การไปเรียน Master และ วีซ่าหลังเรียนจบในประเทศต่างๆ

สวัสดีครับ ทุกท่าน

หลังเรียนจบป.ตรีที่ไทยก็ ผมมีความสนใจจะไปเรียนต่อ ป.โท biomedical/bio engineering และเป็นไปได้ก็อยากอยู่ต่อต่างประเทศไปเลย ( สายนี้งานในไทยหาค่อนข้างยาก ไม่เป็น อาจารย์ก็ต้องไปทำที่ nstda)  ก็เลยได้หาข้อมูลหลายๆประเทศที่ใช้อังกฤษเป็นหลัก(เรียนภาษาที่สามไม่ไหวแล้ว555555555) ได้แก่ ประเทศ USA, UK, Ireland, Canada, Australia, New Zealand ซึ่งประเทศเหล่านี้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานต่อหลังเรียนจบและมาตั้งถิ่นฐานได้ ซึ่งแต่ล่ะประเทศก็มีกฎเกณฑ์ต่างกันไปครับ วันนี้ก็เลยมาแชร์ข้อมูลที่ไปสืบค้นมาแก่ทุกท่านครับ ข้อมูลนี้สำหรับสายมาทำงานหลังเรียนจบนะครับ ไม่ใช่แต่งงาน/ครอบครัว/ลงทุน/ลี้ภัยซึ่งก็เป็นอีก route หนึ่งและมีกฏเกณฑ์ต่างกันไปครับนะครับ ทั้งนี้หากข้อมูลผิดพลาดตรงไหน ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ปล 1. จริงๆแล้วเราสามารถข้าม post graduate visa ไป work visaได้เลย แต่ทางปฎิบัติน่าจะยากมากก ไม่น่ามีใครจ้าง55555555555
ปล 2. จริงๆแล้วมีวีซ่าอีกหลายตัวมากๆครับ โดยเฉพาะ แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ แต่ที่เขียนด้านล่าง เป็นrouteตรงสำหรับผมมากสุดที่จะไปเรียนป.โท biomedical/bio engineering แล้วทำงานต่อเลยครับ 
ปล 3. กฎเกณฑ์พวก visa & immigration นี่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โปรดเช็คข้อมูล ณ เวลานั้นด้วยครับ

1. USA 
-Work while studying: Generally not allowed ยกเว้น ทำงานใน campus ที่ทำได้เลย (RA, TA, etc.) หรือ CPT visa (ฝึกงานได้ ที่อยู่ในหลักสูตรที่เราเรียน) ให้ทำ 20hrs/week หรือ full-time  แต่ถ้าใช้ครบ12 เดือนแบบ full-time OPTจะใช้ไม่ได้แล้ว / Pre-OPT visa (ฝึกงาน ที่ไม่มีอยู่ในหลักสูตร แต่จะไปหักเวลาจาก Post-OPT ที่หลังตามเวลาที่เราใช้ไป) ให้ทำ 20 hrs/week (studying) หรือ full-time (holiday)  ซึ่งทั้งสองvisaต้องเรียนไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีถึงจะใช้ได้และถ้าใช้ครบ 1 ปีจะใช้ Post-OPT visa ไม่ได้
-Postgraduate visa: Post-OPT visa ( 1years สำหรับ สายnon-STEM หรือ maximum 3 years สำหรับ สายSTEM กรณีไม่ได้ใช้ Pre-OPT visaนะ) ซึ่งต้องหานายจ้างให้ได้ด้วยภายใน 60วันหลังเรียนจบไม่งั้นกลับประเทศ
-Work: H1-B visa  ซึ่งต้องให้นายจ้าง sponsor แล้วโควต้ามีแค่ปีล่ะ 85,000 ที่ ( 65,000 seats for regular and 20,000 for who earned a U.S. master’s degree or higher) ซึ่งแต่ล่ะปีผู้สมัครก็ประมาณ 250,000 ก็เสี่ยงดวงจับฉลากกันไป ไม่ได้ก็ต้องกลับประเทศ วีซ่าตัวนี้ใช้ได้ maximum 6 years (3+3 years)
- PR: EB-1/ EB-2  ซึ่งต้องให้นายจ้าง sponsor ถ้าได้วีซ่าตัวนี้ก็ถือต่ออีก 5 ปีก็จะขอ citizen ได้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.uscis.gov/working-in-the-united-states

2. UK
-Work while studying: 20hrs/week 
-Postgraduate visa: ขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมาครับ (master ได้ 2 years) 
-Work: Skilled Worker visa or Tier 2 (General)  ต่อได้เรื่อยๆทุก 5ปี ครับ
-PR: Indefinite leave to remain (ILR)  ซึ่งหลังจากทำงานด้วย skilled worker visa 5 ปีก็จะสามารถขอILRได้ครับ และหลังจากนั้น 1 ปีก็จะขอcitizen ได้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.gov.uk/browse/visas-immigration

