30 ความเข้าใจผิดของคนไข้ ที่หลายคนไม่รู้
1. ชาวบ้านชอบคิดว่าจะมาขอใบรับรองแพทย์ หรือทำแผล จะมาตอนไหนก็ได้ โดยเฉพาะ รพ.รัฐ อ้างติดงานบ้างไรบ้าง ทั้งที่จริงควรจะต้องมาในเวลาทำการเท่านั้น
2. ชาวบ้านชอบคิดว่าใช้สิทธิ์ 30 บาทแล้วจะรอนาน จึงจงใจไม่ไปตามสิทธิ์ตัวเองแล้ววอคอินเข้ามา รพ.รัฐต่างสิทธิ์ แต่ยินดีชำระเงินเองเพราะคิดว่าจะได้ตรวจไว จริงๆคือ ช้าเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ โดนadviceไปตามสิทธิ์ เสียเวลาสองต่อ (จะจ่ายเองทำไมไม่ไปเอกชนเลย งง)
3. ชาวบ้านชอบคิดว่า ถ้าจ่ายเอง(ไม่ใช้30บาท) แล้วจะขอนอน รพ.ได้ แท้จริงคือต้องนอนตามข้อบ่งชี้เท่านั้น เพิ่มเติมคือให้รีเฟอร์(ไปเอง)ตามสิทธิ์ ถ้าไม่ใช่เคสแดง ไม่ได้มีรถพยาบาลให้แต่อย่างใด (งงไหมตอนมา เดินมาได้)
4. ชาวบ้านชอบคิดว่ามาดึกๆที่ฉุกเฉิน ได้ตรวจไวกว่าในเวลา จริงๆคือ รอนานเหมือนเดิม (เพราะอยู่ลำดับความเร่งด่วนท้ายสุด) เพิ่มเติมคือไม่ได้เจอหมอเฉพาะทาง ยาก็ไม่ได้เยอะเท่าในเวลา
5. ชาวบ้านชอบคิดว่าคนใส่กาวน์ขาวๆคือแพทย์ แท้จริงแล้วอาจจะเป็นเวรเปล แพทย์ใส่scrubสีๆ ตรวจเสร็จนานแล้ว+adviceเสร็จ ดันบอกว่าหมอยังไม่มาดู (งง)
6. ชาวบ้านชอบคิดว่า ได้ยาพารา = ยาห่วย แท้จริงคือเป็นยาลดไข้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดและไม่เป็นอันตราย ในขณะที่ บรูเฟน ถ้าเกิดเป็นไข้เลือดออกจะอันตรายมาก แถมคนที่มีปัญหาเรื่องกระเพาะหรือไตก็ไม่ควรกิน
7. ชาวบ้านชอบคิดว่า บอกเม็ดยาแก้อักเสบสีขาวๆกลมๆแล้วหมอจะรู้ว่ายาอะไร (จะรู้ได้ไงก่อนงง) โดยเฉพาะยาที่ตัวเองแพ้ก็ควรจะต้องจำชื่อยาได้ (อ้างอ่านชื่อยาไม่ออก ก็ควรพกบัตรแพ้ยาไหมนะ ชื่อภาษาไทยก็มีเขียน)
8. ชาวบ้านชอบคิดว่า ไม่กินยาลดไข้มาเพราะกลัวไข้ลงแล้วหมอจะไม่เรียกตรวจไว แท้จริงคือ ถ้าไข้สูงเด็กอาจชักได้
9. ชาวบ้านชอบคิดว่า เด็กเป็นไข้หวัดต้องได้ยาฆ่าเชื้อ แท้จริงคือ ไม่ต้องได้อะไรเลยด้วยซ้ำ กินพารากับเอาน้ำเกลือหยดจมูกก็เพียงพอแล้ว
10. ชาวบ้านชอบคิดว่า เป็นไข้หวัดแล้วต้องไปฉีดยาที่คลินิกถึงหาย แล้วมาโทษว่า รพ.เลี้ยงไข้ ไม่ยอมฉีดยาให้ (ยาที่ว่าคือ linco + dexa ซึ่งอันตรายมาก) จริงๆแล้วที่หายเนี่ยมันหายได้เอง
11. ชาวบ้านชอบคิดว่า ที่เดิมรักษาไม่หาย เลยเปลี่ยน รพ.ไปเรื่อยๆ ช็อปปิ้งไปเรื่อยๆ เผื่อจะหาย แท้จริงคือ ถ้าไม่ไปเอาประวัติเดิมมา ก็จะได้รับการรักษาแบบเดิมๆไปเรื่อยๆ จาก รพ.ใหม่ (มันจะหายได้ไงก่อนงง) นอกจากจะรักษาไม่ต่อเนื่องแล้ว เพิ่มเติมคือ เบิกไม่ได้จ้า
12. ชาวบ้านชอบคิดว่า ประกันสังคม คือดีเลิศกว่า 30 บาท เพราะต้องส่งเบี้ยทุกเดือน คำตอบคือ ไม่จริงเสมอไป
