ที่นาของผมจะมีไฟฟ้าเข้าถึงและมีบ่อบาดาลพร้อมปั๊มสูบน้ำซับเมิร์สอยู่แล้วแต่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าก็เลยปลูกผักสวนครัวเล็กๆ น้อยๆ พอได้กินไม่ได้ปลูกมากเพราะเราไม่ได้ขายปลูกมากก็ต้องใช้ไฟฟ้าสูบน้ำมากจึงไม่คุ้ม ก่อนสิ้นปีผมได้ซื้อแผงโซล่าเซลล์ ชนิด Mono Half Cell ขนาด 425 วัตต์ มา 3 แผง ปั๊มสูบน้ำแบบซับเมิร์ส (Submersible Pump) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ปั๊มบาดาล” ขนาด 1 แรงม้า 750 วัตต์ ท่อน้ำขนาด 1.5 นิ้ว ซึ่งร้านที่ขายเขาจัดชุดขายมาพร้อมกับอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟ เบรกเกอร์ DC และ Surge Protector รวมไปถึงเข้าหางปลาสายไฟเอาไว้แล้ว เราแค่ไปเลือกขนาดและความสามารถของซับเมิร์สให้สอดคล้องกับบ่อบาดาลของเราเท่านั้นซึ่งราคาก็จะแตกต่างกัน
เรื่องที่จะมาเสนอวันนี้ไม่ใช่เรื่องปั๊มสูบน้ำและอุปกรณ์แต่เป็นโครงสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์หรือขาตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วแต่จะเรียก ก่อนที่ผมจะลงมือทำผมได้ดูตัวอย่างแบบต่างๆ จาก Youtube ทั้งของคนไทยและของฝรั่ง พบว่าลักษณะโครงหรือขาตั้งแผงของฝรั่งกับของคนไทยไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ฝรั่งจะนิยมทำขาตั้งเดี่ยวขนาดใหญ่ให้ปรับหมุนตามตะวันได้เพราะบ้านเขาแดดน้อย ข้อดี คือสามารถหันแผงโซล่าเซลล์ไปรับแสงในตอนเช้าหรือตอนบ่ายทำให้สูบน้ำได้เกือบทั้งวัน ข้อเสีย เสาเดี่ยวต้องใช้เหล็กขนาดใหญ่อย่างหนาราคาแพงจึงจะแข็งแรง ยิ่งอยู่ในภาคอีสานมีพายุฤดูร้อนเกือบทุกปียิ่งต้องเผื่อสเป็คของเหล็กให้หนายิ่งขึ้นแพงขึ้นไปอีก การใช้งานของผมจะสูบน้ำวันละไม่กี่ชั่วโมงไม่ได้สูบทั้งวันจึงไม่จำเป็นต้องทำแบบหมุนตามตะวันได้ ส่วนแบบของคนไทยจะนิยมทำเป็น 4 เสาตั้งห่างกันไม่ถึง 2 เมตร ความแข็งแรงไม่ต้องห่วงเพราะใช้เสาเยอะระยะห่างของเสาใกล้แบบนี้ความแข็งแรงยิ่งกว่าตัวบ้านเสียด้วยซ้ำ ผมมองว่าการใช้เสา 4 ต้นมันสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุเพราะน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์แผ่นละ 20 กิโลกรัม น้ำหนักรวมเหล็กโครงยังไม่ถึง 100 กิโลกรัม ส่วนการรับน้ำหนักของเสา 1 ต้น รับน้ำหนัก 400 กิโลกรัมได้สบายๆ ผมจึงต้องออกแบบเองโดยยึดทางสายกลางเอาของฝรั่งกับของไทยมายำรวมกันโดยใช้เสา 2 ต้น ใช้เหล็กกล่องเพียง 2 เส้นแต่แข็งแรงเพียงพอที่จะทนลมพายุได้ ความสูงของแผงจะต้องสูงกว่าตัวเราเพราะต้องการให้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้แต่ต้องไม่สูงเกินไปจนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ยาก ผมใช้เสา 2.5 เมตรฝังลงดินประมาณ 70 เซ็นติเมตร ความสูงเท่านี้พอเหมาะเมื่อเข้าไปเปิดปิดสวิทช์ที่ติดตั้งในตู้คอนโซลใต้โครงติดตั้งแผงโซลาเซลล์ได้สะดวกไม่เกะกะ ผลงานจึงออกมาตามรูปนี้

