ความเชื่อ หมายถึง ความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็นหรือยังไม่เกิดขึ้น โดยที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
ความศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ใช้เหตุผลในการพิจารณา
ความงมงาย หมายถึง ความเชื่อที่ไม่ใช้เหตุผลในการพิจารณา
มนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับทั้ง 3 เรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา โดยความเชื่อของมนุษย์อาจถูกหรือผิดก็ได้
อีกทั้งบางคนมุ่งเน้นความศรัทธา และบางคนมุ่งเน้นความงมงาย
ทั้งความศรัทธาและความงมงายล้วนเป็นความเชื่อ จึงอาจเป็นเรื่องจริงหรือเท็จก็ได้
ความศรัทธาและความงมงายมีเส้นแบ่งค่อนข้างชัดเจน
โดยที่ความศรัทธามีโอกาสถูกต้องมากกว่าความงมงาย
แต่มนุษย์สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ความศรัทธาหรือความงมงาย ตามความปราถนาของตนเอง
ข้อพิจารณา
1. ความเชื่อทางศาสนามักเป็นความศรัทธา (สมเหตุสมผล) เนื่องจากมีการนับถือมาอย่างยาวนานนับพันปี
จึงผ่านกระบวนการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล จนมีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่อง
ยกเว้นลัทธิเทียมเท็จ ที่แอบอ้างว่าเป็นคณะหรือนิกายหนึ่งของศาสนานั้น แต่กลับเป็นความงมงาย (ไม่สมเหตุสมผล)
ประการสำคัญ มนุษย์ต้องตระหนักว่าความศรัทธาในบางเรื่อง อาจเป็นเรื่องไม่จริง
2. ความเชื่อของลัทธิต่างๆ มักเป็นความงมงาย ซึ่งไม่ได้มีการนับถือมาอย่างยาวนาน
จึงไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล ผู้ที่เชื่อก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยมาก
และมักถูกชักจูงให้คล้อยตามได้ง่าย อย่างไรก็ตาม
ความงมงายในบางเรื่องอาจเป็นเรื่องจริง
ยกตัวอย่าง
1. ทุกศาสนาล้วนเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ซึ่งบางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นความงมงาย (ไม่สมเหตุสมผล)
การไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย อาจทำให้เสียโอกาสที่เมื่อตายแล้วจะไปในทางที่ดี (หากเป็นเรื่องจริง)
2. หากนรก-สวรรค์มีจริง
ผู้ที่เชื่อว่าขอเพียงได้ก่อสร้างบางสิ่งหรือกระทำบางอย่าง ก็จะได้ไปสวรรค์แล้ว
โดยไม่สนใจว่าได้ทำบาปมาอย่างมากมายหรือไม่ คนแบบนี้สวรรค์จะรับเข้าเป็นสมาชิกด้วยหรือ ?
ผู้ใดยังคงเชื่อว่าจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ย่อมเป็นความงมงาย
3. ผู้ที่เชื่อในพระเจ้า
แล้วเชื่อว่าขอเพียงเอ่ยนามของพระเจ้า และมีความศรัทธาในพระองค์ก็จะได้ไปสวรรค์
โดยไม่สนใจว่าได้ประพฤติตามคำสอนของพระเจ้าหรือไม่ คนแบบนี้พระเจ้าจะรับเข้าสวรรค์ด้วยหรือ ?
