ปี 1970sในยุคที่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้าอีกทั้ง IC ชิปยังคงเป็นเทคโนโลยีระดับสูง ทำให้เครื่องวิดีโอเกมในสมัยนั้นแพงและมีขนาดแผงวงจรที่ใหญ่มาก ไม่เหมาะสำหรับใช้ในบ้าน จึงถูกนำไปติดตั้งกับตู้หยอดเหรียญให้บริการเล่นเกมที่สวนสนุกและร้านเกมเซ็นเตอร์ต่าง ๆ
เครื่องวิดีโอเกมเหล่านี้ถูกเรียกกันว่า เกมอาเขต Arcade Game
เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของขนาดเครื่อง ทำให้วิดีโอเกมบนตู้เกมอาเขตเหล่านี้สามารถติดตั้งวงจร, อุปกรณ์รวมถึง IC ชิปได้อย่างเต็มที่จนทำให้ตัวเกมมีคุณภาพที่สูงกว่าเกมเดียวกันที่ถูกแปลงลงเครื่องเกมคอนโซลอย่างมาก รวมถึงสามารถให้ประสบการณ์การเล่นที่แปลกใหม่และหาที่ไหนไม่ได้หากมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการเล่นแบบพิเศษไว้
ในทางกลับกัน เครื่องเกมอาเขตจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่ซับซ้อนมากกว่าเครื่องเกมคอนโซล บางครั้งต้องติดต่อช่างจากบริษัทผู้ผลิตมาซ่อม ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและขาดรายได้ในช่วงระหว่างรอช่าง ทำให้บางร้านยอมจ้างช่างซ่อมเกมอาเขตมาประจำไว้
แต่นั้นยังไม่รวมถึงปัญหาหลักซึ่งก็คือราคาต่อเครื่องที่แพงมาก ไม่ต่ำกว่าหลักพัน USD และบางเครื่องอาจเพิ่มสูงระดับหลายพันหรือแตะหลักหมื่น USD ได้เลยทีเดียวตามขนาดและคุณสมบัติของเครื่อง แต่โดยเฉลี่ยแล้วราคาขายของเครื่องเกมอาเขตจะตกเครื่องละประมาณ 3000-4000 USD และนี่คือราคาขายเมื่อปี 1980s ที่ 100 USD สมัยนั้นมีค่าเท่ากับ 361.5 USD ในปี 2022
แม้ราคาเครื่องจะสูงขนาดนี้แต่ก็ยังมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพราะความต้องการเล่นเกมนั้นมีมากและรายได้จากบริการหยอดเหรียญเล่นเกมนั้นสูงในระดับที่คุ้มค่าการลงทุน ตัวอย่างเช่นเกม Pac Man ที่ตอนแรกมีการซื้อสิทธิมาผลิตเครื่องอาเขตของเกมนี้แค่ 5000 เครื่องสำหรับตลาดอเมริกาแต่ผลคือเกมได้รับความนิยมอย่างมาก มีคนหยอดเหรียญเล่นเกมนี้รวมเป็นเงินทั้งหมดมากถึง 8.1 ล้าน USDต่อสัปดาห์ เฉลี่ยแล้วแต่ละเครื่องสร้างรายได้แก่เจ้าของสูงถึงสัปดาห์ละ 1620 USD ส่วนเครื่องเกมอาเขต Pac Man นั้นมีราคาขายสูงสุดอยู่ที่เครื่องละประมาณ 2900 USD จะเห็นว่าได้ว่าแค่ 14 วันก็คืนทุนแล้ว ที่เหลือกำไรเนาะ ๆ
นี่จึงทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากพวกเค้าสามารถผลิตซ้ำเครื่องเกมอาเขตพวกนี้ออกมาได้แล้วเอาไปขายร้านเกมหรือเปิดร้านเองละก็ จะสร้างกำไรให้กับพวกเค้าขนาดไหน
นี่คือเรื่องราวของวงการเกมในอีกสนามรบหนึ่งซึ่งผู้เล่นทั่วไปแทบไม่รู้เรื่อง
แต่สำหรับเจ้าของร้านเกมเซ็นเตอร์และบริษัทผู้สร้างเครื่องเกมอาเขตแล้ว ศึกนี้แม้จะดุเดือดไม่เท่าแต่เดิมพันนั้นสูงกว่ามาก