ใช้เสาขนาด 4 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร เป็นเสาแบบเหล็กโผล่ ฝังดินประมาณ 70 เซ็นติเมตร ใช้ปูน 1 กระสอบ ทรายและหินอย่างละ 2 ปี๊บผสมเป็นคอนกรีตถมตีนเสาโดยขุดดินแผ่ออกกว้างๆ แล้วใช้คอนกรีตถมลงไปจากนั้นใช้ดินถมจนเต็ม ทำแบบนี้เมื่อคอนกรีตแห้งจะยึดเสาเอาไว้ไม่ให้ล้มเมื่อโดนลมพายุ
เหล็กที่ใช้ทำโครง ผมใช้เหล็กกล่องชุบสังกะสีขนาด 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ระยะห่างของเสา 2.25 เมตร ผมวางลงเหล็กหัวเสาที่โผล่แล้วเชื่อมติดให้เอียง 15-20 องศาทางทิศใต้ เมื่อวางเอียงเสาจะรับน้ำหนักไดไม่เต็มที่จึงใช้เหล็กกล่อง 1 นิ้วทุบให้เป็นลิ่มแหลมตอกเข้าไปที่ช่องง่างบนบ่าเสาเสริมไม่ให้มีช่องว่างเพื่อให้น้ำหนักถ่ายลงบนบ่าเสาต็มที่เสมือนไม่ได้เอียง ความยาวของหล็กที่บ่าเสาให้วัดระยะจากรูที่แผงโซล่าเซลล์ซึ่งมีไว้เพื่อบอกว่าเป็นระยะติดตั้งที่เหมาะสมติดตั้งที่ตำแหน่งรูจะมีความสมดุลย์แผงโซล่าเซลล์จะไม่หย่อนตกท้องช้าง เมื่อทำเสร็จเราจะได้ทรงหลังคาเพิงหมาแหงนแต่มีเสาแค่ 2 ต้น ด้านหนึ่งสูงด้านหนึ่งเตี้ย เหล็กกล่อง 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ที่เหลือก็ใช้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้านที่สูงกว่า
ในส่วนของด้านที่เตี้ย ผมใช้เหล็กกล่องขนาด 1 นิ้วมารับน้ำหนักโดยระยะห่างระหว่างช่วงเสาจะใช้เหล็กกกล่อง 1 นิ้ว 2 ชิ้นวางประกบกันในแนวตั้งเสริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นทำให้แผ่นโซล่าเซลล์ไม่หย่อนกลางตกท้องช้าง ในส่วนที่พ้นจากระยะเสาไม่ต้องเสริมใช้เหล็กกล่องเส้นเดียวก็แข็งแรงเหลือๆ แล้ว การยึดแผงโซล่าเซลล์จะไม่มีการเจาะแผงเพราะการเจาะแผงจะทำให้การรับประกันสิ้นไป ผมใช้แคลมป์สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ 3 แผงก็ใช้เอนด์แคลมป์ 4 ตัว ยัดตัวเมียเข้าเหล็กกล่องแล้วจาะรูขันยึดได้เลย ส่วนกลางแผงก็ใช้มิดเดิลแคลมป์ 4 ตัวยึดระหว่างแผง การติดตั้งมิดเดิลแคลมป์จะไม่ใช้ตัวเมียที่ให้มาแต่จะใช้สกรูหัวสว่านที่ใช้ติดตั้งหลังคาเมทัลซีทยิงเจาะลงเหล็กโดยตรงก็แข็งแรงแน่นหนาดี
