JJNY : ชี้คนไม่อยากมีลูกเพราะฝีมือรัฐ│น้ำมันดิบพุ่งสุดรอบ 10 ด.│ห้วยน้ำเค็มเกือบแห้งขอด│ยูเครนยึดหมู่บ้านคืนจากรัสเซีย

ศ.ดร.ปิ่นแก้ว แนะหมอชลน่านอ่าน ‘ครรภ์แห่งชาติ’ จ่อส่งให้ ชี้คนไม่อยากมีลูกเพราะฝีมือรัฐ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4185619
 
 
ศ.ดร.ปิ่นแก้ว แนะหมอชลน่านอ่าน ‘ครรภ์แห่งชาติ’ จ่อส่งให้ ชี้คนไม่อยากมีลูกเพราะฝีมือรัฐ
 
สืบเนื่องกรณี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวในตอนหนึ่งถึงปัญหาอัตราการเกิดน้อย โดยระบุถึงการที่คนไทยไม่อยากมีลูก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่กำลังบิดเบี้ยว กระทั่งเกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 กันบายนที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กถึงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวว่า หาก นพ.ชลน่านได้อ่านหนังสือ “ครรภ์แห่งชาติ : รัฐเจริญพันธุ์ ร่างกาย และเพศวิถี” น่าจะเข้าใจมากกกว่าการกล่าวโทษประชาชนคนไทยเรื่องการเจริญพันธุ์
 
ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว ระบุว่า การที่คนไทยไม่อยากมีลูกเป็นผลพวงโดยตรงมาจากฝีมือของรัฐไทยทั้งสิ้น ที่ทั้งส่งเสริม ทั้งบังคับ ทั้งปลูกฝังอุดมการณ์ที่ควบคุมมดลูกผู้หญิงไม่ให้ผลิตมาเป็นเวลานานกว่าสองทศวรรษ จนทำให้ไทยมีอัตราการเกิดทดแทนของประชากรที่ต่ำจนวิกฤต และบิดเบี้ยว จนแม้แต่นักประชากรศาสตร์ ยังออกมายอมรับว่า พวกเขาเร่งรัดการคุมกำเนิดมากจนเกินไป สิ่งที่นายแพทย์ชลน่านไม่พูดถึง คือ คนไทยชนชั้นกลางจำนวนไม่น้อย ที่อยากมีลูก แต่มีไม่ได้ และอยากใช้วิธีการตั้งครรภ์แทน รัฐก็เข้าไปแทรกแซง สร้างข้อห้ามสารพัด อ้างศีลธรรม ไม่ยอมให้คนเหล่านี้ได้มีลูกด้วยวิธีการตั้งครรภ์แทนได้ง่ายๆ
 
ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว ระบุด้วยว่า ถ้าอยากให้การเจริญพันธุ์เลิกบิดเบี้ยว ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นจากเลิกยุ่งกับมดลูกของเพศหญิง โดยตนจะส่งหนังสือไปให้นายแพทย์ชลน่านอ่านด้วย
 
ทั้งนี้ หนังสือครรภ์แห่งชาติ จัดพิมพ์โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อ พ.ศ.2566
 
เนื้อหาประกอบด้วย 5 บท ดังนี้
 
บทที่ 1 บทนำ
มโนทัศนว่าด้วยอำนาจและการเมืองชีวญาณกับการเมืองว่าด้วยการเจริญพันธุ์
รัฐกับการควบคุมการเจริญพันธุ์ในไทย
 
บทที่ 2 จากครรภ์อารยะสู่ครรภ์เศรษฐกิจ : การสร้างชาติและชาตินิยมประชากร
– การประทะประสานระหว่างจักรวาลวิทยาพื้นบ้านกับการแพทย์ตะวันตกในการจัดการครรภ์
– การสร้างครรภ์อารยะ : กำเนิดการผดุงครรภ์กับการ “รักษา” ชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐสมัยใหม่
– สำมะโนประชากรในฐานะอำนาจชีวญาณ
– การเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อการสร้างชาติในสมัยรัชกาลที่ 7
– ครรภ์ในฐานะทรัพยากรเศรษฐกิจ : ชาตินิยมประชากรกับการสร้างชาติในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม
 
บทที่ 3 ครรภ์ในฐานะแหล่งความยากจน : การพัฒนาในยุคสงครามเย็น การลดการเจริญพันธุ์และการครองอำนาจนำของอุดมการณ์การวางแผนครอบครัว 
– กำเนิด “ปัญหาประชากร” โลกกับการเมืองของนโยบายควบคุมการเกิด (Anti-Natalist Policy)
– สหรัฐอเมริกากับการสนับสนุน “ครรภ์เพื่อการพัฒนา” ในยุคสงครามเย็นของไทย
– ครรภ์เพื่อการพัฒนา กับปฏิบัติการของขบวนการวางแผนครอบครัวในไทย
– ผู้หญิงกับการเมืองของความต้องการที่ไม่สัมฤทธิ์ของการคุมกำเนิด
– การระเบิดภายในของประชากร (Population Implosion) และการย้อนกลับสู่ครรภ์เพื่อการผลิต
 