เพราะนี่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ระดับผู้ประกอบการเป็นจำนวนเงินหลักล้าน USD เลยทีเดียว
ในช่วงแรกของการขายเครื่องเกมอาเขต(ยุค 1970s)นั้น เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงและลดภาระฝ่ายบริการหลังการขาย(ซ่อม) บริษัทผู้ขายเครื่องเกมอาเขตนั้นจึงมีการแถมคู่มือการซ่อมบำรุงรักษาแบบละเอียดมาให้ด้วยเพื่อให้ฝ่ายช่างของผู้ให้บริการสามารถซ่อมเครื่องได้ด้วยตนเอง
ปัญหาคือคู่มือการซ่อมบำรุงรักษาที่บริษัทให้มานั้นละเอียดมาก มีบอกแม้กระทั้งเบอร์ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในแผงวงจรเพื่อให้ผู้ประกอบการไปหาอะไหร่มาซ่อมเองได้ อีกทั้งเครื่องเกมในสมัยนั้นยังสร้างด้วยชิ้นส่วนตามท้องตลาดและแผงวงจรที่ไม่ซับซ้อนมาก สามารถไล่วงจรได้ด้วยสายตาในระดับหนึ่ง เผลอ ๆ จะไม่มีแม้กระทั้งโค้ดโปรแกรมด้วยซ้ำ จึงทำให้ง่ายในการสร้างเลียนแบบ
ตัวอย่างเช่นเกมอาเขต Pong ของบริษัท Atari ที่ต่อมามีผู้สร้างเครื่องอาเขตเลียนแบบออกมาในชื่อว่า Paddle Battle
ที่เจ็บปวดคือPaddle Battle นั้นขายดีกว่า Pong ของบริษัท Atari ต้นตำหรับเสียอีก คาดว่าเพราะราคาเครื่องถูกกว่า
ในรูปประกอบคือแผงวงจรเกมอาเขต Pong ของ Atari
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องทำการฟ้องอยู่แล้ว แต่ด้วยกระบวนการในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวน รวบรวมหลักฐาน ซึ่งกินเวลานานและค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งผู้พิพากษายังขาดความเข้าใจในเรื่องของวิดีโอเกมซึ่งตอนนั้นนับว่ายังเป็นอะไรที่ใหม่มากและไม่คุ้นเคยกฏหมายลิขสิทธิ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิตอล ทำให้บริษัทผู้สร้าง/ผลิต เครื่องเกมเลียนแบบมีเวลามากพอที่จะกอบโกยรายได้จากการผลิตและขายเครื่องก่อนที่จะปิดบริษัทหายเข้ากลีบเมฆไป หรือไม่ก็ขาดหลักฐานที่หนักแน่นพอจะสามารถเอาผิดผู้สร้าง/ผลิต เครื่องเกมเลียนแบบได้
ปัญหาของเครื่องเกมอาเขตเลียนแบบนี้ยังคงตามมาหลอกหลอนผู้สร้างแม้จะเข้าช่วงปลายปี 70s ถึงต้น 80s ที่เครื่องเกมเข้าสู่ยุคที่ติดตั้งใช้ IC, ไมโครโพเซสเซอร์และโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายแล้ว ส่วนการผลิตเครื่องเลียนแบบก็พัฒนาไปอีกขั้นโดยเริ่มมีการผลิตเครื่องเลียนแบบออกมาแค่ส่วนแผงวงจรหรือแค่ตลับเกมให้ผู้ติดตั้งให้บริการไปต่อกับตู้อาเขตเดิมหรือตู้ที่สร้างเองแทน