13. ชาวบ้านชอบคิดว่า เอะอะจะขอนอนห้องพิเศษได้ ก็แค่จ่ายตังเพิ่ม แท้จริงคือ ถ้าอาการไม่ stable พอ นอนไม่ได้นะ
14. ชาวบ้านชอบคิดว่า เคสอุบัติเหตุ MC ที่มีคู่กรณี ใบรับรองแพทย์ที่ออกให้โดยห้องฉุกเฉินจะเอาไปแจ้งความได้ แท้จริงต้องใข้ใบชันสูตรบาดแผลจากแพทย์นิติเวชเท่านั้นถึงจะเอาไปแจ้งความได้
15. ชาวบ้านชอบคิดว่า ใส่ท่อช่วยหายใจ = ตายแน่ๆ เลยไม่ยอมให้ใส่ แต่พอจะตายจริงๆจะให้ CPR !?!?
16. ชาวบ้านชอบคิดว่า ถ้าคนไข้ไม่มีคนดูแล เพราะลูกอยู่คนละบ้านกับคนไข้ จะขอนอน รพ.(รัฐ)ได้ (ไม่มีขัอบ่งชี้ในการนอน รพ.) แท้จริงคือ แล้วน่าจะย้อนถามว่า คุณเป็นลูกภาษาอะไรทำไมดูแลบุพการีไม่ได้ งงนะ
17. ชาวบ้านชอบคิดว่า เวลาคุยกับญาติหน้าห้องฉุกเฉินจะต้องมีคำว่า “พ้นขีดอันตราย” เหมือนในละคร จริงๆแล้วแพทย์ไม่เคยมีใครพูดคำนี้ และไม่มีคำนี้ในสารบบการแพทย์แต่อย่างใด
18. ชาวบ้านชอบคิดว่า หน้าที่การเช็ดตัวเด็กเป็นของพยาบาล แท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องมาช่วย เพราะสุดท้ายก็ต้องไปทำเองที่บ้าน
19. ชาวบ้านชอบคิดว่า ให้คนไข้มารอแต่ตีห้า หกโมง หมอมาออกตรวจ opd เก้าโมง แท้จริงแล้วหมอต้องดูคนไข้ ipd ก่อน ตั้งแต่เช้ามืด ดูเสร็จถึงค่อยมาออก opd
20. ชาวบ้านชอบคิดว่าแพทย์รายได้เยอะ แท้จริงแล้วค่าเวร OT รพ.รัฐ เท่ากับคนทำงานพาร์ทไทม์คือ ชั่วโมงละ 80 บาท
21. ชาวบ้านชอบคิดว่าตัวเองจ่ายภาษี(มูลค่าเพิ่ม)แล้วจึงมีสิทธิ์ลำเลิกบุญคุณกับบุคลากร แท้จริงคือ ชาวบ้านพวกนี้บางคนไม่ได้จ่ายภาษีเงินได้เสียด้วยซ้ำ
22. ชาวบ้านเวลารักษาจากที่เก่าไม่หายแล้วมาที่เรา ชอบบอกว่า “หมอที่นู่นไม่บอกอะไร” แท้จริงคือบอกแล้วแต่ตัวเองจับใจความไม่ได้เอง หรือไมไ่ด้ใส่ใจที่จะฟัง แล้วไม่รู้จักถามให้สิ้นข้อสงสัย
23. ชาวบ้านชอบคิดว่า คนที่จะเรียนหมอได้ต้องมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย แท้จริงแล้ว ก็เจอได้ตั้งแต่ลูกเกษตรกร ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานราชการทั่วไป แม่บ้าน ฯลฯ
24. ชาวบ้านชอบคิดว่าเรียนหมอ 6 ปี คือรวมเฉพาะทางแล้ว แท้จริงคือ ไม่รวม และก็ไม่ได้รวมปีฝึกงานเพิ่มพูนทักษะด้วย (ใช้ทุน3ปี) ถ้าจะต่อเฉพาะทาง ก็อีก 3-5 ปี เฉพาะทางต่อยอดอีก 3 ปี (รวม 15-17 ปี ++)
25. ชาวบ้านบางคนชื่นชมแพทย์ที่ป่วยระยะท้ายแล้วใส่สายออกซิเจนมาผ่าตัดว่าเสียสละ ซึ่งไม่ผิด แต่นั่นไม่ใช่บรรทัดฐานความเสียสละของแพทย์โดยทั่วไปที่ควรจะเป็น
26. ชาวบ้านที่เดินมาห้องฉุกเฉินตอนดึกคิดว่าตัวเองไม่ไหวแต่สัญญาณชีพดี คิดว่าตัวเองด่วนที่สุด แท้จริงแล้วความด่วน ดูที่ ESI level (emergency severity index) ห้าเฉดสีที่มีแปะหน้าห้องฉุกเฉินทุก รพ.
27. ชาวบ้านชอบคิดว่า รพ.ต้องมีบริการผ้าอ้อมให้คนไข้ แท้จริงแล้วญาติต้องไปซื้อมาให้คนไข้เอง
28. ชาวบ้านชอบคิดว่า ทำไมเวลาไปเอกชนตรวจ 3 นาที คิด 300 บาท แพงไปป่าว หรือผ่าตัด 30 นาทีคิดสามหมื่น แพงไปมั้ย คำตอบคือ เขาใช้เวลาเรียน 30 ปี (เกือบทั้งชีวิต) เพื่อที่จะผ่าตัดใน 30 นาที
29. ชาวบ้านชอบคิดว่า ประเทศไทยกว่าจะเจอหมอได้ยากมากรอคิวนาน แท้จริงแล้วลองไปดูประเทศเจริญแล้วอย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น กว่าจะได้เจอหมอ (กว่าจะนัดคิวได้) อาจจะหายแล้วเป็นเดือน แถมเสียตังอย่างแพงด้วยขนาดมีประกัน
30. ชาวบ้านชอบคิดว่าประกันสุขภาพไม่ต้องทำหรอกใช้บัตรทองได้ ประกันสังคมได้ แท้จริงแล้วสิทธิ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เบิกได้ทั้งหมด แถมอาจต้องรอคิวตรวจพิเศษนาน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ staging ของโรค เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ได้
30 ความเข้าใจผิดของคนไข้ ที่หลายคนไม่รู้
1. ชาวบ้านชอบคิดว่าจะมาขอใบรับรองแพทย์ หรือทำแผล จะมาตอนไหนก็ได้ โดยเฉพาะ รพ.รัฐ อ้างติดงานบ้างไรบ้าง ทั้งที่จริงควรจะต้องมาในเวลาทำการเท่านั้น
2. ชาวบ้านชอบคิดว่าใช้สิทธิ์ 30 บาทแล้วจะรอนาน จึงจงใจไม่ไปตามสิทธิ์ตัวเองแล้ววอคอินเข้ามา รพ.รัฐต่างสิทธิ์ แต่ยินดีชำระเงินเองเพราะคิดว่าจะได้ตรวจไว จริงๆคือ ช้าเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ โดนadviceไปตามสิทธิ์ เสียเวลาสองต่อ (จะจ่ายเองทำไมไม่ไปเอกชนเลย งง)
3. ชาวบ้านชอบคิดว่า ถ้าจ่ายเอง(ไม่ใช้30บาท) แล้วจะขอนอน รพ.ได้ แท้จริงคือต้องนอนตามข้อบ่งชี้เท่านั้น เพิ่มเติมคือให้รีเฟอร์(ไปเอง)ตามสิทธิ์ ถ้าไม่ใช่เคสแดง ไม่ได้มีรถพยาบาลให้แต่อย่างใด (งงไหมตอนมา เดินมาได้)
4. ชาวบ้านชอบคิดว่ามาดึกๆที่ฉุกเฉิน ได้ตรวจไวกว่าในเวลา จริงๆคือ รอนานเหมือนเดิม (เพราะอยู่ลำดับความเร่งด่วนท้ายสุด) เพิ่มเติมคือไม่ได้เจอหมอเฉพาะทาง ยาก็ไม่ได้เยอะเท่าในเวลา
5. ชาวบ้านชอบคิดว่าคนใส่กาวน์ขาวๆคือแพทย์ แท้จริงแล้วอาจจะเป็นเวรเปล แพทย์ใส่scrubสีๆ ตรวจเสร็จนานแล้ว+adviceเสร็จ ดันบอกว่าหมอยังไม่มาดู (งง)
6. ชาวบ้านชอบคิดว่า ได้ยาพารา = ยาห่วย แท้จริงคือเป็นยาลดไข้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดและไม่เป็นอันตราย ในขณะที่ บรูเฟน ถ้าเกิดเป็นไข้เลือดออกจะอันตรายมาก แถมคนที่มีปัญหาเรื่องกระเพาะหรือไตก็ไม่ควรกิน
7. ชาวบ้านชอบคิดว่า บอกเม็ดยาแก้อักเสบสีขาวๆกลมๆแล้วหมอจะรู้ว่ายาอะไร (จะรู้ได้ไงก่อนงง) โดยเฉพาะยาที่ตัวเองแพ้ก็ควรจะต้องจำชื่อยาได้ (อ้างอ่านชื่อยาไม่ออก ก็ควรพกบัตรแพ้ยาไหมนะ ชื่อภาษาไทยก็มีเขียน)
8. ชาวบ้านชอบคิดว่า ไม่กินยาลดไข้มาเพราะกลัวไข้ลงแล้วหมอจะไม่เรียกตรวจไว แท้จริงคือ ถ้าไข้สูงเด็กอาจชักได้
9. ชาวบ้านชอบคิดว่า เด็กเป็นไข้หวัดต้องได้ยาฆ่าเชื้อ แท้จริงคือ ไม่ต้องได้อะไรเลยด้วยซ้ำ กินพารากับเอาน้ำเกลือหยดจมูกก็เพียงพอแล้ว
10. ชาวบ้านชอบคิดว่า เป็นไข้หวัดแล้วต้องไปฉีดยาที่คลินิกถึงหาย แล้วมาโทษว่า รพ.เลี้ยงไข้ ไม่ยอมฉีดยาให้ (ยาที่ว่าคือ linco + dexa ซึ่งอันตรายมาก) จริงๆแล้วที่หายเนี่ยมันหายได้เอง
11. ชาวบ้านชอบคิดว่า ที่เดิมรักษาไม่หาย เลยเปลี่ยน รพ.ไปเรื่อยๆ ช็อปปิ้งไปเรื่อยๆ เผื่อจะหาย แท้จริงคือ ถ้าไม่ไปเอาประวัติเดิมมา ก็จะได้รับการรักษาแบบเดิมๆไปเรื่อยๆ จาก รพ.ใหม่ (มันจะหายได้ไงก่อนงง) นอกจากจะรักษาไม่ต่อเนื่องแล้ว เพิ่มเติมคือ เบิกไม่ได้จ้า
12. ชาวบ้านชอบคิดว่า ประกันสังคม คือดีเลิศกว่า 30 บาท เพราะต้องส่งเบี้ยทุกเดือน คำตอบคือ ไม่จริงเสมอไป
13. ชาวบ้านชอบคิดว่า เอะอะจะขอนอนห้องพิเศษได้ ก็แค่จ่ายตังเพิ่ม แท้จริงคือ ถ้าอาการไม่ stable พอ นอนไม่ได้นะ
14. ชาวบ้านชอบคิดว่า เคสอุบัติเหตุ MC ที่มีคู่กรณี ใบรับรองแพทย์ที่ออกให้โดยห้องฉุกเฉินจะเอาไปแจ้งความได้ แท้จริงต้องใข้ใบชันสูตรบาดแผลจากแพทย์นิติเวชเท่านั้นถึงจะเอาไปแจ้งความได้
15. ชาวบ้านชอบคิดว่า ใส่ท่อช่วยหายใจ = ตายแน่ๆ เลยไม่ยอมให้ใส่ แต่พอจะตายจริงๆจะให้ CPR !?!?
