ทำไมปีนี้จึงมีอากาศหนาวปลายฤดู(กลางหน้าร้อน)ได้ ?

ฤดูหนาวปีนี้ผมหวังอยู่ลึกๆมาตลอดว่ามันน่าจะมีลักษณะที่"น่าสนใจมาก" เพราะดังที่เคยเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูหนาว และกลางฤดูหนาว 
https://pantip.com/topic/41070754
https://pantip.com/topic/41173238
ปีนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมมันเอื้อให้อากาศหนาวมันอาจสามารถแผ่มาถึงประเทศไทยได้ถึงกลางมีนนาคม (ส่วนที่ทำไมกลับมีไม่กี่ระลอกที่ทำให้ลมหนาวปีนี้หนาวลงได้จริงก็ได้เขียนอธิบายไว้แล้วใน 2 กระทู้ข้างต้น)
ปรากฏว่าที่คาดไว้ก็เป็นตามราวๆนั้นคือ ราวสัปดาห์ท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ก็มีลมหนาวระลอกกำลังแรงหลงมาหาประเทศไทยจริงๆ จนขนาดทำให้อุบลฯ ถึงขนาดมีอุณหภูมิต่ำสุดตอนกลางวันต่ำที่สุดตั้งแต่เคยมีการบันทึกมาเลยทีเดียว [อ้างอิงจากกระทู้ของคุณ zaluniang] ซึ่งว่ากันตามตรงรอบปลายก.พ.ที่ผ่านมานั้นมีลักษณะละม้ายกับรอบปี 2554 มาก จะมีลักษณะอย่างไรลองมาดูกันครับ

ก่อนอื่นก็ลองดูปัจจัยสภาพแวดล้อมหลักในขณะที่เกิดอากาศหนาวกลางฤดูร้อนรอบปี 2554 เปรียบเทียบกับของปลาย ก.พ.ปีนี้ก่อน

เริ่มด้วย อุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่างจากค่าเฉลี่ยทั่วไปบริเวณใต้เกาะญี่ปุ่น

ค่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่างจากค่าเฉลี่ยของช่วงวันที่  21 - 31 มี.ค. 2554


ค่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่างจากค่าเฉลี่ยของช่วงวันที่ 21 - 28 ก.พ. 2565

กรอบสีแดงที่ผมได้ทำการขีดไว้ คือบริเวณที่สนใจ โดยจะเห็นได้ว่าในบริเวณกรอบสีแดงดังกล่าวทั้ง 2 รูปบน มีอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นกว่าปกติทั้งคู่ (อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลที่นำมาพล็อตใน 2 ภาพบนนี้เป็นคนละช่วงเวลากัน ซึ่งแน่นอนว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ น้ำทะเลจริงๆย่อมเย็นกว่าเดือนมีนาคมอยู่แล้ว ฉะนั้นอุณหภูมิน้ำทะเลของ ก.พ.ปี 2565 จริงๆแล้วจึงมีค่าต่ำกว่าของ มี.ค.ปี 2554 มากพอสมควร)

ลักษณะแบบนี้จะทำให้ความกดอากาศสูงสามารถล้วงลงมาได้ลึกกว่าปกติง่ายกว่าเดิม
มาดู MJO หรือ ตัวที่สามารถเอาไปวิเคราะห์ต่อได้ว่าลักษณะลมที่ 850 hPa จะมีการไหลเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติเท่าไหร่กันบ้าง


เฟสของ MJO และลักษณะการไหลของลมที่แตกต่างไปจากค่าปกติในช่วงเดือน ก.พ. - เม.ย.




ช่วงที่มาการแผ่ของลมหนาวปี 2554 คือ 15-20 และ 28-31 มี.ค. จะเห็นได้ว่าช่วงแรก MJO แทบจะไม่มีเฟส (หรือผลกระทบ MJO แทบไม่มี) ส่วนช่วงหลังอยู่ในเฟส 5 อย่างอ่อนๆ ซึ่งจะทำให้ลมตะวันตกพัดเข้าหาไทยได้มากกว่าเดิม แต่มีผลกับลมจากจีน และไซบีเรียน้อย

ส่วนของปลายก.พ.ปีนี้จะเห็นได้ว่าไม่มีเฟส จึงไม่มีผลกระทบจาก MJO

หรือจะกล่าวโดยสรุปในส่วนของ MJO นั้นไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการพาลมหนาวลงมาจากจีน ทั้งของ มี.ค. 2554 และ ก.พ. 2565

นอกจากนั้นทั้งปี 2554 และ 2565 ก็อยู่ในช่วงของ PDO เป็น - ซึ่งก็คือ บริเวณแปซิฟิกด้านซีกเหนือจะร้อนกว่าปกติ


บริเวณกรอบแดงของ 2 ภาพบนจะเห็นได้ว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจะค่อนข้างอุ่นกว่าปกติมาก

ซึ่งลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิด Trough หรือร่องอากาศขึ้นที่บริเวณญี่ปุ่นง่ายมาก และหลังจากนั้นจึงจะขยายตัวไปเป็น Polar Low หรือหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณขั้วโลกได้แถวบริเวณกรอบสีแดงของ 2 ภาพบนนั่นเอง

