วอนรัฐคุมราคา
ยะลา-ภายหลังเครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มอีก 20 สตางค์ หรืออยู่ที่ฟองละ 4 บาท เผยเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ไก่ป่วย ออกไข่น้อยลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นนั้น
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ภายหลังเครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ออกประกาศปรับราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม นี้เป็นต้นไปนั้นส่งให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ปรับจากฟองละ 3.80 บาท เป็นฟองละ 4 บาท
โดยวันนี้ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา พบผู้บริโภคที่มาซื้อไข่ไก่ในวันนี้บอกว่าไข่ไก่มีราคาแพงมากซื้อไปทำกับข้าวยังต้องใช้วิธีแยกซื้อเป็นถุง 10 ฟอง ไข่ไก่เบอร์ 1 ในราคา 47 บาท แต่บางคนก็โชคดีได้ไข่ไก่ ล็อตเดิมที่ขายไม่หมดก็ได้ราคาถูกลงหน่อย แต่ยังไงก็ตามผู้บริโภคต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากให้รัฐบาลช่วยตรึงราคาสินค้าหน่อย เพราะทุกวันนี้สินค้าทุกอย่างมีราแพงมาก ลำบากคนหาเช้ากินค่ำ อย่างอาหารหลักที่มีราคาถูกอย่างไข่ไก่ ก็ยังขึ้นราคามาตลอด 1 – 2 วันก็ขึ้นราคาอีกส่วนเวลาลดราคาลงก็ลดลงไม่เยอะส่วนทางกับรายได้
ด้านนาย
ยัง ปาแน อายุ 38 ปี พ่อค้าไข่ไก่ บอกว่า ระยะนี้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลงเนื่องจากไก่ออกไข่น้อย ปีนี้อากาศร้อนสลับมีฝนตกชุก ทำให้ไก่เครียดและป่วย นอกจากนี้ประชาชนยังมีความต้องการบริโภคไข่ไก่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียน โดยราคาไข่ไก่ เบอร์ 0 ราคาแผง
ละ 145 เบอร์ 2 ราคาแผงละ 130 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาแผงละ 118 บาท ไข่ไก่เบอร์ 4 ราคาแผงละ107 บาท และไข่ไก่เบอร์ 5 ราคาแผงละ 100 บาท
นอกจากนี้ พ่อค้าไข่ไก่ ยังทำการแยกถุงไข่ไก่เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคโดยแบ่งเป็นถุง ไข่ไก่ 15 ฟอง เบอร์ 1 ถุงละ 69 บาท เบอร์ 2 ถุงละ 65 บาท เบอร์ 3 ถุงละ 59 บาท เบอร์ 4 ถุงละ 54 บาท และเบอร์ 5 ถุงละ 50 บาท นอกจากนี้ยังแบ่งไข่ไก่เบอร์ 10 แยกเป็นถุง โดยเบอร์ 1 ราคาถุงละ 47 บาท เบอร์ 2 ราคาถุงละ 46 บาท เบอร์ 3 ราคาถุงละ 43 บาท เบอร์ 4 ราคาถุงละ 42 บาท และเบอร์ 5 ราคาถุงละ 37 บาท ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคที่หาเช้ากินค่ำให้ได้แต่ละมื้ออาหารไปวันๆ ครับ ผมฟังจากคนซื้อพูด ครับ พ่อค้าไข่ไก่บอก
ส่วนไข่ไก่ที่มีการปรับราคาขึ้นลงสาเหตุมาจากสถานการณ์ต้นทุน ปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภค ซึ่งการปรับราคาขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ ขณะเดียวกันไข่ไก่เป็นสินค้าควบคุมที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อผู้เลี้ยงและผู้บริโภคอยู่แล้ว
แบงก์ชาติ เตือนรัฐบาลอีกยก ตั้งงบเพิ่ม กระทบเสถียรภาพ-พื้นที่การคลัง
https://www.thansettakij.com/business/economy/597243
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง ฉบับทบทวนครั้งนี้ ได้ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปรับเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ปีงบประมาณ 2567 เท่ากับ 2,797,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2568 เท่ากับ 2,887,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2569 เท่ากับ 3,040,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2570 เท่ากับ 3,204,000 ล้านบาท และ ปีงบประมาณ 2571 เท่ากับ 3,394,000 ล้านบาท
ส่วนประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 122,000 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 3,602,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 3,752,700 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ 3,743,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2570 อยู่ที่ 3,897,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2571 อยู่ที่ 4,077,000 ล้านบาท
ขณะที่การขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นอีก 112,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 805,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.3% ต่อ GDP, ปี 2568 อยู่ที่ 865,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ต่อ GDP, ปี 2569 อยู่ที่ 703,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ต่อ GDP, ปี 2570 อยู่ที่ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.3 % ต่อ GDP และปี 2571 อยู่ที่ 683,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.1% ต่อ GDP
