คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8

ประชาชนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 หากท่านรับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ให้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0PvGUTfSLiv2qj8Y8hLgjGAD91dTUXQHivFpMNUzNfwqu2tkb56WxVuBF29uv2CDCl&id=100068069971811

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อภ. ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีน HXP-GPOVac ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นเข็มกระตุ้น
องค์การเภสัชกรรม เดินหน้าทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบเข็มกระตุ้น ในอาสาสมัคร 4,000 คน ที่โรงพยาบาลนครพนม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ภายหลังจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ประสบความสำเร็จ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วัคซีนวิจัยชนิด NDV-HXP-S สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การเภสัชกรรม (HXP-GPOVac) ขณะนี้ได้เข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แล้ว และในวันนี้ (23 ธันวาคม 2565) เป็นการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งจะดำเนินการที่โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ในอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม ซึ่งหากการทดลองครั้งนี้ พบว่ามีศักยภาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น จะช่วยให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้เพิ่มขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงด้านวัคซีนหากเกิดการระบาดขึ้นอีกในอนาคต รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเองด้านวัคซีนของประเทศไทยอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
ด้าน นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 องค์การเภสัชกรรมได้มีการปรับแพลตฟอร์มการผลิตวัคซีนจากไข่ไก่ฟักเพื่อให้พร้อมสำหรับรองรับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในระดับอุตสาหกรรม โดยโครงการวัคซีน NDV-HXP-S เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน PATH, Icahn School of Medicine at Mount Sinai (Icahn Mount Sinai) นิวยอร์ค, University of Texas at Austin (UT Austin) ประเทศสหรัฐอเมริกา และโรงงานผู้ผลิตวัคซีนใน 3 ประเทศ คือ บราซิล เวียดนาม และไทย โดยวัคซีนต้นแบบมีการพัฒนามาจากนวัตกรรมการตัดต่อไวรัสนิวคาสเซิล (Newcastle disease virus, NDV) ให้มีการแสดงออกของโปรตีนหนามของไวรัสโคโรนาที่ถูกปรับแต่งด้วยเทคโนโลยีเฮกซะโปร (HexaPro) ให้มีความคงตัวมากขึ้น ซึ่งโปรตีนหนามเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19
โดยเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนชนิด NDV ถูกพัฒนาขึ้นโดย Icahn Mount Sinai ขณะที่ UT Austin เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี HexaPro และองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตวัคซีนวิจัยโควิด 19 ชนิด HXP-GPOVac จาก seed virus ที่ได้รับจากโรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (Icahn Mount Sinai) โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก เช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ ขององค์การเภสัชกรรม ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
จากข้อมูลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมนี้มีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และข้อมูลดังกล่าวได้นำมาใช้ในการคัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสมสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งหากผลการศึกษาในระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจ จะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ในปี พ.ศ. 2566 และกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น โดยองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนดังกล่าวประมาณ 5-10 ล้านโดสต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
งานวิจัยได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผ่านทาง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกองทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/gpoth.official/posts/pfbid02jYTH9QkEvDAq8jkkNbZphBMjrgY19JgxgNHz1nFgrJDajRZotWjvPRSUbgpBHdqtl

“นพ.ยง” ชี้มูลเหตุ “กลายพันธุ์ – ฟักตัวสั้น – ภูมิต้านไม่ทัน” แต่ไม่ลดรุนแรง คนไทยมากกว่า 90% มีภูมิต้านทาน!!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์สาเหตุ “โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง” ระบุว่า ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ
“เมื่อระยะฟักตัวสั้นลง ทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง”
ในภาพรวมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย มากกว่า 90% มีภูมิต้านทานต่อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีน หรือโดยการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ติดเชื้อแล้ว มากกว่า 70 % ทำให้ได้รับเชื้อแล้วถึงแม้ว่าจะติดโรคได้ อาการจะน้อยลง และในอนาคตภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และขยับเข้าตรงสายพันธุ์มากขึ้นจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02J6b5vZFvw2khaGhqjLqj5LmBPDVKiDZxA6LFPpiPwN8U6D4DFuX7ghFygMmWsFkzl
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0zvozwsDyu6asbCjDkpNrPbpBXJMzT1JKxD74c7ESCHn1avwFsnz7Eh6Tn4vBNMvWl

