Voyage d'exploration en Indo-Chine effectué pendant les années 1866, 1867 et 1868

หนังสือที่ว่าด้วยความสวยงามของบรรยากาศที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้เจริญที่ชอบไปรุกรานคนอื่นได้พบเจอ ได้ถ่ายทอดไว้ในหนังสือเล่มนี้   ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คือภาพวาดของศิลปินที่วาดประกอบเนื้อหาที่เขาพบเจอตลอดการสำรวจเส้นทางในดินแดนตามลุ่มน้ำโขงไปยังยูนนาน แน่นอนว่าทุกหนังสือเอกสารในอดีตที่ไม่ได้มีการวิจัยที่มีการควบคุมตัวแปร มันมักจะเป็นข้อความแบบ จริง 7 เท็จ 3  ซึ่งเนื้อหาบางส่วนก็สามารถที่จะเอาเป็นความรู้ต่อยอดเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมได้  ซึ่งก็ถือว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง 

หนังสือฟรานซิส การ์นิเยร์ถูกกระทรวงกองทัพเรือควบคุมดูแลเรื่องการเผยแพร่เรื่องราวของการเดินทางนี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เล่ม แผนที่ 2 เล่ม ฉบับดั้งเดิมที่ตีพิมพ์โดย Librairie Hachette ในปี พ.ศ. 2416 งานภาพประกอบด้วยภาพพิมพ์แกะลายไม้(สีขาวดำมีลวดลายวิจิตร)จำนวนมากประกอบข้อความมากกว่า 250 ภาพ และแผนที่ลงสี 10 ภาพ  ก่อนที่ภาพพิมพ์แกะลายไม้ จะถูกนำมาถ่ายทอดลงเป็นภาพสีในยุคหลังๆ

Voyage d'exploration en Indo-Chine effectué pendant les années 1866, 1867 et 1868  อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ของไทย
https://www.biodiversitylibrary.org/item/122019#page/494/mode/1up
ว่าด้วยเรื่องการสำรวจอินโดจีนของทหารกองทัพเรือฝรั่งเศสเพื่อล่าอาณานิคม ระหว่างปี พ.ศ. 2409 2410 และ 2411
โคชินไชน่า (เวียดนาม ลาว เขมรตก)เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพฝรั่งเศสเมื่อ วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1887
 

ฉบับตีพิมพ์ในยุคหลังๆ


GARNIER, Marie Joseph Francis (1839-1873)

ร้อยโท เดอ วาซโซฟรานซิส การ์นิเยร์ เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2382 เสียชีวิต 21 ธันวาคม พ.ศ. 2416 (อายุ 34 ปี)(1839-1873)
https://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Garnier

ในเนื้อหาหนังสือเล่มนี้เป็นการสำรวจลุ่มน้ำโขงที่ดำเนินการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2409  ภายใต้คำสั่งของกัปตันเรือฟรีเกต ชื่อ Ernest Doudart de Lagrée ฉบับแรกถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2416(ค.ศ.1873)  ประกอบด้วยกัน 2 เล่ม ที่เสริมด้วยแผนที่ประกอบ 
ตัวอย่างแผ่นที่ในเล่ม

การพิมพ์ครั้งแรกนี้จำกัดไว้ที่ 300 เล่ม แผนที่มีขึ้นหลังจาก ที่Garnier นำมาจากภาพร่างโดย Louis Delaporte ศิลปินในคณะเดินทางไปด้วย มุมมองในภาพเหล่านี้ประกอบกับภาพประกอบที่สวยงามในเล่ม ก่อให้เกิดภาพบันทึกที่มีคุณค่าและกว้างอย่างน่าทึ่งของอินโดจีนโดยรวม โดยภาพเมืองหลวงโบราณของลาวที่เวียงจัน และนครวัดในกัมพูชานั้นน่าประทับใจเป็นพิเศษให้กับGarnier เป็นส่วนหนึ่งของคณะสำรวจฝรั่งเศสภายใต้การนำของกัปตัน Ernest Doudard de Lagrée ซึ่งออกเดินทางจากไซ่ง่อนในปี 1866 เพื่อสำรวจหุบเขาของแม่น้ำโขงด้วยความหวังว่าจะพบเส้นทางเดินเรือไปยังจีนตะวันตกเฉียงใต้ 
เมื่อ de Lagrée เสียชีวิต เขาได้นำคณะเดินทางไปยังชายฝั่งจีนอย่างปลอดภัยผ่านทางแม่น้ำแยงซี การเดินทางสำรวจกว่า 400 ไมล์ผ่านเวียดนาม กัมพูชา และลาว ทำแผนที่ภูมิประเทศกว่า 3,600 ไมล์ที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อน และกลายเป็นชาวตะวันตกกลุ่มแรกที่เข้าสู่ยูนนานโดยเส้นทางใต้ ต่อจากนั้น การ์นิเยร์กลับไปต่อสู้ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และเดินทางกลับไปยังอินโดจีนจนในที่สุดก็ได้ตั้งอาณานิคมขึ้นในตังเกี๋ยในปี 1887
https://www.donaldheald.com/pages/books/24304/marie-joseph-francis-garnier/voyage-dexploration-en-indo-chine-effectue-pendant-les-annees-1866-1867-et-1868

