คุณชัชชาติแก้น้ำท่วมมาถูกทางแล้ว    โมเดล ระบายไปก่อน(Drain it first)   ภาต2

มาช่วยกันแก้ไข   บางอย่างที่เรารู้  คนอื่นอาจไม่รู้  รวมหมู่ช่วยกัน
 
              จากที่เคยเขียน โมเดล   ระบายไปก่อน(Drain it first)      ตามลิงค์พันทิพ https://pantip.com/topic/41638920      ซึ่งตรงกับแนวทางที่คุณชัชชาติกำลังออกข่าวเรื่องการพร่องน้ำ       จุดใหญ่  โดยกำหนดว่า  ในเมื่อรู้ล่วงหน้าว่าจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้า     มีเวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 5 วันจึงถึงประเทศไทย    ทำไม กทม. ไม่ระบายน้ำออกไปก่อน    อย่างน้อยก็พร่องไป 50 ชม.(ซึ่งรองรับฝนระดับ 100 มม.ได้อย่างสบายๆ)เป็นแก้มลิงอยู่ทุกแห่งในคลองและคูระบายน้ำของ กทม.      เมื่อมีฝนตกมาแทนที่จะรอระบาย      เราก็สูบช่วยไปอีกแรง     ไม่ถึง ชม. ปัญหาน้ำท่วมก็คลี่คลาย

 
            ในปีนี้ท่านผู้ว่าก็คงทำได้ดีที่สุดเฉพาะหน้าขณะนี้         ในปีต่อไปน่ะเป็นการวางแผนระยะยาว     ผมอยากนำเสนอ        แนววิธีให้ท่านวางแผนเป็นขั้นตอน
    -โดยขอความอนุเคราะห์แผนที่ทางอากาศ ปี  พ.ศ. 2510 กว่า      เป็นภาพที่ใช้ในการออก นส.3    จากกรมพัฒนาที่ดิน 1:15000       ซึ่งจะเห็นภาพขาวดำของพื้นที่  โดยฌพาะความชื้นและทางน้ำชัดเจน     
  - รวมทั้งแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหาร  L707 -8 มาตราส่วน 1:50000   เพื่อเอามาวิเคราะห์ระบบทางน้ำ    การไหลลงทะเล   การถูกตัดขวางจากสิ่งปลูกสร้างในอดีต         
  - และในขณะเดียวกันนำแผนที่ดาวเทียมย้อน5-10 ปี   หลังจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA.   ที่ได้จัดทำขอบเขตน้ำท่วมโซนสำคัญๆที่ท่วมประจำ     แนวการไหลของน้ำ    
 - มีการวางแผนจุดระบายน้ำตามคูคลองในโซนน้ำท่วม  จากกรมชลประทาน     และสำคัญคือข้อมูลพื้นฐานทุกอย่างมาอยู่บนที่เดียว

 
ลองดูตัวอย่างโมเดลการวิเคราะห์      
            ยกตัวอย่าง  ตรงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    จุดนี้เริ่มมีปัญหา ทั้งๆที่ผมอยู่แถวนั้นมานาน      เมื่อก่อนไม่เคยท่วม     ในยุคที่ ยังเป็นสามแยกเกษตร    ไม่มีถนนนวมินทร์   บริเวณฟากถนนฝั่งตรงข้ามประตูใหญ่มีคลองยาวไปถึงบางบัว       ด้านข้างติดมหาวิทยาลัยก็มีคลอง   การไหลของน้ำไม่ติดขัด     แต่มาปัจจุบันทำไมจึงท่วมขัง
 
