อัจฉริยะ ยื่น กมธ.มั่นคงฯ ตรวจสอบ หลังพบมีคำสั่งไม่ฟ้อง ‘เหมืองทองอัครา’ บุกรุกพื้นที่ป่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4341019
“อัจฉริยะ”ยื่น กมธ.มั่นคงฯ สอบกระบวนการช่วยเหลือ เหมืองทองอัครา เหตุพบภาพถ่ายทางอากาศไม่ตรงกับแผนที่กรมป่าไม้
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะ กรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ รับหนังสือจาก นาย
อัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีภาพถ่ายทางอากาศ ของเหมืองทองอัคราที่ไม่ตรงกับแผนที่ของกรมป่าไม้ เพราะเชื่อว่ามีขบวนการช่วยเหลือเหมืองทองอัครา จนสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาทั้ง 13 คดีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องการให้กมธ.เข้าไปตรวจสอบ เนื่องจากที่ดินเหมืองทองเป็นสมบัติของชาติที่มีการตกลงกันในอนุญาโตตุลาการ ที่อนุญาตให้บริษัทเหมืองทองอัคราเปิดเหมืองได้
ด้านนาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องเหมืองทองอัครา เป็นประเด็นกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเบื้องต้น กรรมาธิการจะพิจารณาอีกครั้งว่าสุดท้ายแล้วจะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าสู่ที่ประชุมอย่างไร แต่สิ่งที่นาย
อัจฉริยะ เคยยื่นไว้ 3 เรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมูเถื่อน เรื่องน้ำมัน และเรื่องตีนไก่ คิดว่าในช่วงต้นเดือนมกราคม 67 ทางคณะกรรมาธิการจะนำมาพิจารณาต่อไป
โรม ตอบยาก กฎหมายนิรโทษ ฉบับก้าวไกลมีทางออกร่วมพรรคอื่น ยันเสนอกฎหมายยืดหยุ่น เปิดกว้างที่สุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4341026
“โรม” ลั่นตอบยาก “กฎหมายนิรโทษ” ฉบับก้าวไกลจะไปถึงจุดที่มีทางออกร่วมกับพรรคอื่นได้ ยันเป็นการ เสนอกฎหมายยืดหยุ่น-เปิดกว้างที่สุด
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะสามารถมีทางออกร่วมกันกับพรรคการเมืองอื่นหรือไม่ว่า ยังตอบยากว่าสุดท้ายแล้วจะไปถึงจุดนั้นหรือไม่ แต่เราเปิดรับทุกความคิด เปิดรับเรื่องของการพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมและการเริ่มต้นใหม่
โดยตัวร่างของพรรคก้าวไกลที่มีการเสนอเข้าสู่สภาฯ ก็เป็นร่างกฎหมายที่เราหวังว่าจะเป็นโมเดลที่ทุกฝ่ายจะใช้ในการพูดคุย แต่ยืนยันว่าเราต้องการแก้ปัญหาทางการเมือง เราต้องการแก้ปัญหาที่มีความรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อทำให้คนที่เห็นต่างไม่สามารถพูดอะไรได้ ถ้าเรารู้สึกแบบนี้แล้วเราต้องการแก้ปัญหาของการนิรโทษกรรม เราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ถูกเครื่องมือทางกฎหมายหรือนิติสงครามดำเนินการ ถ้าเราปล่อยไว้สุดท้ายก็ไม่จบ
ดังนั้น สิ่งที่เราควรดำเนินการในวันนี้ คือ อย่าเพิ่งไปกำหนดขอบเขตหรือเงื่อนไขให้มันเยอะ การนิรโทษกรรมควรเอาปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาคุยกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอป็นร่างกฎหมายที่พยายามให้มีความยืดหยุ่นที่สุด เปิดกว้างที่สุด และมีเงื่อนไขน้อยที่สุด“ นาย
รังสิมันต์ กล่าว
เมื่อถามว่า มองอย่างกับร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างสันติสุข ที่เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างไร นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ดูรายละเอียด จึงขอยังไม่แสดงความเห็น
กรุงไทย คาดจีดีพีปี 67 โตได้ 3% ส่วนปีนี้โต 2.4% หลังรายได้ท่องเที่ยวหายแสนล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-1464363
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัว 3% จากคาดเดิม 3.6% หลังเผชิญ 3 ปัจจัยท้าทาย “การส่งออก-ท่องเที่ยวฟื้นตัวจำกัด-การเงินตึงตัว” ส่วนปี 66 จีดีพีโตได้ 2.4% เหตุรายได้ท่องเที่ยววูบ 1 แสนล้านบาท
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ดร.
พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.4% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3% ปัจจัยหลักจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่า จะเข้ามาเพียง 27.5 ล้านคน จากคาดการณ์ราว 30 ล้านคน ส่งผลให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว แม้ว่าอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศจะขยายตัวโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโต 7-8% แต่ผู้ผลิตไม่เติมสินค้าคงคลังหรือเติมไม่มากเท่าจำนวนที่ขายออกไป ส่งผลให้สินค้าคงคลังปรับลดลง สะท้อนว่าผู้ผลิตไม่มั่นใจว่ายอดขายจะดีต่อเนื่องหรือไม่ ขณะที่มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบที่ 1.6% จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักฝั่งตะวันตกที่อ่อนแอลง จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อและการฟื้นตัวต่ำกว่าคาดของเศรษฐกิจจีน
สำหรับปี 2567 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 3% ปรับลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.6% แต่หากนโยบาย Digital Wallet ดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ถึง 4% ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังเผชิญความท้าทาย 3 ปัจจัย คือ
1. การส่งออกฟื้นตัวได้จำกัด จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยาวนาน ซึ่งเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจจีนจะเติบโตช้าลงและอาจขยายตัวไม่ถึง 5% จากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
2. นักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนยังมีความเปราะบาง และจีนมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการท่องเที่ยวในไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประมาณ 32.9 ล้านคน
3. นโยบายการเงินของไทยที่ตึงตัวภายหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลอดปี 2566 ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible lending) ของ ธปท. ที่เน้นเรื่องวินัยการไม่สร้างหนี้เกินกำลัง โดยจะบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งอาจกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของครัวเรือน
ภาคธุรกิจยังต้องจับตาและเตรียมรับมือกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ทั้งความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงขึ้นและกระแสแยกขั้ว (Decoupling) ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เข้มข้นและกระจายออกไปในหลายมิติ ความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งสำคัญในหลายภูมิภาค ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเดือนมกราคม การเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียเดือนกันยายนและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน
การปรับทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปสู่การเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะสร้างความผันผวนทางการเงินในช่วงการเปลี่ยนผ่านโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย
นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เด่นชัดมากขึ้น เช่น การปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป การจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ของไทย และกระแส digital transformation ของภาคธุรกิจจากการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้อย่างแพร่หลาย
ซึ่งผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความท้าทายและโอกาสจากเทรนด์โลกใหม่ ๆ ด้วยการวางแผนบริหารความเสี่ยง ใช้เครื่องมือทางการเงินในการปกป้องหรือลดผลกระทบจากความผันผวน
ขณะเดียวกันต้องเร่งปรับตัวให้การดำเนินธุรกิจมีความยืดหยุ่น สอดรับไปกับบริบทใหม่ของโลก รวมถึงการนำนวัตกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิต จำหน่าย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่วยลดต้นทุน และยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสร้างโอกาสใหม่ในการขยายตลาดไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคต นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
JJNY : อัจฉริยะยื่นตรวจสอบเหมืองทองอัครา│โรมตอบยาก กม.นิรโทษ│กรุงไทยคาดจีดีพีปี 67 โตได้ 3%│เกาหลีเหนือขู่ใช้นิวเคลียร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4341019
“อัจฉริยะ”ยื่น กมธ.มั่นคงฯ สอบกระบวนการช่วยเหลือ เหมืองทองอัครา เหตุพบภาพถ่ายทางอากาศไม่ตรงกับแผนที่กรมป่าไม้
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะ กรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ รับหนังสือจาก นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีภาพถ่ายทางอากาศ ของเหมืองทองอัคราที่ไม่ตรงกับแผนที่ของกรมป่าไม้ เพราะเชื่อว่ามีขบวนการช่วยเหลือเหมืองทองอัครา จนสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาทั้ง 13 คดีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องการให้กมธ.เข้าไปตรวจสอบ เนื่องจากที่ดินเหมืองทองเป็นสมบัติของชาติที่มีการตกลงกันในอนุญาโตตุลาการ ที่อนุญาตให้บริษัทเหมืองทองอัคราเปิดเหมืองได้
ด้านนายรังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องเหมืองทองอัครา เป็นประเด็นกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเบื้องต้น กรรมาธิการจะพิจารณาอีกครั้งว่าสุดท้ายแล้วจะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าสู่ที่ประชุมอย่างไร แต่สิ่งที่นายอัจฉริยะ เคยยื่นไว้ 3 เรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมูเถื่อน เรื่องน้ำมัน และเรื่องตีนไก่ คิดว่าในช่วงต้นเดือนมกราคม 67 ทางคณะกรรมาธิการจะนำมาพิจารณาต่อไป
โรม ตอบยาก กฎหมายนิรโทษ ฉบับก้าวไกลมีทางออกร่วมพรรคอื่น ยันเสนอกฎหมายยืดหยุ่น เปิดกว้างที่สุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4341026
“โรม” ลั่นตอบยาก “กฎหมายนิรโทษ” ฉบับก้าวไกลจะไปถึงจุดที่มีทางออกร่วมกับพรรคอื่นได้ ยันเป็นการ เสนอกฎหมายยืดหยุ่น-เปิดกว้างที่สุด
