รมว.กลาโหม พร้อมแจงเปลี่ยนกมธ.สภา ปม"เรือดำน้ำ" เป็น "เรือฟริเกต" ย้ำ รอบคอบไม่พละการ-ไม่เสียเปรียบ จ่ายเพิ่มพันล้าน ชี้จีนไม่ได้ผิดสัญญา แต่ไม่ทำตามข้อตกลง
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง กรณีที่ กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคก้าวไกล เป็นประธานจ่อเรียก ชี้แจง การเปลี่ยนการจัดหาเรือดำน้ำ เป็นเรือฟริเกตแทนว่า ก็ไปได้ และพร้อมชี้แจงทุกที่ ซึ่งทราบว่า กมธ.ความมั่นคง ก็จะมาพบตนด้วยและยินดี เพราะจะได้ทำความเข้าใจกัน
ส่วนการเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต จะทำให้เสียงบประมาณที่ดำเนินโครงการไปก่อนหน้านี้หรือไม่ เช่น การส่งบุคลากรไปอบรม และเตรียมสถานที่จอดเรือดำน้ำ นายสุทิน กล่าวว่า มันต้องชั่งน้ำหนักกัน ระหว่างการเดินหน้าต่อเอาเครื่องยนต์จากจีน และการต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ก็มีได้มีเสียเหมือนกัน พร้อมยืนยันว่า เราคิดรอบคอบในทุกมิติแล้ว ทั้งมิติกฎหมายและทุกมิติ คิดว่านี่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และหากเดินหน้าต่อคิดว่า จะต้องเจอคำถามมากกว่านี้
เมื่อถามว่า ผู้บังคับบัญชาเหล่าทัพว่าอย่างไร นายสุทิน กล่าวว่า ทุกคนเข้าใจดี เพราะก่อนจะตัดสินใจเรื่องนี้ก็ได้หารือกันอย่างละเอียด ไม่ได้ตัดสินใจโดยพละการ ไม่ได้ใช้อำนาจของรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ไปชี้เลย แต่ประชุมหารือในทุกแง่ทุกมุม
การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้เสียเงินเพิ่มอีกพันล้าน เสียเปรียบหรือไม่ นายสุทิน ชี้แจงว่า ไม่เสียเปรียบเพราะต้องดูมูลค่าของแต่ละอย่างด้วย หากเรือถูกแล้วเขามาบวกแพง อันนั้นเสียเปรียบ ซึ่งทุกอย่างเป็นราคาที่รับรู้กันทั่วโลก และเป็นราคามาตรฐาน
bangkokbiznews
สรุปมหากาพย์ 'เรือดำน้ำ' จัดซื้อบนความฝืดเคือง สุดท้ายโดนจมเป็น เรือฟริเกต
สรุปมหากาพย์ ซื้อ 'เรือดำน้ำ' ราคา 36,000 ล้านบาท ราคาที่ยอมแลกเพราะอยากได้ความเกรงใจจากนานาประเทศ ไม่สนความฝืดเคืองแค่ไหนท้ายที่สุดถูกจมเตรียมเปลี่ยนเป็น เรือฟิเกต แทน
กลายเป็นเรื่องที่สังคมกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งในการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ราคา 36,000 ล้านบาท จากประเทศจีนในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา เพราะหลังจากที่รัฐบาลในยุค คสช. พยายามที่จัดซื้อยุทโธปกรณ์ด้านการทหาร ในภาวะที่ประเทศกำลังฝืดเคืองกลายเป็นประเด็นที่ทำให้มีการตั้งคำถามมากมายมาย แม้ว่าในช่วงโควิด กองทัพเรือจะยอมคืนงบประมาณบางส่วนในการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" แต่ก็เกิดการคัดค้านจากสังคมอย่างมาก
เวลาผ่านไปโครงการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ที่จะทำให้คนเกรงใจ ไม่ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนไทย โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา "เรือดำน้ำ" กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีแผนที่จะจม "เรือดำน้ำ" ที่เคยทำสัญญาไปแล้วเป็น เรือฟริเกต แทน
สำหรับมหากาพย์การจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" มีที่ไปที่มา ดังนี้
