[CR] "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติธรณีวิทยา จังหวัดปทุมธานี" 🇹🇭 แหล่งเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่ได้มีแค่หิน 🌎🗺️👍

ในช่วงวันหยุดยาว 13-16 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้พาเด็กๆไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้บ้านเราที่สุด 


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่ในหลวงร.9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และยังเป็นสถานที่อนุรักษ์ แหล่งข้อมูลอ้างอิงและตัวอย่างที่สำคัญทางธรณีวิทยาอีกด้วย ทีพื้นที่ใช้สอย 14,000 ตรว. บนเนื้อที่ 5 ไร่ ใช้งบในการก่อสร้าง 419.5 ล้านบาท 






ก่อนอื่นเลยเราจะต้องไปที่จุดจำหน่ายบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก่อน ซึ่งผู้ใหญ่ คนละ 30.- บาท และ เด็ก คนละ 10.- บาท (เด็กตั้งแต่ 12 ปีลงไป ผู้พิการและผู้สูงอายุ เข้าฟรีค่ะ) 


ได้มาแว้ว!!! 


ชั้น 1 ของอาคารแห่งนี้ จะแสดงประวัติความเป็นมาของกรมทรัพยากรธรณี วิสัยทัศน์และกลยุทธิ์ , ภาพ
พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครกุมารี เสด็จแทนพระองค์ (ในหลวง ร9.) ทรงเป็นประธานในเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 , ตารางคณะเข้าชมของโรงเรียนต่างๆ , จำหน่ายของที่ระลึก , ห้องอาหาร , ห้องประชุม และห้องสมุดชั้นลอยค่ะ 










อาคารส่วนที่จัดแสดงมีทั้งหมด 4 ชั้นด้วยกัน จัดแสดงเรื่องราวตั้งแต่การกำเนิดโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ธรณีวิทยาของประเทศไทย ตลอดจนการนำความรู้ธรณีวิทยาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเช่น ธรณีพิบัติภัย ปิโตรเลียม การทำเหมืองแร่ เป็นต้น มีอะไรกันบ้างไปชมกันเลยค่ะ 


ชั้น 2 :: มีทั้งหมด 2 ห้องด้วยกัน จัดแสดงธรณีวิทยาคืออะไร กำเนิดโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก , ธรณีวิทยาประเทศไทย , Precambrian – Recent , หินยุคต่างๆ , Model สถานที่ของหินยุคต่างๆ , ซากดึกดำบรรพ์ของยุคต่างๆ และภาพดูราแทนแสดงสภาพแวดล้อมยุคต่างๆ 


ธรณีวิทยาคืออะไร? 






ชุดและอุปกรณ์นักธรณีวิทยา 




มนุษย์ดึกดำบรรพ์ในยุคต่างๆ 






มาทำความรู้จักโลกของเรากันเถอะ 










ระบบสุริยะ 




มุมถ่ายรูปกับเจ้าไดโนเสาร์น้อย 


ไปต่อกันที่ห้องที่ 2 กันเลยค่ะ 


ห้องนี้จะพบกับการจำลองซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์สายพันธุ์ต่างๆค่ะ 














ไข่ไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ 










ธรณีวิทยากับแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย จุดนี้สามารถกดปุ่มตามหมายเลขต่างๆ ไฟก็จะขึ้นไปตามจุดสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยค่ะ 


ชั้น 3 :: จัดแสดงกำเนิดแร่ การทำเหมืองแร่ การใช้ประโยชน์แร่ การประยุกต์ใช้แร่ สร้างเขื่อน ถนน การก่อสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น ทำเรือ สนามบิน ฯลฯ ธรณีวิทยาพิบัติภัย แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและน้ำท่วม




แร่ชนิดต่างๆ 




การทำเหมืองแร่ 


การนำแร่ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น นำแร่ไปทำเป็นจานชาม นาฬิกา โคมไฟ กระจก เครื่องประดับและอื่นๆอีกมากมาย 




ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 


ดินถล่ม 




จำลองสัญญาณเตือนภัย








ไปต่อกันที่ชั้น 4 กันเลยค่ะ 


ชั้น 4 :: จัดแสดงธรณีวิทยาประยุกต์ :: เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำบาดาล การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม พลังงานทางเลือก ถ่านหิน การรักษาสภาพแวดล้อมจากท่อขนส่งเชื้อเพลิง น้ำบาดาลและการใช้ประโยชน์ 






ความรู้ในด้านการสร้างโรงกลึง 










น้ำบาดาลจากคันโยก บ้านใครเคยมีใช้บ้างเอ่ย!! 


จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ สวนดึกดำบรรพ์ ที่มีการจัดไดโนเสาร์ ให้มีการเคลื่อนไหว แสง สีและเสียงสมจริง
ทำให้ดูน่าตื่นเต้น
















ส่วนด้านนอกอาคาร :: จัดแสดง 2 อย่างด้วยกันคือ จัดแสดงรูปปั้นไดโนเสาร์สายพันธุ์ต่างๆขนาดใหญ่มากมายและจัดแสดงสวนหินธรณีวิทยา แสดงหินยุคต่างๆ ที่เก่าแก่กว่า 500 ล้านปี อันนี้ไม่ได้ถ่ายมาให้ดู 










สำหรับสิ่งที่เราได้รับจากการมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ เด็กๆจะได้รับความรู้อย่างมากมายที่อยู่นอกเหนือจากหนังสือ เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางด้านความคิด ทางร่างกายและจินตนาการสร้างสรรค์ มีพื้นที่ให้เด็กๆได้สนุกกับการเล่นเครื่องเล่นที่ตั้งอยู่ในโซนสวนธรณีวิทยา นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักกฎเกณฑ์ในการเข้าใช้บริการแต่ละพื้นที่ เช่น ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอลล์ และต้องใส่แมสตลอดเวลาที่เข้าใช้บริการ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมพาน้องๆนู๋ๆ ไปเที่ยวชมกันนะคะ 

เพี้ยนปักหมุด
ชื่อสินค้า:   ธรณีวิทยา , ภูมิศาสตร์ , พิพิธภัณฑ์ , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ , จังหวัดปทุมธานี
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่