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะสามารถมีทางออกร่วมกันกับพรรคการเมืองอื่นหรือไม่ว่า ยังตอบยากว่าสุดท้ายแล้วจะไปถึงจุดนั้นหรือไม่ แต่เราเปิดรับทุกความคิด เปิดรับเรื่องของการพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมและการเริ่มต้นใหม่
โดยตัวร่างของพรรคก้าวไกลที่มีการเสนอเข้าสู่สภาฯ ก็เป็นร่างกฎหมายที่เราหวังว่าจะเป็นโมเดลที่ทุกฝ่ายจะใช้ในการพูดคุย แต่ยืนยันว่าเราต้องการแก้ปัญหาทางการเมือง เราต้องการแก้ปัญหาที่มีความรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อทำให้คนที่เห็นต่างไม่สามารถพูดอะไรได้ ถ้าเรารู้สึกแบบนี้แล้วเราต้องการแก้ปัญหาของการนิรโทษกรรม เราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ถูกเครื่องมือทางกฎหมายหรือนิติสงครามดำเนินการ ถ้าเราปล่อยไว้สุดท้ายก็ไม่จบ
ดังนั้น สิ่งที่เราควรดำเนินการในวันนี้ คือ อย่าเพิ่งไปกำหนดขอบเขตหรือเงื่อนไขให้มันเยอะ การนิรโทษกรรมควรเอาปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาคุยกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอป็นร่างกฎหมายที่พยายามให้มีความยืดหยุ่นที่สุด เปิดกว้างที่สุด และมีเงื่อนไขน้อยที่สุด“ นายรังสิมันต์ กล่าว
เมื่อถามว่า มองอย่างกับร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างสันติสุข ที่เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างไร นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ดูรายละเอียด จึงขอยังไม่แสดงความเห็น
กรุงไทย คาดจีดีพีปี 67 โตได้ 3% ส่วนปีนี้โต 2.4% หลังรายได้ท่องเที่ยวหายแสนล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-1464363
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัว 3% จากคาดเดิม 3.6% หลังเผชิญ 3 ปัจจัยท้าทาย “การส่งออก-ท่องเที่ยวฟื้นตัวจำกัด-การเงินตึงตัว” ส่วนปี 66 จีดีพีโตได้ 2.4% เหตุรายได้ท่องเที่ยววูบ 1 แสนล้านบาท
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.4% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3% ปัจจัยหลักจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่า จะเข้ามาเพียง 27.5 ล้านคน จากคาดการณ์ราว 30 ล้านคน ส่งผลให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว แม้ว่าอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศจะขยายตัวโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโต 7-8% แต่ผู้ผลิตไม่เติมสินค้าคงคลังหรือเติมไม่มากเท่าจำนวนที่ขายออกไป ส่งผลให้สินค้าคงคลังปรับลดลง สะท้อนว่าผู้ผลิตไม่มั่นใจว่ายอดขายจะดีต่อเนื่องหรือไม่ ขณะที่มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบที่ 1.6% จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักฝั่งตะวันตกที่อ่อนแอลง จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อและการฟื้นตัวต่ำกว่าคาดของเศรษฐกิจจีน
สำหรับปี 2567 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 3% ปรับลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.6% แต่หากนโยบาย Digital Wallet ดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ถึง 4% ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังเผชิญความท้าทาย 3 ปัจจัย คือ
1. การส่งออกฟื้นตัวได้จำกัด จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยาวนาน ซึ่งเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจจีนจะเติบโตช้าลงและอาจขยายตัวไม่ถึง 5% จากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
2. นักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนยังมีความเปราะบาง และจีนมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการท่องเที่ยวในไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประมาณ 32.9 ล้านคน
3. นโยบายการเงินของไทยที่ตึงตัวภายหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลอดปี 2566 ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible lending) ของ ธปท. ที่เน้นเรื่องวินัยการไม่สร้างหนี้เกินกำลัง โดยจะบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งอาจกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของครัวเรือน
ภาคธุรกิจยังต้องจับตาและเตรียมรับมือกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ทั้งความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงขึ้นและกระแสแยกขั้ว (Decoupling) ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เข้มข้นและกระจายออกไปในหลายมิติ ความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งสำคัญในหลายภูมิภาค ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเดือนมกราคม การเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียเดือนกันยายนและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน
การปรับทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปสู่การเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะสร้างความผันผวนทางการเงินในช่วงการเปลี่ยนผ่านโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย
นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เด่นชัดมากขึ้น เช่น การปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป การจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ของไทย และกระแส digital transformation ของภาคธุรกิจจากการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้อย่างแพร่หลาย
ซึ่งผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความท้าทายและโอกาสจากเทรนด์โลกใหม่ ๆ ด้วยการวางแผนบริหารความเสี่ยง ใช้เครื่องมือทางการเงินในการปกป้องหรือลดผลกระทบจากความผันผวน
ขณะเดียวกันต้องเร่งปรับตัวให้การดำเนินธุรกิจมีความยืดหยุ่น สอดรับไปกับบริบทใหม่ของโลก รวมถึงการนำนวัตกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิต จำหน่าย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่วยลดต้นทุน และยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสร้างโอกาสใหม่ในการขยายตลาดไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคต นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน