กาฬสินธุ์ - เที่ยวกาฬสินธุ์ตามใจฉัน

กาฬสินธุ์เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
กาฬ แปลว่า ดำ สินธุ์ แปลว่า น้ำ ; กาฬสินธุ์ แปลว่า น้ำดำ หมายถึงเมืองที่มีน้ำใสจนมองเห็นดินสีดำข้างใต้ที่อุดมสมบูรณ์
แม่น้ำสายนั้นคือ ลำน้ำปาว จากหนองหาน อุดรธานี มีหนองบัวแดง อำเภอกุมภวาปี อุดรธานี เป็นทางผ่านที่มีชื่อเสียง มาลงน้ำชีที่ อำเภอกมลาไสย

เป็นบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ที่ได้แวะเที่ยวเป็นร่องรอยของชุมชนในยุค ทวารวดี นั่นคือ ร่องรอยเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ชื่อเมืองฟ้าแดดสงยาง ตั้งอยู่ในอำเภอกมลาไสย
สง คือ ลักษณะของกลุ่มไม้ที่เป็นทิวแถว ยางคือต้นยาง
ชื่อฟ้าแดดสงยางมาจาก ตํานานเมืองฟ้าแดดสงยาง 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ในบริเวณเมือง มีการใช้หินตั้งใช้เป็นเสมาเพื่อบอกอาณาเขตสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เสมาสลักเป็นรูปสถูป รูปพระพุทธประวัติ เจดีย์ หรือธรรมจักร เรียก แผ่นหินพุทธบูชา

การพบหลักฐานวัฒนธรรมทวารวดีที่ฟ้าแดดสงยาง จำนวนมาก ทำให้เชื่อได้ว่าอาจเป็นเมืองศูนย์กลาง วัฒนธรรมทวารวดีที่สำคัญแห่งลุ่มน้ำชี
อาจนำมาเข้าโดยมอญโบราณ - ดูจากท่านั่งในภาพแกะสลัก จากเมืองสะเทิม สู่สุ่มน้ำมูล น้ำชี
หรือคนมอญโบราณอาจชนดั้งเดิมที่อยู่ในดินแดนนี้ก็เป็นได้

เสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง มีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 14-15
บางชิ้นถูกนำไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ส่วนใหญ่ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองฟ้าแดด ณ
วัดโพธิชัยเสมาราม ในเมืองฟ้าแดดสงยาง

ภาพดูได้สนุกเพราะมีคำบรรยายประกอบ 

เสมารูปมหาภิเนกษกรมณ์
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา มีนายฉันนะนั่งอยู่ข้าง ๆ

เสมารูปพิมพาพิลาป - ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
สาระสำคัญของรูปคือ
บุคคลตรงกลางด้านบน ทรงครองจีวรห่มเฉียง มีประภามณฑลหรือรัศมี อยู่ด้านหลังพระเศียร ประทับบนบัลลังก์ หมายถึง พระพุทธเจ้า
ทางด้านขวามีสตรี 1 คน กำลังสยายผมรองรับพระบาทของพระพุทธเจ้า เป็นสันนิษฐานว่าเป็นพระนางพิมพา
และสตรีอีกนางหนึ่งกำลังอุ้มเด็ก เด็กที่กำลังชี้นิ้วไปยังพระพุทธองค์ สันนิษฐานว่าเป็นพระราหุล
ทางด้านซ้ายของภาพมีภาพบุรุษสวมศิราภรณ์มงกุฎและเครื่องประดับนั่งอยู่ สันนิษฐานว่าเป็นพระเจ้าสุทโธทนะ
ด้านหลังเป็นภาพซุ้มอาคาร
มีภาพกำแพงเมืองอยู่ทางตอนล่างของภาพ - เกิดขึ้นในเมือง
กำลังสยายผมเช็ดพระบาท และให้เหยียบเป็นวัฒนธรรมของคนมอญ
ดังเพลงมะเมี๊ยะที่สยายผมไว้ใต้เบื้องบาทาเจ้าน้อยสุขเกษม
ท่านั่งพับเพียบเก็บเท้าของผู้ที่มีศักดิ์ต่ำกว่า
ท่าแขนข้างหนึ่งท้าวตัก แขนอีกข้างจับแขนข้างที่ท้าว เป็นท่านั่งของคนมอญ

ชาดกเรื่องต่างๆ
เนมิราชชาดก ท้าวสักกะหรือพระอินทร์ เชิญพระเนมิราช ไปแสดงธรรมให้เหล่าเทวดาบนสวรรค์

สรภังคชาดก
สรภังค แปลว่าผู้หักธนู
ภาพด้านล่าง พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นโชติปาละ เชี่ยวชาญการธนู ได้แสดงความสามารถต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าพรหมทัตต์
โดยใช้ศรดอกเดียวปัดป้องลูกศรพลธนูของพระเจ้าพรหมทัตต์ที่ยิงเข้ามาใส่ตัว
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี แต่ตัดสินใจออกบวช เพราะการเป็นเสนาบดีต้องทำบาป
ภาพด้านบนเมื่อโชติปาละออกบวชนามว่าสรภังคดาบส มีเครื่องสูงประดับ มีบุคคลเข้าสักการะ
ภาพนี้ก็มีท่านั่งแบบมอญเช่นกัน

พรหมนารทชาดก
พระพรหมนารทเสด็จจากเทวโลกแปลงเป็นบรรพชิต เอาภาชนะทองใส่สาแหรกข้างหนึ่ง คนโทแก้วใส่สาแหรกอีกข้างหนึ่ง
ใส่คานทานวางบนบ่าเหาะมาสู่ปราสาท

พระเตมีย์ใบ้
สารถีถือเสียมขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์