จากรูปจะเห็นได้ว่ามีอากาศยกตัวได้รุนแรงกว่าปกติมาก เนื่องจาก ธารน้ำทางอุตุฯ (Atmospheric river) ที่นำพาความชื้นมหาศาลยกตัวอย่างรุนแรง
หมายเหตุ ต้องขออนุญาตใช้รูปจากเปเปอร์ที่อธิบายถึงว่าทำไมปี 2561 ญี่ปุ่นถึงหนาวกว่าปกติ (ปีนั้นลมหนาวหลงมาไทยในเดือนเมษาด้วย) ซึ่งเช่นเดียวกันกับปี 2554 และปี 2565 ที่บริเวณแปซิฟิกตอนบนร้อนกว่าปกติเป็นพิเศษ แต่ของปี 2561 พิเศษกว่านั้นอีกคือ น้ำแข็งแถวช่องแคบแบริ่งมันดันมีน้อยกว่าปกติจึงทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำเกิดได้รุนแรง และง่ายกว่าเดิมเข้าไปอีก

แล้วปัจจัยทั้งหมดนี้หมายถึงอะไร ?

หมายความว่า ความกดอากาศสูงจะสามารถแผ่ลงมาได้ลึก (ผลของอุณหภูมิน้ำทะเลใต้เกาะญี่ปุ่น) และ จะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะญี่ปุ่น ซึ่งทำหน้าที่ทั้งดึงอากาศร้อนจากกลางแปซิฟิกที่มักมาตัดลมหนาวบ้านเราเข้าไปหาหย่อมความกดอากาศต่ำนั้นแทน และนอกจากนั้นร่องอากาศ (Trough) ที่บริเวณทะเล โอค็อตสค์ (Okhotsk Sea) ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ Siberian High หรือความกดอากาศสูงจากไซบีเรียสะสมตัวจนมีค่าสูงมากๆได้ง่าย

เพราะงั้นในรอบของปี 2554 และ ก.พ. 2565 ก็เพียงแต่รอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นยังไงก็ต้องมีลมหนาวมาหาไทยเราแน่ๆ ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นจริงตามนั้น คือ หย่อมความกดอากาศที่ญี่ปุ่นก่อตัวขึ้นจริงทั้งของปี 2554 และ 2565 และลมหนาวก็แผ่ลงมาลึกได้ด้วยเช่นกัน 

ภาพแผนที่อากาศของปี 2554 เดือน มี.ค. วันที่ 15 และ 16 จะเห็นได้ว่ามีหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น และทางด้านทิศตะวันตกจะเห็นศูนย์กลางของความกดอากาศสูงที่กำลังแรง (วันที่ 15 ประมาณ 1048 hPa)

แผนที่อากาศของปี 2565 เดือน ก.พ. วันที่ 15 ก็เช่นเดียวกันมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวที่ญี่ปุ่น และศูนย์กลางความกดอากาศสูงที่จีนประมาณ 1042 hPa โดยมีอีกศุนย์กลางหนึ่งที่ไซบีเรียที่ประมาณ 1050 hPa 

อย่างไรก็ตามก็มีความต่างบางประการที่ทำให้อากาศหนาวปี 2554 และ 2565 มีความต่างกัน (โดยเฉพาะในกทม.) คือ ลมหนาวต้นทางปี 2554 เย็นกว่าของ 2565  ด้วยเหตุนี้ปี 2554 จึงเย็นกว่าของปี 2565 เยอะสำหรับภาคกลางตอนล่าง

จาก 2 ภาพบนจะเห็นได้ว่า อุณหภูมิที่ความสูง 850 hPa ของปี 2554 เย็นกว่าของปี 2565 เยอะ รอบของ 2565 เหมือนความหนาวจะมาตันๆอยู่แถวเวียดนาม และลาวมากกว่า และแผ่มาทางอีสานได้อีกเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ของปี 2554 ศูนย์กลางความกดอากาศสูงแผ่ลึกลงมาจากจีนตอนล่าง (ยูนนาน) เลยทีเดียวทำให้ทั้งภาคเหนือ อีสาน และกลาง หนาวได้อย่างทั่วกัน

จาก 2 ภาพบนจะเห็นได้ว่าลมบนที่ 700 hPa หรือแนว jet stream ของปี 2554 มันกดลงมาต่ำกว่าปกติมากทำให้ศูนย์กลางอากาศหนาวมันแผ่มาจากทางภาคเหนือ แทนที่จะเป็นมาจากอีสานแทน ส่งผลให้อากาศหนาวมันลงมาได้ลึกผิดปกติมากๆ 


ด้วยเมื่อสภาพการณ์จากต้นทางความหนาวเป็นแบบนี้ จึงไม่แปลกที่ ก.พ. 2565 และ มี.ค. 2554 ประเทศไทยจึงมีอากาศหนาวได้ จะเสียก็แต่กทม.ในรอบของปี 2565 อาจไม่หนาวเท่าไหร่นัก ก็เนื่องจากเหตุผลที่ได้เขียนไว้ก่อนหน้า

เดี๋ยวไว้มีเวลาจะกลับมาเขียนต่อนะครับว่า แล้วทำไมถึงมีลมหนาวมาเยือนเดือนเมษาปีนี้ได้ รอบนี้ต่างจากรอบที่แล้วอย่างไร และทำไมรอบนี้กทม.ถึงหนาวต่อกว่า 20 C 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่