1. ย้อนกลับไปเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมาประมาณปี 2558 รัฐบาลยุค คสช. มีแนวคิดที่จะซื้อ "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในราคาราวๆ 36,000 ล้านบาท หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้เห็นชอบในหลักการให้จัดหา เรือดำน้ำ โดยกองทัพเรือได้พยายามเสาะหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการผลิตจัดหา เรือดำน้ำ จนสุดท้ายก็ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดจากจีน
2.หลังจากนั้นจึงได้ทำสัญญาตกลงซื้อขาย "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G2G) โดยมีระยะเวลา 11 ปี ในการส่งมอบ เรือดำน้ำ ให้แก่กองทัพไทย โดยกองทัพเรือได้มีการเซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำลำแรก ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านบาท แบ่งชำระเงินเป็น 7 ปี รวม 17 งวด ประเดิมงวดแรกปี 2560 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปี 2561-2566 จ่ายเงินเฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท
3. ท่ามกลางคำครหาถึงการใช้งบประมาณแผ่นดินในจำนวนมหาศาลแต่ ทางรัฐบาล และ กองทัพเรือก็ยังคงเดินหน้าซื้อ "เรือดำน้ำ" ไม่หยุดจนกะรทั้งในปี 2563 ไทยเผชิญกับวิกฤตโควิดอย่างหนัก รัฐบาลได้มีคำสั่งให้แต่ละหน่วยงานโอนงบประมาณกลับคืน ทร. จึงได้คืนงบประมาณในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ แต่ในปี 2565 กองทัพเรือได้เดินหน้าจัดซื้อ เรือดำน้ำ ลำที่ 2 และ 3 อีกครั้ง ในงบประมาณ 22,000 ล้านบาท
4. ดูเหมือนว่าการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ในช่วงนั้นจะเริ่มมีปัญหา โดยกระทรวงกลาโหมได้แจ้งขอถอนวาระการเสนอจัดซื้อ เรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ ออกจากการพิจารณางบประมาณปี 2565 หลังจากนั้นทางกองทัพเรือออกมายอมรับว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำแบบไม่มีเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยประเทศเยอรมนี มีปัญหาเนื่องจากทางเยอรมนีไม่ยอมออกใบอนุญาตแก่จีนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จีนจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
5. ปัญหาการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" คาราคาซังต่อเนื่องจนมาถึงยุครัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐฐมนตรี และแน่นอนว่าหลังจากที่มีการแต่งตั้ง ครม. และนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้กุมกองทัพได้มีการหยิบเอาการจัดซื้อ เรือดำน้ำ มูลค่ามหาศาลกลับมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกๆ จนท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า มีความคิดที่จะเปลี่ยนการซื้อ เรือดำน้ำ และ เรือฟริเกต อย่างแน่นอน เพราะมีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากกว่า แต่การเปลี่ยนสัญญาระหว่างไทยกับจีน จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ เพราะมีการทำสัญญาซื้อขาย "เรือดำน้ำ" ไปแล้ว ต้องรอการสรุปอีกครั้ง
ด้านนายกฯ ก็ออกมายืนยันถึงการเปลี่ยน "เรือดำน้ำ" เป็น เรือฟริเกต ว่า ประเทศไทยไม่เสียเปรียบแน่นอน ส่วนความชัดเจนการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็น เรือฟริเกต ขอให้ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีข้อมูลครบก่อนแล้วค่อยดำเนินการเจรจา แต่เชื่อว่าจะมีข่าวดี และมีความคืบหน้าไปได้ด้วยดี
komchadluek
"สมชัย" ถามดังๆ! "ใครอยากได้ฟริเกตแทนเรือดำน้ำกันแน่?"
เมื่อวันที่ 24 ต.ค.66 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สมชัย ศรีสุทธิยากร ระบุว่า...
