การปิดบัญชีธนาคารของคุณพ่อในฐานะผู้จัดการมรดก

คุณพ่อของ จขกท เสียชีวิตช่วงต้นปี ทำเรื่องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจนเรียบร้อยก็เริ่มไปติดต่อแต่ละธนาคารเพื่อดำเนินการปิดบัญชี  โดยบัญชีของคุณพ่อ
3 ใน 4 เป็นบัญชีที่เปิดต่างจังหวัด   4 ธนาคารคือ  ธ.กสิกรไทย   ธ.ไทยพาณิชย์  ธ.ทหารไทยธนชาติ  ธ.ออมสิน  แต่ละบัญชีเงินมีตั้งแต่หลัก 100 ไปจนถึงหลักพัน (ไม่เกิน 5,000บาท) 
เอกสารที่เตรียมไป 
1. ใบแต่งตั้งผู้จัดการมรดก พร้อมสำเนา
2. ใบแสดงว่าคดีสิ้นสุด พร้อมสำเนา 
3. บัตรประชาชน ทะเบียน  ของคุณพ่อ
4. ใบมรณะบัตร
ส่วนของเราจะเป็นบัตรประชาชน  ทะเบียนบ้าน 
เราเลือกไปที่เซ็นทรัลพระราม 3 เพื่อความสะดวกในการติดต่อ

ธนาคารไทยพาณิชน์  เป็นธนาคารแรกที่ไป  ปิดเรียบร้อย 
   ก็แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามาปิดบัญชี  ทางเจ้าหน้าที่ก็ขอสำเนาเอกสาร ข้อ 1-4  (วันที่ไปไม่ได้พกตัวจริงข้อ 3-4ไป อันนี้แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว)  และ บัตรประชาชนของจขกทไป พร้อมสำเนา   จขกท มีบัญชีของSCB เจ้าหน้าที่ก็ขอไปเพื่อจะได้โอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงเลย   เซ็นต์รับรองสำเนาเอกสารทุกตัวแล้วก็รอเจ้าหนา้ที่ทำเรื่อง   ถามว่าใช้เวลานานไหม  ตอบเลยว่านาน 30 - 45 นาทีได้ แต่ก็เข้าใจว่า ปิดบัญชีแบบนี้คงไม่ได้เจอทุกวัน เพราะเจ้าหน้าที่ต้องไปรื้อเอกสาร เพื่อหารายการว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง  คีย์เสร็จต้องให้หัวหน้ามาดูอีกรอบ  กว่าจะเสร็จเหนื่อยแทนเลย   

ธนาคารทหารไทธนชาต   ติดต่อตรงเคาเตอร์ฝากถอนเงิน   ปิดบัญชีเรียบร้อย 
   บอกเลยไม่ปลื้มเบาๆ เพราะเป็นบัญชีที่คุณพ่อรับเงินผู้สูงอายุ ยอดเงินเลยเยอะที่สุด ก่อนไป ได้ติดต่อ  CC ทาง  ทางMassenger ของธนาคารไป  ซึ่งทาง CC บอกว่า ให้เอาสมุดบัญชี และ ใบแต่งตั้งศาลไปที่สาขาไหนก็ได้  หลังจากเสร็จจาก ธ.ไทยพาณิชย์แล้วก็เลยไปที่ ทหารไทยธนชาตต่อ   ผลคือ
ทำไม่ได้  ต้องมีบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และ ใบมรณะบัตรตัวจริงไปด้วย   อันนี้แอบเคืองเบาๆ เพราะเสียเวลานั่งรอไป 20 กว่านาทีเปล่าๆ   แจ้งไปว่าเราเตรียมเอกสารตามที่ CC บอกมานะ  เอกสารแต่งตั้งจากศาลก็เป็นตัวจริง  เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าต้องมีเอกสารตัวจริงด้วย 
      สรุป จขกท เลยต้องไปเอาเอกสารที่บ้านคุณแม่ แล้วกลับไปใหม่ในวันรุ่งขึ้น   ซึ่งเกิดปัญหาอีก  คือ เอกสารที่เตรียมมีการเซ็นต์รับรองสำเนาและลงวันที่กำกับไว้แล้ว ด้วยปากกาสีดำ  เจ้าหน้าที่ให้เซ็นต์ใหม่ด้วยปากกาน้ำเงินลงวันที่กำกับตามปกติ  พอเขารับไปดูเริ่มเกิดปัญหา ว่าทำไมเซ็นต์ 2 รอบ ทำไมปากกา 2 สี  จน จขกท ต้องตอบเสียงดุๆไปว่า ก็แจ้งแล้วนะคะว่ามาเมื่อวานไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ทำไม่ได้เลยต้องมาวันนี้ เอกสารก็ให้ดูก่อนที่คุณจะให้เซ็นต์ใหม่ ตกลงจะให้ทำยังไงคะ  ถึงได้ไปต่อได้  ปิดปัญชีรับเป็นเงินสดออกมาเรียบร้อย  
    จากธนาคารนี้ทำให้รู้ว่า CC ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไป  ถ้ามีเวลาไปถามที่ธนาคารโโยตรงจะง่ายกว่า 