ตู้เกมอาเขตนั้นหากไม่นับส่วนแผงวงจรเกมแล้ว ส่วนอื่น ๆ สามารถสร้างได้ด้วยตนเองเพราะโดยพื้นฐานแล้วเครื่องเกมอาเขตก็คือตู้ที่ใส่ทีวีไว้ข้างในและมีส่วนควบคุม เช่น แกนอนาล็อคพร้อมปุ่มกดและระบบเครื่องหยอดเหรียญติดตั้งที่ตู้ แม้แต่ในไทยก็สร้างเองได้ ผู้เขียนจำได้ว่าร้านเกมที่ไปบ่อย ๆ สมัยเด็กนั้น เจ้าของร้านเคยสร้างหรือไปจ้างสร้างจอยของเครื่อง Neo-Geo มาได้ รูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยไม้มีแกนอนาล็อคและปุ่มกด 6 ปุ่มบนกล่อง ชิ้นส่วนเหล่านี้นั้นน่าจะไปเอามาจากชิ้นส่วนอะไหร่สำหรับเครื่องเกมอาเขตในไทย ขนาดจอยอาจจะใหญ่ไปสักหน่อยแต่ความทนทานนั้นหายห่วง จำได้ว่าจอยนี้ไม่เคยเสียเลยตั้งแต่เอามาใช้ที่ร้านแม้จะผ่านการใช้งานอย่างหนักและรุนแรงตลอดแทบทั้งวัน
มีเพียงอุปกรณ์เฉพาะทางเท่านั้นที่สร้างเองไม่ได้ หรือถึงซ่อมได้แต่ก็ไม่กลับมาดังเดิม เช่น ปืนพิเศษที่มีกลไกสร้างแรงสะท้อนถอยหลังซึ่งเมื่อใช้แล้วจะให้ความรู้สึกผู้เล่นคล้ายได้ยิงปืนพกกึ่งอัตโนมัติจริง ๆ
ในรูปคือแผงวงจรเกม Tank Battalion ที่ผู้อ่านหากเคยเล่นเกมเครื่องฟามิคอมมาก่อนน่าจะเคยเห็นหรือเคยเล่นสักครั้ง
ซ้ายมือคือแผงวงจรเลียนแบบ ขวาคือแผงวงจรของแท้จาก Namco
ด้วยเหตุนี้เหล่าผู้ผลิตเครื่องเกมจึงเริ่มวางมาตรการต่อต้านเครื่องเกมเลียนแบบเหล่านี้ นำโดย Atari ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดอเมริกาขณะนั้น
มีวิธีการทั้งหมด 3 วิธีหลัก ๆ คือ
1. ใช้แผงวงจรและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รวมถึง IC ชิปแบบปรับแต่งเฉพาะ (Custom) ทำให้เกมถูกสร้างเลียนแบบได้ยากขึ้นเพราะไม่มีชิ้นส่วนมาใส่
2.เขียนโปรแกรมให้แสดงเครื่องหมายการค้าและ Copyright รวมถึงชื่อเกมซึ่งถูกเข้ารหัสไว้ออกมาบนจอ
3.สร้างโปรแกรมที่จะคอยตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกม หากพบว่าไม่ใช่เกมฉบับถูกลิขสิทธิ์ก็จะสั่งปิดหรือทำให้เกมหยุดทำงาน
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นช่วงแรก ๆ ของการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นอะไร ๆ จึงไม่เป็นไปดังใจนัก เช่นโปรแกรมตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกมกลับเป็น Bugสร้างปัญหาเสียเอง
ตัวอย่างเช่นเกมที่ชื่อ Tempest ของ Atari ซึ่งเกิดข้อผิดพลาดหรือเรียกตามศัพท์คอมพิวเตอร์ว่า “บัก” จนทำให้ หากไม่เกมหยุดทำงานก็ทำให้ผู้เล่นได้เล่นฟรีอีก 40 เกมเมื่อทำคะแนนได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งต้นเหตุของบักมาจากโปรแกรมตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกมเอง ทำให้ผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขตเสียรายได้จากบักนี้จน Atari ต้องรีบแก้ไขโปรแกรมและส่งแผงวงจรหรือตลับเกมที่อัพเดตแล้วไปยังผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขตทั้งหมดในอีก 2 เดือนต่อมา
