เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://feedforfuture.co/feed-news/48473/
ผักตบชวา วัชพืชลอยน้ำที่คนไทยคุ้นเคย และเห็นเป็นประจำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
แต่ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผักตบชวา และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน ทำให้ควบคุมและกำจัดยาก หากผักตบชวาเจริญเติบโตมากเกินไปจะไปแย่งทรัพยากรจากพืชอื่นๆ ให้ไม่ได้รับน้ำ แสง หรือสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียได้
นอกจากนี้ ผักตบชวาที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหรือโรคจากสัตว์ การควบคุมและกำจัดผักตบชวาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาความสมดุลในสิ่งแวดล้อม จึงทำให้พืชชนิดกลายเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ในแต่ละปีประเทศไทยจึงต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการกำจัดผักตบชวา
หลายหน่วยงานคิดค้นวิธีใช้ประโยชน์ต่างๆ จากผักตบชวาขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำลำต้นมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ต่างๆอย่างเครื่องจักสาน เปลญวน รองเท้าแตะ เสื่อ กระเป๋าตะกร้า หรือนำผักตบชวาไปตีเป็นเส้นใยสำหรับสิ่งทอ และเนื้อของผักตบชวาที่เหลือจากการทำสิ่งทอก็สามารถนำไปทำปุ๋ยได้ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชชนิดนี้
แต่เมื่อได้รู้จักผักตบชวาอย่างลึกซึ้งจึงพบว่าผักตบชวามีใยอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามิน A, C และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม จึงทำให้ ชาวบ้านตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีไอเดียในการนำผักตบชวามาทำเป็นอาหารดีๆ ที่มีประโยชน์อย่าง “บะหมี่หยกชวา”
ครูเต้ย – ดาธิณี ตามเพิ่ม (ครู กศน.ตำบลหนองน้ำใส อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา) เล่าว่า “ที่คลองระพีพัฒน์เราเห็นปัญหาของผักตบชวาในท้องถิ่น จึงพลิกเกมให้วัชพืชที่เป็นปัญหากลายเป็นประโยชน์ให้คนในชุมชน จากเดิมทีชาวบ้านบ้านหนองเครือบุญที่นี่มีอาชีพทอผ้า จึงมีแนวคิดนำผักตบชวาที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเปลี่ยนเป็นเส้นใยจนสำเร็จ จนวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านหนองเครือบุญของเรามีผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือผักตบชวา แต่เราไม่หยุดค่ะ เรายังคงศึกษาประโยชน์ของผักตบชวา และพบว่าผักตบชวาสามารถนำมาสร้างประโยชน์ได้ทุกส่วน”
บ้านหนองเครือบุญ คือตัวอย่างชุมชนที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้จากการแปรรูปผักตบชวาให้เป็นสินค้ามากมาย เช่น ผ้าทอมือ ตะกร้าจักสานกันกระแทก ทรายแมว กระดาษ จานใบไม้ รวมไปถึง บะหมี่หยกชวา และน้ำพริกที่ล้วนแล้วแต่ทำมาจากผักตบชวาทั้งสิ้น ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากวัชพืชที่ไม่ต้องปลูก ลดต้นทุนทั้งเงิน และเวลาได้มาก นี่คือตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่าทุกสิ่งบนโลกล้วนมีประโยชน์ เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง
https://thejoi.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2
เมื่อไม่นานมานี้ คนไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถเปลี่ยนวัชพืชไร้ค่าที่ลอยกีดขวางเรือที่สัญจรไปมาตามแม่น้ำลำคลองอย่าง “ผักตบชวา” ให้กลายเป็น “บะหมี่หยกชวา” มูลค่าสูงได้สำเร็จแล้ว! โดยมีหน้าตาและความนุ่มเด้งของเส้น รวมถึงรสชาติออกมาใกล้เคียงกับ “บะหมี่หยก” ทั่วไปที่ทำจากแป้งสาลี, สารละลายด่าง, เกลือ, ไข่ไก่ และมีสีเขียวจากการเติมน้ำคะน้าคั้นลงไปแทนน้ำเปล่า
แต่สิ่งที่ทำให้ “บะหมี่หยกชวา” แตกต่างและโดดเด่นกว่าบะหมี่หยกทั่วไป นั่นก็คือ มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน A, C, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นต้น ที่สำคัญยังมีไฟเบอร์สูงมากอีกต่างหาก
และคนไทยกลุ่มแรกที่นำผักตบชวามาแปรรูปให้กลายเป็น “บะหมี่หยกชวา” รสชาติอร่อยเลิศจน “คุณหรีด” ยังต้องยกนิ้วให้ ก็คือ กลุ่ม “กศน. ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” นั่นเอง
หากเพื่อน ๆ สนใจลองกิน “บะหมี่หยกชวา” ทางเพจ “Facebook” ของ “กศน. ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เขาก็จำหน่ายเส้นบะหมี่นี้ ในราคาแพ็คละ 50 บาทเท่านั้น โดยมีค่าจัดส่งตามจำนวนแพ็คที่สั่งซื้อ นอกจากนี้ เขายังมีคอร์สสอนทำ “บะหมี่หยกชวา” สำหรับคนทั่วไปด้วยนะ ใครที่สนใจก็สามารถติดต่อพวกเขาได้ทาง Inbox บนเพจ “Facebook” ของพวกเขากันได้เลย!
