“บุพเพสันนิวาส” + “พรหมลิขิต” 📌  ทำไม? ถึงเรียกพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า  "ขุนหลวง"  📌


 
ในละคร เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” + “พรหมลิขิต” มีการพูดถึงพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลายพระองค์
 
เช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ขุนหลวงนารายณ์) / สมเด็จพระเพทราชา (ขุนหลวงเพทราชา) / สมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงเสือ) / สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ (ขุนหลวงท้ายสระ) /  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ขุนหลวงบรมโกศ)


 









สงสัยว่า


1. สงสัยว่า ทำไม? ถึงเรียกพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า  "ขุนหลวง" 

ทั้งที่พระนามทางการขึ้นต้นด้วยคำว่า "สมเด็จพระ........."

2. ทำไม? คำนำพระนามของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย ขึ้นต้นด้วยคำว่า "พ่อขุน........." / "พระมหาธรรมราชา........."

3. ทำไม? คำนำพระนามของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา/กรุงธนบุรี ขึ้นต้นด้วยคำว่า "สมเด็จพระ........."

4. ทำไม? คำนำพระนามของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นต้นด้วยคำว่า "พระบาทสมเด็จพระ........."

5. ทำไม? คำนำพระนามของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (ส่วนใหญ่) ลงท้ายด้วยคำว่า "พระบาทสมเด็จพระ.........เกล้าเจ้าอยู่หัว"

6. คำว่า  "ขุนหลวง"  /  "ในหลวง"  มีที่มาจากไหน และเริ่มใช้เมื่อใด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่