แพทย์แผนไทย ห่วงใยประชาชน จัดแคมเปญ
“พกฟ้าทะลายโจรอุ่นใจ เดินทางปีใหม่ ห่างไกลโควิด”
ขอรับยาผ่านแอปฯ “Fah First Aid” ใช้รักษาโรคหวัดธรรมดา และโควิด 19
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ เปิดเผยว่า ในช่วงปีใหม่นี้ ประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา และอาจเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง ทั้งไข้หวัด ไอ เจ็บคอ หรืออาจมีอาการโควิด 19 การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคดังกล่าว ขณะนี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ร่วมกับ บริษัทผู้ผลิตยาฟ้าทะลายโจร เตรียมส่งมอบฟ้าทะลายโจร 6,700 ชุด โดยดำเนินโครงการผ่านแอปฯ "Fah First Aid" ให้แก่ประชาชนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสผู้ป่วย ซึ่งสามารถติดต่อผ่านช่องทาง Line Official Account "Fah First Aid" สามารถลงความประสงค์ในการรับฟ้าทะลายโจรได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยพร้อมจะให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565-วันที่ 31 มกราคม 2566 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
สำหรับประชาชนที่ต้องการยาฟ้าทะลายโจรหรือสอบถามข้อมูลเรื่องการใช้ ยาฟ้าทะลายโจรครบวงจร สามารถรับบริการผ่าน Line Official Account "Fah First Aid" สามารถลงทะเบียนโดยการเพิ่มเพื่อน พิมพ์ในช่องทางไลน์ไอดีว่า @fahdtam แล้วกดยอมรับยินยอมและรับทราบตามลำดับระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดบันทึกหน้าจอยืนยัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สามารถสอบถามได้ที่ 06-3267-4154 หรือ www.facebook.com/dtam.moph
ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032nP7YGjpuik3FhgPAaWicqLwUaChAXvKxcUZ925DH64MzQi7Rue2RXDD6xhHifhMl

โรคหัดป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โรคหัด เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
ผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็กที่ฟุ้งในอากาศ
หรือจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032nP7YGjpuik3FhgPAaWicqLwUaChAXvKxcUZ925DH64MzQi7Rue2RXDD6xhHifhMl

ประชาชนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 หากท่านรับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ให้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0PvGUTfSLiv2qj8Y8hLgjGAD91dTUXQHivFpMNUzNfwqu2tkb56WxVuBF29uv2CDCl&id=100068069971811

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อภ. ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีน HXP-GPOVac ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นเข็มกระตุ้น
องค์การเภสัชกรรม เดินหน้าทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบเข็มกระตุ้น ในอาสาสมัคร 4,000 คน ที่โรงพยาบาลนครพนม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ภายหลังจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ประสบความสำเร็จ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วัคซีนวิจัยชนิด NDV-HXP-S สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การเภสัชกรรม (HXP-GPOVac) ขณะนี้ได้เข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แล้ว และในวันนี้ (23 ธันวาคม 2565) เป็นการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งจะดำเนินการที่โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ในอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม ซึ่งหากการทดลองครั้งนี้ พบว่ามีศักยภาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น จะช่วยให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้เพิ่มขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงด้านวัคซีนหากเกิดการระบาดขึ้นอีกในอนาคต รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเองด้านวัคซีนของประเทศไทยอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
ด้าน นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 องค์การเภสัชกรรมได้มีการปรับแพลตฟอร์มการผลิตวัคซีนจากไข่ไก่ฟักเพื่อให้พร้อมสำหรับรองรับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในระดับอุตสาหกรรม โดยโครงการวัคซีน NDV-HXP-S เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน PATH, Icahn School of Medicine at Mount Sinai (Icahn Mount Sinai) นิวยอร์ค, University of Texas at Austin (UT Austin) ประเทศสหรัฐอเมริกา และโรงงานผู้ผลิตวัคซีนใน 3 ประเทศ คือ บราซิล เวียดนาม และไทย โดยวัคซีนต้นแบบมีการพัฒนามาจากนวัตกรรมการตัดต่อไวรัสนิวคาสเซิล (Newcastle disease virus, NDV) ให้มีการแสดงออกของโปรตีนหนามของไวรัสโคโรนาที่ถูกปรับแต่งด้วยเทคโนโลยีเฮกซะโปร (HexaPro) ให้มีความคงตัวมากขึ้น ซึ่งโปรตีนหนามเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19
โดยเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนชนิด NDV ถูกพัฒนาขึ้นโดย Icahn Mount Sinai ขณะที่ UT Austin เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี HexaPro และองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตวัคซีนวิจัยโควิด 19 ชนิด HXP-GPOVac จาก seed virus ที่ได้รับจากโรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (Icahn Mount Sinai) โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก เช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ ขององค์การเภสัชกรรม ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
จากข้อมูลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมนี้มีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และข้อมูลดังกล่าวได้นำมาใช้ในการคัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสมสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งหากผลการศึกษาในระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจ จะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ในปี พ.ศ. 2566 และกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น โดยองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนดังกล่าวประมาณ 5-10 ล้านโดสต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
งานวิจัยได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผ่านทาง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกองทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/gpoth.official/posts/pfbid02jYTH9QkEvDAq8jkkNbZphBMjrgY19JgxgNHz1nFgrJDajRZotWjvPRSUbgpBHdqtl

