ปัจจุบันเขมรมีความพยายามอย่างมากในการเคลมวัฒนธรรมไทย คนไทยบางคนก็ตื่นตัว บางคนกลับนิ่งเฉยได้แต่กล่าวว่าความจริงก็คือความจริง ทว่าพฤฒิกรรมการเคลมวัฒนธรรมไทยของเขมรฝั่งรากลึกไปมากจนเกิดการทะเลาะกันระหว่างชาวไทยกับชาวเขมรตามสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ
เรื่องการพยายามเคลมวัฒนธรรมไทยมีมูลพอสังเกตได้ว่า พักหลังนี้รัฐบาลไทยมีความตื่นตัวโดยยื่น UNESCO หลายอย่าง อาทิ โขน ชุดไทย มวยไทย สงกรานต์ในประเทศไทย โบราณสถาน ฯลฯ ขณะเดียวกันเขมรก็พยายามยื่น พิพาทขัดขวางไม่ให้การยื่น UNESCO ของไทยสำเร็จ
พฤฒิกรรมการเคลม
กระบวนการเคลมวัฒนธรรมไทยโดยเขมร ทำเป็นขบวนการ เรียกว่า IO ทำหน้าที่หลายๆ อย่าง
1. พฤฒิกรรมเปลี่ยนเรื่องโกหกให้เป็นความเชื่อฝังหัว
โดยนำรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยแปะธงเขมร แล้วเผยแพร่โพสต์แล้วแชร์ไปเรื่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ ทุกวันจนเป็น Digital Footprint การทำคลิปปั่นกระแสโดย Influencer คลิปให้ความรู้จากฝั่งเขมรฝั่งเดียว การเขียนบทความ การแปลนิทานไทยโบราณเป็นภาษาเขมรแล้วตั้งชื่ออย่างเขมร จากเดิมว่าเป็นเรื่องโกหก บัดนี้กลายความเชื่อที่ว่าต่อ ๆ กันมาแบบฝังหัว
2. พฤฒิกรรมลอกเลียนแบบวัฒนธรรมไทย
การเลียนแบบคงไม่เป็นปัญหา หากผู้เลียนแบบรับรู้และเผยแพร่ต่อไปว่ามาจากไทย แต่สิ่งที่เขมรทำอยู่ตอนนี้ คือ ลอกเลียนแบบแล้วบอกว่าตัวเองเป็นต้นฉบับ แต่กลับบอกว่าวัฒนธรรมไทยคัดลอกมาจากเขมร ตีตราว่าไทยเป็นโจรขโมยวัฒนธรรมของเขา
3. พฤฒิกรรมเคลมวัฒนธรรมไทยผ่าน Wikipedia
การแก้ไข Wikipedia โดยเฉพาะบทความภาษาอังกฤษพบว่าเขมรทำเป็นขบวนการ ทั้งลบ ข้อความที่เกี่ยวข้องว่าเป็นของไทยก็ไปแก้ข้อความว่าเป็นของเขมร แล้วแทรกอ้างอิงหนังสือเขมรพร้อมแทรกคำศัพท์เขมรไว้ตามบทความต่าง ๆ ซึ่งปกตินักเขียนวิกิจะไม่ลบบทความถ้ามีอ้างอิงเพียงพอเว้นแต่บทความนั้นมีผู้เชี่ยวชาญดูแลอยู่ก็จะถูกเพ่งเล็งตรวจสอบความถูกต้องสม่ำเสมอ แต่บทความมีจำนวนมากที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลไม่ทั่วถึงจึงเป็นช่องโหว่ร้ายแรงที่เขมรอาศัยเข้าไปบิดเบือนบทความ
ขณะเดียวกัน คนไทยมักชอบพูดว่า Wikipedia ใคร ๆ ก็เข้าไปแก้ได้ ไม่น่าเชื่อถือ แต่มักลุความประมาทอย่างหนึ่ง คือ Wikipedia เป็นแหล่งข้อมูลเริ่มต้นชั้นแรก ๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริง กอปรกับแต่ละคนต่างมีความรู้ไม่เท่ากันจึงอาจหลงเชื่อไปก่อนว่าสิ่งที่ Wikipedia เขียนไว้อาจเป็นจริงหรือมีมูลเหตุก็ได้ บทความ Wikipedia เรื่องเดียวกันมีได้หลายภาษา บทความ Wikipedia แต่ละภาษาแม้เรื่องเดียวกันก็เขียนไม่เหมือนกัน ยิ่งเป็นบทความ Wikipedia ภาษาเขมรแล้ว อะไรที่ว่าเป็นของไทยจะถูกแก้ไขเป็นของเขมรจนอาจลุกลามไปถึงบทความภาษาอื่น ๆ
