กำแพงเมืองนครราชสีมาหายไปใหน ใครเป็นคนรื้อกำแพงเมือง?

ลุ่มแม่น้ำมูลในอดีตเป็นแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นเมืองตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาตร์  ในสมัยสุโขทัยนักประวัติศาตร์ นักโบราณคดีหลายคนเชื่อว่าเมืองราชของพ่อขุนผาเมืองก็คือเมืองนครราชหนึ่งในเมืองที่ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำมูล  เมืองในแถบนี้เกี่ยวข้องเป็นหัวเมืองสำคัญของอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จเจ้าสามพระยา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระนารายได้ย้ายเมืองนครราชและเมืองแขกมาตั้งเป็นเมืองโคราชสีมา ณ ที่ตั้งเมืองนครราชสีมาปัจจุบัน   เนื่องจากสมัยสมเด็จพระนารายมีการติดต่อกับชาติตะวันตกแล้วและการทำสงครามในยุคนั้นเน้นใช้ปืนเข้าโจมตี  สมัยสมเด็จพระนารายจึงให้วิศวกรชาวฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมืองมีการสร้างกำแพงเมืองซึ่งเป็นแบบเดียวกับกำแพงเมืองของยุโรปที่แข็งแรงมากตัวกำแพงสร้างด้วยอิฐหนาถึง 3 เมตรยาว 1.7 กิโลเมตร กว้าง 1 กิโลเมตร มีป้อมปราการบนกำแพงเมืองเป็นระยะ  กำแพงเมืองนคราราชสีมาจึงเป็นกำแพงเมืองที่แข็งแรงกว่าเมืองใดๆ ในอุษาคเนย์ยากที่จะเข้าโจมตี  สมัยสมเด็จพระเพทราชา จะปราบกบฏในเมืองโคราชต้องล้อมเมืองอยู่นาน 2 ปีเพราะเข้าโจมตีไม่ได้ ต่อมาจึงใช้ยุทธวิธีโดยการใช้ว่าวใส่ดินระเบิดแล้วบังคับให้ว่าวลอยไปตกในเมืองประกอบกับในเมืองโคราชไม่เหลือเสบียงจึงสามารถเอาชนะได้

กำแพงเมืองนครราชสีมาที่แข็งแกร่งไม่มีใครรู้ว่าถูกรื้อตั้งแต่เมื่อใดสมัยใด เมื่อล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจโบราณวัตถุมณฑลนครราชสีมากำแพงเมืองก็เหลือแต่ซากแล้ว จะบอกว่าเจ้าอนุวงค์เป็นผู้สั่งรื้อก็ไม่น่าใช่เพราะกำแพงเมืองที่แข็งแรงขนาดนั้นหากจะรื้อต้องใช้เวลานานเป็นปี หากให้ทหารรื้อทหารจะเหนื่อยตายแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทันรบเจ้าอนุวงค์น่าจะรื้อแค่บางส่วนเท่านั้น   อีกอย่างเมื่อกำแพงเมืองถูกรื้อแล้วอิฐมากมายหายไปไหนเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบ


ภาพซากกำแพงเดิมของเมืองนคราชสีมา ที่ขุดพบบริเวณสวนรัก
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
กำแพงเมืองที่ก่ออิฐถือปูนถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอันนี้แน่นอนครับ แต่หลังจากสมเด็จพระเพทราชาส่งกองทัพมาตีนครราชสีมาแล้ว ก็ไม่ได้มีบันทึกการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษากำแพงเมืองอีกเลย ผมเข้าใจว่ามันเริ่มทรุดโทรมและเสียหายตามกาลเวลาเรื่อยมา ไม่รวมการถูกบุกรุกโดยชาวบ้านและกิจกรรมอื่นๆอีก

พอเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ ป้อมและหอรบถูกทำลายไปบางส่วน (เนื่องด้วยเวลาจำกัด คิดว่ากองทัพลาวน่าจะเน้นทำลายหอรบและป้อมที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากกว่าไปไล่รื้อกำแพง) ซึ่งเมื่อกองทัพสยามยึดเมืองกลับมาก็มีแผนซ่อมแซมหอรบและป้อมต่างๆทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 ครับ แต่ด้วยอาจจะขาดงบประมาณหรือไม่ได้ทำต่อเนื่อง พอตกถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กำแพงเมืองและหอรบส่วนใหญ่ก็อยู่ในสภาพทรุดโทรมมากๆ

สมัยรัชกาลที่ 5 เคยมีการขึ้นไปปรับปรุงเมืองนครราชสีมาครั้งหนึ่ง ทั้งซ่อมกำแพงจุดที่ทลายลงมา ขุดสนามเพลาะรอบนอกและขยายคูเมืองที่ตื้นเขิน เพื่อวางแผนอาจจะใช้นครราชสีมารับศึกหากกองทัพฝรั่งเศสอินโดจีนบุกเข้ามาจากทางภาคอีสานจริงๆ แต่น่าจะดำเนินการอยู่ไม่นานก็เลิกไปเพราะสงบข้อพิพาทกับฝรั่งเศสได้

ตัวกำแพงเมืองน่าจะค่อยๆถูกรื้อในยุครัชกาลที่ 6-7 เพื่อขยายเมืองออกไป ไม่ว่าจะโดยเทศภิบาลหรือชาวบ้านเองก็ตาม แนวกำแพงสุดท้ายถูกรื้อไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นานครับ

ถ้าให้สรุปก็คือ คนรื้อกำแพงเมืองส่วนใหญ่คือคนรุ่นหลังยุครัชกาลที่ 5 เพื่อขยายตัวเมืองออกไปจากพื้นที่เดิม และกำแพงเดิมก็มีสภาพไม่ได้สมบูรณ์มากอยู่แล้ว บางจุดก็พังทลายตามกาลเวลา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่