จักรยานของ Fernando Traverso

 .

.
Fernando Traverso วาดภาพจักรยาน
Credi t: Ciclosfera
.
.

ตลอดสายของถนนโรซาริโอ Rosario
เมืองในจังหวัดซานตาเฟ Santa Fe
จะเห็นภาพจักรยานหลายร้อยภาพ
บนกำแพง ฝาผนังบ้าน ของชาวบ้าน
จักรยานแต่ละคันแสดงความเคารพ/รำลึกถึง
เหยื่อการปกครองแบบเผด็จการทหาร
ของอาร์เจนตินา ที่ทำสงครามสกปรก

โครงการนี้เริ่มขึ้นในปี 2001
โดย Fernando Traverso
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและนักเคลื่อนไหว
ทางการเมืองชาวอาร์เจนตินา

ท่านเริ่มต้นโครงการนี้
ด้วยการพ่นลายฉลุจักรยานขนาดเท่าของจริง
29 ภาพบนผนัง หน้าต่าง ประตู
และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วเมือง Rosario (บ้านเกิด)
เพื่อระลึกถึงวัย 20 ปีของท่านที่ผ่านมา
เพื่อน 9 คนของท่านที่ถูกลักพาตัว/สังหารทิ้ง
ระหว่างการก่อการร้ายที่รัฐเผด็จการสนับสนุน
ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1974 - 1983 (9 ปี)
(ยุคสงครามสกปรกในอาร์เจนตินา
มีทั้งรัฐทำขึ้นมาเอง แล้วโยนความผิดให้อีกฝ่าย)

จักรยานมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านรัฐบาล
เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ใช้จักรยานเป็น
พาหนะหลักในการขนส่ง
(ในการรบในเมืองกับทหาร
แต่แพ้เพราะการทรยศกันเอง ไร้ยุทธวิธีรบ
กับบาทหลวงคาบข่าวสารภาพบาปคนในบ้าน
ที่มาโบสถ์ ไปบอกให้ทางการ/ทหารทราบ
แบบลาว เวียตนาม เขมร ในอดีต)

Fernando Traverso เริ่มสังเกตเห็นว่า
เพื่อนของท่านเริ่มหายตัวไป
บ่อยครั้งที่จักรยานของเพื่อนจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การเห็นจักรยานที่ถูกทิ้งมักเป็นสัญญาณแรก
ที่บ่งบอกว่า เจ้าของจักรยานหายตัวไปแล้ว

ภาพจักรยานเหล่านี้บนถนนในเมือง Rosario
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่ถูกลักพาตัวไป
และหายสาบสูญไปตลอดกาล
เพราะยังไม่มีใครได้พบศพคนเหล่านี้

เกือบ 25 ปีต่อมา
Fernando Traverso ตัดสินใจสร้างอนุสรณ์นี้
ทำให้ถาวรยิ่งขึ้นด้วยการพ่นสีรูปจักรยาน
บนอาคารต่าง ๆ ทั่วเมือง Rosario

ทุกวันนี้ มีจักรยาน 350 คันประดับอยู่ทั่วเมือง
เพื่อรำลึกถึง 350 คนในเมือง Rosario ที่หายไป
คาดว่ามีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายราว 30,000 คน
ทั่วทั้งประเทศในช่วงการปกครอง
แบบเผด็จการทหารของอาร์เจนตินา

" สิ่งที่สวยงามเกี่ยวกับโครงการนี้
คือ ผมเริ่มต้นคนเดียว แต่ไม่นานต่อมา
บรรดาเพื่อนและครอบครัวต่างก็เข้าร่วม
เรื่องราวโดยรวมถูกรวบรวมขึ้นมา
และ 4 ปีผ่านไปจนกระทั่ง
เราได้สร้างผลงานเหล่านั้น 350 ภาพ

เบื้องหลังภาพนี้คือ เรื่องน่าเศร้ามาก
แต่แนวคิดเหล่านี้ชัดเจน
เพื่อดึงดูดความสนใจของใครก็ตาม
ที่เห็นภาพเหล่านี้บนทางเท้า อาคาร

