ขายที่ดินแต่เราไม่ได้รับเงินจริง จะมีปัญหาอะไรในอนาคตไหมคะ ?

เรื่องของเรื่องก็คือ
ที่ดินแปลงนี้เป็นมรดกของตากับยาย ซึ่งต้องแบ่งให้พี่น้องของแม่ตามสิทธิ 
พอรังวัดที่ดินเสร็จแล้ว คุณแม่เสียชีวิตก่อนที่จะได้โอนให้พี่น้อง
เราเป็นผู้จัดการมรดก รับหน้าที่โอนที่ดินแทน
ซึ่งต้องโอนมาเป็นชื่อเรา ก่อนทำเป็นสัญญาซื้อขายกับน้าแล้วโอนต่อให้น้าๆ 
แต่เราไม่ได้รับเงิน ไม่แน่ใจว่า ในอนาคตเราจะมีปัญหาในเรื่องอะไรไหมคะ ? 

อย่างเช่น มีรายได้จากการขายที่ดินแต่ไม่ได้เสียภาษี (เคสนี้ก็ไม่แน่ใจว่าต้องเสียไหม?) 

แล้วมีเคสที่ว่า น้าสองคนตกลงซื้อขายกัน โอนเงินให้กันเองไม่ได้ผ่านเรา 
อนาคตเราจะมีปัญหาไหมว่า คนทางฝ่ายน้าที่ขายเกิดไม่พอใจ ไม่ยอมรับรู้เรื่องการซื้อขายนี้ 
มาหาว่าเราโอนที่ดินมรดกให้โดยมิชอบ ไม่เป็นธรรม เขาไม่ยินยอม ((แค่คิดก็เริ่มปวดหัวละ)) 
ในสัญญาก็จะมีแค่ชื่อน้าคนซื้อ กับเราเป็นชื่อคนขาย ส่วนคนขายจริง ได้รับเงินจริง ไม่มีชื่อนะ 
แบบนี้ เราจะมีปัญหาในอนาคตไหมคะ ? 

อาจจะงงหน่อย ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ถามเพิ่มได้ค่ะ 
หลักๆเลยคือ ขายที่ดินได้ เราต้องเอามาคำนวนภาษีไหม ? เราจะโดนภาษีย้อนหลังไหม ?

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ตามความเข้าใจในคำถาม  ที่ดินเดิมเป็นของตายาย  แม่รับโอนมาให้ถือแทน  รอวันแบ่งให้พี่น้องแม่  แต่แม่มาเสียชีวิตก่อน  คุณเป็น ผจก.มรดกแม่  ก็ต้องทำหน้าที่แบ่งให้บรรดาน้าๆตามส่วน
  ถ้าเป็นตามนี้   ก็ทำเป็นซื้อขายถูกต้องแล้วครับ  จะทำเป็นรับมรดกก็ไม่ได้  เพราะน้าๆไม่ใช่ทายาทโดยตรงของแม่   คุณขายมรดก ถึงแม้ไม่ได้จ่ายเงินกันจริง  ก็ทำได้  จะได้ไม่ต้องมาติดพันธะเรื่องฟ้องเนรคุณถ้าทำเป็น"ให้" แจ้งราคาขายให้เท่ากับ หรือมากกว่าราคาประเมินนิดๆได้ เสียค่าโอนพอๆกับการ"ให้"  แต่ที่ดินที่เขาซื้อไปก็จะกลายเป็นสินสมรส(ถ้าน้าๆมีคู่สมรส)
  เราไม่ต้องไปเสียภาษีอะไรเพิ่มอีก  เพราะเสียไปตอนโอนแล้ว  ใครจะจ่ายในส่วนนั้นก็ตกลงกัน   และพวกน้าๆก็จะมาฟ้องเรื่องแบ่งมรดกไม่เป็นธรรมไม่ได้  เพราะจริงๆตามเอกสารโฉนด  ที่ดินล่าสุดเป็นชื่อแม่  ไม่ใช่ชื่อตายาย  เพียงแต่เป็นที่รู้กันว่าให้แม่ถือครองไปก่อนเพื่อรอวันแบ่ง
  คนที่จะฟ้องคุณเรื่องแบ่งมรดกของแม่ได้จริงๆก็คือทายาทของแม่คนอื่นๆ ก็คือ พี่น้องของคุณ, สามีแม่ที่จดทะเบียนสมรส   ฉะนั้นควรทำบันทึกยินยอม(ปรึกษาจนท.ที่ดิน  เล่าเรื่องทั้งหมดให้เขาฟัง)​
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่