ผู้ผลิตอีกเจ้าที่เจอปัญหาจากเครื่องเกมอาเขตเลียนแบบก็คือ Nintendo กับเกมเช่น Donkey Kong ที่ได้รับความนิยมจนถูกสร้างเครื่องเลียนแบบออกมาขายโดยใช้ชื่อเช่น Congorilla หรือ Crazy Kong โดย Nintendo เล่นบทโหดถึงลูกถึงคนมากกว่าด้วยการไล่ตรวจผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขต เช่น สวนสนุกหรือเกมเซ็นเตอร์ต่าง ๆ แล้วฟ้องผู้ให้บริการรวมถึงยึดเครื่องเกมเลียนแบบเหล่านี้หากมีการตรวจพบ เมื่อเรื่องถึงหนังสือพิมพ์แน่นอนว่ายอมสะท้านถึงผู้ให้บริการรายอื่น ๆ จนบางรายเลือกที่จะถอนตู้ออกไปเองในที่สุด
วิธีของ Nintendo นั้นแม้จะสร้างแรงกระเพื่อมและเป็นการป้องปรามที่ดีแต่อย่างไรก็ตามหลายส่วนมองว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุซึ่งไม่สามารถป้องกันความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วได้ วิธีที่ทุกผู้ผลิตเห็นตรงกันว่าดีที่สุดคือต้องป้องกันที่ต้นน้ำ ทำให้ไม่สามารถสร้างเครื่องเกมเลียนแบบออกมาได้
นี่ทำให้เกิดเทคนิคที่รู้จักกันดีในวงการด้วยชื่อเรียกสามัญว่า Suicide board (แผงวงจรพลีชีพ)
แนวคิดของSuicide board คือการติดตั้งกลไกที่หากมีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแผงวงจรเมื่อไหร่ แผงวงจรจะทำการทำลายตัวเองจนไม่สามารถทำงานหรือใช้งานได้ตามปกติ
ผู้ผลิตที่เริ่มนำเทคนิค Suicide board (ต่อไปนี้จะเรียกย่อ ๆ ว่า SB) มาใช้เป็นรายแรกคือ SEGA
วิธีการคือ ทาง SEGA จะย้ายโปรแกรมเกมส่วนหนึ่งมาไว้ที่ RAM
อธิบาย RAM คือหน่วยความจำที่หากไม่มีการจ่ายไฟฟ้าให้ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในนั้นก็จะหายไปทั้งหมด
จากนั้นก็ติดตั้งแบตเตอรี่ลงไปคอยส่งไฟฟ้าเลี้ยง RAM ส่วนนี้ไว้
หากมีการเข้าไปยุ่งกับแผงวงจร ไม่รู้ว่าด้วยวิธีการใดแต่มันจะทำให้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ส่งไปเลี้ยง RAM ขาดหาย โปรแกรมเกมที่อยู่ใน RAM ก็จะหายไป “ถาวร” ไม่สามารถกู้กลับขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม SB ของ SEGA นั้นไม่ได้ส่งผลถึงขนาดทำให้เกมทำงานไม่ได้ แค่ทำให้เกม “เล่นไม่ได้”
ตัวอย่างเช่นเกม รถแข่ง ที่เมื่อโปรแกรมเกมใน RAM หายไปตัวเกมก็ยังเข้าหน้าไตเติลได้อยู่แต่เมื่อเข้าสู่เกม ส่วนของ “ลู่วิ่ง” จะหายไป ปล่อยให้ผู้เล่นวิ่งไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเลี้ยว ไม่มีจุดหมาย ไม่มีแม้แต่เส้นชัย
ส่วนข้อเสียของ SB ที่ผู้อ่านบางท่านอาจจะเอะใจอยู่แต่แรกแล้วก็คือเรื่องของแบตเตอรรี่
แม้จะไม่ไปยุ่งอะไรกับแผงวงจรแต่สุดท้ายแบตเตอรรี่ทุกก้อนก็มีอายุของมัน เมื่อแบตเตอรรี่เสียหายหรือหมดไฟก็ย่อมทำให้โปรแกรมเกมใน RAM สูญหายไปด้วยและทำให้เกมเล่นไม่ได้อีกต่อไป
ทางเดียวที่ผู้ติดตั้งให้บริการทำได้คือจะต้องส่งแผงวงจรกลับไปให้บริษัทผู้ผลิตซ่อมเปลี่ยนแบตและโหลดไฟล์โปรแกรมกลับคืนให้เท่านั้น