ส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็น 62.4% ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2567 เท่ากับ 65.7%, ปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 67.9%, ปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ 68.8%, ปีงบประมาณ 2570 อยู่ที่ 68.9% และ ปีงบประมาณ 2571 อยู่ที่ 68.6%
นอกจากนี้ยังได้กำหนดตัวเลข GDP ของไทยใหม่ โดยปรับลดลง ดังนี้ ปี 2567 เดิมอยู่ที่ 2.7% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 2.5%, ปี 2568 เดิมอยู่ที่ 3.3% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.0%, ปี 2569-2570 เดิมอยู่ที่ 3.3% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.2% และ ปี 2571-2572 เดิมอยู่ที่ 3.2% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.0%
ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.9 -1.9% และปี 2570 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.1 - 2.1 ส่วนในปี 2571 - 2572 มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วง 1.3 - 2.3%
JJNY : ร้านตามสั่งจ๊ากหันใช้ไข่เล็กลง│ไข่ไก่ยะลาผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก│แบงก์ชาติเตือนรบ.อีกยก│โลกส่งดาวเทียม“เอิร์ธแคร์”
https://www.matichon.co.th/region/news_4599399
ร้านตามสั่งจ๊าก หันใช้ไข่เล็กลง หลังขึ้นแผงละ 6 บาท
วันที่ 29 พฤษภาคม จากที่เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละไซส์หน้าฟาร์มมขึ้นอีกแผงละ 6 บาทนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองชัยนาท จ.ชัยนาทสำรวจราคาไข่ไก่หน้าแผง ซึ่งพบว่ามีการปรับขึ้นราคาแล้วแต่ปรับแบบขั้นบันได คือในวันนี้มีการปรับขึ้นแผงละ 3 บาท และในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการปรับขึ้นอีก 3 บาทเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค
นายธนากร จากทัพเนตร พ่อค้าไข่ไก่ เปิดเผยว่า หลังจากมีการปรับราคาไข่ไก่ขึ้น ปัจจุบันไข่ไก่หน้าแผงเบอร์ 0 ขนาดใหญ่สุดราคาขยับขึ้นไปที่แผงละ150บาท , เบอร์ 1 ขายราคาแผงละ138 บาท , เบอร์ 2 ขายราคาแผงละ130บาท ,เบอร์ 3 แผงละ118 บาท , เบอร์ 4 แผงละ110บาท และเบอร์ 5 เล็กสุดขายแผงละ 100 บาท
ซึ่งจากที่ราคาไข่แพงขึ้นนี้เอง ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ากลุ่มของร้านอาหาร ที่พบว่ามีการเปลี่ยนการใช้ขนาดของไข่ในการปรุงอาหาร เพื่อให้ต้นทุนไม่เพิ่ม จากเดิมใช้ไข่ไก่เบอร์ 1 ก็จะหันไปใช้ไข่เบอร์ 2 กันมาขึ้น ส่วนกลุ่มของภาคครัวเรือนยังคงซื้อไข่ในขนาดเท่าเดิม แต่ลดปริมาณการซื้อลง เพื่อลดรายจ่ายต่อครั้งลง
ไข่ไก่ยะลา ราคาพุ่ง ขึ้นเป็นฟองละ 4 บาท ผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก วอนรัฐคุมราคา
https://www.matichon.co.th/region/news_4599553
ไข่ไก่ยะลา ราคาพุ่ง ขึ้นเป็นฟองละ 4 บาท ผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก วอนรัฐคุมราคา
ยะลา-ภายหลังเครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประกาศปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มอีก 20 สตางค์ หรืออยู่ที่ฟองละ 4 บาท เผยเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ไก่ป่วย ออกไข่น้อยลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นนั้น
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ภายหลังเครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ออกประกาศปรับราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม นี้เป็นต้นไปนั้นส่งให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ปรับจากฟองละ 3.80 บาท เป็นฟองละ 4 บาท
โดยวันนี้ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา พบผู้บริโภคที่มาซื้อไข่ไก่ในวันนี้บอกว่าไข่ไก่มีราคาแพงมากซื้อไปทำกับข้าวยังต้องใช้วิธีแยกซื้อเป็นถุง 10 ฟอง ไข่ไก่เบอร์ 1 ในราคา 47 บาท แต่บางคนก็โชคดีได้ไข่ไก่ ล็อตเดิมที่ขายไม่หมดก็ได้ราคาถูกลงหน่อย แต่ยังไงก็ตามผู้บริโภคต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากให้รัฐบาลช่วยตรึงราคาสินค้าหน่อย เพราะทุกวันนี้สินค้าทุกอย่างมีราแพงมาก ลำบากคนหาเช้ากินค่ำ อย่างอาหารหลักที่มีราคาถูกอย่างไข่ไก่ ก็ยังขึ้นราคามาตลอด 1 – 2 วันก็ขึ้นราคาอีกส่วนเวลาลดราคาลงก็ลดลงไม่เยอะส่วนทางกับรายได้
