อัพเดทราคาหุ้น TFEX และราคาทองคำ วันนี้ 24/11/2022

อรุณสวัสดิ์ครับ เพื่อนพี่น้อง มิตรรักแฟนคลับ TFEX CLUB! เมื่อคืนเรียกได้ว่าฝนถล่ม น้ำท่วมแถวบ้านผมเลย 

'ญี่ปุ่น'สร้างปาฏิหารย์ 'สเปน'สุดโหด ผลบอลโลก2022 https://siamrath.co.th/n/401975

"หุ้นเอเชียพุ่งขึ้นก่อนรายงานผลการประชุมเฟด"

https://th.investing.com/news/stock-market-news/article-95453
โดย Ambar Warrick

Investing.com-- หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในวันพุธตามการฟื้นตัวในชั่วข้ามคืนของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เนื่องจากตลาดต่างรอข้อบ่งชี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโควิด19 ที่เพิ่มขึ้นในจีนที่เพิ่มขึ้นยังคงจำกัดกำไร เนื่องจากเทรดเดอร์เกรงว่าจะมีการหยุดชะงักมากขึ้น

ปริมาณการซื้อขายในภูมิภาคค่อนข้างถูกจำกัดเนื่องจากตลาดญี่ปุ่นปิดทำการในช่วงวันหยุดยาว

ดัชนี ฮั่งเส็ง ของฮ่องกงทำผลงานดีที่สุดในตลาดเอเชีย โดยเพิ่มขึ้น 1% หลังจากร่วงลงในห้าเซสชั่นที่ผ่านมา กำไรในตลาดหุ้นจีนค่อนข้างเงียบ โดยดัชนี CSI 300 และ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต เพิ่มขึ้น 0.1% และ 0.3% ตามลำดับ

จีนประกาศบังคับใช้ข้อจำกัดใหม่ในเมืองใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากจีนต้องต่อสู้กับการติดเชื้อรายวันที่สูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอในเดือนตุลาคม บ่งชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การฟื้นตัวของกรณีโควิด19 ได้ชดเชยการมองโลกในแง่ดีเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าปักกิ่งจะลดนโยบายปลอดโควิดที่เข้มงวดลง เนื่องจากความไม่พอใจของสาธารณชนได้เพิ่มขึ้น




EIC ส่องเศรษฐกิจไทยปี’66 ผันผวนสูง จับตาเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยขาขึ้น
อีไอซี ประเมินเศรษฐกิจไตรมาส 4/65 ขยายตัวต่อเนื่อง อานิสงส์ภาคการท่องเที่ยว หนุนการบริโภค-ภาคบริการขยายตัว คาดจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีอยู่ที่ 10.3 ล้านคน ชี้ เศรษฐกิจไทยปี’66 มีความผันผวนสูง เผยเศรษฐกิจโลกชะลอ กระทบการส่งออก พร้อมจับตา “เงินเฟ้อสูง-ดอกเบี้ยขาขึ้น” กระทบความสามารถชำระหนี้ครัวเรือนวงกว้าง เกาะติดการเลือกตั้งต้นปี

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันที่ 4.5% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐาน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปี 2564 ยังเผชิญมาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 เข้มงวด และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสามขยายตัวถึง 1.2% หลังปรับปัจจัยฤดูกาล (QOQ sa)

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน กอปรกับภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ฟื้นตัวดีตามการเปิดเมืองและเปิดประเทศ ส่งผลให้ในภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3.1%

หากพิจารณากิจกรรมเศรษฐกิจด้านภาคการผลิต (Production approach) พบว่า หลายภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี นำโดยภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวจากเดิมที่หดตัวในไตรมาสก่อน ภาคบริการที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นกับการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาคการก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐ ประกอบกับการหดตัวของภาคเกษตรตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565
EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยราว 10.3 ล้านคนในปี 2565 จากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นจากอุปสงค์คงค้าง (Pent-up demand) การผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ที่เป็นช่วง High season นักท่องเที่ยวจากประเทศเมืองหนาวจะเดินทางมาไทย อีกทั้งจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเองก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการในภาพรวม โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการขนส่ง ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การฟื้นตัวของภาคบริการท่องเที่ยวมีส่วนสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตดีจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่กลับมาเป็นปกติมากขึ้น สำหรับการส่งออกสินค้าในช่วงท้ายปีอาจได้รับอานิสงส์จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และวัตถุดิบที่เริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์

อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในช่วงท้ายปี ด้านความช่วยเหลือจากทางภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีน้อยลงจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเต็มจำนวนแล้ว และเหลือเพียงราว 42,000 ล้านบาทที่รอเบิกจ่าย

เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและความไม่แน่นอนรอบด้าน กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ปี 2566
สำหรับปี 2566 EIC คาดเศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ และภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เป็นแรงกดดันสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกที่จะชะลอตัวลงมากจากที่เคยเติบโตดีในช่วงที่ผ่านมา

โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญปัญหาหลายมิติ รวมถึงตลาดสำคัญในยุโรปและสหรัฐ ที่เศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ปลายปีนี้และกลางปีหน้า ตามลำดับ ส่งผลต่อเนื่องทำให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนอาจขยายตัวชะลอลงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในส่วนที่พึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลัก สำหรับความช่วยเหลือจากทางภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีน้อยลง เนื่องจากข้อจำกัดทางการคลังทำให้รัฐบาลระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะมีการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ท่ามกลางความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน เช่น ความไม่แน่นอนของจีนในการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID ที่อาจใช้เวลานานกว่าคาด ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยน้อยลงและช้าลง รวมถึงอาจทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกคลี่คลายช้าลง ภาวะเงินเฟ้อสูงในประเทศที่อาจยาวนานกว่าคาดจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่อาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในช่วงต้นปี 2566

าดเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4 โตต่อเนื่อง เปิดหุ้นเด่นท่องเที่ยว-บริโภค-ก่อสร้าง
จากกรณีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงาน GDP ไทย ขยายตัว 4.5% จากปีก่อน สูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.4%  และขยายตัว 1.2% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวได้ต่อเนื่อง 4 ไตรมาสตั้งแต่ปลายปี2564 โดยทำให้ GDP รวม 9 เดือนแรกของปี 65 ขยายตัว 3.1% จากไตรมาสก่อนหน้า

ทั้งนี้ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวส่วนใหญ่มาจากการบริโภค เติบโต 9.0% จากปีก่อนหน้า, การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 11.0% จากปีก่อนหน้า, การส่งออก เติบโต 9.5% จากปีก่อนหน้า

โดยได้แรงหนุนของมาตรการผ่อนคลายควบคุมโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาต่อเนื่อง และสถานการณ์นอกประเทศที่เริ่มลดความตรึงเครียด

ขณะที่ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 65  มาจากการลงทุนภาครัฐลดลง 7.3% จากปีก่อนหน้า และการใช้จ่ายภาครัฐ ลดลง 0.6% จากปีก่อนหน้า

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ทางสภาพัฒน์ประเมินว่าปี 65 และ 66คาดว่าจะขยายตัว 3.2% จากปีก่อนหน้า  และ 3.0 - 4.0% จากปีก่อนหน้า ตามลำดับ
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส หรือ ASPS เผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า หากใช้สมมุติฐานGDP ไตรมาส 4 ที่ระดับ 4.5% จากปีก่อนหน้า จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต 3.4% จากปีก่อนหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการ GDP ไทยของสำนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีค่าเฉลี่ยราว 3.2% จากปีก่อนหน้า
โดย ฝ่ายวิจัย ASPS คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มให้ฟื้นตัวต่อไปได้ จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าภาครัฐจะยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปีนี้ และการลงทุนของภาครัฐที่เปลี่ยนจากการเยียวยามาเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

อย่างไรก็ตามการประมาณการเศรษฐกิจไทย ควรคำนึงถึงปัจจัยเชิงลบต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ

สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส คาดว่ายังเห็นแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึงการลงทุน ของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐาน ดีต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว อาทิ AOT CENTEL CPN, กลุ่มการบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) อาทิ CRC COM7, กลุ่มก่อสร้าง – นิคม อาทิ CK STEC


เรามาผ่อนคลายสมองสักเล็กน้อยก่อนจากกัน 
https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/PGjr9j7?utm_source=copyshare
เรามาดูอันดับรหัสผ่านยอดแย่ที่เดาง่ายสุดๆ กันดีกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่