JJNY : ‘อนุดิษฐ์’ ปูดงุบงิบเซ็นซื้อUAV│หวั่นหนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดศก.│เปิดข้อมูล"บัญชีเงินฝาก"คนไทย│รัสเซียโจมตีโพครอฟสค์

‘อนุดิษฐ์’ ปูดกลาโหมงุบงิบเซ็นซื้อ UAV อิสราเอลไร้อาวุธ 4 พันล้าน!
https://www.dailynews.co.th/news/1258781/

'สมชัย' เผยกมธ.งบสภาวางคิวถกงบกลาโหม 18 ก.ค.ระบุมีหลายประเด็นต้องซักถามด้าน 'อนุดิษฐ์' ปูดงุบงิบเซ็นซื้อ UAV ไร้อาวุธอิสราเอล 4 พันล้านจ่อชงกมธ.ป.ป.ช.ไล่บี้ยันมีหลักฐานไม่ชอบมาพากล 
 
 
เมื่อวันที่ 17 ก.ค.นายสมชัย ศรีสุทธิยากร รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2566 คนที่24 สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าวันที่ 18 ก.ค.ตั้งแต่เวลา 09.00 – 21.00 น. กมธ.มีกำหนดพิจารณางบประมาณในส่วนกระทรวงกลาโหม โดยผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพเตรียมเข้าชี้แจงรายละเอียดด้วยตนเอง อย่างไรก็ดีกมธ.พร้อมฟังการแถลงรายละเอียดและพิจารณารายละเอียดก่อนตั้งประเด็นซักถาม ซึ่งตนเตรียมข้อซักถามไว้หลายประเด็นสำหรับเอกสารรายละเอียดที่กระทรวงกลาโหมส่งมาให้กมธ. ยังไม่ลงรายละเอียดเรื่องครุภัณฑ์ เพราะเชื่อว่าจะอยู่ในเอกสารที่นำไปชี้แจงคณะอนุ กมธ.แต่เบื้องต้นมีหลายประเด็นที่พิจารณาแล้ว ควรตั้งคำถามกับผู้มาชี้แจงในการประชุมกมธ.
  
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะ กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่ชอบมาพากลของการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ประจำฐานบินชายฝั่ง มูลค่า 4,070 ล้านบาทของกองทัพเรือ ที่ถูกตั้งคำถามว่าการกำหนดขอบเขตของงาน (TOR) ของการจัดซื้อครั้งนี้ผิดวัตถุประสงค์ของการขอใช้งบประมาณหรือไม่ เนื่องจากกองทัพเรือของบประมาณเพื่อซื้อ UAV ติดอาวุธ 3 เครื่อง แต่กลับกำหนด TOR เพื่อจัดหา UAVทั้งสิ้น 7 เครื่อง โดยไม่มีการจัดหาอาวุธมาด้วย แปลว่า UAV ทั้ง 7 เครื่องนี้ ยังไม่พร้อมรบใช่หรือไม่ และหากต้องการให้ปฏิบัติภารกิจโจมตีทางอากาศตามวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ กองทัพเรือต้องมาของบประมาณเพื่อซื้ออาวุธเพิ่มเติมอีกใช่หรือไม่ และขอให้ฟันธงมาเลยว่าเมื่อสภาอนุมัติงบประมาณให้ซื้อ UAV พร้อมอาวุธ 3 เครื่อง แต่กองทัพเรือไปซื้อ UAV ที่ปราศจากอาวุธ​ 7 เครื่อง และมีสภาพไม่พร้อมรบแบบนี้ เป็นการจัดหาที่ผิดวัตถุประสงค์ที่กองทัพเรือมาชี้แจงกับสภาฯ หรือไม่
 
“แต่จนถึงขณะนี้นอกจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพเรือจะยังไม่ตอบคำถาม และไม่มีการชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังมีรายงานจากกระทรวงกลาโหมว่าเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.65 พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เซ็นอนุมัติซื้อ UAV หรือโดรนของกองทัพเรือ จากบริษัท เอลบิท ซิสเต็ม ของประเทศอิสราเอล รุ่น Hermes 900 จำนวน 7 ลำ มูลค่า 4,004,652,000 บาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้รับการรับรองจากกรมบัญชีกลาง รอเพียงกองทัพเรือประกาศให้สาธารณะรับทราบ และหลังจากนี้ พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนจะดำเนินการเซ็นสัญญาจัดซื้ออย่างเป็นทางการต่อไป” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว
 
