กรุงเทพฯในสายตาคนต่างชาติ ถือว่าเจริญมากแค่ไหน?ในโลก

กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงและนครที่มีคนเยอะมากที่สุดในไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคม การเงิน-การธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของไทย ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระฯและฝั่งธนฯ กรุงเทพฯมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 6 ล้านคน ทำให้กรุงเทพฯจัดเป็นเอกนคร มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเอกนครที่สุดในโลก เพราะมีคนเยอะมากกว่านครที่มีคนเยอะเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า กรุงเทพฯมีตึกระฟ้าเยอะที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อ พ.ศ.2563 มีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะแยะทั้งด้านศาสนา ด้านการจับจ่ายซื้อของ ห้างฯต่างๆหรือสถานบริการกลางคืน เช่น พระบรมมหาราชวัง สยามสแควร์ ถนนข้าวสาร ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ไม่น้อย โดยใน พ.ศ.2562 ฟอบส์ หนังสือเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินชื่อดังของอเมริกา ได้จัดให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะที่สุดในโลก โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้า 22.78 ล้านคนและทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 2,003 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากดูไบและเมกกะ ตามลำดับ กรุงเทพฯเป็นเขตปกครองพิเศษของไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่ากรุงเทพฯนั้น ยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพฯอีกด้วย กรุงเทพฯมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพฯมาจากการเลือกตั้ง ในสมัยอยุธยา กรุงเทพฯยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง คือ ธนบุรี ใน พ.ศ.2310 และรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ.2325 กรุงเทพฯเป็นหัวใจของการทำให้ไทยเจริญก้าวหน้า ทันสมัยและเป็นเวทีของการต่อสู้ทางการเมืองของไทยตลอดศตวรรษที่ 20 กรุงเทพฯเติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีความสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บริษัทต่างชาติมีจำนวนไม่น้อยก็ได้เข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ จึงทำให้กรุงเทพฯเป็นกำลังหลักในทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังจะเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชั่น และบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกรุงเทพฯยังขาดการวางผังเมือง จึงทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีไม่ค่อยเพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนตัวเยอะเป็นบ่อเกิดปัญหาการจราจร ถ้าหากเกิดผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้                               
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่