🔴ค่า "Deduct" คืออะไร
ค่า Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบ ภาคสมัครใจ ซึ่งจะค่อนข้างแตกต่างจากแบบ Excess เพราะเป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่คุณยอมเสียให้กับบริษัทประกันภัยทุกครั้งที่มีการเคลมในอุบัติเหตุ ที่คุณเป็นฝ่ายผิด
.
โดยในขั้นตอนการทำประกัน จะมีเงื่อนไขให้คุณเลือกที่จะจ่ายค่า Deductible หรือไม่ ซึ่งถ้าคุณยอมจ่ายจะช่วยลดเบี้ยประกันตามจำนวนค่า Deductible ที่คุณระบุไว้ แต่ค่า Deductible นี้ไม่ได้มีทุกบริษัท หากคุณสนใจในเงื่อนไขนี้แนะนำให้สอบถามข้อมูลจากบริษัทประกันภัยให้ดีๆ
.
🔴ค่า "excess" คืออะไร
ค่า excess มีชื่อเต็มว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ” นั่นก็คือ เป็นค่าใช้จ่ายที่ “บังคับเก็บ” ไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นไหน (แม้จะเป็นประกันชั้น 1 ก็ไม่ยกเว้น!) หรือบริษัทใดก็ตาม โดยจะเรียกเก็บในการแจ้งเคลมบางกรณีที่ทำให้สงสัยได้ว่า คุณแจ้งเคลมโดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงเพื่อหวังซ่อมรถฟรี
.
โดยกรณีที่เข้าข่ายโดนเก็บค่า excess คือ
1. จากอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ
2. ชนแต่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้
.
ต้องเสียค่า excess เท่าไหร่
ค่า excess เรียกเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อ “เหตุการณ์” เช่น หากคุณโชคร้าย ก้อนหินตกใส่รถและล้อรถเหยียบตะปูในคราวเดียวกัน นับเป็น 2 เหตุการณ์ (เหตุการณ์ที่ 1 ก้อนหินตกใส่, เหตุการณ์ที่ 2 รถเหยียบตะปู) คุณต้องเสียค่า excess 1,000 x 2 = 2,000 บาท
.
🔴ทำยังไงดี ไม่อยากเสียค่า Excess ?!
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าค่า Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับ มีโอกาสที่คนทำแผนประกันรถยนต์ในทุกรูปแบบ เสียค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ อันเนื่องมาจาก การที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้
แต่หากตอนแจ้งเคลมกับประกัน สามารถระบุคู่กรณีได้ เช่น รอยบุบนี้ ได้มาจากที่ถอยรถพลาดไปชนเสา รอยข่วนแมวนี้ ได้มาจากการที่ขับรถครูดฟุตบาทอย่างไม่ตั้งใจ เป็นต้น สำหรับประกันชั้น 1 หากสามารถระบุคู่กรณีนี้ได้ ก็จะไม่มีเรียกเก็บค่า Excess แต่หากเป็นประกันชั้น 2+ 3+ ถ้าสามารถระบุคู่กรณีนี้ได้ว่าเป็นอุบัติเหตุจากรถชนรถ ณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือค่า Excess นั่นเอง
.
✅สรุปง่าย ๆ
ค่า Excess มีโอกาสเสียในทุกแผนประกัน เริ่มต้นที่ 1,000 บาท/ครั้งการเคลม หากไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ และ ค่า Deductible เป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับทราบและเลือกตัดสินใจต่อประกันแบบนี้เอง จะเสียในกรณี ที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดเอง
Deduct และ Excess ต่างกันยังไง?
ค่า Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบ ภาคสมัครใจ ซึ่งจะค่อนข้างแตกต่างจากแบบ Excess เพราะเป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่คุณยอมเสียให้กับบริษัทประกันภัยทุกครั้งที่มีการเคลมในอุบัติเหตุ ที่คุณเป็นฝ่ายผิด
.
โดยในขั้นตอนการทำประกัน จะมีเงื่อนไขให้คุณเลือกที่จะจ่ายค่า Deductible หรือไม่ ซึ่งถ้าคุณยอมจ่ายจะช่วยลดเบี้ยประกันตามจำนวนค่า Deductible ที่คุณระบุไว้ แต่ค่า Deductible นี้ไม่ได้มีทุกบริษัท หากคุณสนใจในเงื่อนไขนี้แนะนำให้สอบถามข้อมูลจากบริษัทประกันภัยให้ดีๆ
.
🔴ค่า "excess" คืออะไร
ค่า excess มีชื่อเต็มว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ” นั่นก็คือ เป็นค่าใช้จ่ายที่ “บังคับเก็บ” ไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นไหน (แม้จะเป็นประกันชั้น 1 ก็ไม่ยกเว้น!) หรือบริษัทใดก็ตาม โดยจะเรียกเก็บในการแจ้งเคลมบางกรณีที่ทำให้สงสัยได้ว่า คุณแจ้งเคลมโดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงเพื่อหวังซ่อมรถฟรี
.
โดยกรณีที่เข้าข่ายโดนเก็บค่า excess คือ
1. จากอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ
2. ชนแต่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้
.
ต้องเสียค่า excess เท่าไหร่
ค่า excess เรียกเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อ “เหตุการณ์” เช่น หากคุณโชคร้าย ก้อนหินตกใส่รถและล้อรถเหยียบตะปูในคราวเดียวกัน นับเป็น 2 เหตุการณ์ (เหตุการณ์ที่ 1 ก้อนหินตกใส่, เหตุการณ์ที่ 2 รถเหยียบตะปู) คุณต้องเสียค่า excess 1,000 x 2 = 2,000 บาท
.
🔴ทำยังไงดี ไม่อยากเสียค่า Excess ?!
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าค่า Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับ มีโอกาสที่คนทำแผนประกันรถยนต์ในทุกรูปแบบ เสียค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ อันเนื่องมาจาก การที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้
แต่หากตอนแจ้งเคลมกับประกัน สามารถระบุคู่กรณีได้ เช่น รอยบุบนี้ ได้มาจากที่ถอยรถพลาดไปชนเสา รอยข่วนแมวนี้ ได้มาจากการที่ขับรถครูดฟุตบาทอย่างไม่ตั้งใจ เป็นต้น สำหรับประกันชั้น 1 หากสามารถระบุคู่กรณีนี้ได้ ก็จะไม่มีเรียกเก็บค่า Excess แต่หากเป็นประกันชั้น 2+ 3+ ถ้าสามารถระบุคู่กรณีนี้ได้ว่าเป็นอุบัติเหตุจากรถชนรถ ณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือค่า Excess นั่นเอง
.
✅สรุปง่าย ๆ
ค่า Excess มีโอกาสเสียในทุกแผนประกัน เริ่มต้นที่ 1,000 บาท/ครั้งการเคลม หากไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ และ ค่า Deductible เป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับทราบและเลือกตัดสินใจต่อประกันแบบนี้เอง จะเสียในกรณี ที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดเอง