ขอมาแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นอุทาหรณ์ และเผื่อว่าจะมีผู้รู้ทางกฎหมายท่านใดพอจะให้คำแนะนำ หรือผู้ที่เคยประสบเหตุการณ์เดียวกันแล้วมีข้อมูลพอจะช่วยเหลือได้ครับ ทรัพย์สินที่พ่อแม่ลำบากหามาทั้งชีวิตกำลังจะถูกยึดไปโดยที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับหนี้ที่เกิดขึ้นเลย
1.เริ่มต้นจากราว 10กว่าปีก่อน พ่อร่วมหุ้นกับญาติเปิดบริษัท ต่อมาบริษัททำสัญญากู้เงินเบิกเกินบัญชีกับแบงก์เอาไว้ พ่อและแม่เป็นผู้ค้ำประกันในสัญญา(ร่วมกับญาติที่เป็นผู้ถือหุ้นคนอื่นอีก2-3คน) โดยเอกสารกู้เงินแบ่งเป็น
-สัญญาหลักที่บริษัททำกับแบงก์โดยระบุรายชื่อผู้ค้ำฯและหลักทรัพย์ที่จำนองเอาไว้เป็นประกัน
-สัญญาย่อย ที่ผู้ค้ำฯทุกคนเซ็นเป็นผู้ค้ำประกันกับแบงก์(อ้างอิงตามสัญญาหลัก)พร้อมระบุหลักทรัพย์ที่จำนองไว้เป็นประกัน
-สัญญาจำนองที่ดิน ของหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน
ซึ่งในขั้นตอนการทำสัญญานั้นคุณพ่อที่เป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่ได้จบสูง ไม่ได้เข้าใจถึงความสำคัญใดๆของเอกสารที่ให้เซ็นไว้ ประกอบกับมีทนายของบริษัทเป็นผู้ดำเนินการให้ พ่อเข้าใจแค่ในหลักการของการกู้เงินคือ เราเอาฉโนดไปเป็นหลักประกันกู้กับแบงก์ไว้
2.หลังจากนั้นผ่านมา 2-3 ปี พ่อต้องการถอนหุ้นออกจากบริษัท และไม่ต้องการมีความเกี่ยวข้องในทางใดกับบริษัทอีก จึงแจ้งทางบริษัทดำเนินการถอนหุ้นออก และให้ไถ่ถอนฉโนดที่นำไปทำสัญญากู้เงินกับแบงก์ไว้ ซึ่งความผิดพลาดของเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นจากตรงนี้ เพราะความไม่รู้ ไม่รอบคอบ และไว้วางใจทนายบริษัท ของคุณพ่อ....ให้ทนายดำเนินการให้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ คุณพ่อได้ฉโนดไถ่ถอนกลับมา และไม่มีชื่ออยู่ในผู้ถือหุ้นบริษัทอีก พ่อจึงเข้าใจแบบชาวบ้านว่า ทุกอย่างเสร็จสิ้นและเราไม่เกี่ยวข้องใดๆกับทางบริษัทและแบงก์ผู้ให้กู้อีก
ซึ่งจริงๆแล้วในรายละเอียดสิ่งที่เกิดขึ้นคือแบงก์ใช้วิธี ทำสัญญาเพิ่มโดยให้เอาหลักประกันของพ่อออก เปลี่ยนกับ หลักประกันของญาติคนใหม่(ญาติคนนี้ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาหลัก ครั้งแรกที่ทำไว้) รวมกับให้เพิ่มเงินจำนองของญาติคนเดิมในที่เคยสัญญาหลัก โดยยอดเงินรวมของคนที่จำนองใหม่รวมกับที่ขึ้นเงินจำนองของคนเก่า จะเท่ากับยอดเงินจำนองที่พ่อเคยทำไว้พอดี เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือเช่นเดิม พ่อจำนองไว้ 1ล้าน เปลี่ยนของพ่อออกเป็นของคนใหม่ 8 แสน และเพิ่มเงินจำนองของคนเก่าอีก 2 แสน
ซึ่งเอกสารที่ทำไว้มีเป็นหลักฐานได้แก่
-สัญญาเปลี่ยนแปลงหลักประกันระหว่างบริษัทกับแบงก์ โดยเปลี่ยนจากหลักทรัพย์ของพ่อที่จำนองไว้ เป็นหลักทรัพย์ของญาติคนใหม่ รวมกับเพิ่มเงินจำนองของหลักทรัพย์เดิมของญาติอีกคนตั้งแต่สัญญาหลักครั้งแรก
-ญาติคนใหม่ >> ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง
-ญาติคนเดิม >> ทำบันทึกขึ้นเงินจำนอง ที่ทำสัญญาไว้และทำสัญญาค้ำประกันจำนวนเงินมูลค่านี้เพิ่ม
