ทำไมบลูเบอร์รี่จึงมีสีฟ้า

.

.
นักวิจัยค้นพบเหตุผลว่า
ทำไมบลูเบอรรี่จึงมีสีฟ้า
© ValentynVolkov via Getty Images
.
.

ในที่สุดนักวิจัยจึงเข้าใจว่า
ทำไมบลูเบอร์รี่จึงมีสีฟ้า

ความลับสีฟ้านี้ ไม่ได้อยู่ที่
เนื้อหรือเปลือกของบลูเบอรี่
แต่อยู่ที่ ขี้ผึ้งเคลือบ
ที่อยู่รอบ ๆ ผลบลูเบอรี่

(ผลไม้บางชนิดมีการใช้สารเคลือบผิว
เดิมเป็นพวกขี้ผึ้ง แต่ทุกวันนี้มีหลายชนิด
เพื่อให้คาย/ถ่ายเทอากาศได้ช้าลง
ทำให้มีระยะเวลาจัดเก็บ/ขายได้นานวัน
เช่น แอปเปิล มะม่วง ส้มสายน้ำผึ้ง
โดยสารประเภทนี้ล้างออก/กินได้ไม่อันตราย
© สารเคลือบผิวสำหรับผลไม้สด
 
บลูเบอร์รี่มีสีฟ้าที่โดดเด่นเป็นพิเศษ
จึงเป็นที่มาของชื่อ บลูเบอร์รี่
แต่สีฟ้าเป็น สีที่หายากในธรรมชาติ
และมีสารประกอบอินทรีย์
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิด
ทำให้สิ่งมีชีวิตมีสีฟ้ามีจำนวนน้อยมาก

ปรากฎว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้
นักวิจัยค้นพบปริศนานี้แล้ว 
และนี่ไม่ใช่เปลือกผลไม้
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ในวารสาร 
Science Advances

นักวิจัยพบว่า
ผลึกเล็ก ๆ ที่จัดเรียงแบบสุ่ม
ใน สารเคลือบขี้ผึ้งผลไม้ จะกระจายแสง
ทำให้บลูเบอร์รี่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์
สีฟ้าครามที่โดดเด่นของผลไม้ชนิดนี้

สีฟ้าไม่ค่อยปรากฏให้เห็นในสิ่งมีชีวิต 
ตัวอย่างส่วนใหญ่ เช่น นกบลูเบลล์ ผีเสื้อ 
และกบเขตร้อน อาศัยกลอุบาย
อันชาญฉลาดในการสร้างร่มเงาสีฟ้านี้ 
(เพื่อยับยั้ง/ข่มขู่ผู้ล่าเป็นหลัก) 
แม้แต่หินและแร่ธาตุสีฟ้า
เช่น แซฟไฟร์ และ Lapis Lazuli ก็หาได้ยาก
และบลูเบอร์รี่ก็ยิ่งลึกลับมากขึ้นไปอีก
.
.

.
กบพิษ มีสีฟ้าตามลำตัว
เพื่อเตือนศัตรูว่า มีพิษ
© Lillian King/Getty Images
.
.

.
หนังสือ Blue ของ Kai Kupferschmidt 
สำรวจงานวิทยาศาสตร์เบื้องหลังของสี
© Courtesy of The Experiment
.
.

.
Azurite
แร่ทองแดงคาร์บอเนตไฮดรอกไซด์
ขึ้นชื่อเรื่องสีฟ้าเข้ม © Serge Briez
/capmediations/Getty Images
.
.

.
ปลาหมึกยักษ์สีฟ้า มีพิษร้ายแรง
©  Belive/Getty Images
.
.

.
ขนนกสีฟ้าสุกใสของนกมาคอว์ Spix
Cyanopsitta spixii
ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่มาจาก
โครงสร้างในขนนกที่กระจายแสง
© Wera Rodsawang/Getty Images
.
.

“ สีฟ้าของบลูเบอร์รี่ไม่สามารถ สกัด
โดยการบีบได้ เพราะไม่ได้อยู่ในน้ำที่มีเม็ดสี
ซึ่งสามารถคั้นจากผลไม้ได้
นั่นคือเหตุผลที่ เรารู้ว่าสีนี้
จะต้องมีสิ่งแปลก ๆ อย่างแน่นอน ”
หัวหน้านักวิจัย Rox Middleton
University of Bristol ใน U.K. กล่าวใน
Scientists reveal why blueberries are blue
.
.

.
.

.
.