บทที่ 4 ครรภ์กับการเมืองของศีลธรรม : จากการทำแท้งสู่การตั้งครรภ์แทน
– การทำแท้ง อำนาจชีวญาณ และการเมืองของศีลธรรมในการควบคุมกำกับการเจริญพันธุ์
– การถอดการเมืองออกจากศีลธรรมกับการสร้างพื้นที่ที่สามของครรภ์ของผู้หญิง
– การต่อรองกับครรภ์ศีลธรรมอันยาวนาน
– การตั้งครรภ์แทนข้ามชาติ : ศีลธรรม งาน กับแรงงานการตั้งครรภ์แทน
– อุตสากรรมการตั้งครรภ์แทนในไทย
– เครือข่ายการรับตั้งครรภ์แทนข้ามชาติ
– ตัวกลาง นายหน้า และล่าม ในเครือข่ายธุรกิจการตั้งครรภ์แทน
– แรงงานรับจ้างตั้งครรภ์แทน : ความเสี่ยงและศีลธรรมของการตั้งครรภ์แทน
– แรงงานใกล้ชิด (Intimate Labor) และการจัดการความรู้สึกของหญิงรับตั้งครรภ์แทน
– ผู้หญิง รัฐ กับข้อถกเถียงในอุตสาหกรรมการตั้งครรภ์แทน


 
น้ำมันดิบพุ่งสุดรอบ 10 เดือน กังวลอุปทานตึงตัว ลุ้นขายปลีกไทยเย็นนี้
https://www.matichon.co.th/economy/news_4185635

น้ำมันดิบพุ่งสุดรอบ 10 เดือน กังวลอุปทานตึงตัว ลุ้นขายปลีกไทยเย็นนี้
 
รายงานข่าวจาก บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) แจ้งว่า ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนและคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้นกว่า 26% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นมากสุดนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซียและยูเครน หลังตลาดกังวลอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตของซาอุดีอาระเบียที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และการปรับลดการส่งออกของรัสเซียที่ 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปีนี้

ประกอบกับเศรษฐกิจจีนในเดือน ส.ค. 66 ปรับตัวดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า หลังรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น 4.5% จากปีก่อนหน้า สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ปรับขึ้น 3.7% ขณะที่ยอดค้าปลีกปรับเพิ่มขึ้น 4.6% สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ปรับขึ้น 2.5%
 
รวมทั้งปริมาณการกลั่นของโรงกลั่นในจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบประวัติการณ์ที่ 15.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากปีก่อนหน้า หลังความต้องการใช้ในประเทศและการส่งออกเพิ่มขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สองและนับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 65 โดย Baker Hughes รายงานปริมาณการขุดเจาะเพิ่มขึ้น 9 แท่น สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 15 ก.ย.
 
ด้านราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์
  
ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานในฝั่งตะวันตกยังคงตึงตัวเนื่องจากปัญหาการปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉินของโรงกลั่นหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
 


เข้าขั้นวิกฤต อ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง เหลือไม่ถึงครึ่ง ห้วยน้ำเค็ม หนักสุด เกือบแห้งขอด กระทบชาวบ้าน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7871341

นครราชสีมา วิกฤต อ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง เหลือไม่ถึงครึ่ง ห้วยน้ำเค็ม หนักสุด เกือบแห้งขอด กระทบชาวบ้าน ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และการเกษตร
 
18 ก.ย. 66 – สถานการณ์น้ำ จังหวัดนครราชสีมา ที่เก็บกักในอ่างเก็บน้ำทั้ง 27 แห่ง เหลือน้ำเก็บกักรวมอยู่ที่ 483.63 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 39.75% เท่านั้น  และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 421.15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 36.49 %
 
โดยแยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง, อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง, อ่างเก็บน้ำมูลบน และอ่างเก็บน้ำลำแชะ ซึ่งพบว่า ทั้ง 4 แห่ง เหลือน้ำเก็บกักเฉลี่ย 359.79 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 40.63 % แต่เป็นน้ำใช้การได้ 322.35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.01 % เท่านั้น
ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง เหลือน้ำเก็บกักเฉลี่ย 123.84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.39 % แต่เป็นน้ำใช้การได้ 98.80 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 32.27 % ซึ่งในจำนวน 23 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง พบว่า มีอยู่ 7 แห่งที่ปริมาณน้ำภายในอ่างฯ เหลือน้อยมาก ไม่ถึง 30%
 
สำหรับ อ่างเก็บน้ำที่เหลือน้ำน้อยที่สุด เข้าขั้นวิกฤต คือ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเค็ม ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหญ้าคา หมู่ 2 ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ 749 ไร่
 
โดยปริมาณน้ำปัจจุบัน เหลืออยู่แค่ 139,000 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 20.72% จากความจุ 670,000 ลูกบาศก์เมตร แต่เป็นน้ำใช้การได้แค่ 27,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 4.83 % เท่านั้น
 
เนื่องจากในพื้นที่มีฝนตกน้อยและมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ น้อยมาก แม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าฝนก็ตาม น้ำในอ่างห้วยน้ำเค็มตอนนี้ จึงเกือบแห้งขอด ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มได้รับผลกระทบ ขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค-บริโภค และใช้ในการเกษตร
ซึ่งต่างจากสภาพน้ำในอ่างฯ ของปี 2565 ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่มีปริมาณน้ำเกือบล้นความจุอ่างฯ โดยมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 631,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 94.05 % และเป็นน้ำใช้การได้ 519,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 92.86 %
 
ผู้นำในท้องที่และเจ้าหน้าที่ชลประทาน ต้องเร่งระดมชาวบ้านช่วยกันขุดดินทำคันอ่าง กั้นน้ำที่ไหลมาจากลำห้วยธรรมชาติที่ไหลเข้ามาลงในอ่างอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับเร่งพร่องน้ำออก เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ป้องกันไม่ให้อ่างฯ แตก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่