นี่คือที่มาของคำเรียกวิธีการนี้ว่า Suicide board ในอีกความหมายที่แปลว่า “บอร์ดฆ่าตัวตาย”
บทความตามใจฉัน “GOC Lost bit: Arcade War”
เครื่องวิดีโอเกมเหล่านี้ถูกเรียกกันว่า เกมอาเขต Arcade Game
เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของขนาดเครื่อง ทำให้วิดีโอเกมบนตู้เกมอาเขตเหล่านี้สามารถติดตั้งวงจร, อุปกรณ์รวมถึง IC ชิปได้อย่างเต็มที่จนทำให้ตัวเกมมีคุณภาพที่สูงกว่าเกมเดียวกันที่ถูกแปลงลงเครื่องเกมคอนโซลอย่างมาก รวมถึงสามารถให้ประสบการณ์การเล่นที่แปลกใหม่และหาที่ไหนไม่ได้หากมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการเล่นแบบพิเศษไว้
ในทางกลับกัน เครื่องเกมอาเขตจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่ซับซ้อนมากกว่าเครื่องเกมคอนโซล บางครั้งต้องติดต่อช่างจากบริษัทผู้ผลิตมาซ่อม ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและขาดรายได้ในช่วงระหว่างรอช่าง ทำให้บางร้านยอมจ้างช่างซ่อมเกมอาเขตมาประจำไว้
แต่นั้นยังไม่รวมถึงปัญหาหลักซึ่งก็คือราคาต่อเครื่องที่แพงมาก ไม่ต่ำกว่าหลักพัน USD และบางเครื่องอาจเพิ่มสูงระดับหลายพันหรือแตะหลักหมื่น USD ได้เลยทีเดียวตามขนาดและคุณสมบัติของเครื่อง แต่โดยเฉลี่ยแล้วราคาขายของเครื่องเกมอาเขตจะตกเครื่องละประมาณ 3000-4000 USD และนี่คือราคาขายเมื่อปี 1980s ที่ 100 USD สมัยนั้นมีค่าเท่ากับ 361.5 USD ในปี 2022
แม้ราคาเครื่องจะสูงขนาดนี้แต่ก็ยังมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพราะความต้องการเล่นเกมนั้นมีมากและรายได้จากบริการหยอดเหรียญเล่นเกมนั้นสูงในระดับที่คุ้มค่าการลงทุน ตัวอย่างเช่นเกม Pac Man ที่ตอนแรกมีการซื้อสิทธิมาผลิตเครื่องอาเขตของเกมนี้แค่ 5000 เครื่องสำหรับตลาดอเมริกาแต่ผลคือเกมได้รับความนิยมอย่างมาก มีคนหยอดเหรียญเล่นเกมนี้รวมเป็นเงินทั้งหมดมากถึง 8.1 ล้าน USDต่อสัปดาห์ เฉลี่ยแล้วแต่ละเครื่องสร้างรายได้แก่เจ้าของสูงถึงสัปดาห์ละ 1620 USD ส่วนเครื่องเกมอาเขต Pac Man นั้นมีราคาขายสูงสุดอยู่ที่เครื่องละประมาณ 2900 USD จะเห็นว่าได้ว่าแค่ 14 วันก็คืนทุนแล้ว ที่เหลือกำไรเนาะ ๆ
นี่จึงทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากพวกเค้าสามารถผลิตซ้ำเครื่องเกมอาเขตพวกนี้ออกมาได้แล้วเอาไปขายร้านเกมหรือเปิดร้านเองละก็ จะสร้างกำไรให้กับพวกเค้าขนาดไหน
นี่คือเรื่องราวของวงการเกมในอีกสนามรบหนึ่งซึ่งผู้เล่นทั่วไปแทบไม่รู้เรื่อง
แต่สำหรับเจ้าของร้านเกมเซ็นเตอร์และบริษัทผู้สร้างเครื่องเกมอาเขตแล้ว ศึกนี้แม้จะดุเดือดไม่เท่าแต่เดิมพันนั้นสูงกว่ามาก