ผู้ใดยังคงเชื่อว่าจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ย่อมเป็นความงมงายเช่นกัน
คำแนะนำ
มนุษย์ควรหลีกเลี่ยงจาการใช้ความงมงาย แต่ควรใช้ความศรัทธาจะดีกว่า
เพราะว่าความศรัทธามีโอกาสถูกต้องมากกว่าความงมงาย
ในขณะเดียวกัน ก็ควรพิจารณาไตร่ตรองความศรัทธาของตนอยู่เสมอว่า
ความศรัทธาของตนนั้นดีที่สุดหรือยัง เพื่อจะได้ทำการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ก่อนที่จะสายเกินไป
ความศรัทธาและความงมงาย
ความศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ใช้เหตุผลในการพิจารณา
ความงมงาย หมายถึง ความเชื่อที่ไม่ใช้เหตุผลในการพิจารณา
มนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับทั้ง 3 เรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา โดยความเชื่อของมนุษย์อาจถูกหรือผิดก็ได้
อีกทั้งบางคนมุ่งเน้นความศรัทธา และบางคนมุ่งเน้นความงมงาย
ทั้งความศรัทธาและความงมงายล้วนเป็นความเชื่อ จึงอาจเป็นเรื่องจริงหรือเท็จก็ได้
ความศรัทธาและความงมงายมีเส้นแบ่งค่อนข้างชัดเจน
โดยที่ความศรัทธามีโอกาสถูกต้องมากกว่าความงมงาย
แต่มนุษย์สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ความศรัทธาหรือความงมงาย ตามความปราถนาของตนเอง
ข้อพิจารณา
1. ความเชื่อทางศาสนามักเป็นความศรัทธา (สมเหตุสมผล) เนื่องจากมีการนับถือมาอย่างยาวนานนับพันปี
จึงผ่านกระบวนการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล จนมีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่อง
ยกเว้นลัทธิเทียมเท็จ ที่แอบอ้างว่าเป็นคณะหรือนิกายหนึ่งของศาสนานั้น แต่กลับเป็นความงมงาย (ไม่สมเหตุสมผล)
ประการสำคัญ มนุษย์ต้องตระหนักว่าความศรัทธาในบางเรื่อง อาจเป็นเรื่องไม่จริง
2. ความเชื่อของลัทธิต่างๆ มักเป็นความงมงาย ซึ่งไม่ได้มีการนับถือมาอย่างยาวนาน
จึงไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล ผู้ที่เชื่อก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยมาก
และมักถูกชักจูงให้คล้อยตามได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ความงมงายในบางเรื่องอาจเป็นเรื่องจริง
ยกตัวอย่าง
1. ทุกศาสนาล้วนเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ซึ่งบางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นความงมงาย (ไม่สมเหตุสมผล)
การไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย อาจทำให้เสียโอกาสที่เมื่อตายแล้วจะไปในทางที่ดี (หากเป็นเรื่องจริง)
2. หากนรก-สวรรค์มีจริง ผู้ที่เชื่อว่าขอเพียงได้ก่อสร้างบางสิ่งหรือกระทำบางอย่าง ก็จะได้ไปสวรรค์แล้ว
โดยไม่สนใจว่าได้ทำบาปมาอย่างมากมายหรือไม่ คนแบบนี้สวรรค์จะรับเข้าเป็นสมาชิกด้วยหรือ ?
ผู้ใดยังคงเชื่อว่าจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ย่อมเป็นความงมงาย
3. ผู้ที่เชื่อในพระเจ้า แล้วเชื่อว่าขอเพียงเอ่ยนามของพระเจ้า และมีความศรัทธาในพระองค์ก็จะได้ไปสวรรค์
โดยไม่สนใจว่าได้ประพฤติตามคำสอนของพระเจ้าหรือไม่ คนแบบนี้พระเจ้าจะรับเข้าสวรรค์ด้วยหรือ ?
ผู้ใดยังคงเชื่อว่าจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ย่อมเป็นความงมงายเช่นกัน
คำแนะนำ
มนุษย์ควรหลีกเลี่ยงจาการใช้ความงมงาย แต่ควรใช้ความศรัทธาจะดีกว่า
เพราะว่าความศรัทธามีโอกาสถูกต้องมากกว่าความงมงาย
ในขณะเดียวกัน ก็ควรพิจารณาไตร่ตรองความศรัทธาของตนอยู่เสมอว่า
ความศรัทธาของตนนั้นดีที่สุดหรือยัง เพื่อจะได้ทำการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ก่อนที่จะสายเกินไป