แม้ว่าบลูเบอร์รี่จะมีเม็ดสีฟ้าเข้มข้น
ที่เรียกว่า แอนโทไซยานิน
Anthocyanins
แต่เนื้อมีสีแดงอมม่วงเข้ม 
แตกต่างจากสีฟ้าครามของ
สีผิวเปลือกผลไม้อย่างสิ้นเชิง 

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับพืชส่วนใหญ่ 
บลูเบอร์รี่ถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้งป้องกันบาง ๆ
ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารเคลือบกันน้ำ
และเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อโรค
.
.

.

.
.

.
.

.
.
.

ทีมงานนักวิจัยสงสัยว่า
สีฟ้าต้องมาจากด้านนอกของผลไม้
ดังนั้นจึงนำตัวอย่างขี้ผึ้งนี้ออกมา
และนำไปตกผลึกใหม่บนแผ่นกระดาษแข็ง
ผลการทดสอบผลการทดลอง
ได้สร้างการเคลือบผลึกบางพิเศษด้วยสีฟ้า
อันเป็นเครื่องหมายการค้าของบลูเบอร์รี่

เมื่อมองดูชั้นสีฟ้านี้อย่างใกล้ชิด
นักวิจัยก็พบการกระจายตัวของ
โครงสร้างผลึกภายในขี้ผึ้งโดยสุ่ม
ซึ่งกระจายแสงสีฟ้าและรังสียูวี
เพื่อสร้างสีฟ้าอันเป็นเอกลักษณ์บลูเบอรี่

“ มันแสดงให้เห็นว่าธรรมชาติ
ได้พัฒนาเพื่อใช้กลอุบายที่ประณีตจริง ๆ
ซึ่งเป็น ชั้นขี้ผึ้งบางเฉียบ
สำหรับสารให้สีฟ้าที่สำคัญนี้


มันน่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้น
ถ้าสามารถสร้างเคลือบสีฟ้า
ขึ้นมาใหม่ได้จากการเรียนรู้
เกี่ยวกันขี้ผึ้งของบลูเบอรี่
ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ”
Rox Middleton กล่าวเพิ่มเติม

การค้นพบนี้เปิดโอกาสที่น่าตื่นเต้น
สำหรับสารเคลือบสีฟ้า
และสารให้สีที่เข้ากันได้
ในทางชีวภาพและยั่งยืนต่อไป

นักวิจัยเขียนไว้ในการศึกษาวิจัยว่า
สีฟ้าเลียนแบบนี้จะสามารถใช้ได้
กับข้าวของทุกอย่าง ตั้งแต่
ตัวเซ็นเซอร์ การก่อสร้าง 
ไปจนถึงสีเคลือบ/สีรถยนต์ 

แต่การนำสีฟ้ามาใช้งานยังมีปัญหา
เพราะนักวิจัยยังไม่ทราบที่มา
และวิธีการทำงานขี้ผึ้งของบลูเบอรี่
ซึ่งอาจมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย มากมาย
เพราะนักวิจัยยังไม่ได้เริ่มสำรวจด้วยซ้ำ
ขณะนี้ทีมงานวิจัยกำลังทดสอบดูว่า
จะมีวิธีการเตรียมการสร้างขี้ผึ้งสีฟัา
ที่ง่ายกว่าการทดลองแบบนี้หรือไม่

" การจำลองแบบสีขี้ผึ้งสีฟ้าตามธรรมชาติ
ให้เหมือนองค์ประกอบของบลูเบอรี่
โดยวิศวกรรมประดิษฐ์ คือ ความฝัน "
Rox Middleton กล่าวสรุป
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://tinyurl.com/4kujw4xy
.
.

.
ผู้เขียนบทความ
.
.


.
.

.
.

.
Johannes Vermeer
Girl with a Pearl Earring
.
.

.
Vincent Van Gogh
Starry Night Over the Rhone
.
.

.
Vincent Van Gogh
The Starry Night
.
.

.
Katsushika Hokusai
The Great Wave off Kanagawa
.
.

.
The Wilton Diptych
The Virgin Mary (Shown in blue)
.
.

.

หมายเหตุ/เรื่องเล่าไร้สาระ

แม้คนเราจะเห็นท้องฟ้าหรือผืนน้ำอยู่ทุกวัน
แต่กว่ามนุษยชาติจะรู้จัก สีฟ้า
เป็นสีที่ไม่เคยถูกนิยามชื่อว่า สีฟ้า
และไม่ปรากฎในเอกสารทางประวัติศาสตร์
มาจนถึงศตวรรษที่ 6

(คนสยามในอดีตเรียก สีฟ้า ว่า สีเขียว
เช่น หม้อเคลือบสีเขียว  เมฆสีเขียวอื๋อ
คำเรียกว่า สีฟ้า สีน้ำเงิน ในสยาม
คาดว่าน่าจะมีในช่วงรัชกาลที่ 5
ยุคนำเข้าช่างวาดภาพต่างชาติ
ใช้แทนคำว่า Blue สียอดนิยมฝรั่งยุโรป
ตอนสร้างพระทึ่นั่งอนันตสมาคม
กับการวาดภาพฉายาลักษณ์ต่าง ๆ)

นักวิชาการหลายยุค หลากสาขา
ช่วยกันหาคำตอบว่า ทำไม
จึงมีคำว่า สีฟ้า ขึ้นมา
คำอธิบายหนึ่งคือ
ในอดีต ตาของคนเราแยกแยะเฉพาะสี
ที่ต้องรับรู้เพื่อเอาตัวรอด

คนเราจึงรู้จักสีขาวและดำก่อน
เพราะสื่อถึงเวลากลางวันและกลางคืน
และรับรู้สีแดงตามมา
เพราะเกี่ยวข้องกับเลือดและความปลอดภัย
.
.

แม้สีฟ้าจะมีชื่อเรียกช้ากว่าสีอื่น ๆ มาก
แต่เมื่อชาวยุโรปเริ่มรู้จักการใช้สีฟ้า
มันก็กลายเป็นของหรูหรา หายากมาก
เพราะสีฟ้า สกัดมาจากแร่หินที่หายากมาก
ต้องนำเข้าจากเทือกเขาในอัฟกานิสถาน
สถานที่ทุรกันดารไปมาหาสู่ลำบาก
ทั้งยังส่งผ่าน/ซื้อขายผ่านพ่อค้าหลายมือมาก
กระทั่งศิลปินหลายคนวาดภาพไม่เสร็จ
เพราะไม่สามารถซื้อสีฟ้าได้เพราะม่ายเบี้ย

ต่อมามีการนำสีฟ้าครามย้อมผ้าจากอินเดีย
มาใช้กันมากในยุโรปจนเกิดความนิยมกันมาก
แต่สีฟ้าครามก็ยังมีราคาแพงเช่นกัน
จนนักวิทยาศาสตร์สร้างสีฟ้าจากสารเคมี
ผลงานครั้งนี้นำไปผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้
ทำให้สีฟ้าจากแร่ธาตุหิน สีฟ้าครามย้อมผ้า
ไม่เป็นที่นิยมกันมากแบบในอดีต
.
.

สีฟ้านำมาใช้กับพวกเชื้อเจ้าในยุโรป
ว่ามีแต่พวกราชวงศ์ที่มีเลือดสีฟ้า(น้ำเงิน)
(คำเปรียบเปรยยกย่องของแพง/หายากมาก)
เพราะมีเชื้อเจ้าน้อยมากในแต่ละชาติ
เชื้อเจ้าได้มาโดยกำเนิดเท่านั้น
กับมักจะสมรสกับพวกเลือดสีน้ำเงินด้วยกัน
แตกต่างจากพวกชาวบ้าน/พวกรากหญ้า

ยกเว้น การไต่เต้าทางชนชั้น
ล้มล้าง/กำจัดพวกเชื้อเจ้าเดิม
ขึ้นครองอำนาจตั้งราชวงศ์ใหม่
แบบเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต
สถาปนาเป็นพวกเชื้อเจ้ารุ่นใหม่
.
.

ในยุโรปเวลาต่อมา
ตำนาน/นิทานพื้นบ้านจะเล่ากันว่า
พวกแม่มด พ่อมด มนุษย์หมาป่า สัตว์ปีศาจ
จะมีเลือดสีฟ้าเวลาถูกยิง/ถูกฆ่าตาย
เพราะหาได้ยากและมีน้อยเช่นกัน

น่าจะประชด/แดกดันทางอ้อม
หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส/รัสเซีย
ทำให้พวกเลือดสีฟ้าในยุโรป
ต่างหนาวสั่น/เสียวสันหลังไปตาม ๆ กัน
.
.

อังกฤษมีการประหารชีวิต King Charles I
โดย Oliver Cromwell ในสงครามกลางเมือง
แต่อังกฤษไม่ได้ล้างบางทั้งเมือง
แบบการปฎิวัติในฝรั่งเศส/รัสเซีย

หลังจาก Oliver Cromwell ตายแล้ว
พวกนิยมเจ้าหวนคืนชิงอำนาจสำเร็จ
มีการล้างบางพลพรรค Oliver Cromwell
แล้วขุดศพ Oliver Cromwell ขึ้นมา
จับแขวนคอศพลงโทษ เพื่อประจาน

ต่อมาหัวกระโหลก Oliver Cromwell
มีการผ่องถ่ายเปลี่ยนมือหลายคน
กว่าจะมีการนำไปแอบฝังไว้ในที่นิรนาม
ก็เนิ่นนานหลายร้อยปี

© Adaymagazine
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่