4. พฤฒิกรรมอยากมีวัฒนธรรมร่วม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าดินแดนไทย-เขมรมีการเคลื่อนย้ายไปมาของวัฒนธรรมจึงพัวพันกันอยู่ยากจะแยกออกจากกันได้ แต่วัฒนธรรมไทยบางอย่างมีวิวัฒนาการจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย และวัฒนธรรมไทยบางอย่างมีชื่อเสียงอย่างมากจึงเคลมเป็นของตนเองได้ยาก เขมรจึงอาศัยช่องทางหนึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมร่วม หรือ พหุวัฒนธรรม ซึ่งสารตั้งต้นวัฒนธรรมอาจมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ปลายทางวัฒนธรรมล้วนมีวิวัฒนาการจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เช่น กรณีประเพณีสงกรานต์ อาจเป็นพหุวัฒนธรรมในแง่ของประเพณีแต่คำเรียกชื่อไม่เหมือนกัน และมีจารีตประเพณีไม่เหมือนกัน ขณะที่เขมรพยายามขอเป็นวัฒนธรรมร่วมโดยใช้คำว่า สงกรานต์กำพูชา (แทนคำว่า โจลชนัมทเมย) เหมือนอย่างไทยเพื่อหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและชื่อเสียง แต่พฤฒิกรรมเขมรในโลกออนไลน์กำลังพยายามบอกว่าคำสงกรานต์เป็นภาษาเขมร และมีต้นกำเนิดมาจากเขมร เป็นคำสันสกฤตไม่ใช่ภาษาไทย เป็นต้น แม้คำสงกรานต์เป็นคำภาษาไทยตรงตามหลักภาษาไทยก็ตาม
5. การมีส่วนร่วมของนักการเมือง นักวิชาการ
การเคลมวัฒนธรรมไทยมีความรุนแรงมากน้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากนักการเมือง นักวิชาการพัวพันทั้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย การที่กลุ่มคนเหล่านี้ออกมาชี้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วัฒนธรรมไทย สิ่งนั้นมาจากเขมร มาจากอินเดีย ทั้ง ๆ ที่สารตั้งต้นอาจเหมือนกันแต่วัฒนธรรมไทยหลายอย่างถูกปรับปรุงจนเป็นอัตลักษณ์แบบไทยที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ หรือการแสดงทรรศนะในเชิงโบราณคดีภายใต้องค์ความรู้ของตนต่อผู้คนจำนวนมากล้วนมีผลต่อการเคลมวัฒนธรรมไทยในขณะนี้ อาจเป็นการสุมไฟให้การเคลมวัฒนธรรมมีความรุนแรงมากขึ้น
6. การด้อยค่าชาวไทย
หนึ่งในกระบวนการเคลมวัฒนธรรมไทยที่น่ารังเกียจที่สุด ซึ่งสร้างรอยร้าวความสัมพันธ์ของคนไทยต่อเขมร เกิดการด่าทอว่า โจรสยาม ขโมยวัฒนธรรมเขมร ขณะเดียวกันกลุ่มชาวไทยที่ตระหนักและหวงแหนวัฒนธรรมไทยก็ต้องออกมาปรามกลับ ด้วยการตั้งกลุ่มกันเอง คอยแฉ อธิบายสิ่งที่เขมรบิดเบือนจากความจริง รวมทั้งการต่อต้านด้วยการด่าทอกลับ บ้างขุยคุ้ยหลักฐานมาต่อสู้ทว่าเขมรจะยอมจำนวนต่อหลักฐานกลับกล่าวว่าหลักฐานเหล่านั้นเป็นของปลอม โดยส่วนตัวเห็นว่า การกระทำของเขมรของการพยายามเคลมวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องน่าวิตกกังวล
จะขอยก เสภาพระราชพงศาวดาร เรื่องตีเมืองขอม ของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) แต่งถวายล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ตอนหนึ่งว่า
๏ ทำไมกับทัพเขมรเดนเขาเลือก
มีแต่เปลือกสู้ไทยจะได้ฤๅ
เสียแต่หย่อนอ่อนหัดไม่ฟัดปรือ
ได้ลงมือแม้นไม่สรรพไม่กลับมา
เดนเขาเลือก เป็นคำด่า หมายถึง ของเหลือที่ไม่มีใครต้องการแล้ว (สมบัติ จำปาเงิน, ปทานุกรมฉบับถ้อยคำ ฯ, 2540:80)
แม้แต่ด้านประวัติศาสตร์ไทยก็มีการวิเคราะห์ไว้ต่าง ๆ นานา ว่า
“เขมรเคยหักหลังไทยสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนถึงต้องเสด็จไปแก้แค้นเอาโลหิต พระยาละแวกล้างบาทาเสียให้จงได้ คราใดที่กรุงศรีอยุธยารบกับหงสาวดี เขมรก็คอยซ้ำเติมไทยโดยการยกทัพมากวาดต้อนผู้คนชาวไทยตามเมืองชายแดน อย่าง ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด จับตัวเอาไปเป็นเชลยศึกเป็นขี้ข้าเขมร ทำคนไทยไว้มาก”
– โสมทัต เทเวศร์ (สมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ), เกร็ดภาษาหนังสือไทย, 2524: 486.
– ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ, ลุยเขมร, 2538: 5.
“พวกชวนชาติขอมและเขมรพวกนี้ เป็นชาติที่คบค้าสมาคมด้วยไม่ได้ ยิ่งคนที่เป็นใหญ่เป็นประมุขของชาติเขมร คือ สีหนุนั้นยิ่งคบไม่ได้ใหญ่ เพราะสีหนุเขมรนั้นมีพฤฒิกรรมในเชิงปฏิบัติยิ่งไปเสียโจรป่าห้าร้อย”
– สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 51, 10(2547): 48.
รวมไปถึงสักวาสมัยรัตนโกสินทร์ต่าง ๆ
๏ เชิญพระร่วงครองราชย์เพื่อชาติรอด
ไทยปลอดพวกอพยพคบไม่ได้
มันจะมาหมดเขมรไม่เป็นไร
สาปมันไปอยู่ชายแดนสมแค้นเอย
– สักวาเขมรพระประทุม
ประยอม อรฉัตร ซองทอง, สักวาวิวิธ รวมบทกลอนสดเชิงปฏิภาณกวียุคใหม่สมัยรัตนโกสินทร์, 2525.)
๏ รู้ว่าขอมแหกคอดมันปลอกปลิ้น
เป็นพวกเฮงสัมรินมาเลี่ยงหลบ
ขอสาปส่งลงข่าวทั่วพิภพ
ไม่ควรคบขอมดำสิ้นชาติเอย
– สักวาพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
(ประยอม อรฉัตร ซองทอง, สักวาวิวิธ รวมบทกลอนสดเชิงปฏิภาณกวียุคใหม่สมัยรัตนโกสินทร์, 2525.)
ความน่ากลัวของเขมร กับการพยายามเคลมวัฒนธรรมไทย
เรื่องการพยายามเคลมวัฒนธรรมไทยมีมูลพอสังเกตได้ว่า พักหลังนี้รัฐบาลไทยมีความตื่นตัวโดยยื่น UNESCO หลายอย่าง อาทิ โขน ชุดไทย มวยไทย สงกรานต์ในประเทศไทย โบราณสถาน ฯลฯ ขณะเดียวกันเขมรก็พยายามยื่น พิพาทขัดขวางไม่ให้การยื่น UNESCO ของไทยสำเร็จ
พฤฒิกรรมการเคลม
กระบวนการเคลมวัฒนธรรมไทยโดยเขมร ทำเป็นขบวนการ เรียกว่า IO ทำหน้าที่หลายๆ อย่าง
1. พฤฒิกรรมเปลี่ยนเรื่องโกหกให้เป็นความเชื่อฝังหัว
โดยนำรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยแปะธงเขมร แล้วเผยแพร่โพสต์แล้วแชร์ไปเรื่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ ทุกวันจนเป็น Digital Footprint การทำคลิปปั่นกระแสโดย Influencer คลิปให้ความรู้จากฝั่งเขมรฝั่งเดียว การเขียนบทความ การแปลนิทานไทยโบราณเป็นภาษาเขมรแล้วตั้งชื่ออย่างเขมร จากเดิมว่าเป็นเรื่องโกหก บัดนี้กลายความเชื่อที่ว่าต่อ ๆ กันมาแบบฝังหัว
2. พฤฒิกรรมลอกเลียนแบบวัฒนธรรมไทย
การเลียนแบบคงไม่เป็นปัญหา หากผู้เลียนแบบรับรู้และเผยแพร่ต่อไปว่ามาจากไทย แต่สิ่งที่เขมรทำอยู่ตอนนี้ คือ ลอกเลียนแบบแล้วบอกว่าตัวเองเป็นต้นฉบับ แต่กลับบอกว่าวัฒนธรรมไทยคัดลอกมาจากเขมร ตีตราว่าไทยเป็นโจรขโมยวัฒนธรรมของเขา
3. พฤฒิกรรมเคลมวัฒนธรรมไทยผ่าน Wikipedia
การแก้ไข Wikipedia โดยเฉพาะบทความภาษาอังกฤษพบว่าเขมรทำเป็นขบวนการ ทั้งลบ ข้อความที่เกี่ยวข้องว่าเป็นของไทยก็ไปแก้ข้อความว่าเป็นของเขมร แล้วแทรกอ้างอิงหนังสือเขมรพร้อมแทรกคำศัพท์เขมรไว้ตามบทความต่าง ๆ ซึ่งปกตินักเขียนวิกิจะไม่ลบบทความถ้ามีอ้างอิงเพียงพอเว้นแต่บทความนั้นมีผู้เชี่ยวชาญดูแลอยู่ก็จะถูกเพ่งเล็งตรวจสอบความถูกต้องสม่ำเสมอ แต่บทความมีจำนวนมากที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลไม่ทั่วถึงจึงเป็นช่องโหว่ร้ายแรงที่เขมรอาศัยเข้าไปบิดเบือนบทความ