ที่มาข้อมูล: Facebook/ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เทคโนโลยีชาวบ้าน


‘ผักตบชวา’ จากวัชพืชไร้ค่าสู่ ‘บะหมี่หยกชวา’ ที่อุดมด้วยคลอโรฟิล และไฟเบอร์สูง
https://feedforfuture.co/feed-news/48473/
ผักตบชวา วัชพืชลอยน้ำที่คนไทยคุ้นเคย และเห็นเป็นประจำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
แต่ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผักตบชวา และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน ทำให้ควบคุมและกำจัดยาก หากผักตบชวาเจริญเติบโตมากเกินไปจะไปแย่งทรัพยากรจากพืชอื่นๆ ให้ไม่ได้รับน้ำ แสง หรือสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียได้
นอกจากนี้ ผักตบชวาที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหรือโรคจากสัตว์ การควบคุมและกำจัดผักตบชวาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาความสมดุลในสิ่งแวดล้อม จึงทำให้พืชชนิดกลายเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ในแต่ละปีประเทศไทยจึงต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการกำจัดผักตบชวา
หลายหน่วยงานคิดค้นวิธีใช้ประโยชน์ต่างๆ จากผักตบชวาขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำลำต้นมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ต่างๆอย่างเครื่องจักสาน เปลญวน รองเท้าแตะ เสื่อ กระเป๋าตะกร้า หรือนำผักตบชวาไปตีเป็นเส้นใยสำหรับสิ่งทอ และเนื้อของผักตบชวาที่เหลือจากการทำสิ่งทอก็สามารถนำไปทำปุ๋ยได้ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชชนิดนี้
แต่เมื่อได้รู้จักผักตบชวาอย่างลึกซึ้งจึงพบว่าผักตบชวามีใยอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามิน A, C และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม จึงทำให้ ชาวบ้านตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีไอเดียในการนำผักตบชวามาทำเป็นอาหารดีๆ ที่มีประโยชน์อย่าง “บะหมี่หยกชวา”
ครูเต้ย – ดาธิณี ตามเพิ่ม (ครู กศน.ตำบลหนองน้ำใส อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา) เล่าว่า “ที่คลองระพีพัฒน์เราเห็นปัญหาของผักตบชวาในท้องถิ่น จึงพลิกเกมให้วัชพืชที่เป็นปัญหากลายเป็นประโยชน์ให้คนในชุมชน จากเดิมทีชาวบ้านบ้านหนองเครือบุญที่นี่มีอาชีพทอผ้า จึงมีแนวคิดนำผักตบชวาที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเปลี่ยนเป็นเส้นใยจนสำเร็จ จนวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านหนองเครือบุญของเรามีผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือผักตบชวา แต่เราไม่หยุดค่ะ เรายังคงศึกษาประโยชน์ของผักตบชวา และพบว่าผักตบชวาสามารถนำมาสร้างประโยชน์ได้ทุกส่วน”
บ้านหนองเครือบุญ คือตัวอย่างชุมชนที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้จากการแปรรูปผักตบชวาให้เป็นสินค้ามากมาย เช่น ผ้าทอมือ ตะกร้าจักสานกันกระแทก ทรายแมว กระดาษ จานใบไม้ รวมไปถึง บะหมี่หยกชวา และน้ำพริกที่ล้วนแล้วแต่ทำมาจากผักตบชวาทั้งสิ้น ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากวัชพืชที่ไม่ต้องปลูก ลดต้นทุนทั้งเงิน และเวลาได้มาก นี่คือตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่าทุกสิ่งบนโลกล้วนมีประโยชน์ เพียงแค่เปลี่ยนมุมมอง
https://thejoi.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2
เมื่อไม่นานมานี้ คนไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถเปลี่ยนวัชพืชไร้ค่าที่ลอยกีดขวางเรือที่สัญจรไปมาตามแม่น้ำลำคลองอย่าง “ผักตบชวา” ให้กลายเป็น “บะหมี่หยกชวา” มูลค่าสูงได้สำเร็จแล้ว! โดยมีหน้าตาและความนุ่มเด้งของเส้น รวมถึงรสชาติออกมาใกล้เคียงกับ “บะหมี่หยก” ทั่วไปที่ทำจากแป้งสาลี, สารละลายด่าง, เกลือ, ไข่ไก่ และมีสีเขียวจากการเติมน้ำคะน้าคั้นลงไปแทนน้ำเปล่า
แต่สิ่งที่ทำให้ “บะหมี่หยกชวา” แตกต่างและโดดเด่นกว่าบะหมี่หยกทั่วไป นั่นก็คือ มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน A, C, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นต้น ที่สำคัญยังมีไฟเบอร์สูงมากอีกต่างหาก
และคนไทยกลุ่มแรกที่นำผักตบชวามาแปรรูปให้กลายเป็น “บะหมี่หยกชวา” รสชาติอร่อยเลิศจน “คุณหรีด” ยังต้องยกนิ้วให้ ก็คือ กลุ่ม “กศน. ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” นั่นเอง
หากเพื่อน ๆ สนใจลองกิน “บะหมี่หยกชวา” ทางเพจ “Facebook” ของ “กศน. ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เขาก็จำหน่ายเส้นบะหมี่นี้ ในราคาแพ็คละ 50 บาทเท่านั้น โดยมีค่าจัดส่งตามจำนวนแพ็คที่สั่งซื้อ นอกจากนี้ เขายังมีคอร์สสอนทำ “บะหมี่หยกชวา” สำหรับคนทั่วไปด้วยนะ ใครที่สนใจก็สามารถติดต่อพวกเขาได้ทาง Inbox บนเพจ “Facebook” ของพวกเขากันได้เลย!
ที่มาข้อมูล: Facebook/ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เทคโนโลยีชาวบ้าน