หลายคนสงสัย ผมเองก็สงสัยว่า ทำไม พิษณุโลกที่ไม่ได้อยู่ในรัฐล้านนา คือ พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปัจจุบันคือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน คนในพื้นที่จึงแต่งกายคล้ายคนล้านนา
ในเว็บไซต์ อบจ.พิษณุโลกระบุไว้ว่า
เนื่องจากพิษณุโลก ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ ทางเหนือคือ ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐทั้งสอง บางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ
ส่วนแม่หญิงการะเกด ที่แต่งชุดคล้ายคนล้านนา มีผู้ไปสืบค้นมา คือ เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ เขียนไว้ในหัวข้อ
แม่หญิงการะเกด ผู้แต่งกายอย่าง “ลาว”
เพจนี้บอกว่า "ในนิยายไม่ได้มีการระบุว่าแม่หญิงการะเกดเคยแต่งกายอย่างล้านนา แต่เข้าใจว่าทีมสร้างละครได้ไอเดียมาจากนิยายที่ระบุว่า แม่หญิงการะเกดเป็นธิดาของพระยารามณรงค์แห่งเมืองพิษณุโลกสองแคว โดยพระยารามณรงค์มีแม่เป็นคนล้านนา ทำให้การะเกดมีเชื้อสายล้านนาจากย่า เลยต้องการจะสื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าการะเกดมีเชื้อสายล้านนา แต่ก็มีส่วนผสมของภาคกลางตอนบนเข้าไปด้วยคือซิ่นตีนจกของเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุโขทัยเดิมเช่นเดียวกับพิษณุโลก"
(อย่างไรก็ตาม ประชากรชาวเมืองลับแลส่วนหนึ่ง คือ ชาว อ.สูงเม่น จ.แพร่ ที่อพยพไปอยู่พื้นที่นั้น ด้วยว่า เขาพลึงที่กั้นระหว่าง จ.แพร่และอุตรดิตถ์คือปราการธรรมชาติ ที่ จ.แพร่ใช้ป้องกันกองทัพจากอยุธยา ทำให้อยุธยาจะตีเมืองเชียงใหม่ ต้องขึ้นไปทางกำแพงเพชรและตาก)
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "พิษณุโลกเป็นเมืองเอกของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๗ เมือง พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร พิชัย พิจิตร นครสวรรค์ เดิมคือดินแดนของรัฐสุโขทัย คือภาคกลางตอนบนในปัจจุบัน แต่เมื่ออยุธยาผนวกรัฐสุโขทัยไว้ในอำนาจได้แล้ว ดินแดนของสุโขทัยจึงค่อยๆ ถูกผนวกเป็นหัวเมืองของกรุงศรีอยุทธยาไป แต่พิษณุโลกซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของเมืองเหนือก็ยังคงสถานะเป็นหัวเมืองเอกของฝ่ายเหนืออยู่ เมืองเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับหัวเมืองล้านนาตอนล่างคือแพร่และน่าน ซึ่งมีหลักฐานอยู่ว่ากษัตริย์สุโขทัยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกษัตริย์เมืองน่าน ก่อนตกอยู่ในอำนาจของเชียงใหม่อย่างแน่นแฟ้น จึงน่าเชื่อว่าเมืองเหนือน่าจะซึบซับวัฒนธรรมจากทางล้านนามาบ้างไม่มากก็น้อย"