ขณะเดียวกัน คนไทยมักชอบพูดว่า Wikipedia ใคร ๆ ก็เข้าไปแก้ได้ ไม่น่าเชื่อถือ แต่มักลุความประมาทอย่างหนึ่ง คือ Wikipedia เป็นแหล่งข้อมูลเริ่มต้นชั้นแรก ๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริง กอปรกับแต่ละคนต่างมีความรู้ไม่เท่ากันจึงอาจหลงเชื่อไปก่อนว่าสิ่งที่ Wikipedia เขียนไว้อาจเป็นจริงหรือมีมูลเหตุก็ได้ บทความ Wikipedia เรื่องเดียวกันมีได้หลายภาษา บทความ Wikipedia แต่ละภาษาแม้เรื่องเดียวกันก็เขียนไม่เหมือนกัน ยิ่งเป็นบทความ Wikipedia ภาษาเขมรแล้ว อะไรที่ว่าเป็นของไทยจะถูกแก้ไขเป็นของเขมรจนอาจลุกลามไปถึงบทความภาษาอื่น ๆ
4. พฤฒิกรรมอยากมีวัฒนธรรมร่วม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าดินแดนไทย-เขมรมีการเคลื่อนย้ายไปมาของวัฒนธรรมจึงพัวพันกันอยู่ยากจะแยกออกจากกันได้ แต่วัฒนธรรมไทยบางอย่างมีวิวัฒนาการจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย และวัฒนธรรมไทยบางอย่างมีชื่อเสียงอย่างมากจึงเคลมเป็นของตนเองได้ยาก เขมรจึงอาศัยช่องทางหนึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมร่วม หรือ พหุวัฒนธรรม ซึ่งสารตั้งต้นวัฒนธรรมอาจมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ปลายทางวัฒนธรรมล้วนมีวิวัฒนาการจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เช่น กรณีประเพณีสงกรานต์ อาจเป็นพหุวัฒนธรรมในแง่ของประเพณีแต่คำเรียกชื่อไม่เหมือนกัน และมีจารีตประเพณีไม่เหมือนกัน ขณะที่เขมรพยายามขอเป็นวัฒนธรรมร่วมโดยใช้คำว่า สงกรานต์กำพูชา (แทนคำว่า โจลชนัมทเมย) เหมือนอย่างไทยเพื่อหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและชื่อเสียง แต่พฤฒิกรรมเขมรในโลกออนไลน์กำลังพยายามบอกว่าคำสงกรานต์เป็นภาษาเขมร และมีต้นกำเนิดมาจากเขมร เป็นคำสันสกฤตไม่ใช่ภาษาไทย เป็นต้น แม้คำสงกรานต์เป็นคำภาษาไทยตรงตามหลักภาษาไทยก็ตาม
5. การมีส่วนร่วมของนักการเมือง นักวิชาการ
การเคลมวัฒนธรรมไทยมีความรุนแรงมากน้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากนักการเมือง นักวิชาการพัวพันทั้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย การที่กลุ่มคนเหล่านี้ออกมาชี้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วัฒนธรรมไทย สิ่งนั้นมาจากเขมร มาจากอินเดีย ทั้ง ๆ ที่สารตั้งต้นอาจเหมือนกันแต่วัฒนธรรมไทยหลายอย่างถูกปรับปรุงจนเป็นอัตลักษณ์แบบไทยที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ หรือการแสดงทรรศนะในเชิงโบราณคดีภายใต้องค์ความรู้ของตนต่อผู้คนจำนวนมากล้วนมีผลต่อการเคลมวัฒนธรรมไทยในขณะนี้ อาจเป็นการสุมไฟให้การเคลมวัฒนธรรมมีความรุนแรงมากขึ้น