3. Ireland
-Work while studying: 20 hrs/week (study) หรือ 40 hrs/week (holiday)
-Postgraduate visa:  ขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมาครับ (master ได้ 2 years) เงื่อนไขคือทำได้แค่ 40 hrs/week (not full-time)
-Work: General Employment Permit/ Critical Skills Employment Permit  (full-time) ซึ่ง general ต้องถือ 5 ปีถึงจะได้ stamp 4 ส่วนcritical ถือ 2ปีก็จะได้ stamp 4
-PR: Long Term Residency  ซึ่งหลังจากได้ stamp 4 มาอย่างน้อย 5 ปีก็จะสามารถขอได้ครับ และหลังจากนั้นต้องเก็บคะแนนให้ได้ 150 คะแนนก็จะขอ citizen ได้ครับ (คะแนนอันนี้ผมก็งงๆอยู่ครับ) 
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.irishimmigration.ie/

4. Canada
-Work while studying: 20 hrs/week (study)  หรือ full-time (holiday)
-Postgraduate visa: ขึ้นอยู่เวลาที่เรียนมา ( เรียน 8 เดือนขึ้นไปแต่ไปถึง 2 ปีได้ตามเวลาที่เรียน ส่วน2 ปีขึ้นไปได้ 3 ปีเลย แล้วก็ถ้าเรียนป.โทหรือเอก 16-23 เดือน ก็ยังได้ 3 ปีอยู่ดี)
-Work & PR: Federal Skill Express entry เป็นระบบนับแต้มเอาจากความสามารถเราครับ เราสามารถลองไปเช็คได้ตามเว็บนี้: https://www.cic.gc.ca/english/immigrate/skilled/crs-tool.asp ซึ่งคะแนนไม่ได้กำหนดขั้นต่ำ แต่ถ้าอยากมีโอกาสได้ คะแนนควรอย่างน้อย 470 ขึ้น (ไม่แน่ใจเหมือนกันครับเรื่องคะแนน) แต่จริงๆแล้วยิ่งคะแนนเยอะ ก็ยิ่งดีมีโอกาสติดก่อน ถึงอย่างนั้นถ้าคะแนนเราไม่ถึง อาจจะต้องไปสมัครแบบ Provincial nominees( Quebec มีอีกโปรแกรมของเขาเอง) หรือ Atlantic Immigration Program เพื่อได้คะแนนเพิ่มจาก province นั้นๆ (แต่ก็ต้องอยู่ province นั้นไปสักพัก) แต่ที่พิเศษของแคนาดาคือ ถ้าเรามาเรียนที่นี่ หลังเรียนจบเราสามารถสมัครแบบ Post-graduate streamของ บาง Province ที่เราจบมาได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องมี job offer ด้วยซ้ำ (ตอนนี้มีแค่ Ontario)  หลังจากนั้นก็อยู่แคนาดาอย่างน้อย 3 ปี จาก5 ปี ก่อนยื่นก็จะขอ citizen ได้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.canada.ca/en/immigration-refugees-citizenship/services/immigrate-canada.html

5. Australia
-Work while studying: 40 hrs/2 weeks (study) หรือ full-time (holiday)  แต่ตอนนี้ช่วงโควิด-19ทำได้แบบ full-time ตลอดไม่ต้องเป็นช่วงholidayก็ได้ แต่ไม่รู้เขาจะเปลี่ยนกฎกลับไปเมื่อไรครับ
-Postgraduate visa: ขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมาครับ (master ได้ 3 years แต่ extend ได้ if you study and live in a regional area) เงื่อนไขเพิ่มคือต้องเรียนอย่างน้อย 2 ปีด้วย 1 ปีไม่ได้ครับ
-Work & PR: Skilled Independent visa (subclass 189) / Skilled Nominated visa (subclass 190)  เป็นระบบนับแต้มเอาจากความสามารถเราครับ เราสามารถลองไปเช็คได้ตามเว็บนี้: https://immi.homeaffairs.gov.au/help-support/tools/points-calculator ซึ่งคะแนนขั้นต่ำคือ 65 คะแนน แต่ถ้าอยากมีโอกาสได้ คะแนนควรอย่างน้อย 80 ขึ้น แต่จริงๆแล้วยิ่งคะแนนเยอะ ก็ยิ่งดีมีโอกาสติดก่อน หลังจากนั้นก็อยู่ออสเตรเลีย อย่างน้อย 4 ปีก็จะขอ citizen ได้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://immi.homeaffairs.gov.au/