จักรยานเป็นพาหนะทางเลือก
ผมขี่จักรยานมาตลอดชีวิต
ผมอายุเกือบ 70 ปีแล้วและยังใช้มันอยู่
เพราะมันช่วยให้ผมรู้จักเมืองนี้ดีขึ้น
ทำให้ผมหลงรักเมืองนี้
และเพราะมันเป็นทุกอย่าง
ทึ่ให้ความทรงจำที่สวยงาม /(ความเศร้า)
ในวัยเยาว์ของผมกลับคืนมา "
Fernando Traverso รำพึงถึงเรื่องนี้
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3sb56At
https://bit.ly/3DSKtvd
https://bit.ly/45nYQDF
.
.
.


.
© Pruxo / Wikimedia
.
.


.
© Ciclosfera
.
.


.
© Ciclosfera
.
.


.
Canorthrop / Wikimedia
.
.


.
Bici banner
.
.


.
Fernando Traverso
.
.

เรื่องเดิม
.
หนี้เลือดรอการค้นพบที่อาร์เจนตินา
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Estela Carlotto And The Grandmothers 
Of The Plaza De Mayo
.
.


เรื่องย่อ

Estela Carlotto หัวหน้ากลุ่ม
Grandmoters of Plaza de Mayo
ใช้เวลาประท้วงกับเรียกร้องนานกว่า 30 ปี
ซึ่งเธอโชคดีมากได้หลานชายคืนจากพ่อแม่บุญธรรม
ที่ทหารคณะรัฐประหารเผด็จการฟาสซิสต์
ในอดีตได้ฆ่าพ่อฆ่าแม่หลานชายเธอทิ้ง 
แล้วพรากลูกไปให้คนอื่นเลี้ยงดู
เพื่อความสะใจ/เป็นสัญญลักษณ์ชัยชนะเด็ดขาด
ของคณะรัฐประหารฟาสซิสต์ขวาจัด
ที่มีต่อฝ่ายต่อต้านนิยมฝ่ายซ้ายในยุค 1970
ยุคสงครามสกปรกในอาร์เจนติน่า

ข้อมูลเพิ่มเติม

รัฐฆาตกร: กรณีศึกษาสงครามสกปรกในอาร์เจนตินาระหว่างปี ค.ศ. 1976-1983
.
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

จักรยานในอดีต ทั้งของนอกที่นำเข้ามา
กับไทยทำที่ใช้ท่อน้ำเชื่อมขึ้นโครงจักรยาน
ทนถึก แข็งแรงมาก ในการบรรทุกของต่าง ๆ
ที่วางของข้างหลังสามารถบรรทุกหมูใส่ข้อง
น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัมไปมาได้สบาย ๆ

กองทัพมด(พวกขนของหนีภาษีปาดังเบซาร์)
ในอดีตก็ใช้จักรยานในการขนของพวกนี้
แบบมีจำนวนหลายร้อยคันในการขนของ
ทำให้ล่อเป้ายอมให้จับบางส่วนเป็นส่วนน้อย
เพราะแค่ยึดของกลาง แต่ปล่อยคน/จักรยาน
แบบให้นายด่าน ตำรวจ จะได้มีผลงานบ้าง
แต่ของส่วนใหญ่/จักรยานส่วนใหญ่
หลบหนีไปยังจุดหมายปลายทางได้

ในอดีต จักรยานจัดว่าเป็น ยุทธปัจจัย
การซื้อขายต้องมีทะเบียนคนซื้อคนขาย
ต่อมา จักรยานจีนแดง ไทยทำ มาตีตลาด
กฎหมายฉบับนี้เลยเชย/ล้าสมัยไปในที่สุด
.
.

