คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
นครวัดได้รับการฟื้นฟูในรัชกาลเจ้าพระยาจันทราชาที่เป็นปฐมกษัตริย์ของเมืองละแวก ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธที่มีพระราชวงศ์ ขุนนาง พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาแสวงบุญ บูรณปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างศาสนสถานและพระพุทธรูปเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้ายุคของ อองรี มูโอต์ แล้วครับ
ชาวอยุทธยาก็เดินทางมาเช่นเดียวกัน ปรากฏหลักฐานคือ จารึกพระราชมุนี (จารึกหลักที่ ๓๑๔) พบที่พนมกุเลน จารึกด้วยอักษรขอมอยุธยา ภาษาไทย ไม่ระบุศักราช แต่เชื่อว่าตรงกับมหาศักราช 1505 (พ.ศ. 2126) ตามที่ปรากฏในจารึกสมเด็จพระราชมุนีบพิตร (จารึกหลักที่ 315) ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน มีเนื้อหากล่าวถึงพระราชมุนีเดินทางจากกรุงศรีอยุทธยามาที่ภูเขาพระราชทรัพย์ จากนั้นจึงมาไหว้พระที่เมืองพระนคร เห็นพระพุทธรูปที่พนมบาแค็ง (ปราสาทพนมบาแค็ง) พระเชตพน (ปราสาทนครวัด) ชำรุดจึงซ่อมแซม
“...ชื่อ พระราชมุนีมาแต่สรียุทธญาก็มาเห็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่บนราชทรัพย์ คอหักแขนหักมาต่อทารักทาขาดปิดทองสรรพบริบูรณ์แล้ว ก็ขึ้นมาไหว้พระเจ้าพระนครหลวง ก็มาเห็นพระเจ้าบนบาแขง คอหักแขนหักม้าตบต่อทารักทาชาดปิดทองสรรพ (บริบูรณ์) แล้วก็มาเห็นพระเจ้าพระพระเชตพน คอหักแขนหักก็มาต่อมาทารักทาชาดปิดทองบริบูรณ์แล้วก็ออกมาสร้างพระกพงก็มาทา...พระมหา...แล้วก็ทารักทาชาดปิดทอง...มา...ก็บริบูรณ์แล้ว...ไปอาราม”
ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีพระราชนิยมศิลปะแบบเขมรโบราณ จึงส่งช่างไปจำลองแบบปราสาทพระนครหลวงและปราสาทอื่นๆ ในกัมพูชามาสร้างเป็นที่ประทับร้อนเรียกว่า "พระนครหลวง" (ปัจจุบันเรียกว่า ปราสาทนครหลวง) ซึ่งมีการศึกษาว่าน่าจะจำลองมาจากปราสาทบาปวนในเมืองพระนคร เพราะมีจำนวนยอด 29 ยอดเท่ากัน
เมื่อสยามยกทัพไปทำสงครามในกัมพูชาได้มีการเดินทัพไปทางเมืองเสียมราฐที่เป็นที่ตั้งของเมืองพระนครบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 3 ที่มีการยกทัพเข้าไปประจำการอยู่ในกัมพูชานานหลายปี ดังนั้นน่าเชื่อว่าจะมีโอกาสได้เห็นเมืองนครวัดอยู่ครับ
รัชกาลที่ 4 มีความต้องการจะรื้อปราสาทหินเขมรเข้ามาในสยาม ซึ่งส่งข้าหลวงไปสำรวจนครวัด นครธม เมืองพุทไธสมัน เพื่อหาปราสาทหินขนาดย่อมที่พอจะรื้อได้ เมื่อสำรวจกลับมาแจ้งว่ามีแต่ปราสาทผไทตาพรหมที่เมืองเสียมราฐพอจะรื้อได้ จึงส่งคนไปรื้อเข้ามา แต่เนื่องจากชาวเขมรทำการต่อต้านออกมาฆ่าฟันคนที่เข้าไปรื้อปราสาท บรรดาเสนาบดีจึงเข้าชื่อถวายขอให้งดรื้อปราสาท ภายหลังรัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนให้ไปจำลองแบบปราสาทนครวัดมาสร้างเป็นโมเดลขนาดเล็กตั้งไว้ในวัดพระแก้วแทนครับ