6. New Zealand
-Work while studying: 20 hrs/week (study) หรือ full-time (holiday or master by research)
-Postgraduate visa: ขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมาครับ (master ได้ 3 years)
-Work & PR: Skilled Migrant Category Resident Visa เป็นระบบนับแต้มเอาจากความสามารถเราครับ เราสามารถลองไปเช็คได้ตามเว็บนี้: https://www.immigration.govt.nz/new-zealand-visas/apply-for-a-visa/tools-and-information/tools/points-indicator-smc-28aug  ซึ่งคะแนนขั้นต่ำคือ 160 คะแนน ถ้าผ่าน 160 คะแนนคือได้แน่นอน ไม่ต้องรอไปเทียบกับผู้สมัครคนอื่นเหมือนแคนาดากับออสเตรเลีย แต่จริงๆแล้วยิ่งคะแนนเยอะ ก็ยิ่งดีมีโอกาสติดก่อน หลังจากนั้นก็อยู่นิวซีแลนด์ อย่างน้อย 5 ปีก็จะขอ citizen ได้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.immigration.govt.nz/new-zealand-visas

สรุป
USA: งานเยอะแต่ไม่รู้หาง่ายป่าว5555555555 แต่ขอวีซ่าต่อยากเพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายจ้างที่ต้อง sponsor เราและคนสมัครเยอะ
UK & Ireland: งานน่าจะหายาก และใช้เวลานานกว่าจะได้ ไม่รู้กฎจะเปลี่ยนแปลงก่อนป่าว
Canada: งานน่าจะหายาก แต่pathway สำหรับขอ PR มีเยอะมากทั้งจาก federal หรือ province  ผมว่าง่ายสุดเลย ยิ่งถ้ามาเรียนที่นี่ก่อน
Australia: งานน่าจะหายาก แล้วต้องเรียนหลักสูตร 2 ปี เพื่อจะได้ขอวีซ่าทำงานหลังเรียนจบ และ แบบต้องไปสอบอะไรเยอะแยะหรือไปเรียน regional area เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นในการขอ PR
New Zealand: งานน่าจะหายาก แต่ขอ PR ง่ายอยู่ผมว่า ยิ่งถ้ามาเรียนที่นี่ก่อน
ความง่าย: Canada > New Zealand > Australia > Ireland & UK & USA
ระยะเวลาในการได้ PR หลังเรียนจบ ( อันนี้จริงๆขึ้นอยู่แต่ล่ะความสามารถของแต่ละคนเลยครับ ข้างล่างคือการประมาณจากความสามารถผม)
USA: ประมาณ 6-9 ปี (ขึ้นอยู่กับนายจ้างว่าจะ sponsor ให้เมื่อไร)
UK: ประมาณ 6-7 ปี
Ireland: ประมาณ 9-12 ปี (ขึ้นอยู่กับ work permit)
Canada: ประมาณ 0-3 ปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละ pathway ที่ยื่น)
Australia: ประมาณ 0-3 ปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละ pathway ที่ยื่น แต่อย่าลืมว่าต้องเรียนหลักสูตร2 ปีถึงจะได้วีซ่าหลังเรียนจบ + อาจจะต้องเรียน professional year เพิ่มอีกปีเพื่อเพิ่มคะแนน)
New Zealand: ประมาณ 0-3 ปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละ pathway ที่ยื่น)

ก็จบไปแล้วทั้ง 6 ประเทศที่ผมไปหาข้อมูลมา ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ที่จะไปเรียนต่อ ป.โท แล้วจะต้องการทำงานและอาศัยต่อหลังเรียนจบ ให้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการเลือกประเทศเรียนต่อรวมกัน university rank, environment, ความชอบส่วนตัว ครับ แล้วก็ผมว่าถ้าอยากไปอยู่ประเทศไหน ควรเลือกไปเรียนประเทศนั้นเลย เพราะมันจะมีวีซ่าหลังเรียนจบช่วยให้หางานได้ก่อนสัก 2-3 ปีเพื่อโชว์skills ให้นายจ้างหรือมันจะมีคะแนนสำหรับเรียนจบประเทศนั้น มาช่วยเพิ่มคะแนนในการขอ PR

ส่วนผมตอนนี้ติดมหาลัยที่USA แต่กังวลเรื่องวีซ่าต่อหลังเรียนจบนี่แหละครับ วุ่นวายมากกกก ซับซ้อน ผมก็เลยสมัคร Canada (เรียนหลักสูตร 1ปีได้ ไม่มีปัญหาขอวีซ่าหลังเรียนจบ) ไว้ด้วยเพราะคิดว่า Canada น่าะง่ายสำหรับในการอยู่ต่อและขอ PR เทียบกับประเทศอื่นๆ 

ทั้งนี้ท่านใดมีข้อเสนอแนะผมในการเลือกประเทศเรียนต่อหรือทำงานต่อสำหรับสาย biomedical/bio engineering หรือท่านใดมีข้อมูลแก้ไขหรืออยากเพิ่มเติมจากที่ผมเขียน โปรดcomment ด้านล่างได้เลยครับ ขอบคุณครับผมมมมมม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่