วัดพระป้าน (พระนอนปูคา) อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

คำว่า ป้าน คือการขึ้นรูปคันนา ; พระป้าน - พระที่ทำคันนาว่างั้นเถอะ
พระนอนปูคา - พระที่นอนบนแท่นที่ปูด้วยหญ้าคา
วัดพระป้านได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2205

วิสุง - แยกส่วน, คาม - บ้าน หรือ หมู่บ้าน, สีมา - เขตแดน ; วิสุงคามสีมา - เขตแดนบ้านที่แยกส่วนออกมาที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้ตั้งพระอุโบสถ

สิงห์ยุดนาคหน้าประตู
ซุ้มร่มนำสู่เจ้าแม่กวนอิม

อทยานครูบาศรีวิชัย
ครูบาศรีวิชัยเมื่อคราวเป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ ได้มาสร้างวิหารครอบพระนอน
พระพุทธรูปปางประทานพร
เจดีย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ประดับปราสาทที่มุมทั้งสี่
ฐานเขียงย่อมุมสี่ชั้น
ฐานปัทม์ยืดตัวสูงขึ้น มีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
รองรับฐานเขียงกลม 3 ชั้น
บัวถลา 3 ชั้น รับองค์ระฆัง
บัลลังก์สี่เหลี่ยมไม่ยกเก็ด (เจดีย์ล้านนาส่วนใหญ่จะยกเก็ดบัลลังก์) ก้านฉัตร
ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
วิหารพระนอน
ครูบาศรีวิชัยได้สร้างวิหารครอบพระนอนเมื่อปี 2471
หน้าบันแสดงโครงสร้างม้าต่างไหม 
ลวดลายพรรณพฤกษาล้านนา แต่ดูไปอีกที่เหมือนเป็นหน้ากาล หน้าบันปีกนกมีรูปเทวดา ช้าง อีกรูปไม่แน่ใจว่าใช่เมขลาหรือเปล่า
ซัมมกรคายนาคเหนือประตูกลางภายในเป็นรูปเสือ - น่าจะสื่อถึงครูบาศรีวิชัยเพราะท่านเกิดปีขาล
ซุ้มเหนือประตูด้านข้างรูปนกยูง
เสาประดับลายดอกประจำยามร้อยลวดลายเป็นตาข่าย
ยักษ์เฝ้าประตูชายหญิง
ทวารบาลถือดาบและดอกบัว ยืนบนแท่น
ภายในวิหาร
ครูบาศรีวิชัย
จิตรกรรมฝาผนังด้านหลัง เล่าเรื่องตำนานพระเจ้าเลียบโลก 
ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา แพร่หลายในล้านนา รัฐฉาน สิบสองปันนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเยือนดินแดนนั้นๆ
ตำนานพระป้าน ได้จารลงบนใบลานด้วยตั๋วเมือง (อักษรธรรมล้านนา) เป็นกำเมือง (ภาษาถิ่นทางเหนือ) เล่าว่า
ตอนอาทิตย์จวนอัสดง พระพุทธเจ้าก็เสด็จถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ทรงทอดพระเนตรเห็นชาวบ้านผู้หนึ่งกำลังขึ้นรูปคันนา
พระองค์บอกว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ในคืนวันนี้จะนอนอยู่ที่คันนานี้ ชาวนาจึงดึงเอาหญ้าคาที่มุงกระท่อมมาปูลาดคันนาสำหรับพระพุทธองค์
รุ่งเช้าชาวนาก็นำข้าวน้ำโภชนาหารมาใส่บาตรถวายแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ประทานพระเกศาให้ 1 เส้น - พระเกศาธาตุ
สัตตภัณฑ์ - เครื่องสักการะพระรัตนตรัยล้านนา เข้าใจเสมอมาว่าเป็นทิวเขาที่ล้อมพระสุเมรุทั้ง 7 ทิว 
เชิงเขาพระสุเมรุ เป็นสวรรค์ชั้น 1 เป็นที่อยู่ของจตุโลกบาล
เหนือยอดเขาพระสุเมรุคือสวรรค์ชั้น 2 ดาวดึงส์ ขึ้นไปจนถึงสุดท้ายสภาวะแห่งนิพพาน - สัตตภัณฑ์จึงตั้งอยู่ด้านหน้าของพระพุทธรูป

เครื่องสูงเทียมยศ หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์
คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็ก
กกุธ-ความเป็นพระราชา, ภัณฑ์ - เครื่องใช้ แสดงถึงความเป็นกษัตริย์ของพระพุทธเจ้า
ใช้ประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูป หรือ พิธีบวชพระเจ้า
พระป้าน - ที่มาของชื่อวัด
ได้พามาเที่ยววัดเก่าเมืองสันกำแพงอีกวัด เมื่อ 21/5/2566
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่