JJNY : สังเวย19 ติดเชื้อ2,328│น้ำมันแพงกระทบรถรับจ้างหนัก│NIDAโพล คนหนุนกทม.ไฟเขียวชุมนุม7แห่ง│ซูดานชุมนุมต้านรัฐประหาร

สังเวยโควิดวันนี้ 19 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 2,328 ราย หายป่วย 2,043 ราย
https://www.dailynews.co.th/news/1210862/
 
 
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 19 ราย ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยใหม่วันนี้เพิ่มอีก 2,328 ราย กำลังรักษา 24,989 ราย.
 
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 3 ก.ค. 65 มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 2,328 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,325 ราย ผู้ป่วยจากต่างประเทศ 3 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,306,670 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,043 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,305,922 ราย กำลังรักษา 24,989 ราย เสียชีวิต 19 ราย เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 9,002 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 678 ราย
 


น้ำมันแพงกระทบรถรับจ้างอย่างหนัก ทนไม่ไหวเลิกวิ่งกว่า 70 %
https://ch3plus.com/news/economy/morning/299123
 
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ (2 ก.ค.) พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ราคาน้ำมันที่ปั๊ม ปตท. ในกลุ่มน้ำมันดีเซลราคาลิตรละ 35.24 บาท และกลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ลิตรละ 44.34 บาท แก๊สโซฮอล 91 ลิตรละ 45.18 บาท และแก๊สโซฮอล 95 ราคาลิตรละ45.45 บาท รวมไปถึงก๊าซ LPG ราคาลิตรละ 14.61 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างกันอย่างถ้วยหน้า โดยเฉพาะอาชีพรถรับจ้างต่างๆ

นอกจากรถโดยสาร ทั้งอุทัยธานี – กรุงเทพฯ ที่เป็นรถทัวร์ รถปรับอากาศ หยุดวิ่งไปก่อนหน้านี้ เหลือเพียงรถตู้โดยสารที่มีอยู่ 30 คัน ต้องสลับกันวิ่งเหลือเพียงวันละ 10 -15 คัน เท่านั้น รวมทั้งรถโดยสารที่วิ่งไปยังอำเภอต่างๆ ที่เป็นรถบัสก็เปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน และรถมีจำนวนน้อยวิ่ง ต้องหยุดไปอาชีพอย่างอื่นแทนกันชั่วคราว

ในวันนี้ (2 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปสอบถามถึงความเดือดร้อนจากปัญหาราคาน้ำมันกับรถจักรยานยนต์ รับจ้าง รถสกายแลป หรือรถสามล้อเครื่องรับจ้าง ที่มีวินอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีคนที่มีอาชีพนี้รวมกว่า 30 คัน แต่เมื่อมาเจอกับราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน้ำมันเป็นต้นทุนของอาชีพรถรับจ้าง ซึ่งแบกรับภาระต้นทุนน้ำมันกันไม่ไหว ประกอบเศรษฐกิจไม่ดีข้าวยากหมากแพง คนน้อยไม่ค่อยมีคนเดินทาง ทำให้หยุดวิ่งไปกว่าร้อยละ 70 อย่างวินจักรยานยนต์ มีเกือบ 20 คัน เหลือวิ่งเพียง 3 คัน เท่านั้น เช่นเดียวกับวินรถสกายแลป หรือรถสามล้อเครื่องรับจ้างที่มีอยู่ 15 คัน เหลือวิ่งรับจ้างเพียง 4 – 5 คัน ต่อวัน โดยหันไปหารับจ้างอย่างอื่นทำแทน เพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว
 
นอกจากรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อเครื่องรับจ้างแล้ว วินรถตุ๊กตุ๊ก ด้านหน้าโรงพยาบาลอุทัยธานี ก็ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับราคาสูงขึ้น ประกอบกับช่วงที่เป็นสถานการณ์โควิด – 19 ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นญาติผู้ป่วยที่มาเยี่ยมไข้เป็นหลัก ซึ่งทางโรงพยาบาลประกาศงดการเยี่ยมไข้ ทำให้คนน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าราคาน้ำมันที่แพงขึ้นมาก ทำให้การวิ่งรับจ้างในแต่ละวันรายได้ลดลงจนแทบไม่คุ้มค่าน้ำมันและค่าแรงของตัวเอง เหล่ารถรับจ้างตุ๊กตุ๊กต้องหยุดวิ่งชั่วคราวไปก่อน จากเคยมีรถวิ่งจำนวน 16 คัน เหลือวิ่งอยู่ไม่ถึง 10 คัน เพราะวิ่งไปก็ไม่คุ้ม ไปหางานรับจ้างอย่างอื่นกันแทน ส่วนที่วิ่งอยู่ก็ประคับประคองให้เหลือเป็นค่ากับข้าวในแต่ละวันไปก่อน



NIDAโพล คนหนุนกทม.ไฟเขียวชุมนุม 7 แห่งเชื่อคุมได้
https://www.innnews.co.th/news/news_367251/

NIDAโพล คนหนุนกทม.ไฟเขียวชุมนุมสาธาณะ 7 แห่ง เชื่อเจ้าหน้าที่สารมารถควบคุมได้ จี้ฟันม็อบบนถนน
 
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กทม. ไฟเขียว 7 สถานที่ จัดชุมนุม” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
อยู่กรุงเทพมหานคร
 
และกระจายทุกอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง พบว่า เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคำสั่งผู้ว่าฯ กทม. ในการจัดให้มีสถานที่ใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ ประชาชน ร้อยละ 54.89 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะเป็นการจัดระเบียบให้การชุมนุมอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่สร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่กีดขวางการจราจร และเจ้าหน้าที่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางความคิดได้ รองลงมา ร้อยละ 29.16 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะทำให้การชุมนุมเป็นระเบียบ ไม่วุ่นวาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ร้อยละ 9.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ
 
ทำให้เกิดการชุมนุมบ่อยครั้งขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะการชุมนุมสร้างความวุ่นวาย ทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน กังวลว่าเจ้าหน้าที่
จะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า กังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากการชุมนุม
 
ส่วนสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ควรดำเนินการ หากมีการชุมนุมที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ แต่ไปอยู่บนท้องถนนแทน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 40.08 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ชุมนุม รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า อำนวยความสะดวกในการชุมนุมเหมือนเดิม 
 
ส่วนสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ควรดำเนินการ หากมีการชุมนุมที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ แต่ไปอยู่บนท้องถนนแทน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 40.08 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ชุมนุม รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า อำนวยความสะดวกในการชุมนุมเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่