“นพ.ยง” ชี้มูลเหตุ “กลายพันธุ์ – ฟักตัวสั้น – ภูมิต้านไม่ทัน” แต่ไม่ลดรุนแรง คนไทยมากกว่า 90% มีภูมิต้านทาน!!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์สาเหตุ “โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง” ระบุว่า ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ
“เมื่อระยะฟักตัวสั้นลง ทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง”
ในภาพรวมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย มากกว่า 90% มีภูมิต้านทานต่อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีน หรือโดยการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ติดเชื้อแล้ว มากกว่า 70 % ทำให้ได้รับเชื้อแล้วถึงแม้ว่าจะติดโรคได้ อาการจะน้อยลง และในอนาคตภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และขยับเข้าตรงสายพันธุ์มากขึ้นจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02J6b5vZFvw2khaGhqjLqj5LmBPDVKiDZxA6LFPpiPwN8U6D4DFuX7ghFygMmWsFkzl
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0zvozwsDyu6asbCjDkpNrPbpBXJMzT1JKxD74c7ESCHn1avwFsnz7Eh6Tn4vBNMvWl

แพทย์แผนไทย ห่วงใยประชาชน จัดแคมเปญ
“พกฟ้าทะลายโจรอุ่นใจ เดินทางปีใหม่ ห่างไกลโควิด”
ขอรับยาผ่านแอปฯ “Fah First Aid” ใช้รักษาโรคหวัดธรรมดา และโควิด 19
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ เปิดเผยว่า ในช่วงปีใหม่นี้ ประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา และอาจเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง ทั้งไข้หวัด ไอ เจ็บคอ หรืออาจมีอาการโควิด 19 การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคดังกล่าว ขณะนี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ร่วมกับ บริษัทผู้ผลิตยาฟ้าทะลายโจร เตรียมส่งมอบฟ้าทะลายโจร 6,700 ชุด โดยดำเนินโครงการผ่านแอปฯ "Fah First Aid" ให้แก่ประชาชนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสผู้ป่วย ซึ่งสามารถติดต่อผ่านช่องทาง Line Official Account "Fah First Aid" สามารถลงความประสงค์ในการรับฟ้าทะลายโจรได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยพร้อมจะให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565-วันที่ 31 มกราคม 2566 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
สำหรับประชาชนที่ต้องการยาฟ้าทะลายโจรหรือสอบถามข้อมูลเรื่องการใช้ ยาฟ้าทะลายโจรครบวงจร สามารถรับบริการผ่าน Line Official Account "Fah First Aid" สามารถลงทะเบียนโดยการเพิ่มเพื่อน พิมพ์ในช่องทางไลน์ไอดีว่า @fahdtam แล้วกดยอมรับยินยอมและรับทราบตามลำดับระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดบันทึกหน้าจอยืนยัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สามารถสอบถามได้ที่ 06-3267-4154 หรือ www.facebook.com/dtam.moph
ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032nP7YGjpuik3FhgPAaWicqLwUaChAXvKxcUZ925DH64MzQi7Rue2RXDD6xhHifhMl

โรคหัดป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โรคหัด เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
ผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็กที่ฟุ้งในอากาศ
หรือจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032nP7YGjpuik3FhgPAaWicqLwUaChAXvKxcUZ925DH64MzQi7Rue2RXDD6xhHifhMl
แสดงความคิดเห็น
💙🇹🇭มาลาริน🇹🇭💙สบายใจไปกับ 'หมอ ยง' ค่ะ ..หมอชี้โควิดระยะฟักตัวสั้นลง แต่ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง
วันที่ 3 ธันวาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า...👇
โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง
ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ
เมื่อระยะฟักตัวสั้นลงทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่ เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง
ในภาพรวมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย มากกว่า 90% มีภูมิต้านทานต่อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีน หรือโดยการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ติดเชื้อแล้ว มากกว่า 70 % ทำให้ได้รับเชื้อแล้วถึงแม้ว่าจะติดโรคได้ อาการจะน้อยลง
และในอนาคตภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และขยับเข้าตรงสายพันธุ์มากขึ้นจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป
https://www.naewna.com/local/700059