6. การด้อยค่าชาวไทย
หนึ่งในกระบวนการเคลมวัฒนธรรมไทยที่น่ารังเกียจที่สุด ซึ่งสร้างรอยร้าวความสัมพันธ์ของคนไทยต่อเขมร เกิดการด่าทอว่า โจรสยาม ขโมยวัฒนธรรมเขมร ขณะเดียวกันกลุ่มชาวไทยที่ตระหนักและหวงแหนวัฒนธรรมไทยก็ต้องออกมาปรามกลับ ด้วยการตั้งกลุ่มกันเอง คอยแฉ อธิบายสิ่งที่เขมรบิดเบือนจากความจริง รวมทั้งการต่อต้านด้วยการด่าทอกลับ บ้างขุยคุ้ยหลักฐานมาต่อสู้ทว่าเขมรจะยอมจำนวนต่อหลักฐานกลับกล่าวว่าหลักฐานเหล่านั้นเป็นของปลอม โดยส่วนตัวเห็นว่า การกระทำของเขมรของการพยายามเคลมวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องน่าวิตกกังวล
จะขอยก เสภาพระราชพงศาวดาร เรื่องตีเมืองขอม ของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) แต่งถวายล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ตอนหนึ่งว่า
๏ ทำไมกับทัพเขมรเดนเขาเลือก
มีแต่เปลือกสู้ไทยจะได้ฤๅ
เสียแต่หย่อนอ่อนหัดไม่ฟัดปรือ
ได้ลงมือแม้นไม่สรรพไม่กลับมา
เดนเขาเลือก เป็นคำด่า หมายถึง ของเหลือที่ไม่มีใครต้องการแล้ว (สมบัติ จำปาเงิน, ปทานุกรมฉบับถ้อยคำ ฯ, 2540:80)
แม้แต่ด้านประวัติศาสตร์ไทยก็มีการวิเคราะห์ไว้ต่าง ๆ นานา ว่า
“เขมรเคยหักหลังไทยสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนถึงต้องเสด็จไปแก้แค้นเอาโลหิต พระยาละแวกล้างบาทาเสียให้จงได้ คราใดที่กรุงศรีอยุธยารบกับหงสาวดี เขมรก็คอยซ้ำเติมไทยโดยการยกทัพมากวาดต้อนผู้คนชาวไทยตามเมืองชายแดน อย่าง ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด จับตัวเอาไปเป็นเชลยศึกเป็นขี้ข้าเขมร ทำคนไทยไว้มาก”
– โสมทัต เทเวศร์ (สมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ), เกร็ดภาษาหนังสือไทย, 2524: 486.
– ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ, ลุยเขมร, 2538: 5.
“พวกชวนชาติขอมและเขมรพวกนี้ เป็นชาติที่คบค้าสมาคมด้วยไม่ได้ ยิ่งคนที่เป็นใหญ่เป็นประมุขของชาติเขมร คือ สีหนุนั้นยิ่งคบไม่ได้ใหญ่ เพราะสีหนุเขมรนั้นมีพฤฒิกรรมในเชิงปฏิบัติยิ่งไปเสียโจรป่าห้าร้อย”
– สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 51, 10(2547): 48.
รวมไปถึงสักวาสมัยรัตนโกสินทร์ต่าง ๆ
๏ เชิญพระร่วงครองราชย์เพื่อชาติรอด
ไทยปลอดพวกอพยพคบไม่ได้
มันจะมาหมดเขมรไม่เป็นไร
สาปมันไปอยู่ชายแดนสมแค้นเอย
– สักวาเขมรพระประทุม
ประยอม อรฉัตร ซองทอง, สักวาวิวิธ รวมบทกลอนสดเชิงปฏิภาณกวียุคใหม่สมัยรัตนโกสินทร์, 2525.)
๏ รู้ว่าขอมแหกคอดมันปลอกปลิ้น
เป็นพวกเฮงสัมรินมาเลี่ยงหลบ
ขอสาปส่งลงข่าวทั่วพิภพ
ไม่ควรคบขอมดำสิ้นชาติเอย
– สักวาพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
(ประยอม อรฉัตร ซองทอง, สักวาวิวิธ รวมบทกลอนสดเชิงปฏิภาณกวียุคใหม่สมัยรัตนโกสินทร์, 2525.)