เพราะนี่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ระดับผู้ประกอบการเป็นจำนวนเงินหลักล้าน USD เลยทีเดียว
ในช่วงแรกของการขายเครื่องเกมอาเขต(ยุค 1970s)นั้น เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงและลดภาระฝ่ายบริการหลังการขาย(ซ่อม) บริษัทผู้ขายเครื่องเกมอาเขตนั้นจึงมีการแถมคู่มือการซ่อมบำรุงรักษาแบบละเอียดมาให้ด้วยเพื่อให้ฝ่ายช่างของผู้ให้บริการสามารถซ่อมเครื่องได้ด้วยตนเอง
ปัญหาคือคู่มือการซ่อมบำรุงรักษาที่บริษัทให้มานั้นละเอียดมาก มีบอกแม้กระทั้งเบอร์ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในแผงวงจรเพื่อให้ผู้ประกอบการไปหาอะไหร่มาซ่อมเองได้ อีกทั้งเครื่องเกมในสมัยนั้นยังสร้างด้วยชิ้นส่วนตามท้องตลาดและแผงวงจรที่ไม่ซับซ้อนมาก สามารถไล่วงจรได้ด้วยสายตาในระดับหนึ่ง เผลอ ๆ จะไม่มีแม้กระทั้งโค้ดโปรแกรมด้วยซ้ำ จึงทำให้ง่ายในการสร้างเลียนแบบ
ตัวอย่างเช่นเกมอาเขต Pong ของบริษัท Atari ที่ต่อมามีผู้สร้างเครื่องอาเขตเลียนแบบออกมาในชื่อว่า Paddle Battle
ที่เจ็บปวดคือPaddle Battle นั้นขายดีกว่า Pong ของบริษัท Atari ต้นตำหรับเสียอีก คาดว่าเพราะราคาเครื่องถูกกว่า
ในรูปประกอบคือแผงวงจรเกมอาเขต Pong ของ Atari
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องทำการฟ้องอยู่แล้ว แต่ด้วยกระบวนการในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวน รวบรวมหลักฐาน ซึ่งกินเวลานานและค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งผู้พิพากษายังขาดความเข้าใจในเรื่องของวิดีโอเกมซึ่งตอนนั้นนับว่ายังเป็นอะไรที่ใหม่มากและไม่คุ้นเคยกฏหมายลิขสิทธิ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิตอล ทำให้บริษัทผู้สร้าง/ผลิต เครื่องเกมเลียนแบบมีเวลามากพอที่จะกอบโกยรายได้จากการผลิตและขายเครื่องก่อนที่จะปิดบริษัทหายเข้ากลีบเมฆไป หรือไม่ก็ขาดหลักฐานที่หนักแน่นพอจะสามารถเอาผิดผู้สร้าง/ผลิต เครื่องเกมเลียนแบบได้
ปัญหาของเครื่องเกมอาเขตเลียนแบบนี้ยังคงตามมาหลอกหลอนผู้สร้างแม้จะเข้าช่วงปลายปี 70s ถึงต้น 80s ที่เครื่องเกมเข้าสู่ยุคที่ติดตั้งใช้ IC, ไมโครโพเซสเซอร์และโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายแล้ว ส่วนการผลิตเครื่องเลียนแบบก็พัฒนาไปอีกขั้นโดยเริ่มมีการผลิตเครื่องเลียนแบบออกมาแค่ส่วนแผงวงจรหรือแค่ตลับเกมให้ผู้ติดตั้งให้บริการไปต่อกับตู้อาเขตเดิมหรือตู้ที่สร้างเองแทน
