ขอถามโง่ๆนะคับ ทำไมสร้างรถไฟ ความเร็วสูงเชื่อมสนาม

ผมสงสัยทำไมต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน ใครคือกลุ่มลูกค้า เป้าหมายหลัก 

ทำไมไม่กระจายรถไฟความเร็วสูงลงภาคใต้  เพื่อให้มีการขยายเมืองหรือขนคนออกจากกรุงเทพสู่ภาคใต้ที่มีทะเลสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวได้และเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน จนถึง สิงคโปร์  

ผมแค่สงสัยคับ เพราะงบลงทุนสูงนะครับ  คือแค่เอาไว้เชืาอมสนามบินป้องกันตกเครื่อง แหละท่องเที่ยว ตามจังหวัดใช่ไหมครับ  แต่ทางใต้น่าจะดึงดูดให้คนใช้บริการเยอะนะครับ  เพราะมีทะเลสวยและขยายเมืองลงใต้ก็ได้ หรือ จะ ทำไรก็แล้วแต่ คับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
สถานบินทั่วโลกมีกฎหมายเป็นข้อบังคับทุกๆที่ ถ้าไม่ได้แอบใช้กลโกงสร้าง จะต้องไม่มีอาคารหรือตึกสูง หรือ ต่างๆนาๆ และ ต้องห่างจากตัวเมืองหรืออาคารบ้านเรือน ไม่ต่ำกว่ามาตฐาน กี่กิโลไม่รู้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สนามบินนั้นจะต้องมี ขนส่งออกจากนอกสนามบินตามที่เขากำหนดด้วย ไม่งั้นคุณจะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสนามบิน นานาชาติครับ นี่คือข้อบังคับ

รู้ใช่ไหมว่าสนามบินเป็นพื้นที่นานาชาติ ไม่ใช่ที่ดินไทยถึงจะอยู่ในไทยก็เถอะ ถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นถ้ายังติดอยู่สนามบิน จะยังมีกฎหมายแปลกๆที่อ่านแล้วงงๆช่วยอยู่

แต่ถ้ามีคนตรวจสอบเขาจะวัดกันด้วยความดังเสียงครับถ้าจากตรงนี้บ้านหรือหมู่บ้านโดนไปกี่เดซิเบลก็จะโดน แต่สุวรรณภูมิ หรือ ดอนเมืองที่เห็นว่าเป็นสนามบินในเมืองสร้างได้ไง จริงๆแต่ก่อนบ้านที่โดนมีไม่กี่หลังมันพอจะเล่นกลได้อยู่ แล้วพวกบ้านมันมาสร้างใกล้สนามบินของมันเอง

แล้วอย่างต่ำความไกลมันก็ปาไปเกือบๆ 20-30 กิโลแล้ว ดังนั้นเวลาคนมาลงสนามบินแล้ว ขนส่งมันไม่ดีจริงๆ คนจะไม่ลงสนามบินนั้นอีกเลยครับ อย่างน้อยสุดคือต้องมีชัทเติ้ลบัสพาเข้าเมืองไปหาขนส่งหลักให้ได้ ดีนะบ้านเราไม่ใช้ประเทศหิมะลง เพราะถ้าหิมะลง รถอะไรก็ไปไม่ได้เลย

แต่ถ้าคุณเป็นคนเล่นเกมส์ city skyline บ่อยๆ ผมชอบทำสนามบินห่างๆเพื่อลดเสียง แล้วสร้างทั้งรถเมล แท๊กซี่ และ รถไฟฟ้าไว้เลย เพราะมันได้ผลประโยชน์จากการใช้งานเยอะมากๆ ก็คิดค่าโดนสารแพงหน่อยอะครับแค่นั้นเลย แทบไม่ได้กำไรเลยนะ แต่คนชอบเพราะว่า AI มองว่าเสียงน้อยและไม่ต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆเช่น กำแพงกันเสียงที่ต้องเสียและบำรุงตลอด และ อื่นๆเพื่อเป็นค่าปิดปากไม่ให้มันบ่นสนามบิน เพื่อขนส่งวัสดุหรือนักท่องเที่ยว

