ทำไมคนขายอาหาร​, ร้านโชห่วย​ ต้องกู้นอกระบบด้วยครับ​ ?

กู้นอก​ระบบ​ทั้งนั้น​ อยากทราบว่าบริหารเงินแบบไหน​ หรือ​ไม่ได้แยกไว้​ ปนกันมั่ว
แล้วพอจะลงทุน​ ซื้อเนื้อ, ผัก, ซอส​, ข้าว​ ต่อก็ไม่พอ​ เลยต้องหยิบยืมเป็นงูกินหาง​ 
กู้มาโปะอะไรแบบนี้​ ไม่ได้ซ้ำเติม​นะ​
ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ

เท่าที่เห็นจะเป็นแบบ​ ขายข้างทาง, ร้านเล็กๆมากกว่า​ ( street​ food​ )​ สายป่านสั้น
เห็นในข่าว​ ตามทวง

มีความเห็นยังไงเม้นบอกหน่อยนะ​ 

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เพราะสายป่านสั้นแหละค่ะ
- คนจะลงทุนขายอาหารเล็กๆ บางที "ลืม" นึกถึงค่าอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์ที่จะเน่าเสียทุกๆ วัน จานชามช้อนส้อมที่หาย/แตกได้ทุกวัน ข้าวของที่เอามาขายที่มีวันหมดอายุ รวมถึง ลืมนึกถึงวันที่ขายได้แค่ไม่กี่ชาม เช่น วันฝนตก
- ร้านโชห่วย จะเจอพวกขอ "ติดไว้ก่อน" บางร้านพวกมานั่งกินเหล้ากันก็หยิบของในร้านมากินด้วยโดยไม่จ่ายเงิน ร้านไหนขายโซดา/เครื่องดื่มที่ไม่ใช่ to go จะเจอต้นทุนขวดโซดา/ขวดเครื่องดื่มแตก (ใบละ 5 บาท และมันแตกได้ทุกวัน) พวกถุงพลาสติกใส่ของให้ลูกค้านี่ก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ชั้นวางของเสียก็ต้องซ่อม พูดง่ายๆ คือ มันมีต้นทุนแฝงที่ถ้าไม่ใช่คนเคยทำจะไม่รู้ ไม่เคยบริหารเงิน ไม่เคยกันเงินไว้

และที่สำคัญคือ ไม่ได้ขายในสเกลใหญ่มากพอที่จะมีรายได้เยอะจนขนาดสามารถกันเงินไว้ออม ไว้ซื้อประกันสุขภาพ เจ็บป่วยขึ้นมา ถ้าไม่ใช้สิทธิ 30 บาท ต่อให้ไปคลินิกก็ยังใช้เงินเยอะอยู่นะคะ อาจเท่ากับรายได้ที่ขายวันนั้นทั้งวันเลย หรือยังมีค่าเล่าเรียนลูก ค่าอะไรต่อมิอะไรอีก

จบ สุดท้าย หมุนเงินไม่ทัน ก็กู้นอกระบบวนไปค่ะ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  เจ้าของธุรกิจ การเงิน ร้านอาหาร สินเชื่อระยะยาว
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่