เรือปราบเรือดำน้ำ ใครดำน้ำ
7 มกราคม 2565 ผบ.ทร. พล.ร.อ. สมประสงค์ นิลสมัย ให้สัมภาษณ์ ยันไม่ซื้อเรือฟริเกต แทนเรือดำน้ำ เพราะเรือดำน้ำ ยังคงเป็นอาวุธยุทธศาสตร์ที่สำคัญ (มติชนออนไลน์ 7 มกราคม 2565)
21 กันยายน 2566 ผบ.ทร. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ บอกทัพเรือ รับได้ เรื่องเรือดำน้ำ ใช้เครื่องจีน โดยบอกว่า อย่างไรเยอรมันเขาก็ไม่ขายเครื่องยนต์ให้จีนด้วยเหตุความมั่นคง ดังนั้น อนาคตเรือดำน้ำจีนทุกลำที่เขาใช้เอง และต่อขาย ก็จะใช้เครื่องจีน ปากีสถานซื้อ 8 ลำ ก็ใช้เครื่องจีน และจีนยอมขยายเวลาประกัน จาก 2 ปีเป็น 8 ปี (PPTV online 21 กันยายน 2566)
20 ตุลาคม 2566 สุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ตรวจเยี่ยมกองทัพเรือ แถลงเลือกเรือฟริเกต ซึ่งรบได้ 3 ระบบ สามารถปราบเรือดำน้ำได้ ราคา 17,000 ล้าน แทนเรือดำน้ำ ในขณะที่ พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.ทร. ยืนยันว่า พร้อมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล (ข่าว ไทยพีบีเอส 20 ตุลาคม 2566)
ประชาชนอย่างเรา งง การตัดสินใจของกองทัพเรือและรัฐบาล
1. การเตรียมการเรื่องเรือดำน้ำ มีการจ่ายมัดจำไป 7,000 ล้าน มีการเตรียมการเรื่องอู่เทียบเรือ โรงซ่อมบำรุง คลังเก็บอุปกรณ์ประกอบ ส่งบุคลากรไปอบรม ฯลฯ รวมที่ใช้ไปแล้วอีกเกือบ 9,000 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นฟริเกต 9,000 ล้าน โยนทิ้งหรือ
2. เรือฟริเกตของไทย มี 5 ลำ จากความต้องการรวม 8 ลำ เป็นของจีน 4 ลำ เกาหลี 1 ลำ โดยลำสุดท้ายที่ซื้อ คือ เรือภูมิพล จากเกาหลี ราคา 15,000 ล้านบาท ส่วนราคาที่ รมว.สุทิน เปิดคือ 17,000 ล้านบาท มีการตั้งข้อสังเกตว่า ซื้ออะไร ทีไร ทำไมไทยต้องแพงกว่าเขา (สัมภาษณ์ บก. Thaiarmforce.com ไทยรัฐออนไลน์ 23 ตุลาคม 2566)
3. การผิดสัญญาของจีน ที่ไม่สามารถส่งมอบเรือดำน้ำตาม spec. ที่ตกลงกันแต่แรก กลับไม่มีการแสดงความรับผิดชอบจากจีน เช่น คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหาย แต่กลายเป็นว่า ไทยต้องเป็นฝ่ายหาทางออกโดยเสนอเรือฟริเกตทดแทน พร้อมต้องจ่ายเงินเพิ่ม
4. หาก ทร. จะซื้อฟริเกต จะแลกกันง่าย ๆ ไม่ต้องมี spec. ไม่ต้องมีการเปรียบเทียบราคา ไม่ต้องดูเรือฟริเกตของประเทศอื่น เพื่อเลือกเรือที่มีสมรรถนะ เหมาะสม และ ใช้ร่วมกับกองเรือที่มีอยู่ เลยหรือ
สรุป ใครอยากได้ฟริเกตแทนเรือดำน้ำกันแน่ เป็น ทร. หรือ รัฐบาลเพื่อไทย คงต้องหาคำตอบให้ชัด และรับผิดชอบต่อเงินภาษีของประชาชนด้วย
siamrath
'สุทิน' พร้อมแจงเปลี่ยน 'เรือดำน้ำ' เป็น 'ฟริเกต' จ่ายเพิ่มพันล้าน ชี้จีนไม่ได้ผิดสัญญา แต่ไม่ทำตามข้อตกลง
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง กรณีที่ กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคก้าวไกล เป็นประธานจ่อเรียก ชี้แจง การเปลี่ยนการจัดหาเรือดำน้ำ เป็นเรือฟริเกตแทนว่า ก็ไปได้ และพร้อมชี้แจงทุกที่ ซึ่งทราบว่า กมธ.ความมั่นคง ก็จะมาพบตนด้วยและยินดี เพราะจะได้ทำความเข้าใจกัน
ส่วนการเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต จะทำให้เสียงบประมาณที่ดำเนินโครงการไปก่อนหน้านี้หรือไม่ เช่น การส่งบุคลากรไปอบรม และเตรียมสถานที่จอดเรือดำน้ำ นายสุทิน กล่าวว่า มันต้องชั่งน้ำหนักกัน ระหว่างการเดินหน้าต่อเอาเครื่องยนต์จากจีน และการต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ก็มีได้มีเสียเหมือนกัน พร้อมยืนยันว่า เราคิดรอบคอบในทุกมิติแล้ว ทั้งมิติกฎหมายและทุกมิติ คิดว่านี่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และหากเดินหน้าต่อคิดว่า จะต้องเจอคำถามมากกว่านี้