ส่วนเหตุผลที่ผมไม่ชอบทำรถไฟข้ามเมือง คุณรู้ไหมทำไม ค่าเมนเทอร์แนนซ์รางรถไฟสาหัสมากครับ ค่าเหล็กไม่พอ คุณไม่มีทางรู้เลยว่าชาวบ้านจนๆไปแอบงัดน็อตขาย หรือ สัตว์ หรือห่าเหวอะไรก็ตามที่มันไม่รู้ ชนทีก็อร่อยๆครับ การทำรถไฟแบบไหนถึงจะเหมาะกับการลงใต้ ในแดนที่อยู่ดีๆอยากมีระเบิดก็ได้ไม่มีก็ได้ 555 ทีนี้รู้ยังว่าทำไมถึงไม่มีใครอยากทำลงใต้ มันมีการก่อการร้ายเพื่อทำการเมืองอยู่ถ้ามันไปวางไว้ตรงรางรถไฟ ก็สนุก

เพราะทุกวันนี้คุณรู้หรือไม่ว่า รางรถไฟต้องมีการตรวจเช็คสม่ำเสมอ ไม่รู้ว่าสนิมบ้างไรบ้าง แล้วระยะทางขนาดนั้นอะ ขนาดข้ามไปใต้ โห คุณต้องใช้คนงานจ่ายเงินเดือนขนาดไหน นั่งรถรางนั่งเช็คกี่จุดๆ แล้วมันมีรางสายเดียวแล้วถ้ามันพัง คุณทำไงครับ ในเมื่อค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เป็นเงินเดือนของคนทำงานสายรถไฟ ยังวิ่งอยู่ ติ๊กต็อกๆ ปล่อยพังก็ไม่ได้เพราะถ้ารถมันชนและคว่ำ ตายทั้งคันรถ มูลค่าความเสียหายนี่เปิดให้บริการมา 10 ปียังแทบจะจ่ายไม่ไหวเลย

มันมีแง่ของการบริหารและการลงทุนอยู่เยอะมากๆ ขนาดเล่นในเกมส์แค่โดนค่าบำรุง ก็อ้วกแตกจนต้องขอขึ้นภาษีประชากรแล้ว ต่างประเทศเขาถึงยังใช้รถเมล์ครับ ในการข้ามแต่ละรัฐ เพราะว่ามันถูกมากๆ ในทุกๆแง่และความคุ้มค่าสูงที่สุด

ถ้าคุณเกาะอยู่ตลาดหุ้นเหล็ก คุณจะเห้นว่า ค่าเล็กแม้มแพงขึ้นเอาๆ ขนาดแค่รถไฟฟ้าในกทมยังจะเจ๊งเลยจร้า แล้วลองคิดว่าถ้าเป็นรถไฟสายท่องเที่ยว แล้วไม่มีนักท่องเที่ยว มีแค่คนบ้าๆบอๆอยากหนีกทมๆวันๆไม่กี่ร้อยคน แต่วิ่งเป็นสิบๆเที่ยวต่อวัน เขาเรียกว่าวิ่งตู้เปล่าแบบเหมาเที่ยวเสียเงินฟรีอะครับ แค่วิ่งไปก็ไม่คุ้มแล้ว แต่ก็ต้องวิ่งตามรอบไม่งั้นโดนร้องเรียน

ส่วน airlink รายได้ดีนะครับมันเป็นสายชานเมืองมาเกทับรถไฟไทยเก่าๆข้างล่าง แต่ติดว่า ตอนมันไปดีลมาทำอะ มันดันเป็นรางอีกแบบ แล้วรถไฟฟ้ามันนี่หละตัวดีเลยเรื่องค่าเมนเทอร์แนนซ์ อะไหล่หมดสั่งนาน สั่งไม่ได้ เลิกผลิต ย้ายเป็นรถแบบอื่นไม่ได้ถ้าจะถอนรางออกหมดเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น ก็งบเยอะไป ใช้เวลานานกว่าจะเสร็จ ขาดทุนตายก่อน แค่รายจ่ายจะคนใช้งานทั่วไปก็ยังจะไม่พอเลย

มีอะไรเยอะกว่าที่คุณคิดเยอะแต่ง่ายที่สุด เขาถึงออกแบบหรือวางผังเมืองกันแบบ กระจายเป็นหลายๆเมืองหลวงหลายๆเมืองแทน แล้วค่อยมีสักเส้นหนึ่งเอาไว้เป็นตัวเชื่อม ระหว่าง สองเมืองหลวง รายได้ดีกว่ามากๆ แล้วค่อยๆกระจายเมืองหลวงอื่นไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นระบบคมนาคมขนาดใหญ่โคตรๆครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่