16. ชาวบ้านชอบคิดว่า ถ้าคนไข้ไม่มีคนดูแล เพราะลูกอยู่คนละบ้านกับคนไข้ จะขอนอน รพ.(รัฐ)ได้ (ไม่มีขัอบ่งชี้ในการนอน รพ.) แท้จริงคือ แล้วน่าจะย้อนถามว่า คุณเป็นลูกภาษาอะไรทำไมดูแลบุพการีไม่ได้ งงนะ
17. ชาวบ้านชอบคิดว่า เวลาคุยกับญาติหน้าห้องฉุกเฉินจะต้องมีคำว่า “พ้นขีดอันตราย” เหมือนในละคร จริงๆแล้วแพทย์ไม่เคยมีใครพูดคำนี้ และไม่มีคำนี้ในสารบบการแพทย์แต่อย่างใด
18. ชาวบ้านชอบคิดว่า หน้าที่การเช็ดตัวเด็กเป็นของพยาบาล แท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องมาช่วย เพราะสุดท้ายก็ต้องไปทำเองที่บ้าน
19. ชาวบ้านชอบคิดว่า ให้คนไข้มารอแต่ตีห้า หกโมง หมอมาออกตรวจ opd เก้าโมง แท้จริงแล้วหมอต้องดูคนไข้ ipd ก่อน ตั้งแต่เช้ามืด ดูเสร็จถึงค่อยมาออก opd
20. ชาวบ้านชอบคิดว่าแพทย์รายได้เยอะ แท้จริงแล้วค่าเวร OT รพ.รัฐ เท่ากับคนทำงานพาร์ทไทม์คือ ชั่วโมงละ 80 บาท
21. ชาวบ้านชอบคิดว่าตัวเองจ่ายภาษี(มูลค่าเพิ่ม)แล้วจึงมีสิทธิ์ลำเลิกบุญคุณกับบุคลากร แท้จริงคือ ชาวบ้านพวกนี้บางคนไม่ได้จ่ายภาษีเงินได้เสียด้วยซ้ำ
22. ชาวบ้านเวลารักษาจากที่เก่าไม่หายแล้วมาที่เรา ชอบบอกว่า “หมอที่นู่นไม่บอกอะไร” แท้จริงคือบอกแล้วแต่ตัวเองจับใจความไม่ได้เอง หรือไมไ่ด้ใส่ใจที่จะฟัง แล้วไม่รู้จักถามให้สิ้นข้อสงสัย
23. ชาวบ้านชอบคิดว่า คนที่จะเรียนหมอได้ต้องมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย แท้จริงแล้ว ก็เจอได้ตั้งแต่ลูกเกษตรกร ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานราชการทั่วไป แม่บ้าน ฯลฯ
24. ชาวบ้านชอบคิดว่าเรียนหมอ 6 ปี คือรวมเฉพาะทางแล้ว แท้จริงคือ ไม่รวม และก็ไม่ได้รวมปีฝึกงานเพิ่มพูนทักษะด้วย (ใช้ทุน3ปี) ถ้าจะต่อเฉพาะทาง ก็อีก 3-5 ปี เฉพาะทางต่อยอดอีก 3 ปี (รวม 15-17 ปี ++)
25. ชาวบ้านบางคนชื่นชมแพทย์ที่ป่วยระยะท้ายแล้วใส่สายออกซิเจนมาผ่าตัดว่าเสียสละ ซึ่งไม่ผิด แต่นั่นไม่ใช่บรรทัดฐานความเสียสละของแพทย์โดยทั่วไปที่ควรจะเป็น
26. ชาวบ้านที่เดินมาห้องฉุกเฉินตอนดึกคิดว่าตัวเองไม่ไหวแต่สัญญาณชีพดี คิดว่าตัวเองด่วนที่สุด แท้จริงแล้วความด่วน ดูที่ ESI level (emergency severity index) ห้าเฉดสีที่มีแปะหน้าห้องฉุกเฉินทุก รพ.
27. ชาวบ้านชอบคิดว่า รพ.ต้องมีบริการผ้าอ้อมให้คนไข้ แท้จริงแล้วญาติต้องไปซื้อมาให้คนไข้เอง
28. ชาวบ้านชอบคิดว่า ทำไมเวลาไปเอกชนตรวจ 3 นาที คิด 300 บาท แพงไปป่าว หรือผ่าตัด 30 นาทีคิดสามหมื่น แพงไปมั้ย คำตอบคือ เขาใช้เวลาเรียน 30 ปี (เกือบทั้งชีวิต) เพื่อที่จะผ่าตัดใน 30 นาที
29. ชาวบ้านชอบคิดว่า ประเทศไทยกว่าจะเจอหมอได้ยากมากรอคิวนาน แท้จริงแล้วลองไปดูประเทศเจริญแล้วอย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น กว่าจะได้เจอหมอ (กว่าจะนัดคิวได้) อาจจะหายแล้วเป็นเดือน แถมเสียตังอย่างแพงด้วยขนาดมีประกัน
30. ชาวบ้านชอบคิดว่าประกันสุขภาพไม่ต้องทำหรอกใช้บัตรทองได้ ประกันสังคมได้ แท้จริงแล้วสิทธิ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เบิกได้ทั้งหมด แถมอาจต้องรอคิวตรวจพิเศษนาน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ staging ของโรค เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ได้