ประเด็น "สิกขาบทที่ต้องยกขึ้นสวดปาติโมกข์ กับการบิดเบือนของวัดนาฯ?" (กรณีพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล)

ประเด็น "สิกขาบทที่ต้องยกขึ้นสวดปาติโมกข์ กับการบิดเบือนของวัดนาป่าพง?"



ความแตกต่างระหว่างสิกขาบทที่ยกต้องสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน กับพระบัญญัติที่ต้องรักษาแต่ไม่ต้องยกขึ้นสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน

สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ต้องยกสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน (สวดปาติโมกข์) จะมีพระบาลีว่า 

"เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ" 

แปลเป็นภาษาไทยว่า 

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้"

ส่วนพระบัญญัติที่ต้องรักษาและปฏิบัติตามแต่ไม่ต้องยกขึ้นสู่อุเทศ (สวดปาติโมกข์)

ทุกกึ่งเดือน จะไม่มีพระบาลีดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น

เสขิยวัตร การนุ่งห่มเป็นปริมณฑล ต้องยกขึ้นสู่ปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ด้วยมีพระบาลีชัดเจนว่า

"เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ ปริมณฺฑลํ นิวาเสสฺสามีติ สิกฺขา กรณียา ฯ"

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

ซึ่งแตกต่างจากพระบัญญัติทั่วไปที่ไม่ต้องยกขึ้นสู่ปาติโมกข์ เช่น เรื่องการห้ามอุปสมบทกุลบุตรที่ไม่มีจีวร


"น ภิกฺขเว อจีวรโก อุปสมฺปาเทตพฺโพ โย อุปสมฺปาเทยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺสาติ ฯ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีจีวร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ต้องอาบัติทุกกฏ."


ดังนั้น สิกขาบทใดต้องยกสู่อุเทส โดยนำมาสวดในวันปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ให้พิจารณาตามนี้

ข้ออ้างของวัดนาป่าพงที่กล่าวว่า

เสขิยวัตรไม่มีปรับอาบัติบ้าง

(ปฏิเสธสิกขาบทวิภังค์ว่า ไม่ใช่พุทธวจนะ)

สิกขาบทที่ต้องยกสู่ปาติโมกข์จะต้องมีการปรับอาบัติไว้ เหล่านี้เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นทั้งสิ้น

สรุป สิกขาบทที่ต้องยกสู่ปาติโมกข์จะมีพระบาลีว่า "เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ"

แปลเป็นภาษาไทยว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้" 

โดยไม่จำต้องคำนึงว่าสิกขาบทนั้นจะมีกี่ข้อก็ตาม ต้องยกขึ้นสู่อุเทสทั้งสิ้น


แหล่งข้อมูล : http://watnaprapong.blogspot.com/2015/12/blog-post.html?m=1
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่