ธนาคาร กสิกรไทย    ยังรอการติดต่อกลับจากทางธนาคาร 
   เป็นธนาคารที่ถ้าทำ online ได้จะทำ เพราะเบื่อการไปนั่งรอหน้าธนาคารมาก  ไปถึงแจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามาปิดบัญชี กำลังจะบอกต่อว่าของคุณพ่อที่เสียก็ไม่ทันละ เจ้าหน้าที่ยื่นบัตรคิวให้แล้วหันไปหาคนอื่นต่อ  ก็รอยาวๆไป 30 นาที + เข้าไปนั่งรออีก  10 นาที  เข้าไปที่เคาเตอร์ฝาก ถอนเงิน พอแจ้งว่าปิดบัญชีผู้ตายเท่านั้น    ทำตรงนี้ไม่ได้ครับ ต้องไปตรงโต๊ะ แล้วบอกให้ไปต่อแถวใหม่  ณ.ตอนนั้นคือขึ้นเลย   เลยถามเจ้าหน้าที่ว่า พี่เสียเวลาไป 40 กว่านี้เพราะคนของคุณแล้ว พี่ต้องไปเริ่มนับ 1 ใหม่หรอคะ  เขาถึงได้เรียกจ้าหน้าที่อีกคนมารับเรื่องไป  พาไปติดต่อที่โต๊ะ  ตรงนี้งงตรงที่เขาขอแต่บัตรประชาชนคุณพ่อไป  จขกท ต้องเอาสมุดไปยื่นให้  เขาคีย์หาข้อมูลแล้วแจ้งว่ามี 2 บัญชีต่างจังหวัดทั้งคู่  ก็ยื่นเอกสารตามปกติ   กรอกเอกสาร  เซ็นต์เอกสารไป   เนื่องจากเป็นบัญชีที่เปิดต่างจังหวัด ต้องทำเรื่องส่งเข้าสำนักงานใหญ่รอประมาณ  2-3 วัน  นี้ผ่านมา 4 วันแล้วยังไม่ได้รับการติดต่อกลับมา  คาดว่าคงต้องไปตามเรื่องเองที่ธนาคาร  แถมตอนเดินออกเจ้าหน้าที่ที่ยื่นบัตรคิวให้คนแรกเดินหลบไปเลย ไม่มีขอโทษหรืออะไรทั้งสิ้น  เขารู้ว่าเขาผิดนะเพราะโดนรุ่นพี่ที่มาดูแล จขกท ดุไปแล้ว  

ธนาคารออมสิน 
   เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือดีมาก   แต่เนื่องจากเป็นบัญชีที่เปิดต่างจังหวัด  เขาแจ้งว่า จขกทมี 2 ทางคือ 1. ไปปิดบัญชีที่สาขานั้น (อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่) 
2. ทำเรื่องปิดจากทางนี้ แต่รอประมาณ 2 เดือน     จขกท เลือกข้อ 2 เพราะเงินในบัญชีแค่ 2000 ไม่คุ้มที่จะเดินทางไป  ที่ปิดเพราะคุณแม่อยากทำอะไรให้เรียบร้อยเท่านั้น   

จากประสบการณ์ของ จขกท ทำให้รู้ว่า  ข้อมูลจากCC ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป   จงเอาเอกสารตัวจริงไปให้ครบ   และ ถ้าไม่ok กับสิ่งที่เจ้าหน้าทีทำก็บอกเจ้าหน้าที่ไปตรงๆ ไม่ต้องเกรงใจ  เพราะถ้าเกรงใจหรือ ไม่กล้า จะเป็นเราที่ลำบาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่