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "ในวรรณกรรมอย่างยวนพ่ายและพระราชพงศาวดาร เรียกล้านนาว่าเป็น “ลาว” เหมือนกับล้านช้าง ทั้งที่ล้านนาไม่เคยนับตนเองว่าเป็น "ลาว" แต่เรียกตนเองว่า "ไท-ยวน" แต่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรเรียกตนเองว่า “ไท" หรือ "ไทย” แยกเป็นคนละเชื้อชาติกัน สำหรับเมืองเหนือซึ่งถูกผนวกเป็นหัวเมืองของอยุทธยามานานแล้วไม่ได้ถูกนับว่าเป็น “ลาว” เหมือนล้านนาไปด้วย"
"การแต่งกายของการะเกดที่เป็นอย่างล้านนานั้น หากมองด้วยสายตาของคนสมัยอยุทธยาแล้วคงไม่พ้นถูกมองว่า “ลาว” อย่างชัดเจน"
"จริงอยู่ว่านิยายระบุว่าการะเกดมีย่าเป็นคนล้านนา (หรือ ‘ลาว’ ตามบรรทัดฐานคนสมัยอยุทธยา) แต่ด้วยความที่เป็นลูกสาวข้าราชการผู้ใหญ่เมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นข้าราชการของอยุทธยาโดยตรง ส่วนตัวจึงเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะแต่งกายใกล้เคียงกับอยุทธยาหรือไทยสยามมากกว่าจะแต่งแบบล้านนาชัดเจนดังในภาพ" เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ "นอกจากนี้ คนไทยสยามตั้งแต่สมัยอยุทธยามองล้านนาว่าเป็น "ลาว" ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทน์จนถึงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็ยังปรากฏเรียกขานเช่นนั้นอยู่ และหลายครั้งคนล้านนาก็ถูกคนไทยสยามมองอย่างดูถูกอยู่บ้างเพราะแปลกแยก เห็นได้จากกรณีของเจ้าดารารัศมีในสมัยรัชกาลที่ ๕"
"แม้แต่ในพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ ก็ยังแต่งเนื้อหาในทำนองที่สะท้อนว่าคนอยุทธยาทำนองว่า "ลาว" นั้นไม่เท่าเทียมกับไทย อย่างตอนที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงได้ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นบาทบริจาริกา พอนางตั้งครรภ์กลับทรงละอายไม่กล้าพาเข้าวัง จึงพระราชทาน "นางลาว" นั้นให้พระเพทราชาแทน"
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "การที่ลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกรุงอยุธยาอย่างเจ้าเมืองพิษณุโลกจะแต่งตัวเป็น "ลาว" แบบชัดเจนก็ดูจะแปลกพอสมควร หากยังอยู๋ในเมืองเหนือก็อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อย้ายมาอยู่ที่อยุธยาโดยแต่งกายสภาพนั้นแล้ว ก็อาจจะถูกคนอยุธยามองว่าเป็นพวก "ลาว" ที่แปลกแยกจากคนอยุธยาทั่วไปด้วย"
"ถ้าลองพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจริงถึงการที่แม่หญิงการะเกดแต่งกายเป็น "ลาว" เดินทางเข้ามาอยุทธยาโดยมีขบวนอย่าง "ลาว" ติดตามแห่ใหญ่โตเข้ามาในบ้านขุนนางกรุงศรีอยุทธยาอย่างในละครนั้น อาจตีความได้ว่านางเป็นคน “มั่น” อยากจะประกาศเชื้อสายของตนเอง หรืออยากแต่งกายแบบตามใจตัวเองที่คิดว่าสวยว่างามหรือเคยแต่งมาแต่ก่อน โดยไม่สนใจคำครหาจากใคร ซึ่งก็ดูรับกับนิสัยของตัวละครที่เป็นคน "แรง" ดีครับ
แต่ตอนหลังคงพยายามกลมกลืน เปลี่ยนมาแต่งกายอย่างอยุธยาแทน" เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ
เอกสารอ้างอิง
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๘.
- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง ลำดับศักราชสมัยกรุงศรีอยุธยา (พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์) สมุดไทยเล่มที่ ๓๐ มัดที่ ๒ ตู้ ๑๑๑ ชั้น ๑/๑
- พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม จากฐานข้อมูลดิจิตอลของ British Libary (bl.uk/manuscripts)
- พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน
- ลิลิตยวนพ่าย (
http://vajirayana.org/ลิลิตยวนพ่าย/ยวนพ่าย)
ที่มา
เว็บไซต์ อบจ.พิษณุโลก
https://www.ppao.go.th/page/3999/
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์
https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/1686715398058590/
หลายคนสงสัย ทำไม คนพิษณุโลก (บางส่วน) ในพรหมลิขิต แต่งตัวเหมือนคนล้านนา
หลายคนสงสัย ผมเองก็สงสัยว่า ทำไม พิษณุโลกที่ไม่ได้อยู่ในรัฐล้านนา คือ พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปัจจุบันคือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน คนในพื้นที่จึงแต่งกายคล้ายคนล้านนา
ในเว็บไซต์ อบจ.พิษณุโลกระบุไว้ว่า เนื่องจากพิษณุโลก ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ ทางเหนือคือ ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐทั้งสอง บางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ
ส่วนแม่หญิงการะเกด ที่แต่งชุดคล้ายคนล้านนา มีผู้ไปสืบค้นมา คือ เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ เขียนไว้ในหัวข้อ แม่หญิงการะเกด ผู้แต่งกายอย่าง “ลาว”
เพจนี้บอกว่า "ในนิยายไม่ได้มีการระบุว่าแม่หญิงการะเกดเคยแต่งกายอย่างล้านนา แต่เข้าใจว่าทีมสร้างละครได้ไอเดียมาจากนิยายที่ระบุว่า แม่หญิงการะเกดเป็นธิดาของพระยารามณรงค์แห่งเมืองพิษณุโลกสองแคว โดยพระยารามณรงค์มีแม่เป็นคนล้านนา ทำให้การะเกดมีเชื้อสายล้านนาจากย่า เลยต้องการจะสื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าการะเกดมีเชื้อสายล้านนา แต่ก็มีส่วนผสมของภาคกลางตอนบนเข้าไปด้วยคือซิ่นตีนจกของเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุโขทัยเดิมเช่นเดียวกับพิษณุโลก"
(อย่างไรก็ตาม ประชากรชาวเมืองลับแลส่วนหนึ่ง คือ ชาว อ.สูงเม่น จ.แพร่ ที่อพยพไปอยู่พื้นที่นั้น ด้วยว่า เขาพลึงที่กั้นระหว่าง จ.แพร่และอุตรดิตถ์คือปราการธรรมชาติ ที่ จ.แพร่ใช้ป้องกันกองทัพจากอยุธยา ทำให้อยุธยาจะตีเมืองเชียงใหม่ ต้องขึ้นไปทางกำแพงเพชรและตาก)
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "พิษณุโลกเป็นเมืองเอกของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๗ เมือง พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร พิชัย พิจิตร นครสวรรค์ เดิมคือดินแดนของรัฐสุโขทัย คือภาคกลางตอนบนในปัจจุบัน แต่เมื่ออยุธยาผนวกรัฐสุโขทัยไว้ในอำนาจได้แล้ว ดินแดนของสุโขทัยจึงค่อยๆ ถูกผนวกเป็นหัวเมืองของกรุงศรีอยุทธยาไป แต่พิษณุโลกซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของเมืองเหนือก็ยังคงสถานะเป็นหัวเมืองเอกของฝ่ายเหนืออยู่ เมืองเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับหัวเมืองล้านนาตอนล่างคือแพร่และน่าน ซึ่งมีหลักฐานอยู่ว่ากษัตริย์สุโขทัยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกษัตริย์เมืองน่าน ก่อนตกอยู่ในอำนาจของเชียงใหม่อย่างแน่นแฟ้น จึงน่าเชื่อว่าเมืองเหนือน่าจะซึบซับวัฒนธรรมจากทางล้านนามาบ้างไม่มากก็น้อย"