*** โดยเอกสารเหล่านี้ทางคุณพ่อไม่เคยรับรู้มาก่อนในวันที่ได้ฉโนดคืน หรือแม้จะเห็นเอกสาร ก็คงจะไม่มีความรู้พอที่จะเข้าใจว่า นิติกรรมที่ทำนำมาสู่การได้ฉโนดคืนนี้แตกต่างและส่งผลลัพธ์อันเลวร้ายได้ในภายภาคหน้า กระทั่งมารู้ซึ้งในภายหลัง
3.นับจากนั้นอีก7-8 ปี ชะตากรรมอันโหดร้ายก็แสดงผลออกมา เมื่อมีหมายศาลมาบ้าน แจ้งว่าพ่อและแม่ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดชอบหนี้ที่ทำสัญญาไว้ ในฐานะผู้ค้ำประกัน โดยแบงก์ใช้สัญญาค้ำประกันที่เคยเซ็นไว้เป็นหลักฐาน มิหนำซ้ำ บัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับแบงก์นี้ทั้งของพ่อและแม่ถูกอาญัติทันที อ้างว่าเพื่อชำระหนี้
ทางเราต่อสู้ทางศาล ผ่านเวลาจนถึงปัจจุบันมาอีกกว่า4-5 ปี ชนะในศาลชั้นต้น แต่ผลการตัดสินของศาลอุทรณ์ ให้พ่อกับแม่ยังต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันอยู่ ตอนนี้ทั้งหมดกำลังใจ ผิดหวัง รู้สึกว่าโอกาสที่จะชนะเหลือน้อยลงจนแทบไม่มี มันคือความรู้สึกของคนที่ต้องมารับผิดชอบสูญเสียทุกอย่างไปกับสิ่งที่เราไม่ได้ก่อ ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรจึงลองมาตั้งกระทู้ในนี้ เผื่อว่าใครเคยเจอเคสแบบผมหรือมีคำแนะนำใดๆที่เป็นประโยชน์ให้เพิ่มเติมก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างมาก หรือถึงแม้จะไม่ได้ผลลัพธ์อะไรดีขึ้น ก็หวังว่าประสบการณ์ที่ผมเจอจะเป็นข้อเตือนใจให้ผู้ที่กำลังเกี่ยวข้องหรือไปทำสัญญา ทำธุรกิจใดๆ ร่วมกันกับใครไว้ ให้ตรวจดูเอกสารและควรมีความเข้าใจความรู้พื้นฐานทางกฎหมายเอาไว้บ้าง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงเต็มไปด้วยคนที่สนใจแต่ผลประโยชน์และองค์กรที่จ้องจะใช้ความได้เปรียบทั้งด้านทรัพยากรและความรู้ทางกฎหมายคอยหาช่องเอารัดเอาเปรียบลูกค้าเท่าที่ตนจะได้ผลประโยชน์สูงสุดอยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่มีใครต้องมาเจอเหตุการณ์เดียวกันกับผมและครอบครัวครับ
อุทาหรณ์ไถ่ถอนฉโนดที่วางค้ำประกันแล้ว ยังถูกฟ้องว่าเป็นผู้ค้ำประกันจากแบงก์ เงินที่หามาทั้งชีวิตกำลังจะถูกยึด
1.เริ่มต้นจากราว 10กว่าปีก่อน พ่อร่วมหุ้นกับญาติเปิดบริษัท ต่อมาบริษัททำสัญญากู้เงินเบิกเกินบัญชีกับแบงก์เอาไว้ พ่อและแม่เป็นผู้ค้ำประกันในสัญญา(ร่วมกับญาติที่เป็นผู้ถือหุ้นคนอื่นอีก2-3คน) โดยเอกสารกู้เงินแบ่งเป็น
-สัญญาหลักที่บริษัททำกับแบงก์โดยระบุรายชื่อผู้ค้ำฯและหลักทรัพย์ที่จำนองเอาไว้เป็นประกัน
-สัญญาย่อย ที่ผู้ค้ำฯทุกคนเซ็นเป็นผู้ค้ำประกันกับแบงก์(อ้างอิงตามสัญญาหลัก)พร้อมระบุหลักทรัพย์ที่จำนองไว้เป็นประกัน
-สัญญาจำนองที่ดิน ของหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน
ซึ่งในขั้นตอนการทำสัญญานั้นคุณพ่อที่เป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่ได้จบสูง ไม่ได้เข้าใจถึงความสำคัญใดๆของเอกสารที่ให้เซ็นไว้ ประกอบกับมีทนายของบริษัทเป็นผู้ดำเนินการให้ พ่อเข้าใจแค่ในหลักการของการกู้เงินคือ เราเอาฉโนดไปเป็นหลักประกันกู้กับแบงก์ไว้
2.หลังจากนั้นผ่านมา 2-3 ปี พ่อต้องการถอนหุ้นออกจากบริษัท และไม่ต้องการมีความเกี่ยวข้องในทางใดกับบริษัทอีก จึงแจ้งทางบริษัทดำเนินการถอนหุ้นออก และให้ไถ่ถอนฉโนดที่นำไปทำสัญญากู้เงินกับแบงก์ไว้ ซึ่งความผิดพลาดของเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นจากตรงนี้ เพราะความไม่รู้ ไม่รอบคอบ และไว้วางใจทนายบริษัท ของคุณพ่อ....ให้ทนายดำเนินการให้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ คุณพ่อได้ฉโนดไถ่ถอนกลับมา และไม่มีชื่ออยู่ในผู้ถือหุ้นบริษัทอีก พ่อจึงเข้าใจแบบชาวบ้านว่า ทุกอย่างเสร็จสิ้นและเราไม่เกี่ยวข้องใดๆกับทางบริษัทและแบงก์ผู้ให้กู้อีก