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า เมื่อกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือ ยืนยันที่จะจัดหา UAV ดังกล่าว และรีบเร่งอนุมัติโครงการโดยไม่รับฟังเสียงทักท้วงของฝ่ายตรวจสอบ และยังหลีกเลี่ยงการตอบคำถามแบบตรงไปตรงมาแบบนี้ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ ตนเองจะได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมของ กมธ.ป.ป.ช. เพื่อขอมติให้ทำการตรวจสอบโครงการนี้โดยเร่งด่วน โดยขณะนี้ตนเองได้รับเอกสารข้อมูลต่างๆ จากพลเมืองดีมาเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเหตุการณ์ทุกขั้นตอนในวันที่ 31 ม.ค.65 และ 14 ก.พ.65 ที่เกิดขึ้นในห้องทำงานของคณะกรรมการจัดซื้อฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับการตรวจสอบและทำความจริงให้ปรากฏต่อไป
 
“จากหลักฐานที่ได้มาเชื่อว่า คณะกรรมาธิการฯทุกคนคงเห็นพ้องต้องกันที่จะพิทักษ์รักษางบประมาณของชาติกว่า 4 พันล้านบาทให้ถูกใช้อย่างถูกต้อง คุ้มค่า และเป็นประโยชน์กับทุกคน ไม่ใช่ถูกใช้จ่ายเพื่อผลประโยชน์ของใครบางคนเท่านั้น” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว.
 

 
หวั่นหนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจลากยาว
https://www.thansettakij.com/money_market/532934
 
ดอกเบี้ยเพิ่ม เงินเฟ้อพุ่ง กดดันหนี้ครัวเรือน หวั่นฉุดเศรษฐกิจลงยาว ค่ายกรุงไทยจับตา ปรับขึ้นรายได้ขั้นต่ำ หวังช่วยลดเสี่ยงการจ่ายหนี้ของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรเปิดไส้ในเงินกู้เพื่อกินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันยังสูง 27.7%
 
ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า จะเข้ามาซ้ำเติมหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นจุดเปราะบางดึงให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจขาลงยาวนาน เนื่องจากภาระหนี้ที่จะปรับสูงขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ย ทำให้การบริโภคเติบโตช้าลง
  
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน สิ้นไตรมาส 1/2565 พบว่า มีทั้งสิ้น 14.64 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 80,076 ล้านบาท จากไตรมาส 4/2564 ที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 14.57 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเทียบสัดส่วนสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่อ GDP ชะลอลงจาก 90.0% ในไตรมาส 4/2564 เหลือ 89.2%
 
นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โครงสร้างหนี้ครัวเรือนทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ซึ่งเป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยปรับขึ้น เพราะ ธปท.กำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้แล้ว
 
แต่สินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบ้าน โดยเฉพาะผู้ซื้อรายใหม่ซึ่งเป็นจังหวะที่ดอกเบี้ยในตลาดปรับขึ้นแล้วมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะถูกกระทบ โดยเฉพาะผู้กู้ที่มีรายได้ขึ้นลงไม่แน่นอน ย่อมกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระต่องวดได้
 
ขณะที่สินเชื่อบ้านที่คิดดอกเบี้ยคงที่ เมื่อครบกำหนดไม่ว่า อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(MLR) อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) หาก MLR /MRR ปรับสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้  ส่วนนี้ผู้กู้ย่อมได้รับผลกระทบจากมูลค่าการผ่อนชำระต่องวดที่เพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
นอกจากนั้นผู้กู้ซื้อบ้านอาจต้องบริหารจัดการเพิ่มด้วยการรีไฟแนนซ์ไปยังสถาบันการเงินอื่น แต่ต้องพิจารณาเรื่องภาระหรืออัตราการผ่อนระยะยาวที่ชัดเจน รวมถึงสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ อาจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยโดยตรงมากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันครัวเรือนบางส่วนใช้สินเชื่อทำธุรกิจอาจจะมีปัญหา มีความยากลำบากในการจ่ายหนี้ครัวเรือนในระยะข้างหน้าถ้าดอกเบี้ยปรับขึ้นในปีหน้า
 
“ปีนี้ธปท.คงปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งหรืออาจจะ 2 ครั้งรวม 0.50% แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดยังไม่ชัดเจน แต่ถ้า ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากจะขยับขึ้นตามในปีหน้า สิ่งที่ต้องดูต่อไปคือ ถ้ามีการปรับขึ้นรายได้ขั้นต่ำ จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการจ่ายหนี้ของครัวเรือนได้บ้าง” นายพชรพจน์กล่าว
 
ส่วนทางออกหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนจำเป็นต้องได้รับการจัดการ ทั้งมาตรการช่วยเหลือการลดภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาคครัวเรือน เพื่อให้ภาคครัวเรือนยังสามารถไปต่อได้ และมาตรการลดภาระหนี้ภาคครัวเรือน ด้วยมาตรการปรับโครงสร้างหนี้หรือการรวมหนี้ เพื่อทำให้ภาระการผ่อนชำระหนี้ของครัวเรือนลดลง
 