ด้านนายยัง ปาแน อายุ 38 ปี พ่อค้าไข่ไก่ บอกว่า ระยะนี้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลงเนื่องจากไก่ออกไข่น้อย ปีนี้อากาศร้อนสลับมีฝนตกชุก ทำให้ไก่เครียดและป่วย นอกจากนี้ประชาชนยังมีความต้องการบริโภคไข่ไก่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียน โดยราคาไข่ไก่ เบอร์ 0 ราคาแผง
ละ 145 เบอร์ 2 ราคาแผงละ 130 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาแผงละ 118 บาท ไข่ไก่เบอร์ 4 ราคาแผงละ107 บาท และไข่ไก่เบอร์ 5 ราคาแผงละ 100 บาท
นอกจากนี้ พ่อค้าไข่ไก่ ยังทำการแยกถุงไข่ไก่เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคโดยแบ่งเป็นถุง ไข่ไก่ 15 ฟอง เบอร์ 1 ถุงละ 69 บาท เบอร์ 2 ถุงละ 65 บาท เบอร์ 3 ถุงละ 59 บาท เบอร์ 4 ถุงละ 54 บาท และเบอร์ 5 ถุงละ 50 บาท นอกจากนี้ยังแบ่งไข่ไก่เบอร์ 10 แยกเป็นถุง โดยเบอร์ 1 ราคาถุงละ 47 บาท เบอร์ 2 ราคาถุงละ 46 บาท เบอร์ 3 ราคาถุงละ 43 บาท เบอร์ 4 ราคาถุงละ 42 บาท และเบอร์ 5 ราคาถุงละ 37 บาท ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคที่หาเช้ากินค่ำให้ได้แต่ละมื้ออาหารไปวันๆ ครับ ผมฟังจากคนซื้อพูด ครับ พ่อค้าไข่ไก่บอก
ส่วนไข่ไก่ที่มีการปรับราคาขึ้นลงสาเหตุมาจากสถานการณ์ต้นทุน ปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภค ซึ่งการปรับราคาขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ ขณะเดียวกันไข่ไก่เป็นสินค้าควบคุมที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อผู้เลี้ยงและผู้บริโภคอยู่แล้ว
แบงก์ชาติ เตือนรัฐบาลอีกยก ตั้งงบเพิ่ม กระทบเสถียรภาพ-พื้นที่การคลัง
https://www.thansettakij.com/business/economy/597243
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง ฉบับทบทวนครั้งนี้ ได้ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปรับเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ปีงบประมาณ 2567 เท่ากับ 2,797,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2568 เท่ากับ 2,887,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2569 เท่ากับ 3,040,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2570 เท่ากับ 3,204,000 ล้านบาท และ ปีงบประมาณ 2571 เท่ากับ 3,394,000 ล้านบาท
ส่วนประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 122,000 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 3,602,000 ล้านบาท, ปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 3,752,700 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ 3,743,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2570 อยู่ที่ 3,897,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2571 อยู่ที่ 4,077,000 ล้านบาท
ขณะที่การขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นอีก 112,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 805,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.3% ต่อ GDP, ปี 2568 อยู่ที่ 865,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ต่อ GDP, ปี 2569 อยู่ที่ 703,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ต่อ GDP, ปี 2570 อยู่ที่ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.3 % ต่อ GDP และปี 2571 อยู่ที่ 683,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.1% ต่อ GDP
ส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็น 62.4% ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2567 เท่ากับ 65.7%, ปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 67.9%, ปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ 68.8%, ปีงบประมาณ 2570 อยู่ที่ 68.9% และ ปีงบประมาณ 2571 อยู่ที่ 68.6%
นอกจากนี้ยังได้กำหนดตัวเลข GDP ของไทยใหม่ โดยปรับลดลง ดังนี้ ปี 2567 เดิมอยู่ที่ 2.7% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 2.5%, ปี 2568 เดิมอยู่ที่ 3.3% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.0%, ปี 2569-2570 เดิมอยู่ที่ 3.3% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.2% และ ปี 2571-2572 เดิมอยู่ที่ 3.2% ฉบับใหม่ลดลงเหลือ 3.0%
ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.9 -1.9% และปี 2570 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.1 - 2.1 ส่วนในปี 2571 - 2572 มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วง 1.3 - 2.3%