ตู้เกมอาเขตนั้นหากไม่นับส่วนแผงวงจรเกมแล้ว ส่วนอื่น ๆ สามารถสร้างได้ด้วยตนเองเพราะโดยพื้นฐานแล้วเครื่องเกมอาเขตก็คือตู้ที่ใส่ทีวีไว้ข้างในและมีส่วนควบคุม เช่น แกนอนาล็อคพร้อมปุ่มกดและระบบเครื่องหยอดเหรียญติดตั้งที่ตู้ แม้แต่ในไทยก็สร้างเองได้ ผู้เขียนจำได้ว่าร้านเกมที่ไปบ่อย ๆ สมัยเด็กนั้น เจ้าของร้านเคยสร้างหรือไปจ้างสร้างจอยของเครื่อง Neo-Geo มาได้ รูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยไม้มีแกนอนาล็อคและปุ่มกด 6 ปุ่มบนกล่อง ชิ้นส่วนเหล่านี้นั้นน่าจะไปเอามาจากชิ้นส่วนอะไหร่สำหรับเครื่องเกมอาเขตในไทย ขนาดจอยอาจจะใหญ่ไปสักหน่อยแต่ความทนทานนั้นหายห่วง จำได้ว่าจอยนี้ไม่เคยเสียเลยตั้งแต่เอามาใช้ที่ร้านแม้จะผ่านการใช้งานอย่างหนักและรุนแรงตลอดแทบทั้งวัน
มีเพียงอุปกรณ์เฉพาะทางเท่านั้นที่สร้างเองไม่ได้ หรือถึงซ่อมได้แต่ก็ไม่กลับมาดังเดิม เช่น ปืนพิเศษที่มีกลไกสร้างแรงสะท้อนถอยหลังซึ่งเมื่อใช้แล้วจะให้ความรู้สึกผู้เล่นคล้ายได้ยิงปืนพกกึ่งอัตโนมัติจริง ๆ
ในรูปคือแผงวงจรเกม Tank Battalion ที่ผู้อ่านหากเคยเล่นเกมเครื่องฟามิคอมมาก่อนน่าจะเคยเห็นหรือเคยเล่นสักครั้ง
ซ้ายมือคือแผงวงจรเลียนแบบ ขวาคือแผงวงจรของแท้จาก Namco
ด้วยเหตุนี้เหล่าผู้ผลิตเครื่องเกมจึงเริ่มวางมาตรการต่อต้านเครื่องเกมเลียนแบบเหล่านี้ นำโดย Atari ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดอเมริกาขณะนั้น
มีวิธีการทั้งหมด 3 วิธีหลัก ๆ คือ
1. ใช้แผงวงจรและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รวมถึง IC ชิปแบบปรับแต่งเฉพาะ (Custom) ทำให้เกมถูกสร้างเลียนแบบได้ยากขึ้นเพราะไม่มีชิ้นส่วนมาใส่
2.เขียนโปรแกรมให้แสดงเครื่องหมายการค้าและ Copyright รวมถึงชื่อเกมซึ่งถูกเข้ารหัสไว้ออกมาบนจอ
3.สร้างโปรแกรมที่จะคอยตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกม หากพบว่าไม่ใช่เกมฉบับถูกลิขสิทธิ์ก็จะสั่งปิดหรือทำให้เกมหยุดทำงาน
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นช่วงแรก ๆ ของการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นอะไร ๆ จึงไม่เป็นไปดังใจนัก เช่นโปรแกรมตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกมกลับเป็น Bugสร้างปัญหาเสียเอง
ตัวอย่างเช่นเกมที่ชื่อ Tempest ของ Atari ซึ่งเกิดข้อผิดพลาดหรือเรียกตามศัพท์คอมพิวเตอร์ว่า “บัก” จนทำให้ หากไม่เกมหยุดทำงานก็ทำให้ผู้เล่นได้เล่นฟรีอีก 40 เกมเมื่อทำคะแนนได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งต้นเหตุของบักมาจากโปรแกรมตรวจสอบลิขสิทธิ์ของตัวเกมเอง ทำให้ผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขตเสียรายได้จากบักนี้จน Atari ต้องรีบแก้ไขโปรแกรมและส่งแผงวงจรหรือตลับเกมที่อัพเดตแล้วไปยังผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขตทั้งหมดในอีก 2 เดือนต่อมา