นาฬิกาข้อมือก็เคยเป็นยุทธปัจจัย
ในยุคสงครามคนไทยฆ่ากันเอง
ระหว่างพรรคคอมมี่ไทยกับร้าบานไทย
นาฬิกาใช้นัดหมายเวลาในการรบกองโจร

เมื่อนาฬิกาข้อมือแพงและหายากในยุคนั้น
นักรบกองทัพปลดแอกประชาชน
แห่งประเทศไทย (ทปท.) พรรคคอมมี่
เลยใช้เสียงโปรดเตรียมเทียบเวลา 20.00 น.
กับเวลาประกาศปิดสถานีวิทยุประจำวัน
ในการบุกเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่าง ๆ
จนสถานที่ราชการต้องหรี่เสียงวิทยุ
และขอความร่วมมือบ้านเรือนใกล้เคียง
อย่าเปิดวิทยุในเวลาดังกล่าวด้วย
เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
.
.

ภาคใต้ก็มี อนุสรณ์สถานถังแดง
สถานที่ตั้งบ้านเกาะหลุง หมู่ 1 ต.ลำสินธุ์
กิ่ง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
ผลจากการปราบปรามรุนแรงของรัฐเผด็จการ
เข่นฆ่าชาวบ้าน ถีบลงเขา เผาในถังแดง
ถังบรรจุน้ำมัน 200 ลิตร จุดไฟเผาทั้งเป็น
จำนวนคนตายในถังแดงมากกว่า 200 ศพ
และผู้ต้องสงสัยขบวนการคอมมี่ 3,008 ศพ

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ชาวบ้านได้ยื่นขอความเป็นธรรมเรื่องนี้
เป็นข่าวใหญ่และดังมากในยุคนั้น
ทางทหารยอมรับว่ามีเหตุการณ์นี้จริง
แต่ไม่มีคนผิด/ต้องรับผิดชอบแต่ประการใด

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
การก่อการร้ายและการรบระหว่างคนไทย
ก็ค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น

หลังปี 2521
จีนแดงตัดท่อน้ำเลี้ยงคอมมี่ไทย
เพราะคิดว่าทำการค้า ดีการทำการรบ
ขณะเดียวกันคอมมี่ไทยเลือกแนวคิดคอมมี่จีน
กลายเป็นว่า คอมมี่ไทยเลือกผิดข้าง
จึงถูกขับไล่ออกจากลาว เวียดนาม เขมร
ที่สนับสนุนแนวคิดคอมมี่รัสเซีย
เลยหมดสถานที่พักพิง/หลบซ่อนอีกต่อไป
ต้องกระจัดกระจายหลบเข้ามาในไทย
เลยถูกล้อมปราบอย่างหนักในปี 2521-2522
กองกำลังทปท. จึงอ่อนล้าและเกิดความขัดแย้ง
ภายในพรรคคอมมี่แตกหักกันเองด้วย
คอมมี่หลายคนจึงทะยอยมอบตัว/ยอมจำนน

หลังคำสั่ง 66/2523 ของป๋าเปรม
ทำให้เหตุการณ์ก่อการร้ายสงบลง
เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์คนในชาติ
โดยมีนโยบายไม่มีใครผิด ไม่มีโทษอาญาทุกคน
ทั้งฝ่ายของรัฐบาล และฝ่ายของคอมมี่
ที่เคยยิงกัน ทารุณกรรมกัน ปล้นทรัพย์สินรัฐ

ในปี 2538
ชาวบ้านจึงรวบรวมเงินสร้างอนุสรณ์สถานนี้
และนัดหมายวันจัด งานรำลึกถึงถังแดง
ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม 2566

จขกท. เคยไปเยี่ยมชมตอนเย็นใกล้โพล้เพล้
เดินชมอยู่คนเดียว ก่อนรีบออกมา
เพราะสยองกับเหตุการณ์ในอดีต
แต่ลึก ๆ จขกท. ก็กลัวผีเหมือนกัน
.
.

.

.
.