ซึ่งจริงๆแล้วในรายละเอียดสิ่งที่เกิดขึ้นคือแบงก์ใช้วิธี ทำสัญญาเพิ่มโดยให้เอาหลักประกันของพ่อออก เปลี่ยนกับ หลักประกันของญาติคนใหม่(ญาติคนนี้ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาหลัก ครั้งแรกที่ทำไว้) รวมกับให้เพิ่มเงินจำนองของญาติคนเดิมในที่เคยสัญญาหลัก โดยยอดเงินรวมของคนที่จำนองใหม่รวมกับที่ขึ้นเงินจำนองของคนเก่า จะเท่ากับยอดเงินจำนองที่พ่อเคยทำไว้พอดี เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือเช่นเดิม พ่อจำนองไว้ 1ล้าน เปลี่ยนของพ่อออกเป็นของคนใหม่ 8 แสน และเพิ่มเงินจำนองของคนเก่าอีก 2 แสน
ซึ่งเอกสารที่ทำไว้มีเป็นหลักฐานได้แก่
-สัญญาเปลี่ยนแปลงหลักประกันระหว่างบริษัทกับแบงก์ โดยเปลี่ยนจากหลักทรัพย์ของพ่อที่จำนองไว้ เป็นหลักทรัพย์ของญาติคนใหม่ รวมกับเพิ่มเงินจำนองของหลักทรัพย์เดิมของญาติอีกคนตั้งแต่สัญญาหลักครั้งแรก
-ญาติคนใหม่ >> ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง
-ญาติคนเดิม >> ทำบันทึกขึ้นเงินจำนอง ที่ทำสัญญาไว้และทำสัญญาค้ำประกันจำนวนเงินมูลค่านี้เพิ่ม
*** โดยเอกสารเหล่านี้ทางคุณพ่อไม่เคยรับรู้มาก่อนในวันที่ได้ฉโนดคืน หรือแม้จะเห็นเอกสาร ก็คงจะไม่มีความรู้พอที่จะเข้าใจว่า นิติกรรมที่ทำนำมาสู่การได้ฉโนดคืนนี้แตกต่างและส่งผลลัพธ์อันเลวร้ายได้ในภายภาคหน้า กระทั่งมารู้ซึ้งในภายหลัง
3.นับจากนั้นอีก7-8 ปี ชะตากรรมอันโหดร้ายก็แสดงผลออกมา เมื่อมีหมายศาลมาบ้าน แจ้งว่าพ่อและแม่ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดชอบหนี้ที่ทำสัญญาไว้ ในฐานะผู้ค้ำประกัน โดยแบงก์ใช้สัญญาค้ำประกันที่เคยเซ็นไว้เป็นหลักฐาน มิหนำซ้ำ บัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับแบงก์นี้ทั้งของพ่อและแม่ถูกอาญัติทันที อ้างว่าเพื่อชำระหนี้
ทางเราต่อสู้ทางศาล ผ่านเวลาจนถึงปัจจุบันมาอีกกว่า4-5 ปี ชนะในศาลชั้นต้น แต่ผลการตัดสินของศาลอุทรณ์ ให้พ่อกับแม่ยังต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันอยู่ ตอนนี้ทั้งหมดกำลังใจ ผิดหวัง รู้สึกว่าโอกาสที่จะชนะเหลือน้อยลงจนแทบไม่มี มันคือความรู้สึกของคนที่ต้องมารับผิดชอบสูญเสียทุกอย่างไปกับสิ่งที่เราไม่ได้ก่อ ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรจึงลองมาตั้งกระทู้ในนี้ เผื่อว่าใครเคยเจอเคสแบบผมหรือมีคำแนะนำใดๆที่เป็นประโยชน์ให้เพิ่มเติมก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างมาก หรือถึงแม้จะไม่ได้ผลลัพธ์อะไรดีขึ้น ก็หวังว่าประสบการณ์ที่ผมเจอจะเป็นข้อเตือนใจให้ผู้ที่กำลังเกี่ยวข้องหรือไปทำสัญญา ทำธุรกิจใดๆ ร่วมกันกับใครไว้ ให้ตรวจดูเอกสารและควรมีความเข้าใจความรู้พื้นฐานทางกฎหมายเอาไว้บ้าง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงเต็มไปด้วยคนที่สนใจแต่ผลประโยชน์และองค์กรที่จ้องจะใช้ความได้เปรียบทั้งด้านทรัพยากรและความรู้ทางกฎหมายคอยหาช่องเอารัดเอาเปรียบลูกค้าเท่าที่ตนจะได้ผลประโยชน์สูงสุดอยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่มีใครต้องมาเจอเหตุการณ์เดียวกันกับผมและครอบครัวครับ