มโหสถชาดก

และที่ยังไม่ได้ตีความ

เสมารูปสถูป

พระธาตุยาคู
จากก้อนอิฐบอกว่า มีการก่อสร้างสามสมัย
ฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุม บันไดทางขึ้นสี่ทิศ มีปูนปั้นแบบทวารวดี
ฐานแปดเหลี่ยมถัดมา สร้างทับลงบนฐานเดิม - อยุธยา
องค์ระฆังและส่วนยอด >> เล็ก ๆ บนโน้น - สมัยรัตนโกสินทร์

พบแผ่นหินพุทธบูชาปักอยู่โดยรอบ สลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าประทับสมาธิ ใต้ต้นโพธิ

ภูริทัตชาดก
รูปบุคคลกำลังออกแรงคึงอะไรบางอย่างที่พาดอยู่บนบ่า
เป็นรูปพราหมณ์แบกนาค รอบจอมปลวกที่ทำเป็นลวดลายก้านต่อดอก

พระพุทธสถานภูปอ
อยู่ในเขต อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์


หลังพระพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพาน ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป เกรงว่าจะไม่เหมือนหรือไม่บังควร
จนผ่านไปราว 500 จึงมีการสร้างสังเวชนียสถานเป็นรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า

สังเวชนียสถาน
ลุมพินีวัน - ประสูติ อยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล
พ.ศ. 294 พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก
สัญญลักษณ์คือ รูปพระนางสิริมหามายาเหนี่ยวกิ่งสาละ,
พระพุทธองค์ทรงเดินบนดอกบัว 7 ดอก และชี้นิ้วขึ้น

พุทธคยา - ตรัสรู้ อยู่ในหมู่บ้านนิคมชื่อว่าอุรุเวลา
สัญญลักษณ์ตือ ต้นศรีมหาโพธิ์

สถูปสารนาถ - ปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
คำว่า อิสิปตนมิคทายวนเป็นคำบาลี แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง
ดังนั้น
สัญญลักษณ์ของปฐมเทศนา คือ รูปกวาง
สัญญลักษณ์ของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ธรรมจักร

สาลวโนทยาน - ปรินิพพาน อยู่ที่ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
สาลวโนทยาน คือ ป่าไม้สาละ
เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิง
สัญญลักษณ์ คือ พระแท่นใต้ต้นสาละ
หรือ
พระพุทธรูปปางไสยาสน์อาจได้รับอิทธิพลจากลังกา
ที่นิยมสร้างปางอิริยาบทต่าง ๆ ประทับ(นั่ง) พระนอน พระยืน พระลีลา

- พระไสยาสน์องค์ล่างที่ภูปอ แกะสลักอยู่ใต้เพิงหิน เชิงเขา
เป็นภาพที่แกะเป็นมิติเดียว - birdeye view


มีพุทธลักษณ์
ฝ่าเท้าเต็มเท้านิ้วพระบาทเรียงกันเกือบเสมอ เท้าคล้ายคนปกติและเท้าวางเหลือมกัน
นอนตะแคงขวา ราบไปกับพื้น เรียกว่า สีหไสยาสน์ คือท่านอนของพญาราชสีห์
อยู่บนตั่ง มีพระเขนย (หมอน)  รับพระเศียร โดยพระหัตถ์รองไว้ และหมอนรับพระบาท
เป็นภาพที่แกะเป็นมิติเดียว แม้องค์พระพุทธรูปเป็นมุมมองจากด้านหน้า แต่พระกรและตั่งทางด้านหลังเป็นมุมมองจากด้านบน

พระพุทธรูปทวารวดีมีลักษณะ
พระเกษาใหญ่ เวียนขวา มีพระอุษณียะ(ส่วนของพระเศียรที่นูนสูงขึ้นไป) ไม่มีเปลวพระเกษ มีรัศมีรอบพระเศียร
พระขนง (คิ้ว) รูปปีกกา พระเนตรโปน จมูกโด่ง
ครองผ้าห่มเฉียงแบบอินเดียใต้ แนบพระวรกาย เหมือนผ้าชุบน้ำเปียก สังฆาฏิจรดพระนาภี

พระไสยาสน์องค์บนที่ภูปอ
ทางขึ้น 462 ขั้น เดินนับไป เกินกว่านั้น

นอนตะแคงขวา และเท้าวางเหลือมกัน เรียกว่า สีหไสยาสน์ คือท่านอนของพญาราชสีห์ มีพระเขนยรับพระเศียรและพระบาท อยู่บนตั่ง - ขาตั่ง
เป็นภาพที่มีความลึกแบบทัศนียวิทยา - perspective view
เป็นมุมมองจากด้านหน้า อาจสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 หรือหลังจากนั้น
ดูจาก พระพักตร์ดูคล้ายกับพระพุทธรูประยะนี้ เช่น พระพักตร์วงรูปไข่ เปลวพระเกษรูปเปลวไฟ พระกรรณไม่ย้อย

ต่อจากนี้เดินวนรอบเขาไปอีกสองรอบถึงรอยพระพุทธหัตถ์

มีทีมที่ไปมาให้ถ่ายรูปจากมือถือ ทีมที่ไปมามาจากสระบุรี พาคุณยายมาไหว้พระเพราะอยากเดินได้คล่องเป็น *ภาพที่สุดประทับใจ*
พระท่านว่าคุณยายมาทุกปี อยากมาไหว้พระ หลานที่พามาและช่วยประตองคุณยาย เก่ง แข็งแรง และน่านับถือมาก


เป็นภาพที่พาเพื่อนรัก - ในภาพ - เที่ยวอิสานเมื่อ 20 /12/2560 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่