ญี่ปุ่นบุกสยามช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
มีการกวาดต้อน/ยึดจักรยานชาวบ้าน
ตามที่ได้ข้อมูลจากจารชนในพื้นที่ต่าง ๆ
แบบโกโบริมีอาขีพหมอฟัน ช่างภาพ ช่างยนต์
(มียกเว้นไม่ยึดจักรยานของทางราชการ)

จักรยานที่ถูกยึดทั้งฝั่งสยาม/ฝั่งนายู
ทหารญี่ปุ่นนำไปใช้ในการรบกับอังกฤษ
เจ้าอาณานิคมนายู(มลายู) ในตอนนั้น

ญี่ปุ่นขนทหารและอาวุธไปตามทางรถไฟ
ทิศเหนือนายูจดใต้ที่ซิงลี่(สิงคโปร์)
ขนาดรางรถไฟนายูเท่ากับของสยาม
เชื่อมกับสยามที่ปาดังเบซาร์ สุไหงโกลค
เดินทางไปเหนือสุดของสยามทางรถไฟได้

ซิงลี่ที่ตั้งรับ/รอเรือรบอังกฤษมาจากอินเดีย
แต่เรือรบมาไม่ทันตามนัด เลยแพ้ในที่สุด
เพราะคาดว่าญี่ปุ่นคงใช้เวลาร่วมเดือน
กว่าจะเดินเท้าราว 800 กิโลเมตรถึงซิงลี่

แต่จักรยานเปลี่ยนแผนการรบครั้งนี้
เพราะทหารญี่ปุ่นใช้เวลาอาทิตย์เศษ
เดินทางด้วยจักรยาน แบบผลัดกันขี่ ผลัดกันจูง
ขี่กันวันละราว 100 กิโลเมตรเศษ

ถ้าทหารเดินเท้าพร้อมอาวุธ/ยุทธปัจจัย
จะทำเวลาได้ราว 30-40 กิโลเมตร/วัน
ถัาภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนก็ราว 50 กิโลเมตร
ตามข้อมูลรายวิชานักศึกษารักษาดินแดน(รด)

หมายเหตุ

Tour de France มีการแข่งขันขี่จักรยาน
ผ่านแนวทางเทือกเขา Pyrenees กับ Alps
สิ้นสุดปลายทางที่ Champs-Élysées ใน Paris
ใช้เวลาแข่งขันแบบจับเวลาบุคคล/ทีมจักรยาน
มี Stages 21 วัน (ไม่รวมวันหยุด 2-3 วัน)
ระยะทางรวม 3,500 กิโลเมตร (2,200 ไมล์)
เฉลี่ยต้องขี่จักรยานวันละ 166.6 กิโลเมตร
.
.

เพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งที่พัทลุง
พี่แกเสพติดการขี่จักรยานไปกลับจากบ้าน
ไปถนนสายเขาพับผ้า(ตรัง) จนสุดสาย
เฉลี่ยวันละ 40 กิโลเมตร ทำมา 20 ปีแล้ว
(40x200)x20 = 160,000 กิโลเมตร
(200 วัน/ปี เผื่อวันหยุด ป่วย มีธุระส่วนตัว)

แกบอกเจอวัยรุ่นชอบโชว์/โม้ว่า
จักรยานของตนรุ่นนี้แสนกว่าบาทถึงหลายแสน
ส่วนจักรยานของแกรุ่นแรก ๆ ที่คนยังไม่ฮิต
แต่จัดว่าแพงในยุคนั้นราคา 30,000 กว่าบาท

แกบอกแรก ๆ แกก็อาย/เขินที่ขับของราคานี้
แกไม่ยอมเปลี่ยน/ซื้อของใหม่ เพราะคันนี้คู่ใจ
ทั้งซ่อมทั้ง Modifly จนถูกใจมากแล้ว

วันหนึ่ง แกเลยนึกขึ้นมาได้ คุยทับวัยรุ่นเลย
จักรยานคันนี้แสนกว่าเหมือนกัน
วัยรุ่นต่างหัวเราะคิดว่า แกโม้/ไม่รู้ราคารถ
แกบอกว่า แค่แสนกว่ากิโลเอง
ตั้งแต่นั้นวัยรุ่นเลิกโม้เลิกคุยราคารถจักรยาน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่