เมื่อติดตั้งเสร็จผลงานออกมาสวยงามมีเสาแค่ 2 ต้น นอกจากไม่รกหูรกตาแล้วยังใช้เป็นที่นั่งเล่นชมสวนผักได้ด้วยหรือจะเอาเปลมาผูกนอนเล่นก็ได้ สรุป ผมใช้เสา 2 ต้น ปูน 1 กระสอบ ทรายและหินอย่างละ 2 ปี๊บ เหล็กกล่อง ขนาด 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว เหล็กกล่อง 1 นิ้ว อย่างละเส้น เหล็กกล่องใหญ่ 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว เหลือ 60 เซ็นติเมตร ส่วนเหล็กกล่อง 1 นิ้ว ใช้หมดพอดี รวมราคาของ 1,350฿ ครับ
โครงสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรแบบง่าย ราคาถูกครับ
เรื่องที่จะมาเสนอวันนี้ไม่ใช่เรื่องปั๊มสูบน้ำและอุปกรณ์แต่เป็นโครงสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์หรือขาตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วแต่จะเรียก ก่อนที่ผมจะลงมือทำผมได้ดูตัวอย่างแบบต่างๆ จาก Youtube ทั้งของคนไทยและของฝรั่ง พบว่าลักษณะโครงหรือขาตั้งแผงของฝรั่งกับของคนไทยไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ฝรั่งจะนิยมทำขาตั้งเดี่ยวขนาดใหญ่ให้ปรับหมุนตามตะวันได้เพราะบ้านเขาแดดน้อย ข้อดี คือสามารถหันแผงโซล่าเซลล์ไปรับแสงในตอนเช้าหรือตอนบ่ายทำให้สูบน้ำได้เกือบทั้งวัน ข้อเสีย เสาเดี่ยวต้องใช้เหล็กขนาดใหญ่อย่างหนาราคาแพงจึงจะแข็งแรง ยิ่งอยู่ในภาคอีสานมีพายุฤดูร้อนเกือบทุกปียิ่งต้องเผื่อสเป็คของเหล็กให้หนายิ่งขึ้นแพงขึ้นไปอีก การใช้งานของผมจะสูบน้ำวันละไม่กี่ชั่วโมงไม่ได้สูบทั้งวันจึงไม่จำเป็นต้องทำแบบหมุนตามตะวันได้ ส่วนแบบของคนไทยจะนิยมทำเป็น 4 เสาตั้งห่างกันไม่ถึง 2 เมตร ความแข็งแรงไม่ต้องห่วงเพราะใช้เสาเยอะระยะห่างของเสาใกล้แบบนี้ความแข็งแรงยิ่งกว่าตัวบ้านเสียด้วยซ้ำ ผมมองว่าการใช้เสา 4 ต้นมันสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุเพราะน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์แผ่นละ 20 กิโลกรัม น้ำหนักรวมเหล็กโครงยังไม่ถึง 100 กิโลกรัม ส่วนการรับน้ำหนักของเสา 1 ต้น รับน้ำหนัก 400 กิโลกรัมได้สบายๆ ผมจึงต้องออกแบบเองโดยยึดทางสายกลางเอาของฝรั่งกับของไทยมายำรวมกันโดยใช้เสา 2 ต้น ใช้เหล็กกล่องเพียง 2 เส้นแต่แข็งแรงเพียงพอที่จะทนลมพายุได้ ความสูงของแผงจะต้องสูงกว่าตัวเราเพราะต้องการให้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้แต่ต้องไม่สูงเกินไปจนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ยาก ผมใช้เสา 2.5 เมตรฝังลงดินประมาณ 70 เซ็นติเมตร ความสูงเท่านี้พอเหมาะเมื่อเข้าไปเปิดปิดสวิทช์ที่ติดตั้งในตู้คอนโซลใต้โครงติดตั้งแผงโซลาเซลล์ได้สะดวกไม่เกะกะ ผลงานจึงออกมาตามรูปนี้