เมื่อถามว่า ผู้บังคับบัญชาเหล่าทัพว่าอย่างไร นายสุทิน กล่าวว่า ทุกคนเข้าใจดี เพราะก่อนจะตัดสินใจเรื่องนี้ก็ได้หารือกันอย่างละเอียด ไม่ได้ตัดสินใจโดยพละการ ไม่ได้ใช้อำนาจของรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ไปชี้เลย แต่ประชุมหารือในทุกแง่ทุกมุม
การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้เสียเงินเพิ่มอีกพันล้าน เสียเปรียบหรือไม่ นายสุทิน ชี้แจงว่า ไม่เสียเปรียบเพราะต้องดูมูลค่าของแต่ละอย่างด้วย หากเรือถูกแล้วเขามาบวกแพง อันนั้นเสียเปรียบ ซึ่งทุกอย่างเป็นราคาที่รับรู้กันทั่วโลก และเป็นราคามาตรฐาน
bangkokbiznews
เวลาผ่านไปโครงการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ที่จะทำให้คนเกรงใจ ไม่ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนไทย โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา "เรือดำน้ำ" กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีแผนที่จะจม "เรือดำน้ำ" ที่เคยทำสัญญาไปแล้วเป็น เรือฟริเกต แทน
สำหรับมหากาพย์การจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" มีที่ไปที่มา ดังนี้
1. ย้อนกลับไปเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมาประมาณปี 2558 รัฐบาลยุค คสช. มีแนวคิดที่จะซื้อ "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในราคาราวๆ 36,000 ล้านบาท หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้เห็นชอบในหลักการให้จัดหา เรือดำน้ำ โดยกองทัพเรือได้พยายามเสาะหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการผลิตจัดหา เรือดำน้ำ จนสุดท้ายก็ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดจากจีน
2.หลังจากนั้นจึงได้ทำสัญญาตกลงซื้อขาย "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G2G) โดยมีระยะเวลา 11 ปี ในการส่งมอบ เรือดำน้ำ ให้แก่กองทัพไทย โดยกองทัพเรือได้มีการเซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำลำแรก ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านบาท แบ่งชำระเงินเป็น 7 ปี รวม 17 งวด ประเดิมงวดแรกปี 2560 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปี 2561-2566 จ่ายเงินเฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท
3. ท่ามกลางคำครหาถึงการใช้งบประมาณแผ่นดินในจำนวนมหาศาลแต่ ทางรัฐบาล และ กองทัพเรือก็ยังคงเดินหน้าซื้อ "เรือดำน้ำ" ไม่หยุดจนกะรทั้งในปี 2563 ไทยเผชิญกับวิกฤตโควิดอย่างหนัก รัฐบาลได้มีคำสั่งให้แต่ละหน่วยงานโอนงบประมาณกลับคืน ทร. จึงได้คืนงบประมาณในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ แต่ในปี 2565 กองทัพเรือได้เดินหน้าจัดซื้อ เรือดำน้ำ ลำที่ 2 และ 3 อีกครั้ง ในงบประมาณ 22,000 ล้านบาท
4. ดูเหมือนว่าการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ในช่วงนั้นจะเริ่มมีปัญหา โดยกระทรวงกลาโหมได้แจ้งขอถอนวาระการเสนอจัดซื้อ เรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ ออกจากการพิจารณางบประมาณปี 2565 หลังจากนั้นทางกองทัพเรือออกมายอมรับว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำแบบไม่มีเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยประเทศเยอรมนี มีปัญหาเนื่องจากทางเยอรมนีไม่ยอมออกใบอนุญาตแก่จีนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จีนจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป
5. ปัญหาการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" คาราคาซังต่อเนื่องจนมาถึงยุครัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐฐมนตรี และแน่นอนว่าหลังจากที่มีการแต่งตั้ง ครม. และนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้กุมกองทัพได้มีการหยิบเอาการจัดซื้อ เรือดำน้ำ มูลค่ามหาศาลกลับมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกๆ จนท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า มีความคิดที่จะเปลี่ยนการซื้อ เรือดำน้ำ และ เรือฟริเกต อย่างแน่นอน เพราะมีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากกว่า แต่การเปลี่ยนสัญญาระหว่างไทยกับจีน จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ เพราะมีการทำสัญญาซื้อขาย "เรือดำน้ำ" ไปแล้ว ต้องรอการสรุปอีกครั้ง
ด้านนายกฯ ก็ออกมายืนยันถึงการเปลี่ยน "เรือดำน้ำ" เป็น เรือฟริเกต ว่า ประเทศไทยไม่เสียเปรียบแน่นอน ส่วนความชัดเจนการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็น เรือฟริเกต ขอให้ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีข้อมูลครบก่อนแล้วค่อยดำเนินการเจรจา แต่เชื่อว่าจะมีข่าวดี และมีความคืบหน้าไปได้ด้วยดี
komchadluek
21 กันยายน 2566 ผบ.ทร. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ บอกทัพเรือ รับได้ เรื่องเรือดำน้ำ ใช้เครื่องจีน โดยบอกว่า อย่างไรเยอรมันเขาก็ไม่ขายเครื่องยนต์ให้จีนด้วยเหตุความมั่นคง ดังนั้น อนาคตเรือดำน้ำจีนทุกลำที่เขาใช้เอง และต่อขาย ก็จะใช้เครื่องจีน ปากีสถานซื้อ 8 ลำ ก็ใช้เครื่องจีน และจีนยอมขยายเวลาประกัน จาก 2 ปีเป็น 8 ปี (PPTV online 21 กันยายน 2566)
20 ตุลาคม 2566 สุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ตรวจเยี่ยมกองทัพเรือ แถลงเลือกเรือฟริเกต ซึ่งรบได้ 3 ระบบ สามารถปราบเรือดำน้ำได้ ราคา 17,000 ล้าน แทนเรือดำน้ำ ในขณะที่ พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.ทร. ยืนยันว่า พร้อมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล (ข่าว ไทยพีบีเอส 20 ตุลาคม 2566)
ประชาชนอย่างเรา งง การตัดสินใจของกองทัพเรือและรัฐบาล
1. การเตรียมการเรื่องเรือดำน้ำ มีการจ่ายมัดจำไป 7,000 ล้าน มีการเตรียมการเรื่องอู่เทียบเรือ โรงซ่อมบำรุง คลังเก็บอุปกรณ์ประกอบ ส่งบุคลากรไปอบรม ฯลฯ รวมที่ใช้ไปแล้วอีกเกือบ 9,000 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นฟริเกต 9,000 ล้าน โยนทิ้งหรือ
2. เรือฟริเกตของไทย มี 5 ลำ จากความต้องการรวม 8 ลำ เป็นของจีน 4 ลำ เกาหลี 1 ลำ โดยลำสุดท้ายที่ซื้อ คือ เรือภูมิพล จากเกาหลี ราคา 15,000 ล้านบาท ส่วนราคาที่ รมว.สุทิน เปิดคือ 17,000 ล้านบาท มีการตั้งข้อสังเกตว่า ซื้ออะไร ทีไร ทำไมไทยต้องแพงกว่าเขา (สัมภาษณ์ บก. Thaiarmforce.com ไทยรัฐออนไลน์ 23 ตุลาคม 2566)
3. การผิดสัญญาของจีน ที่ไม่สามารถส่งมอบเรือดำน้ำตาม spec. ที่ตกลงกันแต่แรก กลับไม่มีการแสดงความรับผิดชอบจากจีน เช่น คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหาย แต่กลายเป็นว่า ไทยต้องเป็นฝ่ายหาทางออกโดยเสนอเรือฟริเกตทดแทน พร้อมต้องจ่ายเงินเพิ่ม
4. หาก ทร. จะซื้อฟริเกต จะแลกกันง่าย ๆ ไม่ต้องมี spec. ไม่ต้องมีการเปรียบเทียบราคา ไม่ต้องดูเรือฟริเกตของประเทศอื่น เพื่อเลือกเรือที่มีสมรรถนะ เหมาะสม และ ใช้ร่วมกับกองเรือที่มีอยู่ เลยหรือ
สรุป ใครอยากได้ฟริเกตแทนเรือดำน้ำกันแน่ เป็น ทร. หรือ รัฐบาลเพื่อไทย คงต้องหาคำตอบให้ชัด และรับผิดชอบต่อเงินภาษีของประชาชนด้วย
siamrath