ชาวอยุทธยาก็เดินทางมาเช่นเดียวกัน ปรากฏหลักฐานคือ จารึกพระราชมุนี (จารึกหลักที่ ๓๑๔) พบที่พนมกุเลน จารึกด้วยอักษรขอมอยุธยา ภาษาไทย ไม่ระบุศักราช แต่เชื่อว่าตรงกับมหาศักราช 1505 (พ.ศ. 2126) ตามที่ปรากฏในจารึกสมเด็จพระราชมุนีบพิตร (จารึกหลักที่ 315) ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน มีเนื้อหากล่าวถึงพระราชมุนีเดินทางจากกรุงศรีอยุทธยามาที่ภูเขาพระราชทรัพย์ จากนั้นจึงมาไหว้พระที่เมืองพระนคร เห็นพระพุทธรูปที่พนมบาแค็ง (ปราสาทพนมบาแค็ง) พระเชตพน (ปราสาทนครวัด) ชำรุดจึงซ่อมแซม
“...ชื่อ พระราชมุนีมาแต่สรียุทธญาก็มาเห็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่บนราชทรัพย์ คอหักแขนหักมาต่อทารักทาขาดปิดทองสรรพบริบูรณ์แล้ว ก็ขึ้นมาไหว้พระเจ้าพระนครหลวง ก็มาเห็นพระเจ้าบนบาแขง คอหักแขนหักม้าตบต่อทารักทาชาดปิดทองสรรพ (บริบูรณ์) แล้วก็มาเห็นพระเจ้าพระพระเชตพน คอหักแขนหักก็มาต่อมาทารักทาชาดปิดทองบริบูรณ์แล้วก็ออกมาสร้างพระกพงก็มาทา...พระมหา...แล้วก็ทารักทาชาดปิดทอง...มา...ก็บริบูรณ์แล้ว...ไปอาราม”
ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีพระราชนิยมศิลปะแบบเขมรโบราณ จึงส่งช่างไปจำลองแบบปราสาทพระนครหลวงและปราสาทอื่นๆ ในกัมพูชามาสร้างเป็นที่ประทับร้อนเรียกว่า "พระนครหลวง" (ปัจจุบันเรียกว่า ปราสาทนครหลวง) ซึ่งมีการศึกษาว่าน่าจะจำลองมาจากปราสาทบาปวนในเมืองพระนคร เพราะมีจำนวนยอด 29 ยอดเท่ากัน
เมื่อสยามยกทัพไปทำสงครามในกัมพูชาได้มีการเดินทัพไปทางเมืองเสียมราฐที่เป็นที่ตั้งของเมืองพระนครบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 3 ที่มีการยกทัพเข้าไปประจำการอยู่ในกัมพูชานานหลายปี ดังนั้นน่าเชื่อว่าจะมีโอกาสได้เห็นเมืองนครวัดอยู่ครับ
รัชกาลที่ 4 มีความต้องการจะรื้อปราสาทหินเขมรเข้ามาในสยาม ซึ่งส่งข้าหลวงไปสำรวจนครวัด นครธม เมืองพุทไธสมัน เพื่อหาปราสาทหินขนาดย่อมที่พอจะรื้อได้ เมื่อสำรวจกลับมาแจ้งว่ามีแต่ปราสาทผไทตาพรหมที่เมืองเสียมราฐพอจะรื้อได้ จึงส่งคนไปรื้อเข้ามา แต่เนื่องจากชาวเขมรทำการต่อต้านออกมาฆ่าฟันคนที่เข้าไปรื้อปราสาท บรรดาเสนาบดีจึงเข้าชื่อถวายขอให้งดรื้อปราสาท ภายหลังรัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนให้ไปจำลองแบบปราสาทนครวัดมาสร้างเป็นโมเดลขนาดเล็กตั้งไว้ในวัดพระแก้วแทนครับ
แสดงความคิดเห็น
อยุธยา รัตนโกสินทร์ รับรู้การมีอยู่ของนครวัด จนฝรั่งไปค้นพบเลยมั้ยครับ