ใช้เสาขนาด 4 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร เป็นเสาแบบเหล็กโผล่ ฝังดินประมาณ 70 เซ็นติเมตร ใช้ปูน 1 กระสอบ ทรายและหินอย่างละ 2 ปี๊บผสมเป็นคอนกรีตถมตีนเสาโดยขุดดินแผ่ออกกว้างๆ แล้วใช้คอนกรีตถมลงไปจากนั้นใช้ดินถมจนเต็ม ทำแบบนี้เมื่อคอนกรีตแห้งจะยึดเสาเอาไว้ไม่ให้ล้มเมื่อโดนลมพายุ
เหล็กที่ใช้ทำโครง ผมใช้เหล็กกล่องชุบสังกะสีขนาด 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ระยะห่างของเสา 2.25 เมตร ผมวางลงเหล็กหัวเสาที่โผล่แล้วเชื่อมติดให้เอียง 15-20 องศาทางทิศใต้ เมื่อวางเอียงเสาจะรับน้ำหนักไดไม่เต็มที่จึงใช้เหล็กกล่อง 1 นิ้วทุบให้เป็นลิ่มแหลมตอกเข้าไปที่ช่องง่างบนบ่าเสาเสริมไม่ให้มีช่องว่างเพื่อให้น้ำหนักถ่ายลงบนบ่าเสาต็มที่เสมือนไม่ได้เอียง ความยาวของหล็กที่บ่าเสาให้วัดระยะจากรูที่แผงโซล่าเซลล์ซึ่งมีไว้เพื่อบอกว่าเป็นระยะติดตั้งที่เหมาะสมติดตั้งที่ตำแหน่งรูจะมีความสมดุลย์แผงโซล่าเซลล์จะไม่หย่อนตกท้องช้าง เมื่อทำเสร็จเราจะได้ทรงหลังคาเพิงหมาแหงนแต่มีเสาแค่ 2 ต้น ด้านหนึ่งสูงด้านหนึ่งเตี้ย เหล็กกล่อง 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ที่เหลือก็ใช้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้านที่สูงกว่า
ในส่วนของด้านที่เตี้ย ผมใช้เหล็กกล่องขนาด 1 นิ้วมารับน้ำหนักโดยระยะห่างระหว่างช่วงเสาจะใช้เหล็กกกล่อง 1 นิ้ว 2 ชิ้นวางประกบกันในแนวตั้งเสริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นทำให้แผ่นโซล่าเซลล์ไม่หย่อนกลางตกท้องช้าง ในส่วนที่พ้นจากระยะเสาไม่ต้องเสริมใช้เหล็กกล่องเส้นเดียวก็แข็งแรงเหลือๆ แล้ว การยึดแผงโซล่าเซลล์จะไม่มีการเจาะแผงเพราะการเจาะแผงจะทำให้การรับประกันสิ้นไป ผมใช้แคลมป์สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ 3 แผงก็ใช้เอนด์แคลมป์ 4 ตัว ยัดตัวเมียเข้าเหล็กกล่องแล้วจาะรูขันยึดได้เลย ส่วนกลางแผงก็ใช้มิดเดิลแคลมป์ 4 ตัวยึดระหว่างแผง การติดตั้งมิดเดิลแคลมป์จะไม่ใช้ตัวเมียที่ให้มาแต่จะใช้สกรูหัวสว่านที่ใช้ติดตั้งหลังคาเมทัลซีทยิงเจาะลงเหล็กโดยตรงก็แข็งแรงแน่นหนาดี
เมื่อติดตั้งเสร็จผลงานออกมาสวยงามมีเสาแค่ 2 ต้น นอกจากไม่รกหูรกตาแล้วยังใช้เป็นที่นั่งเล่นชมสวนผักได้ด้วยหรือจะเอาเปลมาผูกนอนเล่นก็ได้ สรุป ผมใช้เสา 2 ต้น ปูน 1 กระสอบ ทรายและหินอย่างละ 2 ปี๊บ เหล็กกล่อง ขนาด 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว เหล็กกล่อง 1 นิ้ว อย่างละเส้น เหล็กกล่องใหญ่ 3 นิ้ว x 1.5 นิ้ว เหลือ 60 เซ็นติเมตร ส่วนเหล็กกล่อง 1 นิ้ว ใช้หมดพอดี รวมราคาของ 1,350฿ ครับ