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่ย่อลงจาก 90.0% เหลือ 89.2% เป็นผลจากจีดีพี ณ ราคาประจำปี หรือ Norminal GDP มีแนวโน้มเติบโตสูงจากผลของภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น แต่ยอดหนี้ครัวเรือนยังคงเพิ่มขึ้น นับเป็นโจทย์กดดันครัวเรือน เพราะด้านหนึ่งที่เจอปัญหาค่าครองชีพหรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ แต่ยังต้องแบกรับภาระหนี้เดิมไว้ ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นและเงินเฟ้อ 

ทั้งนี้หากพิจารณาไส้ในหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/65 พบว่า สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในสัดส่วน 76.2% และสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพและอื่นๆ 23.8%  โดยสินเชื่อสัดส่วน 76.2% นั้น ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้าน 34.6% รองลงมา เพื่อกินเพื่อใช้ 27.7% เพื่อการเช่าซื้อ 12.2% เพื่อการศึกษา 1.7%
 
“ความกังวลส่วนใหญ่คือ สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพื่อกินเพื่อใช้ ในประจำวันที่เป็นหนี้ใช้แล้วหมดไป 27.7% ซึ่งเป็นประเด็นและยังขยับสูงขึ้น หากตัดสินเชื่อเพื่อบ้านและเช่าซื้อรถออก” นางสาวกาญจนากล่าว
 
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ครัวเรือนหลายกลุ่มเริ่มคิดมากขึ้นจะก่อหนี้เพิ่ม แต่มีข้อจำกัด ทั้งหนี้เดิมที่ยังคงแบกอยู่ หากเป็นการกู้สินเชื่อใหม่ที่มีสัญญาระยะยาว โอกาสเพิ่มภาระจากดอกเบี้ยขาขึ้นอีกและสถาบันการเงินภาพรวมระมัดระวังลูกค้าที่มีความเสี่ยงด้วย
 
ส่วนแนวโน้มช่วงที่เหลือของปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หนี้ครัวเรือนน่าจะหลุดกรอบล่างเดิมที่คาดไว้ที่ 86.5-88.5% ด้วยปัจจัยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนยังเป็นไฮไลต์ในการแก้ไขปัญหาของระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง และครัวเรือนมีรายได้เติบโตไม่ทันค่าครองชีพหรือรายจ่ายจากปัจจัยเงินเฟ้อ
 

 
เปิดข้อมูล "บัญชีเงินฝาก" คนไทย 15.76 ล้านล้านบาท ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น...เงินใคร?
https://www.prachachat.net/finance/news-982528
 
เปิดบัญชีเงินฝากคนไทยยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ยอดเงินฝาก ณ เดือนพ.ค. 2565 สูงถึง 15.76 ล้านล้านบาท โดยบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 5 หมื่นบาท มีมากกว่า 102 ล้านบัญชี เงินในบัญชีเฉลี่ยแค่ 4,240 บาท ขณะที่เศรษฐีเงินฝากมากกว่า 200 ล้านบาท มีมากถึง 4,832 บัญชี
 
วันที่ 17 กรกฎาคม2565 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณชัดเจนถึงทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อเดือนมิ.ย. 2565 เพิ่มขึ้น 7.66% โดยธปท. ระบุว่ามีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นชัดเจน ทำให้ความจำเป็นการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายน้อยลง โดยการปรับดอกเบี้ย จะดูตามบริบทการฟื้นตัวเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ “ช้าเกินไปไม่ดี”

ขณะที่สำนักวิจัยหลายรายคาดการณ์ว่า ธปท.จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)รอบหน้า วันที่10 สิงหาคม 2565 เพื่อสู้กับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สำหรับคนที่มีภาระหนี้ก็คงต้องเหนื่อยมากขึ้นที่ต้องแบกภาระหนี้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่สำหรับกลุ่มคนที่มีเงินฝากก็คงเป็นโอกาสดีของการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น
 
ลองไปดูว่าหลังจากที่คนไทยอยู่กับวิกฤกติโรคระบาดโควิด-19 มากว่าสองปีแล้วสถานการณ์บัญชีเงินฝากของคนไทยในธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างไร
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดข้อมูลสถิติเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ล่าสุด ณ สิ้นเดือนพ.ค. 2565 พบว่าบัญชีเงินฝากรวมทุกประเภทของคนไทยอยู่ที่ 15.76 ล้านล้านบาท จากทั้งหมด 116.55 ล้านบัญชี เรียกว่าเงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องดังนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่