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "ในวรรณกรรมอย่างยวนพ่ายและพระราชพงศาวดาร เรียกล้านนาว่าเป็น “ลาว” เหมือนกับล้านช้าง ทั้งที่ล้านนาไม่เคยนับตนเองว่าเป็น "ลาว" แต่เรียกตนเองว่า "ไท-ยวน" แต่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรเรียกตนเองว่า “ไท" หรือ "ไทย” แยกเป็นคนละเชื้อชาติกัน สำหรับเมืองเหนือซึ่งถูกผนวกเป็นหัวเมืองของอยุทธยามานานแล้วไม่ได้ถูกนับว่าเป็น “ลาว” เหมือนล้านนาไปด้วย"
"การแต่งกายของการะเกดที่เป็นอย่างล้านนานั้น หากมองด้วยสายตาของคนสมัยอยุทธยาแล้วคงไม่พ้นถูกมองว่า “ลาว” อย่างชัดเจน"
"จริงอยู่ว่านิยายระบุว่าการะเกดมีย่าเป็นคนล้านนา (หรือ ‘ลาว’ ตามบรรทัดฐานคนสมัยอยุทธยา) แต่ด้วยความที่เป็นลูกสาวข้าราชการผู้ใหญ่เมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นข้าราชการของอยุทธยาโดยตรง ส่วนตัวจึงเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะแต่งกายใกล้เคียงกับอยุทธยาหรือไทยสยามมากกว่าจะแต่งแบบล้านนาชัดเจนดังในภาพ" เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ "นอกจากนี้ คนไทยสยามตั้งแต่สมัยอยุทธยามองล้านนาว่าเป็น "ลาว" ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทน์จนถึงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็ยังปรากฏเรียกขานเช่นนั้นอยู่ และหลายครั้งคนล้านนาก็ถูกคนไทยสยามมองอย่างดูถูกอยู่บ้างเพราะแปลกแยก เห็นได้จากกรณีของเจ้าดารารัศมีในสมัยรัชกาลที่ ๕"
"แม้แต่ในพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ ก็ยังแต่งเนื้อหาในทำนองที่สะท้อนว่าคนอยุทธยาทำนองว่า "ลาว" นั้นไม่เท่าเทียมกับไทย อย่างตอนที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงได้ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นบาทบริจาริกา พอนางตั้งครรภ์กลับทรงละอายไม่กล้าพาเข้าวัง จึงพระราชทาน "นางลาว" นั้นให้พระเพทราชาแทน"
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า "การที่ลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกรุงอยุธยาอย่างเจ้าเมืองพิษณุโลกจะแต่งตัวเป็น "ลาว" แบบชัดเจนก็ดูจะแปลกพอสมควร หากยังอยู๋ในเมืองเหนือก็อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อย้ายมาอยู่ที่อยุธยาโดยแต่งกายสภาพนั้นแล้ว ก็อาจจะถูกคนอยุธยามองว่าเป็นพวก "ลาว" ที่แปลกแยกจากคนอยุธยาทั่วไปด้วย"
"ถ้าลองพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจริงถึงการที่แม่หญิงการะเกดแต่งกายเป็น "ลาว" เดินทางเข้ามาอยุทธยาโดยมีขบวนอย่าง "ลาว" ติดตามแห่ใหญ่โตเข้ามาในบ้านขุนนางกรุงศรีอยุทธยาอย่างในละครนั้น อาจตีความได้ว่านางเป็นคน “มั่น” อยากจะประกาศเชื้อสายของตนเอง หรืออยากแต่งกายแบบตามใจตัวเองที่คิดว่าสวยว่างามหรือเคยแต่งมาแต่ก่อน โดยไม่สนใจคำครหาจากใคร ซึ่งก็ดูรับกับนิสัยของตัวละครที่เป็นคน "แรง" ดีครับ
แต่ตอนหลังคงพยายามกลมกลืน เปลี่ยนมาแต่งกายอย่างอยุธยาแทน" เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ระบุ
เอกสารอ้างอิง
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๘.
- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง ลำดับศักราชสมัยกรุงศรีอยุธยา (พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์) สมุดไทยเล่มที่ ๓๐ มัดที่ ๒ ตู้ ๑๑๑ ชั้น ๑/๑
- พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม จากฐานข้อมูลดิจิตอลของ British Libary (bl.uk/manuscripts)
- พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน
- ลิลิตยวนพ่าย (http://vajirayana.org/ลิลิตยวนพ่าย/ยวนพ่าย)
ที่มา
เว็บไซต์ อบจ.พิษณุโลก https://www.ppao.go.th/page/3999/
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/1686715398058590/