การปรากฏตัวของฝรั่งเศสและการขยายดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนผ่านช่วงต่างๆ ตลอดศตวรรษที่ 19 ในการค้นหาเส้นทางการเข้าถึงใหม่สู่ตลาดจีนเพื่อแข่งขันกับความทะเยอทะยานทางการค้าของอังกฤษในภูมิภาคนี้ แม่น้ำโขงดูเหมือนจะเป็นเส้นทางที่เป็นไปได้สู่จีน การลาดตระเวนตามเส้นทางของแม่น้ำใหญ่มีการวางแผนเพื่อพิจารณาการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อโคชินจีนที่ฝรั่งเศสต้องการผนวกมณฑลยูนนานพื้นที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อหาทรัพยากรเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกองทัพ  รัฐมนตรีกองทัพเรือ Marquis de Chasseloup-Lubat ได้ตัดสินใจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2408 เขามอบหมายคำสั่งให้กัปตันเรือฟริเกต Ernest Doudart de Lagrée (พ.ศ. 2366-2411) โดยได้รับความช่วยเหลือจากนายทหารเรือฟรานซิสการ์นิเยร์ (พ.ศ. 2382-2416) ให้ออกสำรวจดินแดนลุ่มน้ำโขงจากเขมรขึ้นไปจนถึงจีนตอนใต้


ภาพ Ernest Doudart de Lagrée กัปตันเรือฟริเกต 
https://fr.wikipedia.org/wiki/Ernest_Doudart_de_Lagr%C3%A9e


ภาพ สมาชิกคณะกรรมาธิการการสำรวจ

การเดินเรือในแม่น้ำได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งและสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องพยายามเป็นพิเศษกับสภาพภูมิศาสตร์ในดินแดนแถบนี้ ทีมต้องเผชิญกับปัญหาทางภูมิศาสตร์ สุขภาพและการเมืองมากมาย จากการจอดเรือและเข้าไปสำรวจผู้คนและวัฒนธรรม
Doudart de Lagrée อ่อนแรงและล้มป่วยเสียชีวิตที่เสียชีวิตด้วยอาการป่วยในมณฑลยูนนาน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2411
ฟรานซิสการ์นิเยร์จึงรับคำสั่งและนำคณะสำรวจและเสร็จสิ้นภารกิจในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2411 โดยกลับมาที่ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง .
การเดินทางมีการพลิกผันหลายครั้งและกินเวลาทั้งหมด 2 ปี 24 วัน ในรายงานของFrancis Garnier นับระยะทางได้ 9860 กม. โดยทางเรือ 5870 และทางบก 3990 กม. 
https://bibulyon.hypotheses.org/15248


T.2 Pl. XVI, Course de pirogues à Bassac ภาพการแข่งขันเรือที่บริเวณปากเซ, ลาว


Chine : ville de Pou-eul dans la province du Yunnan. Gravure de Louis Delaporte (1842-1925), 1867.
เมือง Pou-eul(บ่อหาน-Muhan) ในมณฑลยูนนาน วาดโดย Louis Delaporte (1842-1925), 1867
https://th.wikipedia.org/wiki/บ่อหาน


T.2 Pl. IX. Ruines du Baion, monuments aux 48 tours 
การสำรวจปราสาทบายนของเขมร


 

'Peuple de la vallée du Mékong'. Gravure de Louis Delaporte (1842-1925), c. 1866-1868.
 คนลุ่มน้ำโขง. (ยูนนาน ไทย ลาว พม่า เวียดนาม เขมร ) วาดโดยGravure de Louis Delaporte
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่