 
            เบื้องต้นต้องทำเซอร์เวย์       ทำแผนที่GIS     ทางน้ำไหลไปทางไหน     จุดway pointประตูปิดเปิดอยู่ส่วนใด     เส้นทางคูระบายน้ำหลักของโซนบริเวณน้ำท่วมทั้งหมด      ติดตั้ง เซนเซอร์ระดับน้ำในคลอง      เซนเซอร์ปริมาณน้ำฝน    ทุกอย่างเป็นlayer ซ้อนกัน     โดยมีlayerภาพถ่ายทางอากาศรุ่นโบราณจาก กรมพัฒนาที่ดิน     layerแผนที่ทหารในยุคย้อนหลัง        layerโซนน้ำท่วมจากGistda      layerการเคลื่อนตัวของหมู่เมฆและเส้น ไฮโซไฮน์จากกรมอุตุนิยมวิทยา      รวมทั้งlayerการวางจุดผันน้ำจากกรมชลประทาน   ทั้งคลองหลัก   คลองซอย   และคูระบายน้ำ    มีการแจ้งเตือนreal time            ทุกอย่างเป็นดิจิทัล     วิเคราะห์และจัดทำโดย ESRI  หรือหน่วยงานมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญทางGIS    เรียกใช้งานโดยผู้ที่มีความรู้ทางGIS      ทุกอย่างอยู่บนข้อมูลพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 6 layer ที่กล่าวมา
 

   โซนน้ำท่วมจุดนี้   (ดูรูปที่1)     อยู่ระหว่างคลองหลัก 2 คลอง  คือคลองบางบัว และ คลองเปรมประชากร   การระบายน้ำระหว่าง 2  คลองควรสูบระบายไปทางไหนโดยศึกษาจากข้อมูลในอดีต    ว่าน้ำไหลไปทางคลองไหน     และถูกปิดทางออกจุดใด      อาจต้องปิดประตูคลองที่เชื่อมต่อระหว่างคลองบางบัวและคลองเปรมด้านทิศเหนือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์      เมื่อปริมาณน้ำคลองใดคลองหนึ่งมากเกิน 
    


 
    และขอเสนอแนะลอกคลองที่เลียบถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้าให้น้ำไหลสะดวก      (ดูรูปที่2)    ในอดีตคลองนี้คู่ขนานไปกับคลองเปรมประชากรคงถูกขุดมาจากด้านข้างทางเพื่อถมถนนวิภาวดัรังสิต        บริเวณตรง 4 แยก ช่วงลงฝั่งลงถนนงามวงศ์วานข้าง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์     มีปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง    ถ้าไล่ๆดูจะเห็นว่าคลองนี้เป็นปัญหา     ทางน้ำถูกblock ที่ห้าแยกลาดพร้าว  จึงขังนาน       ซึ่งถ้าใครเคยผ่านทางจะรู้ว่า     คลองนี้น่าสนใจมากแต่ถูกทิ้งความสนใจไป  ทั้งๆที่โดยการระบายน้ำไปได้ไกลมากและเยอะ    ผ่านถนนวิภาวดีไปถึงสามเหลี่ยมดินแดงเลย 

     
 
    อีกจุดคือที่ถนนรัชดาภิเษก   ช่วงธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่   มักจะท่วมเป็นประจำ   เนื่องจากมีการblock ของน้ำ  (ดูรูปที่3 และ 4)    ลองดูเส้นทางน้ำสีน้ำเงิน   มาจากด้านทิศเหนือ    แล้วถูกblock โดยถนนรัชดาภิเษก    ทะลุผ่านใต้ถนน       แต่ ทางน้ำ ออกฝั่งธนาคารไทยพาณิชย์   กลับไม่เห็นชัดเจนว่าไปทางไหน    ทำให้ทางน้ำตัน     หากมีการสูบลงคลองนี้  น้ำก็จะย้อนกลับไปท่วมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    ไม่มีทางน้ำเชื่อมต่อ(ดูรูปที่5)     สำหรับทางระบายน้ำจุดนี้ก็เช่นกัน   ทางออกหลักไปลงคลองเลียบถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้าเช่นกัน 






 

จะเห็นว่าถ้าหากเราคิดเป็นระบบ    มีการแยกแยะfactor  ต่างๆ     การแก้ปัญหา ไม่ได้ยาก  โดยไม่ต้องคิดการใหญ่   ต้องทำอุโมงทางด่วนให้เสียงบประมาณ   และไม่รู้ว่าจะเสร็จทันหรือไม่       เพียงแต่คิดแบบสามัญธรรมดาๆ      ใช้เวลา  และให้เวลากับคุณ ชัชชาติ   สักระยะหนึ่ง    และร่วมกันช่วยแก้ไข
 
ขอบคุณที่อ่านครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่