ผู้ผลิตอีกเจ้าที่เจอปัญหาจากเครื่องเกมอาเขตเลียนแบบก็คือ Nintendo กับเกมเช่น Donkey Kong ที่ได้รับความนิยมจนถูกสร้างเครื่องเลียนแบบออกมาขายโดยใช้ชื่อเช่น Congorilla หรือ Crazy Kong โดย Nintendo เล่นบทโหดถึงลูกถึงคนมากกว่าด้วยการไล่ตรวจผู้ติดตั้งให้บริการเครื่องเกมอาเขต เช่น สวนสนุกหรือเกมเซ็นเตอร์ต่าง ๆ แล้วฟ้องผู้ให้บริการรวมถึงยึดเครื่องเกมเลียนแบบเหล่านี้หากมีการตรวจพบ เมื่อเรื่องถึงหนังสือพิมพ์แน่นอนว่ายอมสะท้านถึงผู้ให้บริการรายอื่น ๆ จนบางรายเลือกที่จะถอนตู้ออกไปเองในที่สุด
วิธีของ Nintendo นั้นแม้จะสร้างแรงกระเพื่อมและเป็นการป้องปรามที่ดีแต่อย่างไรก็ตามหลายส่วนมองว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุซึ่งไม่สามารถป้องกันความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วได้ วิธีที่ทุกผู้ผลิตเห็นตรงกันว่าดีที่สุดคือต้องป้องกันที่ต้นน้ำ ทำให้ไม่สามารถสร้างเครื่องเกมเลียนแบบออกมาได้
นี่ทำให้เกิดเทคนิคที่รู้จักกันดีในวงการด้วยชื่อเรียกสามัญว่า Suicide board (แผงวงจรพลีชีพ)
แนวคิดของSuicide board คือการติดตั้งกลไกที่หากมีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแผงวงจรเมื่อไหร่ แผงวงจรจะทำการทำลายตัวเองจนไม่สามารถทำงานหรือใช้งานได้ตามปกติ
ผู้ผลิตที่เริ่มนำเทคนิค Suicide board (ต่อไปนี้จะเรียกย่อ ๆ ว่า SB) มาใช้เป็นรายแรกคือ SEGA
วิธีการคือ ทาง SEGA จะย้ายโปรแกรมเกมส่วนหนึ่งมาไว้ที่ RAM
อธิบาย RAM คือหน่วยความจำที่หากไม่มีการจ่ายไฟฟ้าให้ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในนั้นก็จะหายไปทั้งหมด
จากนั้นก็ติดตั้งแบตเตอรี่ลงไปคอยส่งไฟฟ้าเลี้ยง RAM ส่วนนี้ไว้
หากมีการเข้าไปยุ่งกับแผงวงจร ไม่รู้ว่าด้วยวิธีการใดแต่มันจะทำให้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ส่งไปเลี้ยง RAM ขาดหาย โปรแกรมเกมที่อยู่ใน RAM ก็จะหายไป “ถาวร” ไม่สามารถกู้กลับขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม SB ของ SEGA นั้นไม่ได้ส่งผลถึงขนาดทำให้เกมทำงานไม่ได้ แค่ทำให้เกม “เล่นไม่ได้”
ตัวอย่างเช่นเกม รถแข่ง ที่เมื่อโปรแกรมเกมใน RAM หายไปตัวเกมก็ยังเข้าหน้าไตเติลได้อยู่แต่เมื่อเข้าสู่เกม ส่วนของ “ลู่วิ่ง” จะหายไป ปล่อยให้ผู้เล่นวิ่งไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเลี้ยว ไม่มีจุดหมาย ไม่มีแม้แต่เส้นชัย
ส่วนข้อเสียของ SB ที่ผู้อ่านบางท่านอาจจะเอะใจอยู่แต่แรกแล้วก็คือเรื่องของแบตเตอรรี่
แม้จะไม่ไปยุ่งอะไรกับแผงวงจรแต่สุดท้ายแบตเตอรรี่ทุกก้อนก็มีอายุของมัน เมื่อแบตเตอรรี่เสียหายหรือหมดไฟก็ย่อมทำให้โปรแกรมเกมใน RAM สูญหายไปด้วยและทำให้เกมเล่นไม่ได้อีกต่อไป
ทางเดียวที่ผู้ติดตั้งให้บริการทำได้คือจะต้องส่งแผงวงจรกลับไปให้บริษัทผู้ผลิตซ่อมเปลี่ยนแบตและโหลดไฟล์โปรแกรมกลับคืนให้เท่านั้น
นี่คือที่มาของคำเรียกวิธีการนี้ว่า Suicide board ในอีกความหมายที่แปลว่า “บอร์ดฆ่าตัวตาย”